คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
ในช่วงนี้หลายๆท่านคงมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้ที่ไม่พอกับรายจ่าย อันเนื่องมาจากสินค้าต่างปรับราคาขึ้นกันอย่างพร้อมเพรียง ถึงแม้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างพยายามให้ความช่วยเหลือโดยการจ่ายค่าครองชีพเพิ่มเติม แต่เงินที่ได้เพิ่มก็คงน้อยกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจริงอยู่ดี และแนวโน้มที่ราคาสินค้าจะปรับตัวขึ้นอีกก็ยังคงมีอยู่
เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายน ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับรายได้ของท่านที่หายไปกับเงินเฟ้อ ซึ่งตอนนั้นข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเป็นของเดือนมีนาคม อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ซึ่งจัดว่าสูงแล้ว แต่เงินเฟ้อในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมกลับปรับขึ้นเป็นร้อยละ 6.2 และ 7.6 ตามลำดับ และแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อก็ยังคงจะขยับขึ้นต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าอาจจะแตะเลขสองหลักในช่วงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม เพราะฐานการคำนวณต่ำ (อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคมของปีที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.7 และ 1.1 ตามลำดับ
และหากดัชนีราคาผู้บริโภคทรงตัวตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมจะอยู่ที่ร้อยละ 7.6 และอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมจะอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ซึ่งในความเป็นจริงดัชนีราคาผู้บริโภคคงจะปรับตัวสูงขึ้น เพราะยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่กำลังจะปรับราคาขึ้นในอนาคต) ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามที่คาด ก็หมายความว่ารายได้ของท่านจะหายไปกับเงินเฟ้อในอัตราที่สูงขึ้น
ที่ผมเขียนมานี้ ไม่ได้หมายความว่าอยากให้ท่านนักลงทุนรีบเร่งใช้จ่ายก่อนที่ค่าเงินในกระเป๋าของท่านจะลดลงนะครับ เพราะนั่นคือสิ่งที่ทางแบงค์ชาติกำลังกังวลว่าผู้บริโภคจะเร่งการใช้จ่ายก่อนที่สินค้าจะแพงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเร่งอัตราเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น (ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น จะส่งผลให้ความต้องการสินค้ามีมากขึ้น ราคาสินค้าก็จะปรับขึ้นตามหลักดีมานด์และซัพพลาย)
แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงก็คือ ท่านนักลงทุนที่ลงทุนในระยะยาวจะเสียวินัยในการลงทุน ซึ่งจะทำให้ท่านนักลงทุนบรรลุเป้าหมายการออมของท่านได้ยากขึ้น บางท่านอาจจะคิดว่า แค่เงินในปัจจุบันก็ไม่พอใช้อยู่แล้ว จะเอาที่ไหนมาออม หรือบางท่านอาจจะสงสัยว่าสถานการณ์อย่างตอนนี้จะไปออมตรงไหนดี เพราะตอนนี้กองทุนตราสารหนี้ก็ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ส่วนตลาดหุ้นไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศตอนนี้ก็เตี้ยลงๆทุกวัน หรือจะลงทุนในทองคำหรือน้ำมัน ราคาตอนนี้ก็ทรงๆ ไม่ปรับขึ้นแรงเหมือนแต่ก่อน จึงตัดสินใจชะลอการออมออกไปก่อน
สำหรับท่านนักลงทุนที่กำลังประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย สิ่งที่ท่านสามารถทำได้ก็คือพยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด โดยท่านอาจจะจดบันทึกการใช้จ่ายที่ผ่านมา และดูว่ารายจ่ายใดที่ไม่จำเป็น ก็ให้ตัดรายจ่ายนั้นออกเสีย การทำเช่นนี้จะสามารถช่วยให้ท่านมีเงินเหลือเก็บบ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านนักลงทุนที่มองว่าไม่ว่าจะลงทุนในสินทรัพย์ใด ก็ไม่น่าจะให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าเงินเฟ้อในขณะนี้ จึงชะลอการออมออกไปก่อน
ในกรณีนี้ คงมีนักการเงินหลายๆท่านได้แนะนำไปแล้วว่าควรลงทุนอย่างไรดี เช่น ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะปรับราคาขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ หรือลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์บางประเภทที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ผมอยากให้ท่านนักลงทุนมองว่าการลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนมาบ้าง ยังดีกว่าการถือเงินไว้เฉยๆแล้วปล่อยให้เงินด้อยค่าลงเรื่อยๆ
การที่ท่านนักลงทุนยังคงรักษาวินัยการลงทุน จะช่วยสร้างฐานเงินทุนของท่านให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เสมือนเป็นการเตรียมตัวที่จะรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต กล่าวคือ หากท่านเคยออมเดือนละ 10,000 บาท และยังคงออมต่อไป ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ท่านก็จะมีเงินทุนสำหรับการออมอย่างน้อย 120,000 บาท (สมมุติว่าการลงทุนของท่านไม่ได้กำไรหรือขาดทุน) แต่หากท่านหยุดออม และไปเริ่มออมใหม่หลังจากที่สถานการณ์ต่างๆดีขึ้น ท่านก็จะมีโอกาสที่จะมีเงินทุนสำหรับการออมน้อยกว่า 120,000 บาท เพราะเงินที่ท่านเก็บไว้กับตัว มักจะมีโอกาสถูกนำไปใช้มากกว่าเงินที่ถูกนำไปออมหรือลงทุน
ท้ายนี้ ผมขอย้ำให้ท่านนักลงทุนพยายามรักษาวินัยการออมเอาไว้ ถึงแม้ว่าจะสามารถทำได้ยากกว่าเดิมก็ตาม ทั้งนี้ ก็เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของท่านในอนาคตครับ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงนี้คงต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร และศึกษาถึงสิ่งที่จะลงทุนให้ดีๆนะครับ
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
ในช่วงนี้หลายๆท่านคงมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้ที่ไม่พอกับรายจ่าย อันเนื่องมาจากสินค้าต่างปรับราคาขึ้นกันอย่างพร้อมเพรียง ถึงแม้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างพยายามให้ความช่วยเหลือโดยการจ่ายค่าครองชีพเพิ่มเติม แต่เงินที่ได้เพิ่มก็คงน้อยกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจริงอยู่ดี และแนวโน้มที่ราคาสินค้าจะปรับตัวขึ้นอีกก็ยังคงมีอยู่
เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายน ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับรายได้ของท่านที่หายไปกับเงินเฟ้อ ซึ่งตอนนั้นข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเป็นของเดือนมีนาคม อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ซึ่งจัดว่าสูงแล้ว แต่เงินเฟ้อในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมกลับปรับขึ้นเป็นร้อยละ 6.2 และ 7.6 ตามลำดับ และแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อก็ยังคงจะขยับขึ้นต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าอาจจะแตะเลขสองหลักในช่วงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม เพราะฐานการคำนวณต่ำ (อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคมของปีที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.7 และ 1.1 ตามลำดับ
และหากดัชนีราคาผู้บริโภคทรงตัวตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมจะอยู่ที่ร้อยละ 7.6 และอัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมจะอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ซึ่งในความเป็นจริงดัชนีราคาผู้บริโภคคงจะปรับตัวสูงขึ้น เพราะยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่กำลังจะปรับราคาขึ้นในอนาคต) ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามที่คาด ก็หมายความว่ารายได้ของท่านจะหายไปกับเงินเฟ้อในอัตราที่สูงขึ้น
ที่ผมเขียนมานี้ ไม่ได้หมายความว่าอยากให้ท่านนักลงทุนรีบเร่งใช้จ่ายก่อนที่ค่าเงินในกระเป๋าของท่านจะลดลงนะครับ เพราะนั่นคือสิ่งที่ทางแบงค์ชาติกำลังกังวลว่าผู้บริโภคจะเร่งการใช้จ่ายก่อนที่สินค้าจะแพงขึ้น ซึ่งจะเป็นการเร่งอัตราเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น (ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น จะส่งผลให้ความต้องการสินค้ามีมากขึ้น ราคาสินค้าก็จะปรับขึ้นตามหลักดีมานด์และซัพพลาย)
แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงก็คือ ท่านนักลงทุนที่ลงทุนในระยะยาวจะเสียวินัยในการลงทุน ซึ่งจะทำให้ท่านนักลงทุนบรรลุเป้าหมายการออมของท่านได้ยากขึ้น บางท่านอาจจะคิดว่า แค่เงินในปัจจุบันก็ไม่พอใช้อยู่แล้ว จะเอาที่ไหนมาออม หรือบางท่านอาจจะสงสัยว่าสถานการณ์อย่างตอนนี้จะไปออมตรงไหนดี เพราะตอนนี้กองทุนตราสารหนี้ก็ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ส่วนตลาดหุ้นไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศตอนนี้ก็เตี้ยลงๆทุกวัน หรือจะลงทุนในทองคำหรือน้ำมัน ราคาตอนนี้ก็ทรงๆ ไม่ปรับขึ้นแรงเหมือนแต่ก่อน จึงตัดสินใจชะลอการออมออกไปก่อน
สำหรับท่านนักลงทุนที่กำลังประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย สิ่งที่ท่านสามารถทำได้ก็คือพยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด โดยท่านอาจจะจดบันทึกการใช้จ่ายที่ผ่านมา และดูว่ารายจ่ายใดที่ไม่จำเป็น ก็ให้ตัดรายจ่ายนั้นออกเสีย การทำเช่นนี้จะสามารถช่วยให้ท่านมีเงินเหลือเก็บบ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านนักลงทุนที่มองว่าไม่ว่าจะลงทุนในสินทรัพย์ใด ก็ไม่น่าจะให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าเงินเฟ้อในขณะนี้ จึงชะลอการออมออกไปก่อน
ในกรณีนี้ คงมีนักการเงินหลายๆท่านได้แนะนำไปแล้วว่าควรลงทุนอย่างไรดี เช่น ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะปรับราคาขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ หรือลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์บางประเภทที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ผมอยากให้ท่านนักลงทุนมองว่าการลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนมาบ้าง ยังดีกว่าการถือเงินไว้เฉยๆแล้วปล่อยให้เงินด้อยค่าลงเรื่อยๆ
การที่ท่านนักลงทุนยังคงรักษาวินัยการลงทุน จะช่วยสร้างฐานเงินทุนของท่านให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เสมือนเป็นการเตรียมตัวที่จะรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต กล่าวคือ หากท่านเคยออมเดือนละ 10,000 บาท และยังคงออมต่อไป ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ท่านก็จะมีเงินทุนสำหรับการออมอย่างน้อย 120,000 บาท (สมมุติว่าการลงทุนของท่านไม่ได้กำไรหรือขาดทุน) แต่หากท่านหยุดออม และไปเริ่มออมใหม่หลังจากที่สถานการณ์ต่างๆดีขึ้น ท่านก็จะมีโอกาสที่จะมีเงินทุนสำหรับการออมน้อยกว่า 120,000 บาท เพราะเงินที่ท่านเก็บไว้กับตัว มักจะมีโอกาสถูกนำไปใช้มากกว่าเงินที่ถูกนำไปออมหรือลงทุน
ท้ายนี้ ผมขอย้ำให้ท่านนักลงทุนพยายามรักษาวินัยการออมเอาไว้ ถึงแม้ว่าจะสามารถทำได้ยากกว่าเดิมก็ตาม ทั้งนี้ ก็เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของท่านในอนาคตครับ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงนี้คงต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร และศึกษาถึงสิ่งที่จะลงทุนให้ดีๆนะครับ