xs
xsm
sm
md
lg

เชียร์รัฐ-เอกชนลงขันตั้งSWF เน้นแข่งขันสร้างความแข็งแกร่งเฉพาะภูมิภาค

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการกองทุนค่ายเอ็มเอฟซีมองกองทุน SWF น่าจับตา หลังปรับกลยุทธ์ลงทุนในธุรกิจเรียลเซกเตอร์มากขึ้น โดยไม่ถือครองพันธบัตรสหรัฐเพียงอย่างเดียว ชี้ไทยไม่จำเป็นต้องตั้ง SWF หากสามารถหาสินทรัพย์รองรับการลงทุนได้ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และอสังหาริมทรัพย์ในแหล่งท่องเที่ยว แต่ต้องมีขนาดใหย๋น่าดึงดูดใจ แนะหากสนใจตั้งกองทุนจริง ลงขันรัฐ-เอกชนครึ่งต่อครึ่ง เน้นแข่งขันและสร้างความแข็งแกร่งเฉพาะในภูมิภาค
นายศุภกร สุนทรกิจ
นายศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ปัจจุบันกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund : SWF) เป็นกองทุนที่เริ่มได้ยินชื่อบ่อยขึ้น ขณะเดียวกันก็มีจำนวนกองทุนเพิ่มมากขึ้น และมีการแบ่งขั่วประเทศกันชัดเจนมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยในปัจจุบันรูปแบบการลงทุนของกองทุนประเภทนี้ ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร ด้วยการหันไปให้ความสำคัญกับการลงทุนในบริษัท หรือธุรกิจเรียลเซกเตอร์มากขึ้น และยังต่อเนื่องไปถึงการลงทุนในกองทุนต่างประเทศด้วย จากเดิมที่นิยมลงทุนในพันธบัตรสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่หลังจากพันธบัตรดังกล่าวเริ่มเสื่อมค่าลง ส่งผลให้กองทุนไม่ถือครองอยู่ในสัดส่วนการลงทุนหลัก

ทั้งนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ก็เป็นหนึ่งในการลงทุนที่กองทุน SWF มองหาเช่นกัน ซึ่งไทยเองถือเป็นประเทศที่กำลังมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างมาก ดังนั้น ประเทศไทยอาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งกองทุน SWF แต่มีส่วนในการหาสินทรัพย์ให้กองทุนเหล่านี้เข้ามาลงทุน เช่น โครงการลงทุนเมกะโปรเจกต์ อสังหาริมทรัพย์ในแหล่งท่องเที่ยว ขณะเดียวกันตลาดหุ้นไทยเอง ก็น่าลงทุนเช่นกัน

"เราไม่จำเป็นต้องมีกองทุน SWF เหมือนประเทศอื่นๆ ก็ได้ แต่เราต้องดูตัวเองว่าเรามีอะไรที่น่าสนใจพอต่อการลงทุนของเขาหรือไม่ หลายๆ อย่างเราทำได้ แต่ต้องทำให้มีขนาดใหญ่จึงจะน่าสนใจ เช่น หุ้นท่าเรือ ที่เรายังไม่มีให้กองทุนเหล่านี้ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งหากเขาเข้ามาลงทุนเพียง 1% ของเขา ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่สูงมากแล้ว เนื่องจากกองทุนเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่ทั้งนั้น" นายศุภกรกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากไทยจะตั้งกองทุน SWF จริง มองว่าแนวทางในการระดมทุนจากภาครัฐและเอกชนในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง ก็น่าสนใจ เพราะการลงทุนของกองทุนประเภทนี้ ไม่จำกัดเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศเท่านั้น โดยสามารถมาผลตอบแทนจากในประเทศไทยเองได้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุน SWF ควรเป็นการลงทุนที่แสดงออกถึงความเป็นเจ้าของในกิจการนั้นๆ ไม่ใช่แสดงออกถึงสถานะของการเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งหากไทยจะตั้งขึ้นมาอาจจะเน้นลงทุนแคบๆ เพียงในภูมิภาคเป็นหลัก โดยเน้นสร้างความแข็งแกร่งกับประเทศที่เราสามารถแข่งขันได้ เพราะหากกำหนดกรอบการลงทุนที่กว้างเกินไป อาจจะสู้กับกองทุนขนาดใหญ่ในต่างประเทศไม่ได้

สำหรับกองทุน SWF เป็นกองทุนเพื่อการลงทุนของภาครัฐ โดยนำเอาเงินส่วนเกินของภาครัฐมาลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่หลากหลายมากขึ้น (หรือมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น) รวมถึงตราสารทุน (equity) อสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทยุทธปัจจัย (strategic commodities) อาทิ บ่อน้ำมัน โทรคมนาคม สาธารณูปโภคอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้น แนวทางการบริหารของ SWF แตกต่างไปจากการบริหารทุนสำรองของทางการแบบดั้งเดิมที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ คูเวตถือได้ว่าเป็นประเทศแรกที่จัดตั้งกองทุนในรูปแบบของ SWF ภายใต้ชื่อ Reserves Fund for Future Generation ในปี 1953 แต่การที่ SWF กลายมาเป็นจุดสนใจทั่วโลกในช่วงนี้ เนื่องจาก การที่เงินสำรองทางการของหลายๆ ประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน และประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเอเชีย ทำให้มีการจัดตั้ง SWF ขึ้น เช่น จีน ได้จัดตั้ง China’s Investment Corporation (CIC) เมื่อปีที่แล้ว การเข้าซื้อหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ และยุโรป ของ SWF บางแห่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น