xs
xsm
sm
md
lg

‘บลจ.ฟินันซ่า’ทุกกองทุนยิลด์โตเพิ่ม หุ้น&แอลทีเอฟเด่น-คอมมอดิตี้NAVใกล้1.3พันล.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยิลด์กองทุนรวม บลจ.ฟินันซ่าเติบโตเพิ่ม สิ้นเมษายนผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนเหนือเกณฑ์มาตรฐานทุกกอง โดยเฉพาะกองหุ้นและแอลทีเอฟ ขณะที่กองหุ้นต่างประเทศเริ่มฟื้น ส่วนกองคอมมอดิตี้ยิลด์สูง 21.47% เม็ดเงินเอ็นเอวีปรับตัวเพิ่มเฉียด 1.3 พันล้านบาท

รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยถึงผลดำเนินงานกองทุนรวมภายใต้การบริหารของบริษัท ประจำเดือนเมษายน 2551 ว่า ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนของกองทุนเปิดทุกประเภทมีการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้น

ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่า มีกองทุนรวมภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 5 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดฟินันซ่า SET เพิ่มพูลปันผล (FAM EEF) , กองทุนเปิดฟินนันซ่า หุ้นระยะยาว (FAM LTF) , กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ฟินันซ่า โกบอล อโลเคชั่น ( FAM GAF) , กองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอล คอมมอดีตี้ (FAM GCF) และกองทุนรวมหน่วยลงทุน ฟินันซ่าเพื่อการเลี้ยงชีพ (FAM RMF )

สำหรับ กองทุนเปิด FAM EEF มีผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ 11.80% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ดัชนี SET 50) ซึ่งอยู่ที่ 9.31% ขณะที่นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมีผลตอบแทนย้อนหลังอยู่ที่ 53.60% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 31.57% ทั้งนี้กองทุนดังกล่าว มีนโยบายลงทุนในหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินรวม และมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์จากการดำเนินงานในส่วนที่เกิดขึ้นจากรายได้เงินปันผล

โดย ณ วันที่ 25 เม.ย. 2551 กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เอ็นเอวี) 847,596,715.03 บาท และมีสัดส่วนลงทุนในตราสารทุนทั้งสิ้น 98.77% แบ่งเป็นสัดส่วนตามกลุ่มหลักทรัพย์ 5 อันดับแรกได้แก่ กลุ่มพลังงาน 47.87% กลุ่มธนาคาร 22.17% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 6.06% กลุ่มสื่อสาร 5.67% และกลุ่มพาณิชย์ 4.11% และมีหลักทรัพย์ที่เข้าลงทุนใน5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) , บมจ.ปตท.สผ. ,ธนาคารกสิกรไทย ,ธนาคารไทยพาณิชย์ และบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ส่วนที่เหลืออีก 1.23% นั้นเป็นเงินสด

ขณะที่ กองทุนเปิด FAM LTF ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ 11.46% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ดัชนี SET50 ) ที่ 9.31% และมีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งอยู่ที่ 48.63% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 32.47% โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในหุ้นบริษัทจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าสินทรัพย์รวม และไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล ซึ่ง ณ วันที่ 25เม.ย. 2551 กองทุนมีเอ็นเอวีรวม 100,152,347.93 บาท ทั้งนี้กองทุนได้ลงทุนในหลักทรัพย์สูงถึง 98.67% แบ่งเป็นกลุ่มพลังงาน 47.83% กลุ่มธนาคาร 22.15% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 6.06% กลุ่มสื่อสาร 5.67% และกลุ่มพาณิชย์ 4.10% นอกจากนี้พบว่า 5 หลักทรัพย์แรกที่กองทุนเข้าลงทุนนั้นมีสัดส่วนที่เหมือนกับกองทุนเปิดฟินันซ่า SET เพิ่มพูลปันผล (FAM SET)

ขณะที่เดียวกัน กองทุนเปิด FAM GAF สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ 1.69% สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (USB Customized Global Securities Markets Index (GSMI) ที่ปรับฐานเป็นเงินบาท) ซึ่งอยู่ที่ –1.82% ขณะที่ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมีผลตอบแทนย้อนหลัง –3.21% เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน –0.78% โดยมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน UBS (Lux) Key Selection Sicav-Global Allocation (USD)B เพียงกองทุนเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมีนโยบายจ่ายปันผลปีละ 1 ครั้ง ไม่น้อยกว่า 30% จากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์สุทธิจาการดำเนินงาน ซึ่งมีผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน 1.17% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ 18.63%

ณ วันที่ 25 เม.ย. 2551 พบว่า กองทุนได้กระจายสัดส่วนการลงทุนโดยแบ่งเป็น การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา 50.0% การลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก (ยกเว้นสหรัฐ) 20.0% กองทุนในพันธบัตรสหรัฐ 18.0% การลงทุนพันธบัตรทั่วโลก (เว้นสหรัฐ) 6.0% พันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูง 5.0% และตลาดหุ้นเกิดใหม่ 1.0% โดย 10 อันดับหลักทรัพย์แรกที่เข้าลงทุนได้แก่ General Electric Co , Intel Corp , Wells Fargo & Co, Exellon Corp , Wyeth , Burlinton Northern Santa fe , Microsolft Corp , Citigroup Inc ,Morgan Stanley และ Halliburton Co โดยกองทุนมีมูลค่าเอ็นเอวีทั้งสิ้น 1,475,368,367.64 บาท

ส่วน กองทุนเปิด FAM GCF พบว่า ณ วันที่ 25 เม.ย. 2551 กองทุนมีเอ็มเอวีรวม 1,285,060,080.89 บาท ซึ่งได้มีการแบ่งสัดส่วนลงทุนผ่านสินทรัพย์ต่างๆ ดังนี้ การลงทุนในน้ำมันปิโตรเลียม 41.0% การลงทุนในเมล็ดธัญพืช 19.9% การลงทุนในโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรม 14.0% โลหะมีค่า 7.1% สินค้าเกษตร 5.7% เส้นใยต่างๆ 4.3% ปศุสัตว์ 3.0% ก๊าซธรรมชาติ 3.0% และอื่นๆ 2.0% โดยมีสินค้าที่ให้น้ำหนักการลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรกคือ น้ำมันดิบ ข้าวสาลี ข้าวโพด ฝ้าย อลูมิเนียม ทองแดง ทองคำ น้ำมันไร้สารตะกั่ว ก๊าซธรรมชาติ และถั่วเหลือง

ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน UBS (Lux) Structured Sicav-Rogers International Commodity Index ที่ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน 21.59% เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าเอ็นเอวี และมีนโยบายจ่ายปันผลปีละ 1 ครั้ง ไม่ต่ำกว่า 30% ของจากการเพิ่มขึ้นในทรัพย์สินสุทธิจากการดำเนินงาน ในงวดบัญชีที่จะจ่ายปันผล โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน 21.47% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Roger International Commodity Index (RICI) ที่ 12.71% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมีผลตอบแทนย้อนหลัง 57.62% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 55.50%

สุดท้าย กองทุนเปิด FAM RMF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งทุนและตราสารแห่งหนี้ ทั้งในและต่างประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของเอ็นเอวีรวมซึ่งมีผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ 8.92% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 5.33% ขณะที่ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังที่ 20.72% เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 26.46% โดย ณ วันที่ 25 เม.ย. 2551 กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 39,071,449.98 บาท

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่า กองทุนดังกล่าวมีสัดส่วนลงทุนผ่านกองทุนรวมในประเทศ 55.67% กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ 25.35% กองทุนคอมมอดิตี้ 9.84% ตราสารทุน 8.03% รวมทั้งเงินสดและตราสารหนี้ 1.11% โดยกองทุนรวมในประเทศที่ FAM RMFเข้าลงทุนคือ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี อีควิตี้ฟันด์ , กองทุนเปิด บัวแก้ว 2 , กองทุนเปิด Jumbo 25 ,กองทุนเปิด อเบอร์ดีน โกรท ส่วนกองทุนรวมต่างประเทศคือ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย อลเอเชีย อีควิตี้ , กองทุนเปิดแอสเซทพลัส โกลบอลอัลโลเคชั่น , กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ไอเอ็นจี ไทย โกลบอล ไฮดิวิดนต์ และกองทุนเปิดอเบอร์ดีน เวิลด์ออพพอร์ททูนิดี้ส์ ฟันด์ รวมถึงกองทุนเปิด ทหารไทย โกลด์ ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์
กำลังโหลดความคิดเห็น