บลจ.กรุงไทยชี้ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ตอบโจทย์การลดเงินเฟ้อ แต่จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับเงินเฟ้อในอนาคตลดลง คาดการประชุมกนง. รอบต่อไป ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 3.50% ต่อปี ล่าสุด ส่ง 3 กองทุนตราสารหนี้ ลงทุน 3 เดือน 6 เดือนในพันธบัตรรัฐบาลไทย และบอนด์เกาหลีใต้ 1 ปี เป็นทางเลือก
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันรวมถึงราคาอาหารในตลาดโลกที่มีการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก เนื่องจากมีการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันในระดับที่สูง ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศในแถบทวีปเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เงินเฟ้อของบางประเทศขยายตัวมากกว่า 10% เช่น ประเทศเวียดนามนั้น อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยใน 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 20% ส่วนอินโดนีเซียนั้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.5% ส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องออกมาตรการ เพื่อยับยั้งไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยเอง อัตราเงินเฟ้อช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 7.6% ถือว่าเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 10 ปี โดยเฉลี่ย 5 เดือนแรกอยู่ที่ 5.8% อย่างไรก็ตามยังถือว่าต่ำกว่าของประเทศในอาเซียนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน นอกจากนี้ เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนต่างลดการซื้อของอุปโภคบริโภคลง ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเติบโตลดลงในขณะนี้ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้เข้ามาช่วยเหลือด้วยการออกมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการแจกคูปอง ลดภาษี เพิ่มค่าครองชีพข้าราชการ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้มีการส่งสัญญาณการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ ซึ่งหากเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกันแล้ว ประเทศไทยเองยังมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำที่สุดในเอเชีย รองจากญี่ปุ่น
นายสมชัยกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นครั้งนี้มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าที่มีมากเกินไป ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงอาจจะไม่มีผลในการลดเงินเฟ้อ แต่จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับเงินเฟ้อในอนาคตลดลง ดังนั้นจึงคาดว่าในการประชุมวันที่ 16 ก.ค. นี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. อาจจะมีการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น 0.25% จาก3.25%ต่อปี มาอยู่ที่ 3.50% ต่อปี
ล่าสุด บริษัทเปิดขายกองทุนเพิ่มขึ้นอีก 3 กองทุน ในวันที่ 24–30 มิถุนายนนี้ ประกอบไปด้วย 1. กองทุนรวมกรุงไทยตราสารการเงินคุ้มครองเงินต้น 41 (KT3M41) 2. กองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น 6 เดือน 36 (KTST6M36) และ 3. กองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ 1 ปี 9 (KTFIF1Y9)
สำหรับกองทุนรวมกรุงไทยตราสารการเงินคุ้มครองเงินต้น 41 มีอายุโครงการ 3 เดือน และมีมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารที่มุ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มครองเงินต้น โดยลงทุนในตราสารภาครัฐในประเทศ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ สำหรับผลตอบแทนของตราสารที่ลงทุนอยู่ที่ประมาณ 3.20%ต่อปี ซึ่งยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน กองทุนนี้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประจำ3 เดือนอยู่ที่ 2.375 % ต่อปี ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 15%
ส่วนกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น 6 เดือน 36 อายุโครงการ 6 เดือน มูลค่า 2,000 ล้านบาท เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ได้แก่ ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ตราสารหนี้ทั่วไป เงินฝากในสถาบันการเงิน แต่ทั้งนี้ กองทุนจะเน้นลงทุน ในพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน ผลตอบแทนของตราสารที่กองทุนจะลงทุนอยู่ที่ 3.40% ต่อปี ซึ่งยังหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ขณะที่กองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ 1 ปี 9 อายุโครงการ 1 ปี มูลค่า 1,600 ล้านบาท เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐต่างประเทศ หรือตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศเป็นหลัก เช่น พันธบัตรภาครัฐประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น ไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ทั้งของภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ และกองทุนจะทำการป้องกัน ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐของประเทศเกาหลีใต้ อายุ 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 4.70-4.90% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันรวมถึงราคาอาหารในตลาดโลกที่มีการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก เนื่องจากมีการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันในระดับที่สูง ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศในแถบทวีปเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เงินเฟ้อของบางประเทศขยายตัวมากกว่า 10% เช่น ประเทศเวียดนามนั้น อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยใน 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 20% ส่วนอินโดนีเซียนั้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.5% ส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องออกมาตรการ เพื่อยับยั้งไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยเอง อัตราเงินเฟ้อช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 7.6% ถือว่าเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 10 ปี โดยเฉลี่ย 5 เดือนแรกอยู่ที่ 5.8% อย่างไรก็ตามยังถือว่าต่ำกว่าของประเทศในอาเซียนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน นอกจากนี้ เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนต่างลดการซื้อของอุปโภคบริโภคลง ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเติบโตลดลงในขณะนี้ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้เข้ามาช่วยเหลือด้วยการออกมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการแจกคูปอง ลดภาษี เพิ่มค่าครองชีพข้าราชการ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้มีการส่งสัญญาณการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ ซึ่งหากเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกันแล้ว ประเทศไทยเองยังมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำที่สุดในเอเชีย รองจากญี่ปุ่น
นายสมชัยกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นครั้งนี้มาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าที่มีมากเกินไป ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงอาจจะไม่มีผลในการลดเงินเฟ้อ แต่จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับเงินเฟ้อในอนาคตลดลง ดังนั้นจึงคาดว่าในการประชุมวันที่ 16 ก.ค. นี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. อาจจะมีการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น 0.25% จาก3.25%ต่อปี มาอยู่ที่ 3.50% ต่อปี
ล่าสุด บริษัทเปิดขายกองทุนเพิ่มขึ้นอีก 3 กองทุน ในวันที่ 24–30 มิถุนายนนี้ ประกอบไปด้วย 1. กองทุนรวมกรุงไทยตราสารการเงินคุ้มครองเงินต้น 41 (KT3M41) 2. กองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น 6 เดือน 36 (KTST6M36) และ 3. กองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ 1 ปี 9 (KTFIF1Y9)
สำหรับกองทุนรวมกรุงไทยตราสารการเงินคุ้มครองเงินต้น 41 มีอายุโครงการ 3 เดือน และมีมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารที่มุ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มครองเงินต้น โดยลงทุนในตราสารภาครัฐในประเทศ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ สำหรับผลตอบแทนของตราสารที่ลงทุนอยู่ที่ประมาณ 3.20%ต่อปี ซึ่งยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน กองทุนนี้ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประจำ3 เดือนอยู่ที่ 2.375 % ต่อปี ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 15%
ส่วนกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น 6 เดือน 36 อายุโครงการ 6 เดือน มูลค่า 2,000 ล้านบาท เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ได้แก่ ตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ตราสารหนี้ทั่วไป เงินฝากในสถาบันการเงิน แต่ทั้งนี้ กองทุนจะเน้นลงทุน ในพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน ผลตอบแทนของตราสารที่กองทุนจะลงทุนอยู่ที่ 3.40% ต่อปี ซึ่งยังหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ขณะที่กองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ 1 ปี 9 อายุโครงการ 1 ปี มูลค่า 1,600 ล้านบาท เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐต่างประเทศ หรือตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศเป็นหลัก เช่น พันธบัตรภาครัฐประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น ไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ทั้งของภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ และกองทุนจะทำการป้องกัน ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐของประเทศเกาหลีใต้ อายุ 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 4.70-4.90% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน