“บลจ.ฟินันซ่า”เปิดข้อมูลย้อนหลังภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนหุ้น 5ปีที่ผ่านมาสร้างผลตอบแทนได้เฉียด 300% ส่วน 1ปีย้อนหลังโตถึง 41% ชี้ยังมีหลายกองทุนที่มียิลด์นิดเดียว จากหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบโอกาส พร้อมแนะผู้ลงทุนอาร์เอ็มเอฟเน้นลงทุนหุ้น เพื่อไม่สูญเสียโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงไว้รอรับช่วงเกษียณ เหตุผลตอบแทนต่างกันเกือบ 10 เท่า ขณะที่ภาพรวมธุรกิจขายกองทุนให้บลจ.ยังขยายตัวไปได้ด้วยดี
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วนับย้อนหลังไป 1ปี ถือว่าเป็นเป็นที่ดีสำหรับกองทุนหุ้นในประเทศไทยเพราะมีการเติบโตที่ดี เนื่องจากได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ 27% แต่อยากให้มองถึงกองทุนที่ได้อันดับ 1 และกองทุนที่ได้อันดับสุดท้ายเพราะทั้ง 2 กองมีผลตอบแทนต่างกันเยอะ ซึ่งกองทุนที่ได้ที่1 มียิลด์ถึง 41% และกองทุนที่ได้ที่อันดับสุดท้ายมียิลด์เพียง 5% และถ้ามองย้อนหลังไป 5 ปี จะพบส่วนต่างยิ่งกว้างขึ้นไปอีก เพราะกองทุนที่ได้ที่ 1 มีผลตอบแทนถึง 299% ขณะที่กองทุนอันดับสุดท้ายมียิลด์เพียง 18%เท่านั้น
“น่าคิดผู้จัดการกองทุนทั้งหมด โดยเฉลี่ยแทบจะไม่สามารถชนะดันชีมาตรฐาน Set 50ได้ เพราะตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงเข้ามาค่อนข้างเยอะ อย่างเช่นกรณีที่ให้ บริษัท ปตท. ช่วยชาติ ซึ่งจริงแล้วมันผิดหลักการ แต่ก็ไม่แปลกสำหรับปัญญาที่เกิดขึ้น เพราะมีการเมืองต้องเข้ามาแทรกแซง แต่จริงๆแล้วมีความเสี่ยง ผู้บริหารปตท.เขามีหน้าที่ต้องทำกำไรผู้ถือหุ้น หากมองในแง่การลงทุนสร้างผลกำไร ถือว่าเป็นเร่องที่ดี อีกตัวอย่างคือ เวเนซุเอล่า น้ำมันแพงรัฐบาลก็เลยเข้ามายึดโรงกลั่นเลย ต้องบอกว่าเรื่องนี้แย่มาก แต่สำหรับไทยแล้วคงไม่ถึงขนานนั้นแน่นอน หรือเหตุการณ์มาตรการกันสำรอง 30% และพวกหุ้นไอพีโอตัวใหญ่จะเข้าหรือไม่เข้าตามกำหนด ทำให้ผู้จัดการกองทุนบางรายพลาดโอกาสในการลงทุนไปบ้าง ซึ่งโดยรวมกองทุนที่มีผลตอบแทนน้อยอาจเพราะมีมาตรการบางอย่างเข้ามากระทบการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน”
นายธีระ กล่าวว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับกองทุนบัวหลวงทศพล ที่สามารถให้ยิลด์สูงสุด 1ปีที่ 30% และ 5 ปีที่ 299% จึงนับว่าเป็นอีกกองทุนหนึ่งที่บริษัทแนะนำลูกค้าให้เข้าลงทุนเนื่องจากผลตอบแทนที่สูง ทั้งนี้เพราะเป็นอีกหนึ่งบริการของบริษัทที่จะแนะนำลูกค้าให้เข้าลงทุนในกองทุนที่ดีที่สุด โดยจะนำเสนอกองทุนเหล่านี้ให้ลูกค้าเราด้วย ขณะที่อีกกองได้แก่กองทุนหุ้น Set50 ของบลจ.ทหารไทย ที่ให้ผลตอบแทนดี และเราก็ได้แนะนำให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน
ส่วนกองทุนหุ้นของบริษัท ได้แก่ กองทุน FAM EEF นั้นมีผลตอบแทนที่ 32% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 22% แม้หลายคนมองว่าน่าเป็นห่วง เพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นไม่ค่อยดี เพราะปัจจัยทางการเมืองไทย แต่ความจริงหากมองลึกๆ 1 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนของกองทุน FAM EEF อยู่ที่ 32% และมีอันดับที่ 20 จากทั้งหมด 151 กองทุนหุ้นในตลาดไทย นี่เป็นข้อมูล ลิปเปอร์ที่ทำลงมา
“FAM EEF มาได้ค่อนข้างดีแม้ตั้งแต่ต้นปีจะ -3% แต่เมื่อดูช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาผลตอบแทนอยู่ที่ 7.8% และยังสามารถชนะดัชนีSet50 ที่มี5.6% กลยุทธ์ลงทุนง่าย โดยจับหุ้น SET50 มาพิจารณาในเงื่อนไขลงทุนแค่ 5 บริษัทต่อ 1 อุตสาหกรรม และขั้นที่ 2 เลือกบริษัทที่มีกำไรดี มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ขั้นที่ 3 คือเป็นบริษัทที่ทำผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นประมาณ15% ต่อปี แล้วเราจะบริษัทประมาณ 5 หุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงและดี แต่ตลาดหุ้นบ้านเรายังมีขนาดเล็ก รีเทิร์นยังไม่เท่าไร อย่างไรก็ตามกองนี้คือกองทุนหลักของเราในการลงทุนผ่านตลาดหุ้นไทย”
นายธีระ กล่าวถึง การลงทุนในตราสารหนี้ ว่า หลายคนเข้าใจผิดว่ากองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ และพันธบัตรนั้นไม่มีวันขาดทุน แต่ความจริงแล้วขณะนี้ก็มีบางกองทุนที่ขาดทุน โดยข้อมูล 4 เดือนแรกจากลิปเปอร์พบว่ามีบางกองขาดทุนไปแล้วถึง 18% และกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดโตเพียง 5.5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับกองทุนหุ้น
ขณะเดียวกัน ช่วงนี้หลายบริษัทนิยมที่จะจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลี ซึ่งหลายคนอาจผิดหวังในผลตอบแทนตรงนี้ หากเกิดปัญหาจากอัตราแลกเปลี่ยน
ส่วนการที่บลจ.ฟินันซ่า ไม่เคยจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ออกมานั้น เนื่องจากบริษัทมองว่าผลตอบแทนการลงทุนประเภทนี้ไม่ค่อยดีเท่าไร ถ้าให้เราสามารถเลือกลงทุนได้เฉพาะประเทศไทย ให้ดูเฉลี่ยการลงทุนในหุ้นในรอบ 1ปีที่ผ่านมา จะได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ 27% ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 2.7% ส่วนการลงทุนในกองทุนตลาดเงิน (มันนี มาร์เก็ต) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.9% ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าการลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนมากกว่าถึง 10 เท่าตัว และยิ่งมองย้อนกับไปดูอีก 3 ปีย้อนหลังที่ 46% /10.4% และ 10%
โดยจากจุดนี้ ทางบริษัทมองว่าถ้าจะบริหารเงินทุนของลูกค้าให้เติบโต ควรที่จะลงทุนในหุ้นมากกว่า ซึ่งจุดนี้เอวที่ทำให้บลจ.ฟินันซา ไม่สนใจที่จะออกกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้เหมือนที่อื่น เพราะมองว่าตราสารหนี้เหมือนเป็นที่พักเงินระยะสั้น ที่หวังอะไรไม่ได้ ซึ่งก็เหมือนกับการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ เพราะใกล้เคียงกัน
ขณะที่แนวคิดว่า นำเงินมาฝากมาพักไว้เพราะตลาดหุ้นผันผวนนั้น หากเรามองกลับไป 5 ปี ตลาดหุ้นก็ผ่านปัจจัยลบมาหลายอย่าง ทั้งจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยทางการเมือง แต่ก็ยังไปได้ 184% หาร5% ก็ตกปีละ40%กว่า ดังนั้นส่วนของบริษัทยังคงให้น้ำหนักในกองทุน FAM EEF เป็นกองหลัก และจะไม่มีการจัดตั้งกองทุนหุ้นกองอื่นออกมาเพื่อลงทุนในตลาดหุ้นประเทศไทยอีกในช่วงนี้ แต่จะมีการจัดตั้งกองทุนหุ้นที่ลงทุนในต่างประเทศแทน
“ถามว่าตอนนี้ตลาดหุ้นไทยมีอะไรใหม่ก็คงไม่มีอะไร แต่ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจนั่นคือตลาดอนุพันธ์ พวกSET 50 Future และ SET 50 Index Option แต่ตอนนี้ที่ติดตามดูอยู่สภาพคล่องยังน้อย แต่น่าสนใจมากกว่า เพราะมีกลยุทธ์ป้องกันความผันผวนได้ด้วยวิธี Long -Short ได้ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่ดี”
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่รัฐบาลกระตุ้นให้มีการลงทุนเกิดขึ้น โดยใช้นโยบายลดหย่อยภาษีเข้าเพิ่มควานน่าสนใจนั้น จากข้อมูลพบว่าขณะนี้มีกองดังกล่าวทั้งหมดประมาณ 57 กอง แบ่งเป็นกองหุ้น 17 กอง กองพันธบัตร 22 กองทุน บาลานซ์ 2 กอง กองยืดหยุ่น 11 กอง กองตราสารหนี้ 5 กองทุน
“อาร์เอ็มเอฟของเราเป็นกองที่คัดสินค้าทีทีของบลจ.อืนมาใส่เข้า กองอื่นของบลจ.อื่นได้ยิลด์มา 13% แต่ที่อยากนำเสนอนั่นคือผลตอบแทนการลงทุนของกองทุนอาร์เอ็มเอฟที่ลงทุนในหุ้น และลงทุนในตราสารหรือพันธบัตร ต่างกัน 10 เท่าตัว เป็นความเข้าใจผิดของผู้ลงทุนทั่วไปที่เข้าใจว่า ออมเพื่อเกษียณเพื่อปลอดภัยดังนั้นควรลงทุนในกองพันธบัตร เพราะได้ลดหย่อนภาษีด้วย 3 แสน – 5 แสนบาท ก็พอใจ แต่ผลตอบแทนมันต่างกัน 10 เท่า ทั้งที่เงินพวกนี้กว่าจะได้แตะก็อายุ 55 ปี ทำไม่ไม่ลงทุนให้มันเติบโตมากกว่านี้ ดูได้จากตัวเลขเงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่กองตราสารหนี้ หรือพันธบัตร
ขณะที่ FAM RAMF ให้ผลตอบแทนที่ 13% อีกทั้งยังมีการกระจายบางส่วนไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงด้วย ดังนั้นเกณฑ์มาตรฐานของเรามีทั้งดัชนีตลท.60% 30% เป็นMSCI World และอีก 10% คือดัชนีทองคำ ซึ่งช่วงนี้จะเห็นได้ชัดว่าความเสี่ยงปลอดภัยกว่า อาทิที่ผ่านมาหุ้นลง 50 จุดแต่เราปลอดภัยกว่าเพราะมีการกระจายลงทุน”นายธีระ กล่าว
ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่า ย้ำว่าบริษัทไม่เน้นออกกองทุน ในประเทศ เพราะตลาดไทยมีหุ้นที่น่าเข้าไปลงทุนเพียงแค่ 50 ตัวเท่านั้น จึงพยายามเน้นเพิ่มเอ็นเอวีมากกว่า และเน้นรักษาผลตอบแทนของแต่ละกองให้สูง เพื่อเป็นจุดเด่นแนะนำลูกค้า เพราะต้องการมีประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้านั่นเอง
