บลจ.ประเมินทิศทางดอกเบี้ยทรงตัว หลังคณะกรรมการนโยบายการเงินประกาศคงดอกเบี้ยเพราะถูกปัญหาเงินเฟ้อกดดันหนัก ด้านบลจ.ไอเอ็นจีเผยไตรมาส 4 อาจเห็นดอกเบี้ยขาขึ้น หนุนจับจังหวะลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ล่าสุดเดินหน้าออกกองทุนบอนด์เกาหลีใต้ "ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 23" คาดผลตอบแทน 2.95% ต่อปี เสนอขายระหว่าง 23-29 พ.ค.นี้
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.25% นั้น สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของธปท. เกี่ยวกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
“ขณะนี้ต้องยอมรับว่า มีความชัดเจนว่าอัตราดอกเบี้ยคงจะอยู่ในภาวะทรงตัวไปอีกระยะหนึ่ง และคาดว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งในช่วงนั้นหากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยอาจจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น ในขณะนี้การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น จะช่วยให้นักลงทุนไม่เสียโอกาสในเวลาที่ดอกเบี้ยเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้น” นายจุมพลกล่าว
ทั้งนี้ล่าสุด บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ได้เสนอขาย “กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 23” โดยจะทำการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 23-29 พฤษภาคม 2551 ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีที่ออกโดยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน หรือภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการลงทุนระยะสั้นเพียงแค่ 3 เดือน และคาดว่าอัตราผลตอบแทนจะอยู่ประมาณ 2.95% ต่อปี สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะเวลา 3 เดือนเท่ากัน นอกจากนี้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีจากผลตอบแทนที่ได้รับ
ขณะเดียวกัน ตราสารหนี้ภายใต้นโยบายการลงทุนของกองทุนนี้ จะคัดเลือกตราสารที่เข้าลงทุน ซึ่งเป็นตราสารหนี้ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ/หรือภาคเอกชนทั้งไทย และต่างประเทศ ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือผู้ออกตราสาร อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งเงินฝาก โดยตราสารส่วนใหญ่ที่กองทุนลงทุนจะมีอายุคงเหลือประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงทุน ขณะที่ สัดส่วนการลงทุนในตราสารต่างประเทศ จะไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นอกจากนี้ กองทุนจะเน้นลงทุนโดยตรงในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี ซึ่งถือเป็นตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูง โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เอส แอนด์ พี จัดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีระยะสั้นอยู่ที่ F1 ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยที่อยู่ F2 ขณะที่ความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีระยะยาวอยู่ที่ A สูงกว่าประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ระดับ BBB+
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บีที กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อช่วงที่ผ่านมาได้มีนโยบายให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3.25% นั้น ส่วนตัวประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าวจนถึงช่วงปลายปีนี้
ก่อนหน้านี้นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้คาดว่าน่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิมจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2% ในการประชุมเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพราะแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อมีอยู่สูงมาก ส่งผลให้แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ หรืออาจปรับขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลัง
ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 กองทุนเปิดแอสเซทพลัสตราสารหนี้ (ASP) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน น่าจะสามารถให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่ปรับตัวขึ้นตามเส้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่เริ่มปรับตัวขึ้นตามแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากกองทุน ASP เน้นลงทุนในตราสารระยะสั้นๆ เมื่อตราสารครบกำหนดอายุไป ดอกเบี้ยในตลาดเงินเริ่มปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังไม่ปรับก็ตาม โดยกองทุนเริ่มลงทุนใหม่ก็จะได้ผลตอบแทนในระดับที่สูงขึ้นตามไปด้วย แต่ก็คิดว่าคงไม่มากไปกว่าระดับปัจจุบันมากนัก
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.25% นั้น สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของธปท. เกี่ยวกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
“ขณะนี้ต้องยอมรับว่า มีความชัดเจนว่าอัตราดอกเบี้ยคงจะอยู่ในภาวะทรงตัวไปอีกระยะหนึ่ง และคาดว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งในช่วงนั้นหากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่อัตราดอกเบี้ยอาจจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น ในขณะนี้การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น จะช่วยให้นักลงทุนไม่เสียโอกาสในเวลาที่ดอกเบี้ยเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้น” นายจุมพลกล่าว
ทั้งนี้ล่าสุด บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ได้เสนอขาย “กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 23” โดยจะทำการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 23-29 พฤษภาคม 2551 ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีที่ออกโดยภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน หรือภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการลงทุนระยะสั้นเพียงแค่ 3 เดือน และคาดว่าอัตราผลตอบแทนจะอยู่ประมาณ 2.95% ต่อปี สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะเวลา 3 เดือนเท่ากัน นอกจากนี้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีจากผลตอบแทนที่ได้รับ
ขณะเดียวกัน ตราสารหนี้ภายใต้นโยบายการลงทุนของกองทุนนี้ จะคัดเลือกตราสารที่เข้าลงทุน ซึ่งเป็นตราสารหนี้ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ/หรือภาคเอกชนทั้งไทย และต่างประเทศ ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือผู้ออกตราสาร อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งเงินฝาก โดยตราสารส่วนใหญ่ที่กองทุนลงทุนจะมีอายุคงเหลือประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงทุน ขณะที่ สัดส่วนการลงทุนในตราสารต่างประเทศ จะไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นอกจากนี้ กองทุนจะเน้นลงทุนโดยตรงในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี ซึ่งถือเป็นตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูง โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เอส แอนด์ พี จัดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีระยะสั้นอยู่ที่ F1 ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยที่อยู่ F2 ขณะที่ความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีระยะยาวอยู่ที่ A สูงกว่าประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ระดับ BBB+
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บีที กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อช่วงที่ผ่านมาได้มีนโยบายให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3.25% นั้น ส่วนตัวประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าวจนถึงช่วงปลายปีนี้
ก่อนหน้านี้นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บลจ.แอสเซท พลัส กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้คาดว่าน่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิมจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2% ในการประชุมเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพราะแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อมีอยู่สูงมาก ส่งผลให้แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ หรืออาจปรับขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลัง
ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 กองทุนเปิดแอสเซทพลัสตราสารหนี้ (ASP) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน น่าจะสามารถให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่ปรับตัวขึ้นตามเส้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่เริ่มปรับตัวขึ้นตามแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากกองทุน ASP เน้นลงทุนในตราสารระยะสั้นๆ เมื่อตราสารครบกำหนดอายุไป ดอกเบี้ยในตลาดเงินเริ่มปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้อ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังไม่ปรับก็ตาม โดยกองทุนเริ่มลงทุนใหม่ก็จะได้ผลตอบแทนในระดับที่สูงขึ้นตามไปด้วย แต่ก็คิดว่าคงไม่มากไปกว่าระดับปัจจุบันมากนัก