ในยามปกติทั่วไปผู้ลงทุนควรลงทุนตามสัดส่วนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Allocation) ที่สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของเรา เช่น 30 (หุ้น) / 70 (ตราสารหนี้) หรือ 50/50 หรือ 70/30 สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อย ปานกลาง และมากตามลำดับ
อย่างไรก็ตามในบางช่วงเวลา ผู้ลงทุนอาจมีการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เบี่ยงเบนออกจากสัดส่วนพื้นฐานเป็นการชั่วคราว (Tactical Allocation) ให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น หรือหลีกเลี่ยงการขาดทุนจำนวนมาก
การลงทุนให้เหมาะกับภาวะและอารมณ์ของตลาด ก็เปรียบได้กับการรู้จักเลือกซื้อผลไม้ให้ต้องตรงกับฤดูกาลต่างๆ เช่นหน้าร้อนอย่างนี้ก็ต้องทานมะม่วง หรือทุเรียน ซึ่งจะได้ทั้งรสชาดที่ดี ราคาที่เหมาะสม และมีให้เลือกซื้อเป็นจำนวนมาก ถ้าหากว่าเราต้องการกินทุเรียนในหน้าฝนหรือหน้าหนาวแล้วละก็ นอกจากรสชาดที่ด้อยกว่าแล้วราคายังแพงอีกด้วย เราจึงควรจะไปเลือกกินผลไม้อื่นที่กำลังออกผลดีในช่วงนั้นๆแทน
ความยากลำบากของการลงทุนเมื่อเปรียบกับการซื้อผลไม้ คือ ตลาดทุนไม่ได้มีวงจรของฤดูกาลที่แน่นอน ทั้งยังขอแม่ค้าชิมไม่ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเราก็พอจะมีตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถมองความถูกแพงของหลักทรัพย์ได้บ้างเหมือนกัน ... การดูราคาหลักทรัพย์ลงทุนว่าถูกหรือแพงนั้น เราดูกันที่ผลตอบแทนที่คาดหวังครับ ซึ่งสำหรับการทำ Asset Allocation ที่เราคุยกันอยุ่นี้ เราพูดถึงหลักทรัพย์หลักสองประเภท คือ หุ้นกับตราสารหนึ้ เราจะมาดูกันถึงวิธีวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่ายเพี่อเปรียบเทียบความถูกแพงระหว่างหุ้นกับตราสารหนึ้
พันธบัตรรัฐบาลมีขนาดและสภาพคล่องสูงที่สุดในหมู่ตราสารหนี้ เราจะพิจารณาจากการมองตลาดพันธบัตรว่าน่าสนใจหรือไม่โดยดูจากอัตราของผลตอบแทน (Yield to Maturity) โดยสำหรับการลงทุนระยะยาวแล้ว นักลงทุนโดยทั่วไปจะใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีเป็นตัวอ้างอิงในการพิจารณา (benchmark) ณ วันที่ 15 พ.ค. 51 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีอยู่ที่ 4.87% ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราซื้อพันธบัตรดังกล่าวในราคาตลาดปัจจุบันแล้วถือจนครบอายุสิบปีเราจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 4.87% (โดยท่านผู้ลงทุนสามารถเข้าไปดูอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้ที่เว็ปไซต์ของสมาคมตราสารหนี้ไทยที่ www.thaibma.or.th)
สำหรับการมองภาพ ตลาดหุ้นโดยรวมว่าถูกหรือแพงนั้นสามารถพิจารณาได้โดยประมาณจากค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ หรือค่า P/E (Price to Earning Ratio) ซึ่งเป็นการนำเอาราคาของหุ้นทั้งตลาดเป็นตัวตั้งและนำเอากำไรสุทธิของหุ้นทั้งตลาดมาเป็นตัวหาร ซึ่งสามารถแปลความได้ว่า หากตลาดหุ้นมีค่า P/E เท่ากับ 10 เท่า หมายถึงว่าโดยเฉลี่ยแล้วตลาดยินดีจ่ายราคา 10 บาทไปซื้อหุ้นที่มีกำไร 1 บาท หรือถ้าตลาดหุ้นมีค่า P/E เท่ากับ 20 ก็หมายถึงตลาดยินดีจ่ายราคา 20 เท่าของความสามารถในการทำกำไร 1 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ P/E ที่สูงก็มีโอกาสที่จะหมายถึงการที่ขณะนั้นราคาหุ้นค่อนไปทางแพง แต่จะเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือไม่ เราจะมาทำความเข้าใจเปรียบเทียบกับการซื้อของกันครับ
เวลาเราช้อปปิ้งเลือกซื้อของ แรงขับในการตัดสินใจจะประกอบด้วยเหตุผลและอารมณ์ ถ้าเหตุผลนำเราอาจได้ซื้อของที่มีราคาเหมาะสมหรือยอมไม่ซื้อถ้าไตร่ตรองแล้วว่าไม่คุ้มค่าไม่สมราคา แต่ถ้าอารมณ์อยากเป็นตัวนำ เราก็อาจหลวมตัวซื้อของแพงบ้าง ของที่ไม่จำเป็นบ้าง แล้วค่อยมาเสียใจภายหลัง ดังนั้นการซื้อของที่ราคาสูง ไม่ได้แสดงว่าซื้อแพงเสมอไป หากของนั้นมีคุณค่าดีสมราคาที่สูงนั้น แต่อาจแพงถ้าเราจ่ายสูงเพราะโฆษณาเร้าใจ คนขายเชียร์เก่ง หรือเพราะเห็นว่ามันกำลังฮ็อตกำลังฮิต
เหตุผลและอารมณ์ของตลาดหุ้น กับ ความถูกแพงของ P/E
ปัจจัยพื้นฐานที่หนุนให้ P/E สูงได้คือ ความสามารถในการทำกำไร และอัตราการเติบโตของมัน ยามใดที่มีการคาดหวังที่ดีต่อกำไรในอนาคต นั่นหมายถึง ตัว E (earning) จะมีค่าสูงขึ้น ยามนั้นนักลงทุนย่อมยินดีซื้อในราคาที่สูงหน่อยเพราะรู้ว่าเมื่อกำไร(ซึ่งเป็นตัวหารในการคำนวณ)สูงขึ้นแล้ว อัตราส่วน P/E ก็ย่อมต่ำลงมาเองเป็นธรรมดา ดังนั้น P/E สูงที่กอรปด้วยการคาดหวังที่ดีต่ออนาคตของกำไรอย่างสมเหตุสมผลจึงไม่ได้แสดงว่าหุ้นแพง ที่เราต้องระวังคือภาวะที่ P/E สูงด้วยอารมณ์ระเริงมองโลกดีเกินควร ในทางตรงกันข้ามบางช่วงเวลาก็มีภาวะที่ตลาดถูกครอบงำด้วยอารมณ์อันหดหู่หวาดกลัวเกินเหตุ เราก็อาจเห็นราคาหุ้นที่ตกต่ำและค่า P/E ต่ำกว่าควร และกลายเป็นโอกาสของการลงทุนที่ดีเป็นพิเศษได้เช่นกัน
Trailing P/E และ Forward P/E
ในการลงทุน เรากำลังซื้อความสามารถในการทำกำไรในอนาคต ดังนั้นการดู P/E ที่ตีความหมายได้ง่าย คือ Forward P/E ซึ่งคำนวณโดยใช้ราคาหุ้นปัจจุบันหารด้วยกำไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในสิบสองเดือนข้างหน้า ซึ่งเนื่องจากต้องมีการคาดการณ์มองไปข้างหน้าจึงต้องอาศัยข้อมูลที่นักวิเคราะห์ได้ทำการพยากรณ์เอาไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่ต้องแปลกใจหากท่านพบว่าค่า P/E จากต่างบริษัทหลักทรัพย์จะมีค่าต่างกัน เพราะต้องมีการคาดการณ์กำไรซึ่งย่อมแตกต่างกันเป็นของธรรมดา ส่วนค่า P/E ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไปนั้นเป็น Trailing P/E ซึ่งอาศัยการคำนวณของตลาดหลักทรัพย์ที่คำนวณจากการเอาราคาปิดล่าสุดหารด้วยกำไรสิบสองเดือนที่ผ่านมาครับ ข้อดีของ Trailing P/E คือเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วจริงล้วนๆไม่ปนด้วยความเห็นความคาดคะเนของนักวิเคราะห์ เพียงแต่ว่าผู้ลงทุนต้องคิดต่อ เช่น สมมุติว่า ถ้า Trailing P/E มีค่าเท่ากับ 12 เท่าแล้วเราคาดว่าในหนึ่งปีข้างหน้ากำไรน่าจะเพิ่มขึ้น15% (แปลว่า Eใหม่จะเท่ากับ Eเดิมคูณ1.15) เราก็พอจะคำนวณได้ว่า Forward P/E ก็จะเท่ากับ 10.43 เท่า (12หารด้วย1.15) เป็นต้น ผู้ลงทุนสามารถดูค่า Trailing P/E ของตลาดหุ้นได้จาก Website ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
ในตอนนี้เราได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า การทำ Tactical Allocation สนใจภาวะตลาด และต้องการจะปรับการลงทุนเพื่อเอาประโยชน์จากการเข้าใจภาวะตลาดนั้น การมองว่าอะไรถูกอะไรแพงจึงมีความสำคัญ และเราก็ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าสำหรับตราสารหนี้และพันธบัตรนั้น เราดู Yield to Maturity ส่วนหุ้นเราดู P/E ในตอนหน้าเราจะทำการมองเปรียบเทียบระหว่างพันธบัตรและตลาดหุ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้นในการอ่านว่าตอนนี้เป็นฤดูของอะไร อย่าลืมติดตามนะครับ
อย่างไรก็ตามในบางช่วงเวลา ผู้ลงทุนอาจมีการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เบี่ยงเบนออกจากสัดส่วนพื้นฐานเป็นการชั่วคราว (Tactical Allocation) ให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น หรือหลีกเลี่ยงการขาดทุนจำนวนมาก
การลงทุนให้เหมาะกับภาวะและอารมณ์ของตลาด ก็เปรียบได้กับการรู้จักเลือกซื้อผลไม้ให้ต้องตรงกับฤดูกาลต่างๆ เช่นหน้าร้อนอย่างนี้ก็ต้องทานมะม่วง หรือทุเรียน ซึ่งจะได้ทั้งรสชาดที่ดี ราคาที่เหมาะสม และมีให้เลือกซื้อเป็นจำนวนมาก ถ้าหากว่าเราต้องการกินทุเรียนในหน้าฝนหรือหน้าหนาวแล้วละก็ นอกจากรสชาดที่ด้อยกว่าแล้วราคายังแพงอีกด้วย เราจึงควรจะไปเลือกกินผลไม้อื่นที่กำลังออกผลดีในช่วงนั้นๆแทน
ความยากลำบากของการลงทุนเมื่อเปรียบกับการซื้อผลไม้ คือ ตลาดทุนไม่ได้มีวงจรของฤดูกาลที่แน่นอน ทั้งยังขอแม่ค้าชิมไม่ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเราก็พอจะมีตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถมองความถูกแพงของหลักทรัพย์ได้บ้างเหมือนกัน ... การดูราคาหลักทรัพย์ลงทุนว่าถูกหรือแพงนั้น เราดูกันที่ผลตอบแทนที่คาดหวังครับ ซึ่งสำหรับการทำ Asset Allocation ที่เราคุยกันอยุ่นี้ เราพูดถึงหลักทรัพย์หลักสองประเภท คือ หุ้นกับตราสารหนึ้ เราจะมาดูกันถึงวิธีวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่ายเพี่อเปรียบเทียบความถูกแพงระหว่างหุ้นกับตราสารหนึ้
พันธบัตรรัฐบาลมีขนาดและสภาพคล่องสูงที่สุดในหมู่ตราสารหนี้ เราจะพิจารณาจากการมองตลาดพันธบัตรว่าน่าสนใจหรือไม่โดยดูจากอัตราของผลตอบแทน (Yield to Maturity) โดยสำหรับการลงทุนระยะยาวแล้ว นักลงทุนโดยทั่วไปจะใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีเป็นตัวอ้างอิงในการพิจารณา (benchmark) ณ วันที่ 15 พ.ค. 51 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีอยู่ที่ 4.87% ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราซื้อพันธบัตรดังกล่าวในราคาตลาดปัจจุบันแล้วถือจนครบอายุสิบปีเราจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 4.87% (โดยท่านผู้ลงทุนสามารถเข้าไปดูอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้ที่เว็ปไซต์ของสมาคมตราสารหนี้ไทยที่ www.thaibma.or.th)
สำหรับการมองภาพ ตลาดหุ้นโดยรวมว่าถูกหรือแพงนั้นสามารถพิจารณาได้โดยประมาณจากค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ หรือค่า P/E (Price to Earning Ratio) ซึ่งเป็นการนำเอาราคาของหุ้นทั้งตลาดเป็นตัวตั้งและนำเอากำไรสุทธิของหุ้นทั้งตลาดมาเป็นตัวหาร ซึ่งสามารถแปลความได้ว่า หากตลาดหุ้นมีค่า P/E เท่ากับ 10 เท่า หมายถึงว่าโดยเฉลี่ยแล้วตลาดยินดีจ่ายราคา 10 บาทไปซื้อหุ้นที่มีกำไร 1 บาท หรือถ้าตลาดหุ้นมีค่า P/E เท่ากับ 20 ก็หมายถึงตลาดยินดีจ่ายราคา 20 เท่าของความสามารถในการทำกำไร 1 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ P/E ที่สูงก็มีโอกาสที่จะหมายถึงการที่ขณะนั้นราคาหุ้นค่อนไปทางแพง แต่จะเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือไม่ เราจะมาทำความเข้าใจเปรียบเทียบกับการซื้อของกันครับ
เวลาเราช้อปปิ้งเลือกซื้อของ แรงขับในการตัดสินใจจะประกอบด้วยเหตุผลและอารมณ์ ถ้าเหตุผลนำเราอาจได้ซื้อของที่มีราคาเหมาะสมหรือยอมไม่ซื้อถ้าไตร่ตรองแล้วว่าไม่คุ้มค่าไม่สมราคา แต่ถ้าอารมณ์อยากเป็นตัวนำ เราก็อาจหลวมตัวซื้อของแพงบ้าง ของที่ไม่จำเป็นบ้าง แล้วค่อยมาเสียใจภายหลัง ดังนั้นการซื้อของที่ราคาสูง ไม่ได้แสดงว่าซื้อแพงเสมอไป หากของนั้นมีคุณค่าดีสมราคาที่สูงนั้น แต่อาจแพงถ้าเราจ่ายสูงเพราะโฆษณาเร้าใจ คนขายเชียร์เก่ง หรือเพราะเห็นว่ามันกำลังฮ็อตกำลังฮิต
เหตุผลและอารมณ์ของตลาดหุ้น กับ ความถูกแพงของ P/E
ปัจจัยพื้นฐานที่หนุนให้ P/E สูงได้คือ ความสามารถในการทำกำไร และอัตราการเติบโตของมัน ยามใดที่มีการคาดหวังที่ดีต่อกำไรในอนาคต นั่นหมายถึง ตัว E (earning) จะมีค่าสูงขึ้น ยามนั้นนักลงทุนย่อมยินดีซื้อในราคาที่สูงหน่อยเพราะรู้ว่าเมื่อกำไร(ซึ่งเป็นตัวหารในการคำนวณ)สูงขึ้นแล้ว อัตราส่วน P/E ก็ย่อมต่ำลงมาเองเป็นธรรมดา ดังนั้น P/E สูงที่กอรปด้วยการคาดหวังที่ดีต่ออนาคตของกำไรอย่างสมเหตุสมผลจึงไม่ได้แสดงว่าหุ้นแพง ที่เราต้องระวังคือภาวะที่ P/E สูงด้วยอารมณ์ระเริงมองโลกดีเกินควร ในทางตรงกันข้ามบางช่วงเวลาก็มีภาวะที่ตลาดถูกครอบงำด้วยอารมณ์อันหดหู่หวาดกลัวเกินเหตุ เราก็อาจเห็นราคาหุ้นที่ตกต่ำและค่า P/E ต่ำกว่าควร และกลายเป็นโอกาสของการลงทุนที่ดีเป็นพิเศษได้เช่นกัน
Trailing P/E และ Forward P/E
ในการลงทุน เรากำลังซื้อความสามารถในการทำกำไรในอนาคต ดังนั้นการดู P/E ที่ตีความหมายได้ง่าย คือ Forward P/E ซึ่งคำนวณโดยใช้ราคาหุ้นปัจจุบันหารด้วยกำไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในสิบสองเดือนข้างหน้า ซึ่งเนื่องจากต้องมีการคาดการณ์มองไปข้างหน้าจึงต้องอาศัยข้อมูลที่นักวิเคราะห์ได้ทำการพยากรณ์เอาไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่ต้องแปลกใจหากท่านพบว่าค่า P/E จากต่างบริษัทหลักทรัพย์จะมีค่าต่างกัน เพราะต้องมีการคาดการณ์กำไรซึ่งย่อมแตกต่างกันเป็นของธรรมดา ส่วนค่า P/E ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไปนั้นเป็น Trailing P/E ซึ่งอาศัยการคำนวณของตลาดหลักทรัพย์ที่คำนวณจากการเอาราคาปิดล่าสุดหารด้วยกำไรสิบสองเดือนที่ผ่านมาครับ ข้อดีของ Trailing P/E คือเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วจริงล้วนๆไม่ปนด้วยความเห็นความคาดคะเนของนักวิเคราะห์ เพียงแต่ว่าผู้ลงทุนต้องคิดต่อ เช่น สมมุติว่า ถ้า Trailing P/E มีค่าเท่ากับ 12 เท่าแล้วเราคาดว่าในหนึ่งปีข้างหน้ากำไรน่าจะเพิ่มขึ้น15% (แปลว่า Eใหม่จะเท่ากับ Eเดิมคูณ1.15) เราก็พอจะคำนวณได้ว่า Forward P/E ก็จะเท่ากับ 10.43 เท่า (12หารด้วย1.15) เป็นต้น ผู้ลงทุนสามารถดูค่า Trailing P/E ของตลาดหุ้นได้จาก Website ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
ในตอนนี้เราได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า การทำ Tactical Allocation สนใจภาวะตลาด และต้องการจะปรับการลงทุนเพื่อเอาประโยชน์จากการเข้าใจภาวะตลาดนั้น การมองว่าอะไรถูกอะไรแพงจึงมีความสำคัญ และเราก็ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าสำหรับตราสารหนี้และพันธบัตรนั้น เราดู Yield to Maturity ส่วนหุ้นเราดู P/E ในตอนหน้าเราจะทำการมองเปรียบเทียบระหว่างพันธบัตรและตลาดหุ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้นในการอ่านว่าตอนนี้เป็นฤดูของอะไร อย่าลืมติดตามนะครับ