ผลการจัดอันดับธนาคารแห่งปี 2551 ธนาคารกรุงเทพโชว์ผลงานเยี่ยม กำไรสุทธิสูงสุดกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท คว้าตำแหน่ง Bank of The Year 2008 ตามติดด้วยธนาคารไทยพาณิชย์นั่งที่ 2 กำไรสุทธิพุ่ง 1.6 หมื่นล้านบาท และธนาคารกสิกรไทย ทำกำไรสุทธิ 1.5 หมื่นล้านบาท ติดอันดับ 3
วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนเมษายน 2551 ที่กำลังวางแผงในขณะนี้ ประกาศผลการจัดอันดับธนาคารแห่งปี ประจำปี 2551 หรือ Bank of The Year 2008 ปรากฏว่า ธนาคารกรุงเทพได้ครองตำแหน่งธนาคารแห่งปี 2551 โดยสามารถสร้างผลประกอบการที่โดดเด่น มีกำไรสุทธิสูงเป็นอันดับ 1 ถึง 19,101.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.3% จากปี 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวที่ดีของสินเชื่อและเงินฝาก นอกจากนี้ ยังมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 10.01 บาท สูงเป็นอันดับ 1 เช่นเดียวกัน
ธนาคารกรุงเทพยังคงดำเนินยุทธศาสตร์หลัก ด้วยการมุ่งเน้นคุณภาพ เพื่อให้เป็นธนาคารที่ลูกค้าจะนึกถึงเป็นอันดับต้น โดยในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าธุรกิจรายใหญ่และลูกค้าธุรกิจรายกลาง เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนลูกค้าบุคคลก็ได้นำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ ที่จะสนับสนุนให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายของการสร้างพื้นฐานความมั่นคงทางการเงิน ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายและช่องทางบริการให้ได้รับความสะดวกสบายสูงสุดในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ ปีนี้อยู่ในอันดับ 2 โชว์กำไรสุทธิสูงเป็นอันดับ 2 จำนวน 16,637 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.38% จากปี 2549 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย รวมทั้งมีภาระในการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงจากปี 2549
ส่วนอันดับ 3 ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย มีผลกำไรสุทธิสูงเป็นอันดับ 3 รวม 15,003.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.19% ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้รวม ทั้งจากรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผล และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่สูงถึง 72,575.10 ล้านบาท
สำหรับอันดับ 4 ตกเป็นของ ธนาคารเกียรตินาคิน ซึ่งมีผลงานเป็นอันดับหนึ่งทั้ง Net Profit Margin 32.18% ROA 3.5% และ ROE 19.98% อันดับ 5 ได้แก่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ที่ยังคงสานต่อปณิธานในการเป็นธนาคารไทยที่มีความเป็นสากลที่สุด
ส่วนอันดับ 6 เป็นของธนาคารกรุงไทย ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารแสนสะดวกสำหรับลูกค้ารายย่อย ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสถาบันการเงิน ตามติดด้วยธนาคารน้องใหม่อีก 2 แห่งคือ ธนาคารทิสโก้ที่ครองอันดับ 7 และธนาคารสินเอเซีย อันดับ 8 แซงธนาคารรุ่นพี่ที่ยังประสบปัญหาขาดทุน โดยธนาคารที่อยู่ในอันดับ 9 เท่ากัน คือ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ผนึกกำลังกับกลุ่มบริษัทในเครือเพื่อให้บริการอย่างครบวงจรในนาม SCIB Family และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหลังจากที่จีอีเข้าร่วมทุน ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการที่ครบวงจรที่ได้รับความชื่นชมมากที่สุด
ส่วนอันดับ 11 ได้แก่ ธนาคารธนชาต ธนาคารขนาดกลางที่มีความยืดหยุ่นและเน้นการเติบโตอย่างมั่นคง อันดับ 12 ธนาคารยูโอบี ยังคงมุ่งเน้นด้านสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ให้แก่ลูกค้า SME และบริการทางการเงินส่วนบุคคล ส่วนธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ก้าวเข้าสู่ทำเนียบธนาคารแห่งปีเป็นครั้งแรกด้วยการครองอันดับ 13
สำหรับธนาคารไทยธนาคาร อยู่ในอันดับ 14 โดยธนาคารมีแผนเพิ่มทุนให้มี BIS ไม่ต่ำกว่า 15% ภายใน 3 ปี และลดสัดส่วนธุรกรรมที่ไม่ใช่ธุรกิจของธนาคาร และรั้งอันดับ 15 ท้ายสุด ด้วยธนาคารทหารไทย ที่ประสบผลขาดทุนสูงถึงกว่า 43,000 ล้านบาท ซึ่งยังคงต้องติดตามผลงานของธนาคารต่อไปหลังจากที่ได้กลุ่มไอเอ็นจี เข้ามาร่วมทุน
ปีนี้ วารสารการเงินธนาคาร ได้ทำการจัดอันดับธนาคารแห่งปี 2551 โดยใช้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในรอบปี 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2550 มาพิจารณาจัดอันดับ เพื่อให้ผลการจัดอันดับสะท้อนภาพรวมของธนาคารพาณิชย์ในรอบปีอย่างชัดเจน จากเดิมที่ใช้ผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปีก่อนหน้าและครึ่งแรกของปีปัจจุบันมาพิจารณาจัดอันดับ
ส่วนปัจจัยที่ใช้วัดยังคงใช้เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งพิจารณาถึงอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมด 11 ด้าน ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของแต่ละธนาคาร ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์, อัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น, อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม, กำไรต่อหุ้น, มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น, สินทรัพย์, อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม, สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม, อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝาก, อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความสามารถในการแข่งขันที่สะท้อนออกมาในรูปของผลประกอบการที่ดีแล้ว ก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องเสถียรภาพและความมั่นคงของธนาคารควบคู่กันไปด้วย ซึ่งผลการจัดอันดับธนาคารแห่งปีจะประกาศในวารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนเมษายนของทุกปี
วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนเมษายน 2551 ที่กำลังวางแผงในขณะนี้ ประกาศผลการจัดอันดับธนาคารแห่งปี ประจำปี 2551 หรือ Bank of The Year 2008 ปรากฏว่า ธนาคารกรุงเทพได้ครองตำแหน่งธนาคารแห่งปี 2551 โดยสามารถสร้างผลประกอบการที่โดดเด่น มีกำไรสุทธิสูงเป็นอันดับ 1 ถึง 19,101.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.3% จากปี 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวที่ดีของสินเชื่อและเงินฝาก นอกจากนี้ ยังมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 10.01 บาท สูงเป็นอันดับ 1 เช่นเดียวกัน
ธนาคารกรุงเทพยังคงดำเนินยุทธศาสตร์หลัก ด้วยการมุ่งเน้นคุณภาพ เพื่อให้เป็นธนาคารที่ลูกค้าจะนึกถึงเป็นอันดับต้น โดยในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าธุรกิจรายใหญ่และลูกค้าธุรกิจรายกลาง เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนลูกค้าบุคคลก็ได้นำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ ที่จะสนับสนุนให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายของการสร้างพื้นฐานความมั่นคงทางการเงิน ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายและช่องทางบริการให้ได้รับความสะดวกสบายสูงสุดในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคาร
ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ ปีนี้อยู่ในอันดับ 2 โชว์กำไรสุทธิสูงเป็นอันดับ 2 จำนวน 16,637 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.38% จากปี 2549 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย รวมทั้งมีภาระในการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงจากปี 2549
ส่วนอันดับ 3 ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย มีผลกำไรสุทธิสูงเป็นอันดับ 3 รวม 15,003.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.19% ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้รวม ทั้งจากรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผล และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่สูงถึง 72,575.10 ล้านบาท
สำหรับอันดับ 4 ตกเป็นของ ธนาคารเกียรตินาคิน ซึ่งมีผลงานเป็นอันดับหนึ่งทั้ง Net Profit Margin 32.18% ROA 3.5% และ ROE 19.98% อันดับ 5 ได้แก่ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ที่ยังคงสานต่อปณิธานในการเป็นธนาคารไทยที่มีความเป็นสากลที่สุด
ส่วนอันดับ 6 เป็นของธนาคารกรุงไทย ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารแสนสะดวกสำหรับลูกค้ารายย่อย ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสถาบันการเงิน ตามติดด้วยธนาคารน้องใหม่อีก 2 แห่งคือ ธนาคารทิสโก้ที่ครองอันดับ 7 และธนาคารสินเอเซีย อันดับ 8 แซงธนาคารรุ่นพี่ที่ยังประสบปัญหาขาดทุน โดยธนาคารที่อยู่ในอันดับ 9 เท่ากัน คือ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ผนึกกำลังกับกลุ่มบริษัทในเครือเพื่อให้บริการอย่างครบวงจรในนาม SCIB Family และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหลังจากที่จีอีเข้าร่วมทุน ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารที่ให้บริการที่ครบวงจรที่ได้รับความชื่นชมมากที่สุด
ส่วนอันดับ 11 ได้แก่ ธนาคารธนชาต ธนาคารขนาดกลางที่มีความยืดหยุ่นและเน้นการเติบโตอย่างมั่นคง อันดับ 12 ธนาคารยูโอบี ยังคงมุ่งเน้นด้านสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ให้แก่ลูกค้า SME และบริการทางการเงินส่วนบุคคล ส่วนธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ก้าวเข้าสู่ทำเนียบธนาคารแห่งปีเป็นครั้งแรกด้วยการครองอันดับ 13
สำหรับธนาคารไทยธนาคาร อยู่ในอันดับ 14 โดยธนาคารมีแผนเพิ่มทุนให้มี BIS ไม่ต่ำกว่า 15% ภายใน 3 ปี และลดสัดส่วนธุรกรรมที่ไม่ใช่ธุรกิจของธนาคาร และรั้งอันดับ 15 ท้ายสุด ด้วยธนาคารทหารไทย ที่ประสบผลขาดทุนสูงถึงกว่า 43,000 ล้านบาท ซึ่งยังคงต้องติดตามผลงานของธนาคารต่อไปหลังจากที่ได้กลุ่มไอเอ็นจี เข้ามาร่วมทุน
ปีนี้ วารสารการเงินธนาคาร ได้ทำการจัดอันดับธนาคารแห่งปี 2551 โดยใช้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในรอบปี 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2550 มาพิจารณาจัดอันดับ เพื่อให้ผลการจัดอันดับสะท้อนภาพรวมของธนาคารพาณิชย์ในรอบปีอย่างชัดเจน จากเดิมที่ใช้ผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปีก่อนหน้าและครึ่งแรกของปีปัจจุบันมาพิจารณาจัดอันดับ
ส่วนปัจจัยที่ใช้วัดยังคงใช้เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งพิจารณาถึงอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมด 11 ด้าน ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของแต่ละธนาคาร ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์, อัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น, อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม, กำไรต่อหุ้น, มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น, สินทรัพย์, อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม, สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม, อัตราส่วนเงินให้กู้ยืมต่อเงินฝาก, อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความสามารถในการแข่งขันที่สะท้อนออกมาในรูปของผลประกอบการที่ดีแล้ว ก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องเสถียรภาพและความมั่นคงของธนาคารควบคู่กันไปด้วย ซึ่งผลการจัดอันดับธนาคารแห่งปีจะประกาศในวารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนเมษายนของทุกปี