ตอนที่แล้วเราพูดถึงความจำเป็นของการให้การสนับสนุนการศึกษาของประเทศไทยกันไปแล้ว รวมถึงแนะนำ “กองทุนรวมเพื่อการศึกษา” หรือ “Education Saving Mutual Funds (EMF)” ว่าเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยสนับสนุนการศึกษาของประเทศไทยได้ สัปดาห์นี้เรามาว่ากันต่อในรายละเอียดของกองทุนประเภทนี้กันว่าเป็นอย่างไร และมีความคืบหน้าในการจัดตั้งแค่ไหน
กองทุนรวมเพื่อการศึกษา (EMF) นี้ ทาง สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับเป็นเจ้าภาพในการเป็นผู้นำความคิดจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ไปหารือเพื่อผลักดันให้เป็นรูปธรรม โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก กระทรวงศึกษาธิการ กรมสรรพากร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.ล.ต และ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ล่าสุดนั้น คณะทำงานมีความเห็นร่วมกันว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี จะได้รับการสนับสนุนและตอบรับจากประชาชนในวงกว้างทั่วประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัดของฐานะการเงินการคลังของประเทศในขณะนั้น (ปี 2550) จึงขอนำผลสรุปจากการศึกษาร่วมกันในครั้งนี้ไปนำเสนอต่อรัฐบาลใหม่ ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป
วันนี้ เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วใช่ไหมที่จะนำเรื่องนี้ขึ้นมาเสนอต่อ รัฐบาลใหม่ ผ่านท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะเป็นที่ยอมรับกันในสากลแล้วว่าการศึกษาจะมีผลโดยตรงต่อผู้ที่ได้รับการศึกษาโดยนอกจากจะทำให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและรายได้แล้ว ยังมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม และเป็นการพัฒนามนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า หรือกล่าวในเชิงวิชาการว่า เป็นการสะสมทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาและสะสมทุนทางสังคม (Social Capital) คือสร้างความมั่นคงและความเท่าเทียมกันทางด้านสถานะและรายได้อีกด้วย
ข้อสรุปลักษณะกองทุนรวมเพื่อการศึกษา (EMF)
ผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุนรวมเพื่อการศึกษาเราจะเรียกว่าผู้ให้ประโยชน์ ซึ่งจะต้องระบุว่าเงินที่ลงทุนจะเตรียมไว้สนับสนุนการศึกษานั้นจะให้ใครเป็นผู้รับประโยชน์ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องระบุว่าผู้รับประโยชน์ว่าเป็นใคร ให้ตนเอง ลูกหลาน พี่น้อง ญาติ พ่อแม่ ลูกบุญธรรม หรือพี่น้องของลูกบุญธรรม แต่ถ้าเป็นนิติบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร จะสนับสนุนใครก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดด้านความสัมพันธ์ แต่ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งผู้ให้ประโยชน์คนหนึ่งหรือนิติบุคคลหนึ่งจะลงทุนให้กับผู้รับประโยชน์กี่คนก็ได้ หรือผู้รับประโยชน์หนึ่งคนจะมีผู้ให้ประโยชน์กี่คนก็ได้ไม่จำกัดที่จำนวนคน แต่จะไปจำกัดที่จำนวนเงินต่อปีแทน
โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ให้ประโยชน์จะได้รับจากการนำเงินไปใส่ใน EMF นั้น ต้องกำหนดไว้ว่าจะได้รับสิทธิเป็นยอดเงินไม่เกินเท่าใดต่อปีต่อผู้ให้ประโยชน์ซึ่งก็คือผู้ลงทุนหนึ่งคน ไม่ควรงจำกัดเป็นร้อยละของรายได้เหมือนกองทุน RMF และ LTF โดยอาจมีข้อแม้ว่าเงินที่อยู่ในกองทุนนี้นับจากก้อนแรกต้องมีอายุในกองทุนไม่ต่ำกว่า 1 ปี เป็นต้น
เมื่อถึงเวลาต้องเบิกเงินค่าเทอม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อการศึกษา จะใช้ใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารจากสถานศึกษามาเป็นหลักฐานประกอบการถอนหน่วยลงทุนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงทุน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการสวมรอยใช้ประโยชน์ของกองทุนด้านภาษีแบบผิดวัตถุประสงค์ แต่ถ้าถอนหน่วยลงทุนด้วยวัตถุประสงค์อื่นก็ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับกรมสรรพากร
ประเภทของค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีให้ถอนเงินจากกองทุน EMF ไปจ่ายได้ก็คือ ค่าเล่าเรียน ค่าเทอม ค่าธรรมเนียมสถานศึกษาและวิชาเรียน ค่าเอกสารและวัสดุอุปกรณ์การเรียน ค่ากิจกรรมการศึกษา ค่ากวดวิชา (ตามความเหมาะสม) ค่าอาหารเฉพาะส่วนที่จัดให้โดยสถานศึกษา ค่าเดินทางและค่าที่พักในระหว่างการศึกษาที่จัดให้โดยสถานศึกษา เป็นต้น
กองทุน EMF นี้กำหนดให้ซื้อขายได้ทุกวันทำการ ส่วนเงื่อนไขการลงทุนนั้น อยากลงทุนปีไหนก็ลงทุนได้ตามกำลังทรัพย์ที่มี เหมือนกับกรณีของ LTF แต่เป็นไปเพื่อสนับสนุนให้เกิดการวางแผนการเงินแต่เนิ่นๆ จึงกำหนดระยะเวลาลงทุนที่ห้ามเบิกถอนเงินไว้ โดยจะถอนได้หลังจากลงทุนครั้งแรกไปแล้วว่าเป็นเวลากี่ปี เช่น 1 ปีเป็นต้น
นโยบายการจ่ายเงินปันผล เนื่องจากเป็นเงินลงทุนเพื่อการศึกษาในอนาคตที่แน่นอน กองทุน EMF นี้จึงไม่มีการจ่ายเงินปันผลเช่นเดียวกับ RMF ที่ต้องการให้เก็บเงินไว้ใช้ในอนาคตมากกว่าใช้ในปัจจุบัน
ส่วนเรื่องนโยบายการลงทุนของกองทุน ก็ไม่จำกัดว่าต้องเป็นกองทุนหุ้นหรือกองทุนตราสารหนี้เท่านั้น บริษัทจัดการสามารถออกแบบกองทุนได้หลากหลาย เช่นเดียวกับ RMF เพราะจะลงทุนแบบไหนดีก็ขึ้นกับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มลงทุนจนถึงเวลาใช้เงินมากกว่าว่ายาวนานแค่ไหน ถ้านานมากก็สามารถแบ่งมาลงทุนกองทุนหุ้นได้มากหน่อย แต่ถ้าต้องใช้เงินในหนึ่งปีหรือสองปี ก็ควรเน้นที่กองทุนตราสารหนี้ และให้สิทธิในการโยกย้ายเงินระหว่าง กองทุน EMF ด้วยกันได้เหมือน RMF
ต่อมาหากลงทุนแล้วเกิดเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของผู้รับประโยชน์ เช่นผู้รับประโยชน์ไม่ต้องการเรียนต่อหรือมีเงินจากส่วนอื่นมาสนับสนุน เช่น ได้ทุนการศึกษา หรือผู้รับประโยชน์เสียชีวิต หรือทุพพลภาพจนเรียนไม่ได้ ก็สามารถโอนสิทธิผู้รับประโยชน์ไปให้กับญาติพี่น้องของผู้รับประโยชน์ได้ รวมถึงสามารถเพิ่มลด จำนวนผู้รับประโยชน์ใหม่ได้หากอยู่ในกติกา หรือกรณีที่ผู้ให้ประโยชน์ (ผู้ลงทุน) เสียชีวิต สูญหาย หรือไม่อยู่ในสภาพที่จะกระทำการใดๆ ได้ ก็ให้ผู้จัดการมรดก หรือทายาทตามกฎหมายของผู้ให้ประโยชน์ (ผู้ลงทุน) เป็นเจ้าของกองทุน EMF ต่อไปโดยเงื่อนไขของผู้รับประโยชน์ยังต้องคงเดิม
นอกจากนั้นหากผู้รับประโยชน์มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้ให้ประโยชน์ก็สามารถโอนสิทธิของเงินในกองทุนให้กับผู้รับประโยชน์ เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาของตนเองหรือผู้อื่นด้วยก็ได้ หรือจะยังคงสนับสนุนต่อไปไม่จำกัดอายุก็ได้
นี่เป็นเพียงรูปแบบคร่าว ๆ ของกองทุนรวมเพื่อการศึกษา ซึ่งยังมีรายละเอียดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอีกมาก แต่ในขั้นนี้น่าที่จะเสนอแนวความคิดเบื้องต้นดังกล่าวให้รัฐบาลพิจารณาก่อน หากรัฐเห็นความสำคัญและประโยชน์ของกองทุน EMF คณะทำงานที่ สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นแกนนำจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในรายนละเอียดต่อไป และที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ก็เพื่อให้เห็นแนวทางและการใช้ประโยชน์จากกองทุนรวมในรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอีกด้วย
กองทุนรวมเพื่อการศึกษา (EMF) นี้ ทาง สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับเป็นเจ้าภาพในการเป็นผู้นำความคิดจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ไปหารือเพื่อผลักดันให้เป็นรูปธรรม โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก กระทรวงศึกษาธิการ กรมสรรพากร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.ล.ต และ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ล่าสุดนั้น คณะทำงานมีความเห็นร่วมกันว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี จะได้รับการสนับสนุนและตอบรับจากประชาชนในวงกว้างทั่วประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัดของฐานะการเงินการคลังของประเทศในขณะนั้น (ปี 2550) จึงขอนำผลสรุปจากการศึกษาร่วมกันในครั้งนี้ไปนำเสนอต่อรัฐบาลใหม่ ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป
วันนี้ เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วใช่ไหมที่จะนำเรื่องนี้ขึ้นมาเสนอต่อ รัฐบาลใหม่ ผ่านท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะเป็นที่ยอมรับกันในสากลแล้วว่าการศึกษาจะมีผลโดยตรงต่อผู้ที่ได้รับการศึกษาโดยนอกจากจะทำให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและรายได้แล้ว ยังมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม และเป็นการพัฒนามนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า หรือกล่าวในเชิงวิชาการว่า เป็นการสะสมทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาและสะสมทุนทางสังคม (Social Capital) คือสร้างความมั่นคงและความเท่าเทียมกันทางด้านสถานะและรายได้อีกด้วย
ข้อสรุปลักษณะกองทุนรวมเพื่อการศึกษา (EMF)
ผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุนรวมเพื่อการศึกษาเราจะเรียกว่าผู้ให้ประโยชน์ ซึ่งจะต้องระบุว่าเงินที่ลงทุนจะเตรียมไว้สนับสนุนการศึกษานั้นจะให้ใครเป็นผู้รับประโยชน์ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องระบุว่าผู้รับประโยชน์ว่าเป็นใคร ให้ตนเอง ลูกหลาน พี่น้อง ญาติ พ่อแม่ ลูกบุญธรรม หรือพี่น้องของลูกบุญธรรม แต่ถ้าเป็นนิติบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร จะสนับสนุนใครก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดด้านความสัมพันธ์ แต่ต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งผู้ให้ประโยชน์คนหนึ่งหรือนิติบุคคลหนึ่งจะลงทุนให้กับผู้รับประโยชน์กี่คนก็ได้ หรือผู้รับประโยชน์หนึ่งคนจะมีผู้ให้ประโยชน์กี่คนก็ได้ไม่จำกัดที่จำนวนคน แต่จะไปจำกัดที่จำนวนเงินต่อปีแทน
โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ให้ประโยชน์จะได้รับจากการนำเงินไปใส่ใน EMF นั้น ต้องกำหนดไว้ว่าจะได้รับสิทธิเป็นยอดเงินไม่เกินเท่าใดต่อปีต่อผู้ให้ประโยชน์ซึ่งก็คือผู้ลงทุนหนึ่งคน ไม่ควรงจำกัดเป็นร้อยละของรายได้เหมือนกองทุน RMF และ LTF โดยอาจมีข้อแม้ว่าเงินที่อยู่ในกองทุนนี้นับจากก้อนแรกต้องมีอายุในกองทุนไม่ต่ำกว่า 1 ปี เป็นต้น
เมื่อถึงเวลาต้องเบิกเงินค่าเทอม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อการศึกษา จะใช้ใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารจากสถานศึกษามาเป็นหลักฐานประกอบการถอนหน่วยลงทุนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงทุน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการสวมรอยใช้ประโยชน์ของกองทุนด้านภาษีแบบผิดวัตถุประสงค์ แต่ถ้าถอนหน่วยลงทุนด้วยวัตถุประสงค์อื่นก็ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับกรมสรรพากร
ประเภทของค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีให้ถอนเงินจากกองทุน EMF ไปจ่ายได้ก็คือ ค่าเล่าเรียน ค่าเทอม ค่าธรรมเนียมสถานศึกษาและวิชาเรียน ค่าเอกสารและวัสดุอุปกรณ์การเรียน ค่ากิจกรรมการศึกษา ค่ากวดวิชา (ตามความเหมาะสม) ค่าอาหารเฉพาะส่วนที่จัดให้โดยสถานศึกษา ค่าเดินทางและค่าที่พักในระหว่างการศึกษาที่จัดให้โดยสถานศึกษา เป็นต้น
กองทุน EMF นี้กำหนดให้ซื้อขายได้ทุกวันทำการ ส่วนเงื่อนไขการลงทุนนั้น อยากลงทุนปีไหนก็ลงทุนได้ตามกำลังทรัพย์ที่มี เหมือนกับกรณีของ LTF แต่เป็นไปเพื่อสนับสนุนให้เกิดการวางแผนการเงินแต่เนิ่นๆ จึงกำหนดระยะเวลาลงทุนที่ห้ามเบิกถอนเงินไว้ โดยจะถอนได้หลังจากลงทุนครั้งแรกไปแล้วว่าเป็นเวลากี่ปี เช่น 1 ปีเป็นต้น
นโยบายการจ่ายเงินปันผล เนื่องจากเป็นเงินลงทุนเพื่อการศึกษาในอนาคตที่แน่นอน กองทุน EMF นี้จึงไม่มีการจ่ายเงินปันผลเช่นเดียวกับ RMF ที่ต้องการให้เก็บเงินไว้ใช้ในอนาคตมากกว่าใช้ในปัจจุบัน
ส่วนเรื่องนโยบายการลงทุนของกองทุน ก็ไม่จำกัดว่าต้องเป็นกองทุนหุ้นหรือกองทุนตราสารหนี้เท่านั้น บริษัทจัดการสามารถออกแบบกองทุนได้หลากหลาย เช่นเดียวกับ RMF เพราะจะลงทุนแบบไหนดีก็ขึ้นกับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มลงทุนจนถึงเวลาใช้เงินมากกว่าว่ายาวนานแค่ไหน ถ้านานมากก็สามารถแบ่งมาลงทุนกองทุนหุ้นได้มากหน่อย แต่ถ้าต้องใช้เงินในหนึ่งปีหรือสองปี ก็ควรเน้นที่กองทุนตราสารหนี้ และให้สิทธิในการโยกย้ายเงินระหว่าง กองทุน EMF ด้วยกันได้เหมือน RMF
ต่อมาหากลงทุนแล้วเกิดเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของผู้รับประโยชน์ เช่นผู้รับประโยชน์ไม่ต้องการเรียนต่อหรือมีเงินจากส่วนอื่นมาสนับสนุน เช่น ได้ทุนการศึกษา หรือผู้รับประโยชน์เสียชีวิต หรือทุพพลภาพจนเรียนไม่ได้ ก็สามารถโอนสิทธิผู้รับประโยชน์ไปให้กับญาติพี่น้องของผู้รับประโยชน์ได้ รวมถึงสามารถเพิ่มลด จำนวนผู้รับประโยชน์ใหม่ได้หากอยู่ในกติกา หรือกรณีที่ผู้ให้ประโยชน์ (ผู้ลงทุน) เสียชีวิต สูญหาย หรือไม่อยู่ในสภาพที่จะกระทำการใดๆ ได้ ก็ให้ผู้จัดการมรดก หรือทายาทตามกฎหมายของผู้ให้ประโยชน์ (ผู้ลงทุน) เป็นเจ้าของกองทุน EMF ต่อไปโดยเงื่อนไขของผู้รับประโยชน์ยังต้องคงเดิม
นอกจากนั้นหากผู้รับประโยชน์มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้ให้ประโยชน์ก็สามารถโอนสิทธิของเงินในกองทุนให้กับผู้รับประโยชน์ เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาของตนเองหรือผู้อื่นด้วยก็ได้ หรือจะยังคงสนับสนุนต่อไปไม่จำกัดอายุก็ได้
นี่เป็นเพียงรูปแบบคร่าว ๆ ของกองทุนรวมเพื่อการศึกษา ซึ่งยังมีรายละเอียดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอีกมาก แต่ในขั้นนี้น่าที่จะเสนอแนวความคิดเบื้องต้นดังกล่าวให้รัฐบาลพิจารณาก่อน หากรัฐเห็นความสำคัญและประโยชน์ของกองทุน EMF คณะทำงานที่ สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นแกนนำจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในรายนละเอียดต่อไป และที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ก็เพื่อให้เห็นแนวทางและการใช้ประโยชน์จากกองทุนรวมในรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอีกด้วย