บลจ.ปรับกลยุทธ์ออกกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ดึงกองทุน ECP กลับมาเขย่าตลาดอีกครั้ง หลังพันธบัตรเกาหลีใต้ส่งสัญญาณอิ่มตัว ยอดขายเริ่มลดลงแล้ว "กรุงไทย" เผยเตรียมออกกองทุน ECP อายุสั้นๆ 3 -6 เดือน หวังลดความเสี่ยงจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย ล่าสุด เปิดขายกองทุนบอนด์ในประเทศรองรับเงินลงทุนของลูกค้าไปก่อน
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีมากขึ้น เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มที่จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3.25% เป็น 3.50% ต่อปี และมีกระแสว่าปลายปีนี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับขึ้นสูงถึง 4.25% ต่อปี เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมากองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่เน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงและมีอันดับเครดิตที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ แต่ในขณะนี้ลูกค้าเริ่มชะลอการลงทุนในกองทุนพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ โดยสังเกตจากยอดปริมาณการซื้อที่ลดลง เพราะจากที่มีการจำหน่ายหน่วยลงทุนอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาหลายเดือนติดต่อกัน ถึงแม้ผลตอบแทนจะจูงใจต่อการลงทุนก็ตาม ซึ่งผู้ลงทุนอาจจะต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความหลากหลายมากขึ้น
ขณะเดียวกัน บริษัทจึงต้องมีการปรับกลยุทธ์การลงทุนในขณะนี้ให้เข้ากับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น และสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนด้วย โดยในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการยื่นขออนุมัติจัดตั้งกองทุนในตราสารการเงินของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (Euro Commercial Paperหรือ ECP) กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเริ่มกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนอีกครั้ง อีกทั้งยังถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักทุนในการกระจายการลงทุนในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย ทั้งนี้กองทุนจะมีช่วงอายุตั้งแต่ 3 -6 เดือน ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำจากแนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
นายสมชัยกล่าวว่า ล่าสุดบริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนเพิ่มอีก 2 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น49 ( KTCP49) อายุโครงการ 6 เดือน และกองทุนรวมกรุงไทยตราสารการเงินคุ้มครองเงินต้น 42 (KT3M42) อายุโครงการ 3 เดือน มูลค่าโครงการกองทุนละ 2,000 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2551 โดยทั้ง 2 กองทุนเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารที่ก่อให้เกิดการคุ้มครองเงินต้น ได้แก่ ตราสารภาครัฐไทย ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือบัตรเงินฝาก ที่บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชน เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก โดยผลตอบแทนของตราสารอายุ 3 เดือน โดยประมาณอยู่ที่ 3.20% ต่อปี และ อายุ 6 เดือนอยู่ที่ 3.50% ต่อปี ซึ่งยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประจำ 3 เดือนอยู่ที่ 2.375 % ต่อปี ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 15%
สอดคล้องกับนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง กองทุนต่างประเทศที่ออกลงไปลงทุนในตั๋ว ECP น่าจะเริ่มเห็นช่องว่างของผลตอบแทนมากขึ้น และน่าจะเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนได้อีก หลังจากมีกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรัฐบาลเกาหลีออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกองทุนรวมทั้งปีนี้ โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ค่อนข้างชะลอตัว ซึ่งแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ถึงกว่า 20% คงจะต้องดูอีกครั้ง เพราะถึงเดือนพฤษภาคมแล้วยังแทบไม่โต ซึ่งเป้าการขยายตัวของบริษัทในปีนี้ที่ 20% ตามอุตสาหกรรม คงจะต้องดูอีกครั้งว่าจะต้องปรับหรือไม่ เพราะบรรยากาศการลงทุนมันกดดัน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในครึ่งปีหลัง ยังคงมีปัจจัยหนุนอยู่คือ การบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งน่าจะทำให้อุตสหกรรมกองทุนรวมมีการตื่นตัวขึ้นอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระยะนี้บริษัทจัดการกองทุนเริ่มปรับกลยุทธ์การลงทุน โดยหันมาออกกองทุนต่างประเทศที่นโยบายลงทุนผสมกันระหว่างพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้และตั๋ว ECP มากขึ้น เนื่องจากส่วนต่างของตราสารทั้ง 2 ประเภทให้ผลตอบแทนไม่ต่างกันมากนัก ส่วนหนึ่งการที่กองทุนเหล่านี้ ยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ น่าจะยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนไปอีกระยะหนึ่ง
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีมากขึ้น เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มที่จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3.25% เป็น 3.50% ต่อปี และมีกระแสว่าปลายปีนี้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับขึ้นสูงถึง 4.25% ต่อปี เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมากองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่เน้นลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงและมีอันดับเครดิตที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐในประเทศ แต่ในขณะนี้ลูกค้าเริ่มชะลอการลงทุนในกองทุนพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ โดยสังเกตจากยอดปริมาณการซื้อที่ลดลง เพราะจากที่มีการจำหน่ายหน่วยลงทุนอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาหลายเดือนติดต่อกัน ถึงแม้ผลตอบแทนจะจูงใจต่อการลงทุนก็ตาม ซึ่งผู้ลงทุนอาจจะต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความหลากหลายมากขึ้น
ขณะเดียวกัน บริษัทจึงต้องมีการปรับกลยุทธ์การลงทุนในขณะนี้ให้เข้ากับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น และสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนด้วย โดยในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการยื่นขออนุมัติจัดตั้งกองทุนในตราสารการเงินของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (Euro Commercial Paperหรือ ECP) กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เนื่องจากกองทุนดังกล่าวเริ่มกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนอีกครั้ง อีกทั้งยังถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักทุนในการกระจายการลงทุนในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย ทั้งนี้กองทุนจะมีช่วงอายุตั้งแต่ 3 -6 เดือน ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำจากแนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
นายสมชัยกล่าวว่า ล่าสุดบริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนเพิ่มอีก 2 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนรวมกรุงไทยตราสารภาครัฐคุ้มครองเงินต้น49 ( KTCP49) อายุโครงการ 6 เดือน และกองทุนรวมกรุงไทยตราสารการเงินคุ้มครองเงินต้น 42 (KT3M42) อายุโครงการ 3 เดือน มูลค่าโครงการกองทุนละ 2,000 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2551 โดยทั้ง 2 กองทุนเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารที่ก่อให้เกิดการคุ้มครองเงินต้น ได้แก่ ตราสารภาครัฐไทย ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือบัตรเงินฝาก ที่บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออกเพื่อการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชน เงินฝากในธนาคารพาณิชย์หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออก โดยผลตอบแทนของตราสารอายุ 3 เดือน โดยประมาณอยู่ที่ 3.20% ต่อปี และ อายุ 6 เดือนอยู่ที่ 3.50% ต่อปี ซึ่งยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประจำ 3 เดือนอยู่ที่ 2.375 % ต่อปี ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 15%
สอดคล้องกับนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง กองทุนต่างประเทศที่ออกลงไปลงทุนในตั๋ว ECP น่าจะเริ่มเห็นช่องว่างของผลตอบแทนมากขึ้น และน่าจะเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนได้อีก หลังจากมีกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรัฐบาลเกาหลีออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกองทุนรวมทั้งปีนี้ โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ค่อนข้างชะลอตัว ซึ่งแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ถึงกว่า 20% คงจะต้องดูอีกครั้ง เพราะถึงเดือนพฤษภาคมแล้วยังแทบไม่โต ซึ่งเป้าการขยายตัวของบริษัทในปีนี้ที่ 20% ตามอุตสาหกรรม คงจะต้องดูอีกครั้งว่าจะต้องปรับหรือไม่ เพราะบรรยากาศการลงทุนมันกดดัน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในครึ่งปีหลัง ยังคงมีปัจจัยหนุนอยู่คือ การบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งน่าจะทำให้อุตสหกรรมกองทุนรวมมีการตื่นตัวขึ้นอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระยะนี้บริษัทจัดการกองทุนเริ่มปรับกลยุทธ์การลงทุน โดยหันมาออกกองทุนต่างประเทศที่นโยบายลงทุนผสมกันระหว่างพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้และตั๋ว ECP มากขึ้น เนื่องจากส่วนต่างของตราสารทั้ง 2 ประเภทให้ผลตอบแทนไม่ต่างกันมากนัก ส่วนหนึ่งการที่กองทุนเหล่านี้ ยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ น่าจะยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนไปอีกระยะหนึ่ง