บลจ.บัวหลวง จ่ายปันผล "กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน" ในอัตรา 0.35455229 บาทต่อหน่วยลงทุน ประกาศปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลถึงวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ด้านนักลงทุนเตรียมเฮรับทรัพย์ 10 มิถุนายน 2551
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทจัดการจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลของกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2551 โดยบริษัทจะหยุดขายหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2551 แต่ยังคงรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ตามปกติ เพื่อจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.35455229 บาทต่อหน่วยลงทุน
โดยกองทุนจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 9 มิถุนายน 2551 และกำหนดจ่ายเงินปันผลและเริ่มขายหน่วยลงทุนอีกครั้งในวันที่ 10 มิถุนายน เป็นต้นไป
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP) จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2539 มีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 อยู่ที่ 184.71 ล้านบาท มีมูลค่าหน่วยลงทุนเท่ากับ 8.0181 บาท ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 2,000 บาท และมีมูลค่าขั้นต่ำของการซื้อขายครั้งต่อไปอยู่ที่ 1,000 บาท
ทั้งนี้ กองทุนเปิด BCAP มีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 10.06 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 9.54 % มีผลตอบแทนย้อนหลัง6 เดือน อยู่ที่ -7.34% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ -6.97% มีผลตอบแทนย้อนหลัง 12 เดือน อยู่ที่ 29.98 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 19.72% และมีผลการตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งการกองทุนอยู่ที่ 60.48% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ -4.59 %
อย่างไรก็ตาม กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนเน้นการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาว ในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจสูงหรือมีปัจจัยพื้นฐานดี โดยจะลงทุนในหรือไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝากหรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกเบี้ยโดยวิธีอื่น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ในส่วนของโครงการมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่เกินปีละ 4 ครั้ง โดยในการจ่ายเงินปันผลแต่ละครั้งบริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในอัตรารอยละ 95 จากกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิจากการดำเนินงานแต่ละงวดบัญชี ( 3 เดือน) ของโครงการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว จะต้องไม่ทำให้กองทุนมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในงวดบัญชีที่พิจารณาจ่ายเงินปันผล
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน มีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ โดยมีการลงทุนในตราสารแห่งทุนรวม 88.28% ได้แก่ กลุ่มพลังงาน 44.48% กลุ่มธนาคาร 30.23% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 5.56% กลุ่มสื่อสาร 1.19% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 1.41% กลุ่มอื่นๆ 5.41% และมีการลงทุนมีตราสารหนี้ 11.26%และเงินฝากอื่นๆ 0.46%
นอกจากนี้มีบริษัทที่ลงทุน 10 อันดับแรกของตราสาร โดยมีบมจ. ปตท. 12.46%เป็นอันดับแรก ส่วนอันดับ 2 บมจ. ธนาคารกรุงเทพ 11.77% อันดับ 3 บมจ. บ้านปู 9.18 % อันดับ 4 บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยม 7.72% อันดับ 5 บมจ.ธนาคารกสิกรไทย 6.73% อันดับ 6 บมจ.ไทยออยส์ 5.46% อันดับ 7 บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ 4.63% อันดับ 8 บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 4.61% อันดับ 9 บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 4.28% และอันดับสุดท้าย บมจ. ปตท. เคมิคอล 2.88%
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทจัดการจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลของกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2551 โดยบริษัทจะหยุดขายหน่วยลงทุนกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2551 แต่ยังคงรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ตามปกติ เพื่อจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.35455229 บาทต่อหน่วยลงทุน
โดยกองทุนจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 9 มิถุนายน 2551 และกำหนดจ่ายเงินปันผลและเริ่มขายหน่วยลงทุนอีกครั้งในวันที่ 10 มิถุนายน เป็นต้นไป
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP) จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2539 มีมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 อยู่ที่ 184.71 ล้านบาท มีมูลค่าหน่วยลงทุนเท่ากับ 8.0181 บาท ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 2,000 บาท และมีมูลค่าขั้นต่ำของการซื้อขายครั้งต่อไปอยู่ที่ 1,000 บาท
ทั้งนี้ กองทุนเปิด BCAP มีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 25 เมษายน 2551 โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ 10.06 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 9.54 % มีผลตอบแทนย้อนหลัง6 เดือน อยู่ที่ -7.34% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ -6.97% มีผลตอบแทนย้อนหลัง 12 เดือน อยู่ที่ 29.98 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 19.72% และมีผลการตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งการกองทุนอยู่ที่ 60.48% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ -4.59 %
อย่างไรก็ตาม กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนเน้นการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาว ในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจสูงหรือมีปัจจัยพื้นฐานดี โดยจะลงทุนในหรือไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เงินฝากหรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกเบี้ยโดยวิธีอื่น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบ
ในส่วนของโครงการมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่เกินปีละ 4 ครั้ง โดยในการจ่ายเงินปันผลแต่ละครั้งบริษัทจัดการจะพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในอัตรารอยละ 95 จากกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิจากการดำเนินงานแต่ละงวดบัญชี ( 3 เดือน) ของโครงการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว จะต้องไม่ทำให้กองทุนมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในงวดบัญชีที่พิจารณาจ่ายเงินปันผล
สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน มีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ โดยมีการลงทุนในตราสารแห่งทุนรวม 88.28% ได้แก่ กลุ่มพลังงาน 44.48% กลุ่มธนาคาร 30.23% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 5.56% กลุ่มสื่อสาร 1.19% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 1.41% กลุ่มอื่นๆ 5.41% และมีการลงทุนมีตราสารหนี้ 11.26%และเงินฝากอื่นๆ 0.46%
นอกจากนี้มีบริษัทที่ลงทุน 10 อันดับแรกของตราสาร โดยมีบมจ. ปตท. 12.46%เป็นอันดับแรก ส่วนอันดับ 2 บมจ. ธนาคารกรุงเทพ 11.77% อันดับ 3 บมจ. บ้านปู 9.18 % อันดับ 4 บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยม 7.72% อันดับ 5 บมจ.ธนาคารกสิกรไทย 6.73% อันดับ 6 บมจ.ไทยออยส์ 5.46% อันดับ 7 บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ 4.63% อันดับ 8 บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 4.61% อันดับ 9 บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 4.28% และอันดับสุดท้าย บมจ. ปตท. เคมิคอล 2.88%