ขณะที่แผนการเพิ่มจำนวนลูกค้าของบริษํท จะเน้นในกลุ่มลูกค้าระดับสูง ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาเล็ก แต่มีศักยภาพและความคล่องตัวมากกว่า รวมถึงเจ้าของบริษัทจดทะเบียนที่มีกำไร และอีกกลุ่มคือผู้บริหารของกองสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนการขายกองทุนรวมของบลจ.อื่นนั้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวทำได้ค่อนข้างดี ซึ่งปัจจุบันบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับหลายๆบลจ. โดยใช้กลยุทธ์ชี้แจงให้เห็นถึงผีระโยชน์สูงสุดที่จะได้จากการลงทุนผ่านกองทุนนั้นๆ และช่วยลูกค้าคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วนับย้อนหลังไป 1ปี ถือว่าเป็นเป็นที่ดีสำหรับกองทุนหุ้นในประเทศไทยเพราะมีการเติบโตที่ดี เนื่องจากได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ 27% แต่อยากให้มองถึงกองทุนที่ได้อันดับ 1 และกองทุนที่ได้อันดับสุดท้ายเพราะทั้ง 2 กองมีผลตอบแทนต่างกันเยอะ ซึ่งกองทุนที่ได้ที่1 มียิลด์ถึง 41% และกองทุนที่ได้ที่อันดับสุดท้ายมียิลด์เพียง 5% และถ้ามองย้อนหลังไป 5 ปี จะพบส่วนต่างยิ่งกว้างขึ้นไปอีก เพราะกองทุนที่ได้ที่ 1 มีผลตอบแทนถึง 299% ขณะที่กองทุนอันดับสุดท้ายมียิลด์เพียง 18%เท่านั้น
“น่าคิดผู้จัดการกองทุนทั้งหมด โดยเฉลี่ยแทบจะไม่สามารถชนะดันชีมาตรฐาน Set 50ได้ เพราะตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงเข้ามาค่อนข้างเยอะ อย่างเช่นกรณีที่ให้ บริษัท ปตท. ช่วยชาติ ซึ่งจริงแล้วมันผิดหลักการ แต่ก็ไม่แปลกสำหรับปัญญาที่เกิดขึ้น เพราะมีการเมืองต้องเข้ามาแทรกแซง แต่จริงๆแล้วมีความเสี่ยง ผู้บริหารปตท.เขามีหน้าที่ต้องทำกำไรผู้ถือหุ้น หากมองในแง่การลงทุนสร้างผลกำไร ถือว่าเป็นเร่องที่ดี อีกตัวอย่างคือ เวเนซุเอล่า น้ำมันแพงรัฐบาลก็เลยเข้ามายึดโรงกลั่นเลย ต้องบอกว่าเรื่องนี้แย่มาก แต่สำหรับไทยแล้วคงไม่ถึงขนานนั้นแน่นอน หรือเหตุการณ์มาตรการกันสำรอง 30% และพวกหุ้นไอพีโอตัวใหญ่จะเข้าหรือไม่เข้าตามกำหนด ทำให้ผู้จัดการกองทุนบางรายพลาดโอกาสในการลงทุนไปบ้าง ซึ่งโดยรวมกองทุนที่มีผลตอบแทนน้อยอาจเพราะมีมาตรการบางอย่างเข้ามากระทบการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน”
นายธีระ กล่าวว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับกองทุนบัวหลวงทศพล ที่สามารถให้ยิลด์สูงสุด 1ปีที่ 30% และ 5 ปีที่ 299% จึงนับว่าเป็นอีกกองทุนหนึ่งที่บริษัทแนะนำลูกค้าให้เข้าลงทุนเนื่องจากผลตอบแทนที่สูง ทั้งนี้เพราะเป็นอีกหนึ่งบริการของบริษัทที่จะแนะนำลูกค้าให้เข้าลงทุนในกองทุนที่ดีที่สุด โดยจะนำเสนอกองทุนเหล่านี้ให้ลูกค้าเราด้วย ขณะที่อีกกองได้แก่กองทุนหุ้น Set50 ของบลจ.ทหารไทย ที่ให้ผลตอบแทนดี และเราก็ได้แนะนำให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน
ส่วนกองทุนหุ้นของบริษัท ได้แก่ กองทุน FAM EEF นั้นมีผลตอบแทนที่ 32% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 22% แม้หลายคนมองว่าน่าเป็นห่วง เพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นไม่ค่อยดี เพราะปัจจัยทางการเมืองไทย แต่ความจริงหากมองลึกๆ 1 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนของกองทุน FAM EEF อยู่ที่ 32% และมีอันดับที่ 20 จากทั้งหมด 151 กองทุนหุ้นในตลาดไทย นี่เป็นข้อมูล ลิปเปอร์ที่ทำลงมา
“FAM EEF มาได้ค่อนข้างดีแม้ตั้งแต่ต้นปีจะ -3% แต่เมื่อดูช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาผลตอบแทนอยู่ที่ 7.8% และยังสามารถชนะดัชนีSet50 ที่มี5.6% กลยุทธ์ลงทุนง่าย โดยจับหุ้น SET50 มาพิจารณาในเงื่อนไขลงทุนแค่ 5 บริษัทต่อ 1 อุตสาหกรรม และขั้นที่ 2 เลือกบริษัทที่มีกำไรดี มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ขั้นที่ 3 คือเป็นบริษัทที่ทำผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นประมาณ15% ต่อปี แล้วเราจะบริษัทประมาณ 5 หุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงและดี แต่ตลาดหุ้นบ้านเรายังมีขนาดเล็ก รีเทิร์นยังไม่เท่าไร อย่างไรก็ตามกองนี้คือกองทุนหลักของเราในการลงทุนผ่านตลาดหุ้นไทย”
นายธีระ กล่าวถึง การลงทุนในตราสารหนี้ ว่า หลายคนเข้าใจผิดว่ากองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ และพันธบัตรนั้นไม่มีวันขาดทุน แต่ความจริงแล้วขณะนี้ก็มีบางกองทุนที่ขาดทุน โดยข้อมูล 4 เดือนแรกจากลิปเปอร์พบว่ามีบางกองขาดทุนไปแล้วถึง 18% และกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดโตเพียง 5.5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับกองทุนหุ้น
ขณะเดียวกัน ช่วงนี้หลายบริษัทนิยมที่จะจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลี ซึ่งหลายคนอาจผิดหวังในผลตอบแทนตรงนี้ หากเกิดปัญหาจากอัตราแลกเปลี่ยน
ส่วนการที่บลจ.ฟินันซ่า ไม่เคยจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ออกมานั้น เนื่องจากบริษัทมองว่าผลตอบแทนการลงทุนประเภทนี้ไม่ค่อยดีเท่าไร ถ้าให้เราสามารถเลือกลงทุนได้เฉพาะประเทศไทย ให้ดูเฉลี่ยการลงทุนในหุ้นในรอบ 1ปีที่ผ่านมา จะได้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ 27% ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 2.7% ส่วนการลงทุนในกองทุนตลาดเงิน (มันนี มาร์เก็ต) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.9% ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าการลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนมากกว่าถึง 10 เท่าตัว และยิ่งมองย้อนกับไปดูอีก 3 ปีย้อนหลังที่ 46% /10.4% และ 10%
โดยจากจุดนี้ ทางบริษัทมองว่าถ้าจะบริหารเงินทุนของลูกค้าให้เติบโต ควรที่จะลงทุนในหุ้นมากกว่า ซึ่งจุดนี้เอวที่ทำให้บลจ.ฟินันซา ไม่สนใจที่จะออกกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้เหมือนที่อื่น เพราะมองว่าตราสารหนี้เหมือนเป็นที่พักเงินระยะสั้น ที่หวังอะไรไม่ได้ ซึ่งก็เหมือนกับการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ เพราะใกล้เคียงกัน
ขณะที่แนวคิดว่า นำเงินมาฝากมาพักไว้เพราะตลาดหุ้นผันผวนนั้น หากเรามองกลับไป 5 ปี ตลาดหุ้นก็ผ่านปัจจัยลบมาหลายอย่าง ทั้งจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยทางการเมือง แต่ก็ยังไปได้ 184% หาร5% ก็ตกปีละ40%กว่า ดังนั้นส่วนของบริษัทยังคงให้น้ำหนักในกองทุน FAM EEF เป็นกองหลัก และจะไม่มีการจัดตั้งกองทุนหุ้นกองอื่นออกมาเพื่อลงทุนในตลาดหุ้นประเทศไทยอีกในช่วงนี้ แต่จะมีการจัดตั้งกองทุนหุ้นที่ลงทุนในต่างประเทศแทน
“ถามว่าตอนนี้ตลาดหุ้นไทยมีอะไรใหม่ก็คงไม่มีอะไร แต่ก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจนั่นคือตลาดอนุพันธ์ พวกSET 50 Future และ SET 50 Index Option แต่ตอนนี้ที่ติดตามดูอยู่สภาพคล่องยังน้อย แต่น่าสนใจมากกว่า เพราะมีกลยุทธ์ป้องกันความผันผวนได้ด้วยวิธี Long -Short ได้ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่ดี”
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่รัฐบาลกระตุ้นให้มีการลงทุนเกิดขึ้น โดยใช้นโยบายลดหย่อยภาษีเข้าเพิ่มควานน่าสนใจนั้น จากข้อมูลพบว่าขณะนี้มีกองดังกล่าวทั้งหมดประมาณ 57 กอง แบ่งเป็นกองหุ้น 17 กอง กองพันธบัตร 22 กองทุน บาลานซ์ 2 กอง กองยืดหยุ่น 11 กอง กองตราสารหนี้ 5 กองทุน
“อาร์เอ็มเอฟของเราเป็นกองที่คัดสินค้าทีทีของบลจ.อืนมาใส่เข้า กองอื่นของบลจ.อื่นได้ยิลด์มา 13% แต่ที่อยากนำเสนอนั่นคือผลตอบแทนการลงทุนของกองทุนอาร์เอ็มเอฟที่ลงทุนในหุ้น และลงทุนในตราสารหรือพันธบัตร ต่างกัน 10 เท่าตัว เป็นความเข้าใจผิดของผู้ลงทุนทั่วไปที่เข้าใจว่า ออมเพื่อเกษียณเพื่อปลอดภัยดังนั้นควรลงทุนในกองพันธบัตร เพราะได้ลดหย่อนภาษีด้วย 3 แสน – 5 แสนบาท ก็พอใจ แต่ผลตอบแทนมันต่างกัน 10 เท่า ทั้งที่เงินพวกนี้กว่าจะได้แตะก็อายุ 55 ปี ทำไม่ไม่ลงทุนให้มันเติบโตมากกว่านี้ ดูได้จากตัวเลขเงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่กองตราสารหนี้ หรือพันธบัตร
ขณะที่ FAM RAMF ให้ผลตอบแทนที่ 13% อีกทั้งยังมีการกระจายบางส่วนไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงด้วย ดังนั้นเกณฑ์มาตรฐานของเรามีทั้งดัชนีตลท.60% 30% เป็นMSCI World และอีก 10% คือดัชนีทองคำ ซึ่งช่วงนี้จะเห็นได้ชัดว่าความเสี่ยงปลอดภัยกว่า อาทิที่ผ่านมาหุ้นลง 50 จุดแต่เราปลอดภัยกว่าเพราะมีการกระจายลงทุน”นายธีระ กล่าว
ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่า ย้ำว่าบริษัทไม่เน้นออกกองทุน ในประเทศ เพราะตลาดไทยมีหุ้นที่น่าเข้าไปลงทุนเพียงแค่ 50 ตัวเท่านั้น จึงพยายามเน้นเพิ่มเอ็นเอวีมากกว่า และเน้นรักษาผลตอบแทนของแต่ละกองให้สูง เพื่อเป็นจุดเด่นแนะนำลูกค้า เพราะต้องการมีประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้านั่นเอง
ขณะที่แผนการเพิ่มจำนวนลูกค้าของบริษํท จะเน้นในกลุ่มลูกค้าระดับสูง ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาเล็ก แต่มีศักยภาพและความคล่องตัวมากกว่า รวมถึงเจ้าของบริษัทจดทะเบียนที่มีกำไร และอีกกลุ่มคือผู้บริหารของกองสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนการขายกองทุนรวมของบลจ.อื่นนั้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวทำได้ค่อนข้างดี ซึ่งปัจจุบันบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับหลายๆบลจ. โดยใช้กลยุทธ์ชี้แจงให้เห็นถึงผีระโยชน์สูงสุดที่จะได้จากการลงทุนผ่านกองทุนนั้นๆ และช่วยลูกค้าคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุด