เมื่อหลายวันก่อนมีคำถามเข้ามาที่ fund@manager.co.th ครับเป็นคำถามที่น่าสนใจเลยทีเดียว ที่สำคัญเป็นคำถามของเด็กๆอีกด้วยครับ เรามาดูคำถามกันเลยดีกว่า
คำถาม - คือผมมีเงินเก็บ 5,000บาทครับ แล้วผมอยากซื้อกองทุนอะไรซักอย่างครับแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ตรงไหนดี พอมีคำแนะนำมั้ยครับ คือผมยังเป็นนักศึกษาอยู่ครับ คือผมอยากจะให้ผลตอบแทนมากกว่าเอาเงินไปฝากไว้กับธนาคารครับ ขอบคุณครับ น.ศ.ปี 2
ตอบ - น่าชื่นใจมากเลยนะครับ สำหรับน้องนักศึกษา ปี 2 อายุไม่เท่าไรเเต่รู้จักเลือกที่จะจัดการกับเงินทองของตนเอง โดยก่อนอื่นเลยน้องต้องดูความต้องการของตัวเองก่อนว่า เลือกที่จะลงทุนแบบไหน ก่อนอื่นจะต้องวิเคราะห์ตัวเองก่อนว่า มีเป้าหมายในการลงทุนเพื่ออะไร มีความสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน หรือต้องการสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน หากน้องเป็นนักลงทุนที่กลัวความเสี่ยงหรือรับความเสี่ยงได้น้อย ก็ควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะคุ้มครองเงินต้น หรือกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เป็นต้น หรือหากน้องเป็นนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่มากขึ้น การลงทุนในกองทุนที่มีหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน หรือกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับการกระจายความเสี่ยง หากเป็นนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องในการลงทุนสูง ก็ควรเลือกลงทุนในกองทุนที่สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ
สำหรับที่น้องถามมาว่า อยากได้ผลตอบเเทนมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารก็ต้องกองทุนตราสารหนี้ ครับ ซึ่งกองทุนดังกล่าวให้ผลตอบเเทนสูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร ที่สำคัญไม่ต้องภาษีอีกด้วยครับ ที่สำคัญน้องนักศึกษาปี 2 สามารถลงทุนกองทุนตราสาทุนหรือกองทุนหุ้นได้อีกด้วย เท่าที่นับอายุน้องอาจอายุไม่ถึง 20 ปีเเน่นอน ซึ่งถ้าน้องอยากลงทุนในกองทุนหุ้นต้องให้บิดาเเละมารดาเป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในเอกสารต่างๆทั้งหมด และเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เต็มเมื่อไร น้องก็สามารถลงนามได้ด้วยตนเองครับ
จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำในกองทุนรวมของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรายได้และแผนการบริหารเงินของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับกองทุนที่สนใจจะลงทุน ซึ่งในแต่ละกองทุนจะมีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำกำหนดไว้แตกต่างกัน เช่น 1,000 บาท หรือ 5,000 บาท หรือ 10,000 บาท จะเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนรายย่อยได้มีโอกาสลงทุนเพื่อความมั่นคงทางการเงิน ตลอดจนได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินจำนวนมาก ดังเช่นการลงทุนในด้านอื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น เป็นต้น
ทั้งนี้ทางทีมงานอยากให้น้องนักศึกษาปี 2 วางเเผนการลงทุนตามช่วงอายุอายุดังนี้ (ข้อมูลอ้างอิงจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน)
- อายุ 21-30 ปี เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ยังไม่มีภาระต้องรับผิดชอบมากนัก และเป็นวัยที่ยังมีเวลาและมีกำลังในการหารายได้อีกนาน ดังนั้น คนในช่วงวัยนี้จึงสามารถจัดสรรเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงได้เกือบทั้งหมด เพราะอยู่ในวัยที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มาก และหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็มีเวลามากเพียงพอที่จะเรียนรู้แก้ไขข้อผิดพลาดนั้น โดยอาจจะลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น ได้ถึง 90% ส่วนอีก 10% ที่เหลือเก็บไว้ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
- อายุ 31-40 ปี เป็นวัยที่การงานเริ่มมั่นคง รายได้เพิ่มสูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มตามมาเป็นทวีคูณ เพราะ อยู่ในช่วงที่กำลังสร้างครอบครัว แต่งงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ เมื่อมีภาระผูกพันที่ต้องรับผิดชอบมากและต่อเนื่อง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็ลดน้อยลง การลงทุนของคนในวัยนี้จึงอาจจะต้องลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นลงจาก 90% ให้เหลือเพียง 50% ของเงินออม แล้วไปเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้นในจำนวนที่เท่าๆ กัน
- อายุ 41-55 ปี เป็นวัยที่มีหน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้สูง แต่ก็มีรายจ่ายที่สูงไม่แพ้กัน การลงทุนของคนในวัยนี้ควรเลือกลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เริ่มเน้นความปลอดภัยของเงินต้นเป็นหลัก เพื่อจะได้เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามชรา แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรละเลยการลงทุนในตราสารทุนไปซะเลยทีเดียว เพียงแต่ต้องลดสัดส่วนลงเท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพื่อเพิ่มพูนผลตอบแทนให้งอกเงยนอกเหนือจากดอกเบี้ยและเงินปันผลนั่นเอง สัดส่วนที่เหมาะสมในการลงทุนของคนในวัยนี้ คือ 70% ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ อีก 30% ลงทุนในตราสารทุน โดยอาจแบ่งการลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีด้วยก็ดี เนื่องจากคนในวัยนี้ต้องแบกรับภาระภาษีค่อนข้างสูง อันเนื่องมาจากมีรายได้ที่สูงนั่นเอง
- อายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นวัยเกษียณที่แทบจะไม่มีรายได้แล้วสำหรับบางคน แต่ยังคงจับจ่ายใช้สอยอยู่เช่นเดิม แม้ค่าใช้จ่ายบางอย่างในชีวิตประจำวันจะเริ่มลดน้อยลง แต่กลับต้องสำรองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นตามวัยและสุขภาพ ดังนั้น เงินออมเกือบทั้งหมดในชีวิตควรอยู่ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามครับ การลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนกับกองทุนรวม ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนนะครับ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามให้ครับ
ขอขอบคุณ : บลจ.เอ็มเอฟซี ในการเอื้อเฟื้อข้อมูลเเละสมาคมบริษัทจัดการกองทุน
คำถาม - คือผมมีเงินเก็บ 5,000บาทครับ แล้วผมอยากซื้อกองทุนอะไรซักอย่างครับแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ตรงไหนดี พอมีคำแนะนำมั้ยครับ คือผมยังเป็นนักศึกษาอยู่ครับ คือผมอยากจะให้ผลตอบแทนมากกว่าเอาเงินไปฝากไว้กับธนาคารครับ ขอบคุณครับ น.ศ.ปี 2
ตอบ - น่าชื่นใจมากเลยนะครับ สำหรับน้องนักศึกษา ปี 2 อายุไม่เท่าไรเเต่รู้จักเลือกที่จะจัดการกับเงินทองของตนเอง โดยก่อนอื่นเลยน้องต้องดูความต้องการของตัวเองก่อนว่า เลือกที่จะลงทุนแบบไหน ก่อนอื่นจะต้องวิเคราะห์ตัวเองก่อนว่า มีเป้าหมายในการลงทุนเพื่ออะไร มีความสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน หรือต้องการสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน หากน้องเป็นนักลงทุนที่กลัวความเสี่ยงหรือรับความเสี่ยงได้น้อย ก็ควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะคุ้มครองเงินต้น หรือกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เป็นต้น หรือหากน้องเป็นนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่มากขึ้น การลงทุนในกองทุนที่มีหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน หรือกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับการกระจายความเสี่ยง หากเป็นนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องในการลงทุนสูง ก็ควรเลือกลงทุนในกองทุนที่สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ
สำหรับที่น้องถามมาว่า อยากได้ผลตอบเเทนมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารก็ต้องกองทุนตราสารหนี้ ครับ ซึ่งกองทุนดังกล่าวให้ผลตอบเเทนสูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร ที่สำคัญไม่ต้องภาษีอีกด้วยครับ ที่สำคัญน้องนักศึกษาปี 2 สามารถลงทุนกองทุนตราสาทุนหรือกองทุนหุ้นได้อีกด้วย เท่าที่นับอายุน้องอาจอายุไม่ถึง 20 ปีเเน่นอน ซึ่งถ้าน้องอยากลงทุนในกองทุนหุ้นต้องให้บิดาเเละมารดาเป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในเอกสารต่างๆทั้งหมด และเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เต็มเมื่อไร น้องก็สามารถลงนามได้ด้วยตนเองครับ
จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำในกองทุนรวมของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรายได้และแผนการบริหารเงินของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับกองทุนที่สนใจจะลงทุน ซึ่งในแต่ละกองทุนจะมีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำกำหนดไว้แตกต่างกัน เช่น 1,000 บาท หรือ 5,000 บาท หรือ 10,000 บาท จะเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนรายย่อยได้มีโอกาสลงทุนเพื่อความมั่นคงทางการเงิน ตลอดจนได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินจำนวนมาก ดังเช่นการลงทุนในด้านอื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น เป็นต้น
ทั้งนี้ทางทีมงานอยากให้น้องนักศึกษาปี 2 วางเเผนการลงทุนตามช่วงอายุอายุดังนี้ (ข้อมูลอ้างอิงจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน)
- อายุ 21-30 ปี เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ยังไม่มีภาระต้องรับผิดชอบมากนัก และเป็นวัยที่ยังมีเวลาและมีกำลังในการหารายได้อีกนาน ดังนั้น คนในช่วงวัยนี้จึงสามารถจัดสรรเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงได้เกือบทั้งหมด เพราะอยู่ในวัยที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มาก และหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็มีเวลามากเพียงพอที่จะเรียนรู้แก้ไขข้อผิดพลาดนั้น โดยอาจจะลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น ได้ถึง 90% ส่วนอีก 10% ที่เหลือเก็บไว้ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
- อายุ 31-40 ปี เป็นวัยที่การงานเริ่มมั่นคง รายได้เพิ่มสูงขึ้น และในขณะเดียวกันก็มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มตามมาเป็นทวีคูณ เพราะ อยู่ในช่วงที่กำลังสร้างครอบครัว แต่งงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ เมื่อมีภาระผูกพันที่ต้องรับผิดชอบมากและต่อเนื่อง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็ลดน้อยลง การลงทุนของคนในวัยนี้จึงอาจจะต้องลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นลงจาก 90% ให้เหลือเพียง 50% ของเงินออม แล้วไปเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้นในจำนวนที่เท่าๆ กัน
- อายุ 41-55 ปี เป็นวัยที่มีหน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้สูง แต่ก็มีรายจ่ายที่สูงไม่แพ้กัน การลงทุนของคนในวัยนี้ควรเลือกลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เริ่มเน้นความปลอดภัยของเงินต้นเป็นหลัก เพื่อจะได้เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามชรา แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรละเลยการลงทุนในตราสารทุนไปซะเลยทีเดียว เพียงแต่ต้องลดสัดส่วนลงเท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพื่อเพิ่มพูนผลตอบแทนให้งอกเงยนอกเหนือจากดอกเบี้ยและเงินปันผลนั่นเอง สัดส่วนที่เหมาะสมในการลงทุนของคนในวัยนี้ คือ 70% ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ อีก 30% ลงทุนในตราสารทุน โดยอาจแบ่งการลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีด้วยก็ดี เนื่องจากคนในวัยนี้ต้องแบกรับภาระภาษีค่อนข้างสูง อันเนื่องมาจากมีรายได้ที่สูงนั่นเอง
- อายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นวัยเกษียณที่แทบจะไม่มีรายได้แล้วสำหรับบางคน แต่ยังคงจับจ่ายใช้สอยอยู่เช่นเดิม แม้ค่าใช้จ่ายบางอย่างในชีวิตประจำวันจะเริ่มลดน้อยลง แต่กลับต้องสำรองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นตามวัยและสุขภาพ ดังนั้น เงินออมเกือบทั้งหมดในชีวิตควรอยู่ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามครับ การลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนกับกองทุนรวม ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนนะครับ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามให้ครับ
ขอขอบคุณ : บลจ.เอ็มเอฟซี ในการเอื้อเฟื้อข้อมูลเเละสมาคมบริษัทจัดการกองทุน