บลจ.ฟิลลิป มาเหนือเมฆ ล่าสุดจับมือพันธมิตรต่างแดน สิงคโปร์ ฮ่องกง เตรียมออกกองทุนรวมมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐขายเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ คุ้มครองเงินต้น 100% หวังช่วยดันเอยูเอ็มสิ้นปีนี้แตะ 1,000 ล้านบาท พร้อมออกกองอาร์เอ็มเอฟใหม่ช่วงปลายปี ส่วนแผนการตลาดเน้นขยายฐานลูกค้าใหม่ พร้อมเปิดจำนวนกองทุนผ่าน 7 โบรกเกอร์ชั้นนำ
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อบริหารเงินให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยร่วมมือกับพันธมิตรจากต่างประเทศหรือสถาบันการเงินชั้นนำจากฮ่องกงและสิงคโปร์ ดำเนินการด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมแล้วชักชวนให้หน่วยงานเข้ามาซื้อหน่วยลงทุน
“เรามีแผนจะจัดตั้งกองทุนที่บริหารเงินให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยจะเป็นลักษณะของกองทุนรวมแล้วให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ซื้อหน่วยลงทุน หลังจากนั้นเราจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศที่เป็นพาร์ทเนอร์กับเรา ซึ่งจะมีทั้งฮ่องกง สิงคโปร์ รวมถึงกองทุนในยุโรปด้วย” นายวรรธนะกล่าว
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวคาดว่าจะเปิดได้ประมาณ 1-3 กองทุน มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยเบื้องต้นให้เป็นการคุ้มครองเงินต้น 100 %
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนออกกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งมีนโยบายการลงทุนแบบผสมทั้งตราสารหนี้ และหุ้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยบริษัทมั่นใจว่าจะได้รับความสนใจจากลูกค้า เพราะที่ผ่านมาบริษัทได้ออกกองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ PFIXRMF ซึ่งช่วยกระตุ้นความสนใจของนักลงทุนสนอย่างยิ่ง
“ในครึ่งปีหลัง เราจะออกกองทุนใหม่อีกหนึ่งตัว ก็คือ กอง RMF ซึ่งจะเป็นแบบผสมโดยลงทุนในตราสารหนี้และหุ้น เนื่องจากเรามองว่า กองทุนแบบผสมจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่ากองทุนหุ้น เพราะมีโอกาสที่เราจะหนีได้ ถ้าหุ้นไม่ดี เราก็หนีไปลงทุนตราสารหนี้มากขึ้นได้”ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบลจ. ฟิลลิป กล่าว
ส่วนกลยุทธ์ ทางการตลาดในปีนี้ บริษัทยังคงเน้นช่องทางการขายผ่านตัวแทนขายทั้ง 7 แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง คือ บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บล. เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)บล. ไอร่า จำกัด (มหาชน) บล. ภัทร จำกัด (มหาชน) บล. เกียรตินาคิน จำกัด บล. ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ บล. ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้ประมาณ 30% อีกทั้งบริษัทได้ตั้งเป้ามูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารปี 2551อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 590 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 70%
สำหรับ กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ PFIXRMF เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ โดยจดทะเบียนหองทุน ณ วันที่ 20 มีนาคม 2551 ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 16.166 ล้านบาท มีมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.4223 บาท และมีมูลค่าการสั่งซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำอยู่ที่ 5,000 บาท
โดยกองทุนPFIXRMF มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พัรธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้เอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้(Investment Grade) ทั้งในและต่างประเทศและ/หรือ มีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด
ขณะเดียวกัน กองทุนอาจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives)เพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด และกองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะของสัญญษซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) อีกทั้งกองทุนมีจัดสัดส่วนการลงทุนหรือประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน ดังนี้ พันธบัตรรัฐบาล 91.13% ตั๋วสัญญาใช้เงินออกโดยธนาคารพาณิชย์ 8.77% และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.10%
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อบริหารเงินให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยร่วมมือกับพันธมิตรจากต่างประเทศหรือสถาบันการเงินชั้นนำจากฮ่องกงและสิงคโปร์ ดำเนินการด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมแล้วชักชวนให้หน่วยงานเข้ามาซื้อหน่วยลงทุน
“เรามีแผนจะจัดตั้งกองทุนที่บริหารเงินให้กับหน่วยงานของรัฐ โดยจะเป็นลักษณะของกองทุนรวมแล้วให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ซื้อหน่วยลงทุน หลังจากนั้นเราจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศที่เป็นพาร์ทเนอร์กับเรา ซึ่งจะมีทั้งฮ่องกง สิงคโปร์ รวมถึงกองทุนในยุโรปด้วย” นายวรรธนะกล่าว
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวคาดว่าจะเปิดได้ประมาณ 1-3 กองทุน มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยเบื้องต้นให้เป็นการคุ้มครองเงินต้น 100 %
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนออกกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งมีนโยบายการลงทุนแบบผสมทั้งตราสารหนี้ และหุ้น ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยบริษัทมั่นใจว่าจะได้รับความสนใจจากลูกค้า เพราะที่ผ่านมาบริษัทได้ออกกองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ PFIXRMF ซึ่งช่วยกระตุ้นความสนใจของนักลงทุนสนอย่างยิ่ง
“ในครึ่งปีหลัง เราจะออกกองทุนใหม่อีกหนึ่งตัว ก็คือ กอง RMF ซึ่งจะเป็นแบบผสมโดยลงทุนในตราสารหนี้และหุ้น เนื่องจากเรามองว่า กองทุนแบบผสมจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่ากองทุนหุ้น เพราะมีโอกาสที่เราจะหนีได้ ถ้าหุ้นไม่ดี เราก็หนีไปลงทุนตราสารหนี้มากขึ้นได้”ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบลจ. ฟิลลิป กล่าว
ส่วนกลยุทธ์ ทางการตลาดในปีนี้ บริษัทยังคงเน้นช่องทางการขายผ่านตัวแทนขายทั้ง 7 แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง คือ บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บล. เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)บล. ไอร่า จำกัด (มหาชน) บล. ภัทร จำกัด (มหาชน) บล. เกียรตินาคิน จำกัด บล. ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ บล. ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้ประมาณ 30% อีกทั้งบริษัทได้ตั้งเป้ามูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารปี 2551อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 590 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 70%
สำหรับ กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ PFIXRMF เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ โดยจดทะเบียนหองทุน ณ วันที่ 20 มีนาคม 2551 ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 16.166 ล้านบาท มีมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.4223 บาท และมีมูลค่าการสั่งซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำอยู่ที่ 5,000 บาท
โดยกองทุนPFIXRMF มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พัรธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้เอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้(Investment Grade) ทั้งในและต่างประเทศและ/หรือ มีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด
ขณะเดียวกัน กองทุนอาจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives)เพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด และกองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะของสัญญษซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) อีกทั้งกองทุนมีจัดสัดส่วนการลงทุนหรือประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน ดังนี้ พันธบัตรรัฐบาล 91.13% ตั๋วสัญญาใช้เงินออกโดยธนาคารพาณิชย์ 8.77% และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.10%