บลจ.ยูโอบีปิดไอพีโอ “ยูโอบี ซีเล็ค โกลบอล วอร์มมิ่ง 1” ระดมทุนได้ 300 ล้านบาท รายย่อยแห่ซื้อถึง 90% เหตุต้องการลงทุนในกองทุนที่ปลอดภัย มีความเสี่ยงน้อย ขณะเดียวกันเตรียมออกกองทุนเอฟไอเอฟ 1 กองทุน มูลค่า 1,400 ล้านบาท คาดเสนอขายหน่วยลงทุนได้กลางเดือน พ.ค.นี้ แนะนักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้น หลังดัชนีปรับตัวลงมามาก
นายชุติพนธ์ อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส – หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลุยุทธ์ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี ซีเล็ค โกลบอล วอร์มมิ่ง 1 (UOB Select Global Warming 1 Fund) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) ที่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ โดยได้ทำการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 22-28 เมษายนที่ผ่านมา พบว่ากองทุนดังกล่าวสามารถระดมทุนได้ประมาณ 300 ล้านบาท
สำหรับนักลงทุนที่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนนี้ส่วนใหญ่มากกว่า 90% เป็นนักลงทุนรายย่อย โดยในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นจะประสบกับภาวะขาดทุน จึงต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความปลอดภัยแทน ซึ่งการลงทุนในกองทุนประเภทนี้มีความมั่นคงมากกว่า เพราะกองทุนจะมีการจ่ายเงินต้นคืนเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการ และยังมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ด้วย แม้ว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะปรับตัวลง แต่ยังไม่เป็นที่น่าวิตกกังวล หากว่าดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนี MSCI World
ขณะเดียวกัน บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) เพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสารมารถเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนได้ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมนี้
ส่วนกองทุนเปิดยูโอบี ซีเล็ค โกลบอล วอร์มมิ่ง 1 (UOB Select Global Warming 1 Fund) เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) ที่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ อายุโครงการ 3 ปี และมีมูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท โดยจะเน้นลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes) ในรูปสกุลเงินยูโร ซึ่งออกโดยธนาคารและรัฐวิสาหกิจในต่างประเทศที่มีอันดับเครดิต AA, Aa2 รวม 4 แห่ง และทำการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนเงินต้น และให้โอกาสรับผลตอบแทนเพิ่มเติมอ้างอิงกับส่วนต่างของดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD และดัชนี MSCI World ณ สิ้นปีที่ 3 เทียบกับวันจดทะเบียน ซึ่งดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ซึ่งเป็นดัชนีที่ลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากกระแสตื่นตัวจากสภาวะโลกร้อนทั่วโลก
สำหรับ ดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ได้คิดค้น จัดตั้งและพัฒนาขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2550 โดย Citigroup Global Markets Limited (CGML) ซึ่งเป็นบริษัทวาณิชธนกิจ ในกลุ่มบริษัทซิตี้กรุ๊ป ซึ่งได้คัดเลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะโลกร้อนทั่วโลกจากรายชื่อหุ้นที่ Citi Investment Research ทำการวิเคราะห์อยู่ โดยเลือกเฉพาะหุ้นที่ Citi Investment Research ให้คำแนะนำซื้อเท่านั้น
โดยดัชนีดังกล่าวจะทำการคัดเลือกหุ้นในพอร์ต ด้วยการจัดเรียงหุ้นตามมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของหุ้น โดยจะเลือกหุ้นที่มีมูลค่าตลาดรวมขั้นต่ำ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ส่วนจะเหลือเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ไม่ต่ำกว่า 10 ตัว แต่ไม่เกิน 30 ตัว และจะมีหุ้นจากภูมิภาคเดียวกันได้ไม่เกิน 18 ตัว โดยให้น้ำการลงทุนเท่ากันทุกตัว และจะมีการปรับน้ำหนักดัชนีทุก 3 เดือน
ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนของดัชนี Citi Climate Change 5 อันดับแรก ณ วันที่ 18 มีนาคม 2551 พบว่ามีการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 17% อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ น้ำ และ อุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง 13% อุตสาหกรรมสารเคมี 10% อุตสาหกรรมประกันวินาศภัย 10% และอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติ 10%
ขณะที่ ผลการดำเนินงานของดัชนี Citi Climate Change ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ -3.38% ดัชนี MSCI World อยู่ที่ -7.79% ย้อนหลัง 6 เดือนที่ 8.04% ดัชนี MSCI World อยู่ที่ -4.88% ย้อนหลัง 1 ปีที่ 20.71% ดัชนี MSCI World อยู่ที่ -0.34% และให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีที่ 93.01% ขณะที่ดัชนี MSCI World อยู่ที่ 26.24%
นอกจากนี้แบบจำลองของผลตอบแทนย้อนหลังในรูปแบบสกุลเงินบาทของกองทุน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 พบว่าสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปีที่ 7.32% และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 21.96%
นายชุติพนธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนทั่วไปประสบกับภาวะขาดทุน จึงไม่ต้องการเข้าไปลงทุนเพิ่มเติม แต่จริงๆ แล้ว ในช่วงนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าไปลงทุน เพราะว่าตลาดหุ้นปรับตัวลงมามาก จึงน่าจะเข้าไปลงทุนได้ หากเปรียบเทียบกับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
นายชุติพนธ์ อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส – หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลุยุทธ์ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี ซีเล็ค โกลบอล วอร์มมิ่ง 1 (UOB Select Global Warming 1 Fund) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) ที่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ โดยได้ทำการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 22-28 เมษายนที่ผ่านมา พบว่ากองทุนดังกล่าวสามารถระดมทุนได้ประมาณ 300 ล้านบาท
สำหรับนักลงทุนที่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนนี้ส่วนใหญ่มากกว่า 90% เป็นนักลงทุนรายย่อย โดยในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นจะประสบกับภาวะขาดทุน จึงต้องการลงทุนในกองทุนที่มีความปลอดภัยแทน ซึ่งการลงทุนในกองทุนประเภทนี้มีความมั่นคงมากกว่า เพราะกองทุนจะมีการจ่ายเงินต้นคืนเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการ และยังมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ด้วย แม้ว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะปรับตัวลง แต่ยังไม่เป็นที่น่าวิตกกังวล หากว่าดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนี MSCI World
ขณะเดียวกัน บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) เพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสารมารถเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนได้ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมนี้
ส่วนกองทุนเปิดยูโอบี ซีเล็ค โกลบอล วอร์มมิ่ง 1 (UOB Select Global Warming 1 Fund) เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) ที่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ อายุโครงการ 3 ปี และมีมูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท โดยจะเน้นลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes) ในรูปสกุลเงินยูโร ซึ่งออกโดยธนาคารและรัฐวิสาหกิจในต่างประเทศที่มีอันดับเครดิต AA, Aa2 รวม 4 แห่ง และทำการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนเงินต้น และให้โอกาสรับผลตอบแทนเพิ่มเติมอ้างอิงกับส่วนต่างของดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD และดัชนี MSCI World ณ สิ้นปีที่ 3 เทียบกับวันจดทะเบียน ซึ่งดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ซึ่งเป็นดัชนีที่ลงทุนในตราสารทุนของบริษัททั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากกระแสตื่นตัวจากสภาวะโลกร้อนทั่วโลก
สำหรับ ดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ได้คิดค้น จัดตั้งและพัฒนาขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2550 โดย Citigroup Global Markets Limited (CGML) ซึ่งเป็นบริษัทวาณิชธนกิจ ในกลุ่มบริษัทซิตี้กรุ๊ป ซึ่งได้คัดเลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะโลกร้อนทั่วโลกจากรายชื่อหุ้นที่ Citi Investment Research ทำการวิเคราะห์อยู่ โดยเลือกเฉพาะหุ้นที่ Citi Investment Research ให้คำแนะนำซื้อเท่านั้น
โดยดัชนีดังกล่าวจะทำการคัดเลือกหุ้นในพอร์ต ด้วยการจัดเรียงหุ้นตามมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของหุ้น โดยจะเลือกหุ้นที่มีมูลค่าตลาดรวมขั้นต่ำ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ส่วนจะเหลือเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี Citi Climate Change Opportunities PR USD ไม่ต่ำกว่า 10 ตัว แต่ไม่เกิน 30 ตัว และจะมีหุ้นจากภูมิภาคเดียวกันได้ไม่เกิน 18 ตัว โดยให้น้ำการลงทุนเท่ากันทุกตัว และจะมีการปรับน้ำหนักดัชนีทุก 3 เดือน
ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนของดัชนี Citi Climate Change 5 อันดับแรก ณ วันที่ 18 มีนาคม 2551 พบว่ามีการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 17% อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ น้ำ และ อุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง 13% อุตสาหกรรมสารเคมี 10% อุตสาหกรรมประกันวินาศภัย 10% และอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติ 10%
ขณะที่ ผลการดำเนินงานของดัชนี Citi Climate Change ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ -3.38% ดัชนี MSCI World อยู่ที่ -7.79% ย้อนหลัง 6 เดือนที่ 8.04% ดัชนี MSCI World อยู่ที่ -4.88% ย้อนหลัง 1 ปีที่ 20.71% ดัชนี MSCI World อยู่ที่ -0.34% และให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีที่ 93.01% ขณะที่ดัชนี MSCI World อยู่ที่ 26.24%
นอกจากนี้แบบจำลองของผลตอบแทนย้อนหลังในรูปแบบสกุลเงินบาทของกองทุน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 พบว่าสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปีที่ 7.32% และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 21.96%
นายชุติพนธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนทั่วไปประสบกับภาวะขาดทุน จึงไม่ต้องการเข้าไปลงทุนเพิ่มเติม แต่จริงๆ แล้ว ในช่วงนี้นับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าไปลงทุน เพราะว่าตลาดหุ้นปรับตัวลงมามาก จึงน่าจะเข้าไปลงทุนได้ หากเปรียบเทียบกับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา