ดร. สมจินต์ ศรไพศาล บลจ. วรรณ จำกัด
ตามที่ผมได้บอกไว้หลายครั้งว่า Asset Allocation คือการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดของการลงทุน ผมได้ไล่เรียงความคิดเรื่อง Asset Allocation มาแล้ว 4 ตอน สำหรับท่านผู้อ่านที่ได้ติดตามมาเรื่อยๆ คงมีความรู้พื้นฐานมาพอสมควรแล้ว ในตอนนี้ เราจะมาดูภาพที่สมบูรณ์ขึ้นของ Asset Allocation
การตัดสินใจเรื่อง Asset Allocation แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1.Strategic Allocation คือ การกำหนดสัดส่วนของการลงทุนระดับยุทธศาสตร์
2.Tactical Allocation คือ การปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับสภาวะตลาดในขณะหนึ่งๆ
การตัดสินใจ # 1 Strategic Allocation
ปัจจัยสำคัญที่ผู้ลงทุนจะต้องทำการวิเคราะห์ก็คือ ตนเอง ว่าเป็นผู้ลงทุนประเภทใดรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนได้รู้ระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบเกี่ยวกับคุณลักษณะและบุคลิกภาพของผู้ลงทุน ที่จะทำให้ผู้ลงทุนได้รู้จักตนเองและได้จัดเตรียมลักษณะของพอร์ตลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้
ในบทที่ผ่านมาผมได้นำเสนอรูปแบบของการจัดพอร์ตการลงทุน 3 แบบ คือ พอร์ตการลงทุนแบบระมัดระวัง (หุ้น 30% พันธบัตร 70%) พอร์ตการลงทุนแบบพอร์ตเชิงรุก (หุ้น 70% พันธบัตร 30%) และพอร์ตการลงทุนแบบปานกลาง (หุ้น 50% พันธบัตร 50%)
สำหรับนักลงทุนทั่วไป เมื่อกำหนดได้ว่าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มใด ก็สามารถลงทุนด้วยสัดส่วนยุทธศาสตร์ของตนไปเรื่อยๆ ในแบบที่เรียกว่า Buy and Hold ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น คุณมัชฌิมา เป็นกลุ่มผู้รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ถือหุ้น 50% / พันธบัตร 50% ไปตลอด
การตัดสินใจ # 2 Tactical Allocation
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนอีกจำนวนหนึ่ง ก็อาจรู้สึกว่าอยากปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในบางขณะ เช่น ในขณะที่คุณมัชฌิมารู้สึกว่าสภาวะตลาดหุ้นมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ ระดับราคาหุ้นแพงเกินปกติ คุณมัชฌิมาก็อาจต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเป็นหุ้น 40% / พันธบัตร 60% หรือ หุ้น 30% / พันธบัตร 70% ในกรณีตรงกันข้าม ถ้าคุณมัชฌิมารู้สึกว่าภาวะตลาดจะสดใส เป็นจังหวะที่หุ้นค่อนข้างถูก จึงอยากเพิ่มสัดส่วนหุ้น ก็อาจปรับสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้น 60% / พันธบัตร 40% หรือ หุ้น 70% / พันธบัตร 30% เป็นต้น การปรับสัดส่วนการลงทุนตามภาวะตลาดอย่างนี้ เราเรียกว่า Tactical Allocation ซึ่งหากทำได้ดีก็อาจให้ผลตอบแทนดีขึ้นและความเสี่ยงลดลงได้เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น ผมขอแสดงกรอบตัวอย่างการตัดสินใจทั้งสองในสองตาราง ต่อไปนี้
ผู้ลงทุนที่ต้องการทำ Tactical Allocation ตามภาวะตลาด อาจปรับน้ำหนักลงทุนได้ +/- 10% หรือ +/- 20% จากสัดส่วน Strategic Allocation ปกติ ซึ่งตารางข้างล่างจะแสดงการปรับน้ำหนักในกรอบ +/- 20% ในยามที่มองว่าตลาดสดใส (Bullish) หรือ ตกต่ำ (Bearish)
มาถึงตอนนี้ เราก็มีภาพที่เด่นชัดขึ้น ในแง่ขององค์ประกอบของการตัดสินใจทั้ง Strategic Allocation และ Tactical Allocation อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญที่น่าจะตามมาก็คือ ผลกระทบของ Tactical Allocation ที่มีต่อผลตอบแทนการลงทุนเป็นอย่างไร และจะมีเครื่องมืออะไรที่ช่วยในการทำ Tactical Allocation ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นก็เป็นหัวข้อที่เราจะคุยกันในตอนหน้า
ท้ายนี้ ผู้อ่านคงไม่ว่าอะไรถ้าผมตอกย้ำว่า การทำ Asset Allocation นั้น สำหรับการลงทุนในหุ้น เรามีตัวช่วยที่สำคัญก็คือกองทุนดัชนีหรือ ETF (Exchange Traded Fund) ซึ่งในเมืองไทยเรามี ThaiDEX SET50 ETF หรือ TDEX เป็นตัวเลือกสำคัญ เพราะลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 ซึ่งเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง ส่วนการลงทุนในพันธบัตรนั้น อาจใช้กองทุนตราสารหนี้ต่างๆ แทนได้เช่นกัน โดยนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนนั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนนะครับ
ตามที่ผมได้บอกไว้หลายครั้งว่า Asset Allocation คือการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดของการลงทุน ผมได้ไล่เรียงความคิดเรื่อง Asset Allocation มาแล้ว 4 ตอน สำหรับท่านผู้อ่านที่ได้ติดตามมาเรื่อยๆ คงมีความรู้พื้นฐานมาพอสมควรแล้ว ในตอนนี้ เราจะมาดูภาพที่สมบูรณ์ขึ้นของ Asset Allocation
การตัดสินใจเรื่อง Asset Allocation แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1.Strategic Allocation คือ การกำหนดสัดส่วนของการลงทุนระดับยุทธศาสตร์
2.Tactical Allocation คือ การปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะกับสภาวะตลาดในขณะหนึ่งๆ
การตัดสินใจ # 1 Strategic Allocation
ปัจจัยสำคัญที่ผู้ลงทุนจะต้องทำการวิเคราะห์ก็คือ ตนเอง ว่าเป็นผู้ลงทุนประเภทใดรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ลงทุนได้รู้ระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบเกี่ยวกับคุณลักษณะและบุคลิกภาพของผู้ลงทุน ที่จะทำให้ผู้ลงทุนได้รู้จักตนเองและได้จัดเตรียมลักษณะของพอร์ตลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้
ในบทที่ผ่านมาผมได้นำเสนอรูปแบบของการจัดพอร์ตการลงทุน 3 แบบ คือ พอร์ตการลงทุนแบบระมัดระวัง (หุ้น 30% พันธบัตร 70%) พอร์ตการลงทุนแบบพอร์ตเชิงรุก (หุ้น 70% พันธบัตร 30%) และพอร์ตการลงทุนแบบปานกลาง (หุ้น 50% พันธบัตร 50%)
สำหรับนักลงทุนทั่วไป เมื่อกำหนดได้ว่าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มใด ก็สามารถลงทุนด้วยสัดส่วนยุทธศาสตร์ของตนไปเรื่อยๆ ในแบบที่เรียกว่า Buy and Hold ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น คุณมัชฌิมา เป็นกลุ่มผู้รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ถือหุ้น 50% / พันธบัตร 50% ไปตลอด
การตัดสินใจ # 2 Tactical Allocation
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนอีกจำนวนหนึ่ง ก็อาจรู้สึกว่าอยากปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในบางขณะ เช่น ในขณะที่คุณมัชฌิมารู้สึกว่าสภาวะตลาดหุ้นมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ ระดับราคาหุ้นแพงเกินปกติ คุณมัชฌิมาก็อาจต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเป็นหุ้น 40% / พันธบัตร 60% หรือ หุ้น 30% / พันธบัตร 70% ในกรณีตรงกันข้าม ถ้าคุณมัชฌิมารู้สึกว่าภาวะตลาดจะสดใส เป็นจังหวะที่หุ้นค่อนข้างถูก จึงอยากเพิ่มสัดส่วนหุ้น ก็อาจปรับสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้น 60% / พันธบัตร 40% หรือ หุ้น 70% / พันธบัตร 30% เป็นต้น การปรับสัดส่วนการลงทุนตามภาวะตลาดอย่างนี้ เราเรียกว่า Tactical Allocation ซึ่งหากทำได้ดีก็อาจให้ผลตอบแทนดีขึ้นและความเสี่ยงลดลงได้เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น ผมขอแสดงกรอบตัวอย่างการตัดสินใจทั้งสองในสองตาราง ต่อไปนี้
ผู้ลงทุนที่ต้องการทำ Tactical Allocation ตามภาวะตลาด อาจปรับน้ำหนักลงทุนได้ +/- 10% หรือ +/- 20% จากสัดส่วน Strategic Allocation ปกติ ซึ่งตารางข้างล่างจะแสดงการปรับน้ำหนักในกรอบ +/- 20% ในยามที่มองว่าตลาดสดใส (Bullish) หรือ ตกต่ำ (Bearish)
มาถึงตอนนี้ เราก็มีภาพที่เด่นชัดขึ้น ในแง่ขององค์ประกอบของการตัดสินใจทั้ง Strategic Allocation และ Tactical Allocation อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญที่น่าจะตามมาก็คือ ผลกระทบของ Tactical Allocation ที่มีต่อผลตอบแทนการลงทุนเป็นอย่างไร และจะมีเครื่องมืออะไรที่ช่วยในการทำ Tactical Allocation ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นก็เป็นหัวข้อที่เราจะคุยกันในตอนหน้า
ท้ายนี้ ผู้อ่านคงไม่ว่าอะไรถ้าผมตอกย้ำว่า การทำ Asset Allocation นั้น สำหรับการลงทุนในหุ้น เรามีตัวช่วยที่สำคัญก็คือกองทุนดัชนีหรือ ETF (Exchange Traded Fund) ซึ่งในเมืองไทยเรามี ThaiDEX SET50 ETF หรือ TDEX เป็นตัวเลือกสำคัญ เพราะลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 ซึ่งเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง ส่วนการลงทุนในพันธบัตรนั้น อาจใช้กองทุนตราสารหนี้ต่างๆ แทนได้เช่นกัน โดยนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนนั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนนะครับ