เปิดศักราชปีหนูดินมา...หลายคนตั้งความหวังไว้ว่าการลงทุนทั้งปีนี้ น่าให้ผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว (แม้จะมาตกม้าตายตอนปลายปีก็ตาม)...แต่เปิดตลาดมาวันแรก ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็ประเดิมติดลบทันทีกว่า 15 จุด...แม้จะมีข่าวดีว่าอีกไม่นาน บ้านเราก็จะได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเบือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศต่อ แต่ปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซัปไฟรม์) ในสหรัฐฯ กลับกลายเป็นแรงกดดันสำคัญ ฉุดภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงหุ้นดิ่งเหวตามไปด้วย
ความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นนี้...แน่นอนว่าคนที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) คงใจแป๋วไปตามๆ กัน เพราะในหลายประเทศดัชนีหุ้นปรับลดลงค่อนข้างมากพอสมควร สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบในหลายภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรือเอเชีย ที่รับอานิสงส์การเทขายหุ้นเพื่อนำเงินไปชดเชยปัญหาซับไพรม์ของกองทุนเฮจด์ฟันด์เต็มๆ
นอกจากนี้ ยาขนาดแรงที่เฟดเอาเข้ามาแก้ไขปัญหาการถอถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาถึง 0.75% ในครั้งแรกแบบฉุกเฉิน ก่อนจะปรับลงอีกครั้ง 0.50% ในรอบปกติ...ปัจจัยนี้ ส่งผลกระทบต่อกองทุนต่างประเทศที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตั๋ว ECP เข้าอย่างจัง เนื่องจากผลตอบแทนของตราสารหนี้เหล่านี้ลดลงค่อนข้างมากจนไม่น่าสนใจ จนส่งผลให้บริษัทจัดการกองทุนหลายรายที่เตรียมแผนส่งกองทุน ECP ลุยตลาด ต้องล่าถอยออกมากันเป็นแถว แล้วหันมาลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศแทน
แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส...เพราะในช่วงที่ราคาหุ้นในหลายประเทศปรับลดลงเช่นนี้ ถือว่าเป็นจังหวะที่น่าลงทุนรับผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศที่เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ภายใต้ภาวะเช่นนี้ หลายคนมองไปที่ตลาดในเอเชีย...เพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้ ไม่ได้รับผลกระทบจากซับไพรม์โดยตรง ประกอบกับกูรูหลายคนฟันธงว่า เอเชียยังมีศักยภาพในการเติบโตสูง
และ "เอวายเอฟ" ก็ใช้วิกฤต ถือนี้เป็นโอกาสในการเปิดขาย "กองทุนเปิดอยุธยา เอเชียน แวลู แอนด์ โมเมนตัม" หรือ "AYFCAVA" กองทุนรวมต่างประเทศกองใหม่ ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเป็นกองทุนแรกด้วย...วันนี้ "MutualFund IPO" มีรายละเอียดกองทุนนี้มาฝาก
ประภาส ตันภิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด (เอวายเอฟ) เล่าให้ฟังว่า กองทุนเปิดอยุธยา เอเชียน แวลู แอนด์ โมเมนตัม เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารเเห่งทุน (Equity Fund) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสและช่องทางที่เหมาะสมให้แก่ผู้ลงทุนในการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อเเสวงหาผลประโยชน์จากการเติบโตของตราสารทุนที่จดทะเบียนในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิก ผ่านกงอทุนรวมต่างประเทศชื่อ Citi Asian Value & Momentum Fund ซึ่งจัดตั้ง และบริหารโดย Citiground First Inverstment Management Limited
กองทุนนี้ ใช้ Quantitative Model โดยหลักเกณฑ์สำคัญของโมเดล -แวลูและโมเมนตัม ซึ่งเป็น 2 กลยุทธ์รูปแบบใหม่ในการค้นหาหุ้นเชิงปริมาณที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าและมีความผันผวนที่ต่ำกว่า
โดยการค้นหาหุ้นในด้าน Value จะพิจารณาจาก 2.ปัจจัยคือ อัตราราคาต่อกำไร (P/E) เเละปัจจัยรอง (กรณีที่ไม่มี P/E) นั่นคือ อัตราราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/B) นอกจากนี้ ยังมีการเปรียบเทียบมูลค่าทางทฤษฏีกับราคาตลาด ไม่ว่าจะในกรณีที่ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงและราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
ส่วนอัตรา P/E ที่เหมาะสมจะพิจารณาจากอัตราเติบโตของกำไร (ยิ่งมีอัตราการเติบโตสูง อัตรา P/E ที่เหมาะสม ยิ่งสูงตาม)และ Market Capitallisation (ให้อัตราP/E ที่เหมาะสม สูงกว่าสำหรับหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่) รวมถึงต้นทุนส่วนหนี้ (หากต้นทุนส่วนหนี้สูง อัลตรา P/E ที่เหมาะสมจะต่ำ) และหุ้นที่มีมูลค่ายุติธรรมและหุ้นที่มีอัตรา P/E ที่แท้จริงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
ส่วนการค้นหาหุ้นในด้าน Momentum พิจารณาจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยที่มีความสำคัญเท่ากัน Long-term Price momentum และ Eamings momentum ซึ่งในแง่ของ Price momentum จะดูจากหุ้นที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและมีความสม่ำเสมอ ส่วนปัจจัย Eamings momentum จะตรวจสอบจากสัดส่วนของนักวิเคราะห์ที่ปรับมุมมองของกำไรในอนาคตของหลักทรัพย์นั้นๆในทางบวก ประกอบกับการคาดการณ์ว่ามีการปรับตัวของกำไรที่สูงขึ้นมาก ซึ่ง Model นี้เป็นการนำค่าเฉลี่ยของ Price momentum และ Eamings momentum มาพิจารณาเพื่อค้นหาหุ้นที่มี momentum ที่ดี
โดยวิธีการลงทุน จะเป็นการคัดเลือกจากหุ้นทั่วเอเชียมากกว่า 1,600 บริษัท โมเดลจะทำการคัดเลือกหุ้นที่มีแวลูและโมเมนตัมดีที่สุดเป็น "Superior Stocks" เพียง 30 ตัว และมีการปรับพอร์ทให้เข้ากับสภาวะตลาดทุกเดือน แบบจำลองด้านปริมาณดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ทาง Citigroup พัฒนาขึ้นเอง (Proprietary) ตั้งแต่ปี 1998 เพื่อใช้ในการค้นหาโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า และได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน โดยกองทุน "AYFCAVAM" นับเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ในการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย
"หัวใจหลักในการลงทุน คือ ตราสารทุนที่มีทั้งราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าและมีโมเมนตัมที่ดี ย่อมจะมีโอกาสให้ผลตอบเเทนที่ดีกว่าตลาด โดยจากการทำโมเดลการลงทุนย้อนหลัง ดัชนีให้ผลตอบเเทนโดยเฉลี่ยต่อปี 44% ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา(ข้อมูล ณ.วันที่ 31 ธ.ค. 2550)"
สำหรับความเสี่ยงของกองทุน ประภาส บอกว่า กองทุนนี้มีความเสี่ยง 2 มิติด้วยกัน โดยมิติแรกอยู่ที่อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (เฮจด์) ไว้ เพราะการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ที่ค่าเงินเปลี่ยนแปลงอยู่ในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากเราเห็นว่ามีโอกาสที่ค่าเงินจะแข็งกว่าไทย เราก็สามารถเฮจด์ได้
ส่วนความเสี่ยงในมิติที่ 2 คือ ความผันผวนของตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดเกิดใหม่มีความผันผวนค่อนข้างสูง มีขึ้นมีลงอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นโยบายการลงทุนของกองทุนหลักที่เราเข้าไปลงทุนนั้น เขาจะพยายามสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าความผันผวนของดัชนีอ้างอิง MSCI AC Asia Index ซึ่งดัชนีดังกล่าวไม่ได้นำณี่ปุ่นและอินเดียนำมาคำนวนด้วย
"ประภาส" บอกว่า การที่เราเลือกลงทุนในเอเชีย เพราะเราเชื่อว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ ในระยะยาวยังดีอยู่ จากการมีเสถียรภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่ดี เช่นวินัยทางการคลัง นโยบายอัตราการเเลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและความเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน เอเชียยังเป็นภูมิภาคที่เราคุ้นเคยและรู้ข้อมูลการลงทุนที่มากกว่า
"ช่วงนี้อาจจะเป็นจังหวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเปิดขายกองทุน แต่เรากลับมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุน เพราะราคาหุ้นปรับตัวลดลงค่อนข้างเยอะในช่วงระยะสั้นที่ผ่านมา ซึ่งกองทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว" ประภาสปิดท้าย
ทั้งนี้ เอวายเอฟ กำหนดเสนอขายกองทุนเปิดอยุธยาซิตี้ เอเชียน วาลู แอนด์ โมเมนตัม หรือ AYFCAVAM ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ ซื้อขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ บลจ.อยุธยา (เอวายเอฟ) โทร. 02-657-5757 ต่างจังหวัดโทรฟรี 1-800-226300 และธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย) โทร. 02-232-3335 สำหรับลูกค้าทั่วไป และ โทร. 02-232-2400 สำหรับลูกค้าซิตี้โกลด์
ความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นนี้...แน่นอนว่าคนที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) คงใจแป๋วไปตามๆ กัน เพราะในหลายประเทศดัชนีหุ้นปรับลดลงค่อนข้างมากพอสมควร สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบในหลายภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรือเอเชีย ที่รับอานิสงส์การเทขายหุ้นเพื่อนำเงินไปชดเชยปัญหาซับไพรม์ของกองทุนเฮจด์ฟันด์เต็มๆ
นอกจากนี้ ยาขนาดแรงที่เฟดเอาเข้ามาแก้ไขปัญหาการถอถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาถึง 0.75% ในครั้งแรกแบบฉุกเฉิน ก่อนจะปรับลงอีกครั้ง 0.50% ในรอบปกติ...ปัจจัยนี้ ส่งผลกระทบต่อกองทุนต่างประเทศที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในตั๋ว ECP เข้าอย่างจัง เนื่องจากผลตอบแทนของตราสารหนี้เหล่านี้ลดลงค่อนข้างมากจนไม่น่าสนใจ จนส่งผลให้บริษัทจัดการกองทุนหลายรายที่เตรียมแผนส่งกองทุน ECP ลุยตลาด ต้องล่าถอยออกมากันเป็นแถว แล้วหันมาลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศแทน
แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาส...เพราะในช่วงที่ราคาหุ้นในหลายประเทศปรับลดลงเช่นนี้ ถือว่าเป็นจังหวะที่น่าลงทุนรับผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศที่เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ภายใต้ภาวะเช่นนี้ หลายคนมองไปที่ตลาดในเอเชีย...เพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้ ไม่ได้รับผลกระทบจากซับไพรม์โดยตรง ประกอบกับกูรูหลายคนฟันธงว่า เอเชียยังมีศักยภาพในการเติบโตสูง
และ "เอวายเอฟ" ก็ใช้วิกฤต ถือนี้เป็นโอกาสในการเปิดขาย "กองทุนเปิดอยุธยา เอเชียน แวลู แอนด์ โมเมนตัม" หรือ "AYFCAVA" กองทุนรวมต่างประเทศกองใหม่ ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเป็นกองทุนแรกด้วย...วันนี้ "MutualFund IPO" มีรายละเอียดกองทุนนี้มาฝาก
ประภาส ตันภิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด (เอวายเอฟ) เล่าให้ฟังว่า กองทุนเปิดอยุธยา เอเชียน แวลู แอนด์ โมเมนตัม เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารเเห่งทุน (Equity Fund) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสและช่องทางที่เหมาะสมให้แก่ผู้ลงทุนในการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อเเสวงหาผลประโยชน์จากการเติบโตของตราสารทุนที่จดทะเบียนในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิก ผ่านกงอทุนรวมต่างประเทศชื่อ Citi Asian Value & Momentum Fund ซึ่งจัดตั้ง และบริหารโดย Citiground First Inverstment Management Limited
กองทุนนี้ ใช้ Quantitative Model โดยหลักเกณฑ์สำคัญของโมเดล -แวลูและโมเมนตัม ซึ่งเป็น 2 กลยุทธ์รูปแบบใหม่ในการค้นหาหุ้นเชิงปริมาณที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าและมีความผันผวนที่ต่ำกว่า
โดยการค้นหาหุ้นในด้าน Value จะพิจารณาจาก 2.ปัจจัยคือ อัตราราคาต่อกำไร (P/E) เเละปัจจัยรอง (กรณีที่ไม่มี P/E) นั่นคือ อัตราราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/B) นอกจากนี้ ยังมีการเปรียบเทียบมูลค่าทางทฤษฏีกับราคาตลาด ไม่ว่าจะในกรณีที่ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงและราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
ส่วนอัตรา P/E ที่เหมาะสมจะพิจารณาจากอัตราเติบโตของกำไร (ยิ่งมีอัตราการเติบโตสูง อัตรา P/E ที่เหมาะสม ยิ่งสูงตาม)และ Market Capitallisation (ให้อัตราP/E ที่เหมาะสม สูงกว่าสำหรับหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่) รวมถึงต้นทุนส่วนหนี้ (หากต้นทุนส่วนหนี้สูง อัลตรา P/E ที่เหมาะสมจะต่ำ) และหุ้นที่มีมูลค่ายุติธรรมและหุ้นที่มีอัตรา P/E ที่แท้จริงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
ส่วนการค้นหาหุ้นในด้าน Momentum พิจารณาจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยที่มีความสำคัญเท่ากัน Long-term Price momentum และ Eamings momentum ซึ่งในแง่ของ Price momentum จะดูจากหุ้นที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและมีความสม่ำเสมอ ส่วนปัจจัย Eamings momentum จะตรวจสอบจากสัดส่วนของนักวิเคราะห์ที่ปรับมุมมองของกำไรในอนาคตของหลักทรัพย์นั้นๆในทางบวก ประกอบกับการคาดการณ์ว่ามีการปรับตัวของกำไรที่สูงขึ้นมาก ซึ่ง Model นี้เป็นการนำค่าเฉลี่ยของ Price momentum และ Eamings momentum มาพิจารณาเพื่อค้นหาหุ้นที่มี momentum ที่ดี
โดยวิธีการลงทุน จะเป็นการคัดเลือกจากหุ้นทั่วเอเชียมากกว่า 1,600 บริษัท โมเดลจะทำการคัดเลือกหุ้นที่มีแวลูและโมเมนตัมดีที่สุดเป็น "Superior Stocks" เพียง 30 ตัว และมีการปรับพอร์ทให้เข้ากับสภาวะตลาดทุกเดือน แบบจำลองด้านปริมาณดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ทาง Citigroup พัฒนาขึ้นเอง (Proprietary) ตั้งแต่ปี 1998 เพื่อใช้ในการค้นหาโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า และได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน โดยกองทุน "AYFCAVAM" นับเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ในการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย
"หัวใจหลักในการลงทุน คือ ตราสารทุนที่มีทั้งราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าและมีโมเมนตัมที่ดี ย่อมจะมีโอกาสให้ผลตอบเเทนที่ดีกว่าตลาด โดยจากการทำโมเดลการลงทุนย้อนหลัง ดัชนีให้ผลตอบเเทนโดยเฉลี่ยต่อปี 44% ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา(ข้อมูล ณ.วันที่ 31 ธ.ค. 2550)"
สำหรับความเสี่ยงของกองทุน ประภาส บอกว่า กองทุนนี้มีความเสี่ยง 2 มิติด้วยกัน โดยมิติแรกอยู่ที่อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (เฮจด์) ไว้ เพราะการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ที่ค่าเงินเปลี่ยนแปลงอยู่ในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากเราเห็นว่ามีโอกาสที่ค่าเงินจะแข็งกว่าไทย เราก็สามารถเฮจด์ได้
ส่วนความเสี่ยงในมิติที่ 2 คือ ความผันผวนของตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดเกิดใหม่มีความผันผวนค่อนข้างสูง มีขึ้นมีลงอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นโยบายการลงทุนของกองทุนหลักที่เราเข้าไปลงทุนนั้น เขาจะพยายามสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าความผันผวนของดัชนีอ้างอิง MSCI AC Asia Index ซึ่งดัชนีดังกล่าวไม่ได้นำณี่ปุ่นและอินเดียนำมาคำนวนด้วย
"ประภาส" บอกว่า การที่เราเลือกลงทุนในเอเชีย เพราะเราเชื่อว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ ในระยะยาวยังดีอยู่ จากการมีเสถียรภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมาจากนโยบายเศรษฐกิจที่ดี เช่นวินัยทางการคลัง นโยบายอัตราการเเลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและความเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน เอเชียยังเป็นภูมิภาคที่เราคุ้นเคยและรู้ข้อมูลการลงทุนที่มากกว่า
"ช่วงนี้อาจจะเป็นจังหวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเปิดขายกองทุน แต่เรากลับมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุน เพราะราคาหุ้นปรับตัวลดลงค่อนข้างเยอะในช่วงระยะสั้นที่ผ่านมา ซึ่งกองทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว" ประภาสปิดท้าย
ทั้งนี้ เอวายเอฟ กำหนดเสนอขายกองทุนเปิดอยุธยาซิตี้ เอเชียน วาลู แอนด์ โมเมนตัม หรือ AYFCAVAM ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ ซื้อขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ บลจ.อยุธยา (เอวายเอฟ) โทร. 02-657-5757 ต่างจังหวัดโทรฟรี 1-800-226300 และธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย) โทร. 02-232-3335 สำหรับลูกค้าทั่วไป และ โทร. 02-232-2400 สำหรับลูกค้าซิตี้โกลด์