"พิชิต" พอใจผลงานการตลาด ผ่านไป 6 เดือน สร้างแบรนด์ "เอ็มเอฟซี" ติดหูนักลงทุนและสาธารณชน หลังทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่อเนื่อง เผยเตรียมเข็นทีม Investment Planner เพิ่มอีกเป็น 50 คนภายในปีนี้ หวังใช้เป็นช่องทางหลักเข้าถึงลูกค้า พร้อมเดินหน้าพัฒนาทั้งคุณภาพและบริการ
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวว่า หลังจากทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างแบรนด์ "เอ็มเอฟซี" ให้เป็นที่รู้จักกับนักลงทุนมากขึ้น ปรากฏว่าในช่วง 6 เดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีพอสมควร ซึ่งจากการพูดคุยกับทีม IP (Investment Planner) ที่ไปพบกับลูกค้า พบว่า เอ็มเอฟซีเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยไม่ต้องอธิบายว่าเอ็มเอฟซีคืออะไร ขณะเดียวกัน สาธารณะชนเองก็รู้จักมากขึ้นเช่นกัน
"การตอบรับที่ดีดังกล่าวเป็นไปตามแผนที่เราวางไว้ ซึ่งในช่วงครึ่งปีที่ทำมาค่อนข้างดีมีการขายเป็นไปตามเป้า ซึ่งที่ผ่านมาเอง เราถือว่าตรงนี้ ยังเป็นสิ่งที่เราขาดอยู่ เพราะเราไม่มีแบงก์เป็นแม่ ไม่สามารถอาศัยแบนด์ของแม่ในการช่วยทำการตลาดได้อย่างเช่น บลจ.อื่นๆ"นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ ในแง่ของการตอบรับด้านการทำธุรกรรมนั้น ช่วงหลังๆ การเปิดขายหน่วยลงทุนของเรา สามารถทำได้ตามเป้า หรือพูดง่ายๆ ว่า สามารถควบคุมการขายหน่วยลงทุนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกำหนดเป้าหมายของการขายได้ดีขึ้น จากเดิมที่การระดมทุนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นไปตามเป้ามากนัก
อย่างไรก็ตาม การตอบรับดังกล่าวไม่ใช่ว่าเราจะหยุดแค่นี้ ซึ่งในอนาคตเรามีแผนที่จะเพิ่ม IP ให้มากขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนและคุณภาพในการให้บริการลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมา เราเองมีการอบรม IP อย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ทางการลงทุน และเหตุการณ์บ้านเมือง ตรงนี้นี่เองที่เป็นความแตกต่างของเรา ระหว่างบลจ.ที่ใช้เครือข่ายสาขาแบงก์ เนื่องจากพนักงานในสาขาแบงก์ส่วนใหญ่ถูกสร้างมาเพื่อขายโพรดักซ์ของธนาคารเป็นหลักเท่านั่น แต่ IP ของเรา จะโฟกัสเรื่องของการลงทุนที่ครอบคลุมมากกว่า
ทั้งนี้ เอ็มเอฟซี มีแผนจะเพิ่มจำนวน IP อีกประมาณ 50% หรือประมาณ 30 คนจากจำนวน 20 กว่าคนในปัจจุบัน ซึ่งทั้งปีนี้ เราคาดหมายว่าจะเพิ่มจำนวน IP อีกให้ถึง 50 คน ซึ่งช่องทางการเข้่าถึงลูกค้าผ่าน IP นี้เอง ที่ทำให้เรามั่นใจว่าปีนี้ เราจะสามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมาย 2.4 ล้านบาทหรือขยายตัว 10%
สำหรับเครือข่ายของธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคาร "พิชิต" กล่าวว่า สำหรับเราการมีแบงก์เป็นเครือข่ายหรือไม่มีไม่ใช่เรื่องชี้ขาดสำหรับเรา เพราะลูกค้าของเอ็มเอฟซีเอง เป็นกลุ่มลูกค้าระดับสูงที่มีเงินลงทุนค่อนข้างเยอะ ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้การใช่ IP ในการเข้าถึงเหมาะสมมากกว่า
"การที่เราไม่มีแบงก์ ในแง่ของการตลาดถ้าทำให้ถูก ก็ไม่จำเป็นต้องมีสาขาเยอะขนาดนั้น แบงก์เองลงทุนสาขาเพื่อธุรกรรมอื่น ไม่ใช่ขายหน่วยลงทุน ซึ่งวิธีดูแลลูกค้าที่มีเงินเยอะ วิธีคิดจะอยู่ในเมืองเป็นหลัก และเมื่อเป็นแบบนี้เราคิดว่ามีทางเลือกที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้านี้มาก ออมสินเองก็ถือเป็นช่วงทางหนึ่ง แต่ไม่ใช่ช่องทางหลักของเรา ซึ่งออมสินเขาน่าจะได้ประโยชน์จากเรามากกว่า โดยเฉพาะการบริหารสภาพคล่องของออมสินเอง"นายพิชิตกล่าว
นายพิชิตกล่าวต่อว่า หลังจากนี้ เอ็มเอฟซีจะออกไปเจรจากับนักลงทุนต่างประเทศที่เคยคุยถึงการจัดตั้งกองทุนร่วมกันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้มีการเจรจาไปเบื้องต้น แต่ยังไม่มีการสานต่อแต่อย่างใด เนื่องจากสถาณการณ์บ้านเมืองในประเทศยังไม่ชัดเจน เพราะเขาเองก็ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรไปอธิบายในกับบอร์ดของเขาเข้าใจว่าเพราะอะไรถึงสนใจลงทุนในไทย ทั้งๆ ที่ยังมีความไม่แน่นอน และมีทางเลือกลงทุนในประเทศอื่นๆ อยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเลือกตั้งเข้ามาแล้ว แต่ก็เรื่องของการเมืองเองก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้นักลงทุนยังละล้าละลังอยู่ ดังนั้น เราต้องอธิบายว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนเหล่านี้ชะลอการตัดสินใจลงทุน แต่เรื่องของเงิน เราเชื่อว่ามีเหตุผลเพียงพอในการชักจูงให้เขาเข้ามาลงทุนอีกครั้ง เพราะการที่เขาจะตัดสินใจลงทุนอยู่ที่ว่าโครงการลงทุนมีศักยภาพแค่ไหน เวลาทำกระแสรายได้ออกมามีความแน่นอนมากแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นหลัก
เปิดขายกองพันธบัตรต่อเนื่อง
นายพิชิตกล่าวว่า เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับนักลงทุนในภาวะที่การลงทุนในตลาดหุ้นของไทยมีความผันผวน บลจ.เอ็มเอฟซีซึ่งเป็นผู้นำในการพัฒนานวัตกรรมการลงทุนจึงได้เปิดขายกองทุนที่สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในระยะสั้นด้วยการเปิดขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตร 7 ซีรี่ส์ 1 ( MFC Government Bond Fund 7 Series 1) หรือ M-GOV 7S1 มูลค่า 3,000 ล้านบาท อายุโครงการ 7 เดือน ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(Specific fund) ที่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อสิ้นอายุโครงการ เปิดขายครั้งเดียวตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน ถึงวันที่ 2 กรกฎาคมนี้
โดยกองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่รัฐบาลไทย เป็นผู้ออก ซึ่งมีความมั่นคงสูง และความเสี่ยงต่ำ โดยเน้นลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะเลือกลงทุนในตราสารที่มีอายุสั้นประมาณ 7 เดือน ซึ่งจุดเด่นของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตร 7 ซีรี่ส์ 1 นอกจากเน้นลงทุนในพันธบัตรที่มีความเสี่ยงต่ำแล้วยังเป็นกองทุนที่สร้างผลตอบแทนที่มีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป เนื่องจากผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจะไม่ถูกหักภาษี จึงนับเป็นอีกทางเลือกในการออมสำหรับนักลงทุนที่นิยมความเสี่ยงต่ำ คาดหวังผลตอบแทนที่ดี ในระยะเวลาสั้น
ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเมื่อกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตร 7 ซีรี่ส์ 1 หรือ M-GOV 7S1 ในวันสิ้นสุดอายุโครงการ และสับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติไปยังกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี มันนี่ แมเนจเม้นท์ (MMM) ซึ่งเป็น กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องของผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไป
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวว่า หลังจากทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างแบรนด์ "เอ็มเอฟซี" ให้เป็นที่รู้จักกับนักลงทุนมากขึ้น ปรากฏว่าในช่วง 6 เดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีพอสมควร ซึ่งจากการพูดคุยกับทีม IP (Investment Planner) ที่ไปพบกับลูกค้า พบว่า เอ็มเอฟซีเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยไม่ต้องอธิบายว่าเอ็มเอฟซีคืออะไร ขณะเดียวกัน สาธารณะชนเองก็รู้จักมากขึ้นเช่นกัน
"การตอบรับที่ดีดังกล่าวเป็นไปตามแผนที่เราวางไว้ ซึ่งในช่วงครึ่งปีที่ทำมาค่อนข้างดีมีการขายเป็นไปตามเป้า ซึ่งที่ผ่านมาเอง เราถือว่าตรงนี้ ยังเป็นสิ่งที่เราขาดอยู่ เพราะเราไม่มีแบงก์เป็นแม่ ไม่สามารถอาศัยแบนด์ของแม่ในการช่วยทำการตลาดได้อย่างเช่น บลจ.อื่นๆ"นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ ในแง่ของการตอบรับด้านการทำธุรกรรมนั้น ช่วงหลังๆ การเปิดขายหน่วยลงทุนของเรา สามารถทำได้ตามเป้า หรือพูดง่ายๆ ว่า สามารถควบคุมการขายหน่วยลงทุนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกำหนดเป้าหมายของการขายได้ดีขึ้น จากเดิมที่การระดมทุนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นไปตามเป้ามากนัก
อย่างไรก็ตาม การตอบรับดังกล่าวไม่ใช่ว่าเราจะหยุดแค่นี้ ซึ่งในอนาคตเรามีแผนที่จะเพิ่ม IP ให้มากขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนและคุณภาพในการให้บริการลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมา เราเองมีการอบรม IP อย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ทางการลงทุน และเหตุการณ์บ้านเมือง ตรงนี้นี่เองที่เป็นความแตกต่างของเรา ระหว่างบลจ.ที่ใช้เครือข่ายสาขาแบงก์ เนื่องจากพนักงานในสาขาแบงก์ส่วนใหญ่ถูกสร้างมาเพื่อขายโพรดักซ์ของธนาคารเป็นหลักเท่านั่น แต่ IP ของเรา จะโฟกัสเรื่องของการลงทุนที่ครอบคลุมมากกว่า
ทั้งนี้ เอ็มเอฟซี มีแผนจะเพิ่มจำนวน IP อีกประมาณ 50% หรือประมาณ 30 คนจากจำนวน 20 กว่าคนในปัจจุบัน ซึ่งทั้งปีนี้ เราคาดหมายว่าจะเพิ่มจำนวน IP อีกให้ถึง 50 คน ซึ่งช่องทางการเข้่าถึงลูกค้าผ่าน IP นี้เอง ที่ทำให้เรามั่นใจว่าปีนี้ เราจะสามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมาย 2.4 ล้านบาทหรือขยายตัว 10%
สำหรับเครือข่ายของธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคาร "พิชิต" กล่าวว่า สำหรับเราการมีแบงก์เป็นเครือข่ายหรือไม่มีไม่ใช่เรื่องชี้ขาดสำหรับเรา เพราะลูกค้าของเอ็มเอฟซีเอง เป็นกลุ่มลูกค้าระดับสูงที่มีเงินลงทุนค่อนข้างเยอะ ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้การใช่ IP ในการเข้าถึงเหมาะสมมากกว่า
"การที่เราไม่มีแบงก์ ในแง่ของการตลาดถ้าทำให้ถูก ก็ไม่จำเป็นต้องมีสาขาเยอะขนาดนั้น แบงก์เองลงทุนสาขาเพื่อธุรกรรมอื่น ไม่ใช่ขายหน่วยลงทุน ซึ่งวิธีดูแลลูกค้าที่มีเงินเยอะ วิธีคิดจะอยู่ในเมืองเป็นหลัก และเมื่อเป็นแบบนี้เราคิดว่ามีทางเลือกที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้านี้มาก ออมสินเองก็ถือเป็นช่วงทางหนึ่ง แต่ไม่ใช่ช่องทางหลักของเรา ซึ่งออมสินเขาน่าจะได้ประโยชน์จากเรามากกว่า โดยเฉพาะการบริหารสภาพคล่องของออมสินเอง"นายพิชิตกล่าว
นายพิชิตกล่าวต่อว่า หลังจากนี้ เอ็มเอฟซีจะออกไปเจรจากับนักลงทุนต่างประเทศที่เคยคุยถึงการจัดตั้งกองทุนร่วมกันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้มีการเจรจาไปเบื้องต้น แต่ยังไม่มีการสานต่อแต่อย่างใด เนื่องจากสถาณการณ์บ้านเมืองในประเทศยังไม่ชัดเจน เพราะเขาเองก็ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรไปอธิบายในกับบอร์ดของเขาเข้าใจว่าเพราะอะไรถึงสนใจลงทุนในไทย ทั้งๆ ที่ยังมีความไม่แน่นอน และมีทางเลือกลงทุนในประเทศอื่นๆ อยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเลือกตั้งเข้ามาแล้ว แต่ก็เรื่องของการเมืองเองก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้นักลงทุนยังละล้าละลังอยู่ ดังนั้น เราต้องอธิบายว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนเหล่านี้ชะลอการตัดสินใจลงทุน แต่เรื่องของเงิน เราเชื่อว่ามีเหตุผลเพียงพอในการชักจูงให้เขาเข้ามาลงทุนอีกครั้ง เพราะการที่เขาจะตัดสินใจลงทุนอยู่ที่ว่าโครงการลงทุนมีศักยภาพแค่ไหน เวลาทำกระแสรายได้ออกมามีความแน่นอนมากแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นหลัก
เปิดขายกองพันธบัตรต่อเนื่อง
นายพิชิตกล่าวว่า เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับนักลงทุนในภาวะที่การลงทุนในตลาดหุ้นของไทยมีความผันผวน บลจ.เอ็มเอฟซีซึ่งเป็นผู้นำในการพัฒนานวัตกรรมการลงทุนจึงได้เปิดขายกองทุนที่สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในระยะสั้นด้วยการเปิดขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตร 7 ซีรี่ส์ 1 ( MFC Government Bond Fund 7 Series 1) หรือ M-GOV 7S1 มูลค่า 3,000 ล้านบาท อายุโครงการ 7 เดือน ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(Specific fund) ที่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อสิ้นอายุโครงการ เปิดขายครั้งเดียวตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน ถึงวันที่ 2 กรกฎาคมนี้
โดยกองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่รัฐบาลไทย เป็นผู้ออก ซึ่งมีความมั่นคงสูง และความเสี่ยงต่ำ โดยเน้นลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะเลือกลงทุนในตราสารที่มีอายุสั้นประมาณ 7 เดือน ซึ่งจุดเด่นของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตร 7 ซีรี่ส์ 1 นอกจากเน้นลงทุนในพันธบัตรที่มีความเสี่ยงต่ำแล้วยังเป็นกองทุนที่สร้างผลตอบแทนที่มีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป เนื่องจากผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจะไม่ถูกหักภาษี จึงนับเป็นอีกทางเลือกในการออมสำหรับนักลงทุนที่นิยมความเสี่ยงต่ำ คาดหวังผลตอบแทนที่ดี ในระยะเวลาสั้น
ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเมื่อกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตร 7 ซีรี่ส์ 1 หรือ M-GOV 7S1 ในวันสิ้นสุดอายุโครงการ และสับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติไปยังกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี มันนี่ แมเนจเม้นท์ (MMM) ซึ่งเป็น กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องของผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไป