แอสเซท พลัส เตรียมนำลูกค้า Private Fund ออกลงทุนในต่างประเทศ หลังจากทาง ธปท. อนุญาติให้ลงทุนได้โดยไม่ต้องผ่านกองทุนรวม คาด สามารถเริ่มลุยได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ขณะที่ผู้บริหาร บลจ. มองแนวโน้ม ตลาดเอเชียยังน่าลงทุน ชู ประเทศจีนกับไต้หวันน่าสนใจหลังจีนอนุญาติไต้หวันเข้าลงทุนในแบงก์จีนได้ รวมทั้ง หุ้นกลุ่มพลังงานทางเลือกและกลุ่มโภคภัณฑ์
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ออกกฎเกณฑ์อนุญาตให้นักลงทุนสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรง จากเดิมที่อนุญาตให้นักลงทุนลงทุนได้โดยผ่านทางกองทุนรวมประเภท กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศหรือ เอฟไอเอฟและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น
ทั้งนี้ทาง ธปท.อนุญาตให้นิติบุคคลที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สามารถลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรงในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุนได้แต่ละครั้งไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท (ยกเว้นคณะบุคคล) สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุนในแต่ละครั้งไม่เกิน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ
"การลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลถือว่าเป็นช่องทางลงทุนใหม่ที่เปิดโอกาสการลงทุนในต่างประเทศสำหรับนักลงทุนรายย่อยให้สามารถลงทุนในตราสารที่ตอบสนองความต้องการของตนเองได้มากขึ้น" นางลดาวรรณ กล่าว
สำหรับ บลจ. แอสเซท พลัส ทางบริษัทฯ ได้ร่วมกับผู้จัดการกองทุนชั้นนำในต่างประเทศ ทำการศึกษาและติดตามภาวะตลาดการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ศึกษาและติดตามในเรื่องการพัฒนารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า โดยนำนวัตกรรมการเงินมาช่วยเพิ่มระดับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนในตราสารระดับเดียวกัน (Enhanced return) ซึ่งคาดว่า จะสามารถเริ่มลงทุนได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
นอกจากนี้ นางลดาวรรณ ได้กล่าวถึง ภาพรวมการลงทุนในต่างประเทศว่า จากการพบปะหารือกับผู้จัดการกองทุนหลายแห่งในต่างประเทศ มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นแม้ว่าจะมีความผันผวนจากสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แต่จากการวิเคราะห์ในด้านปัจจัยพื้นฐานแล้ว มองว่าการลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียยังคงมีความแข็งแกร่ง ซึ่งการปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งในเอเชียช่วงที่ผ่านมา เป็นเพียงการปรับตัวลดลงที่เป็นผลมาจากภาวะการลงทุนเท่านั้น
โดยภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากผลการดำเนินงานที่ดี โดยแนวโน้มการลงทุนที่น่าสนใจ ได้แก่ การลงทุนในกลุ่มประเทศจีนและไต้หวันที่จะได้รับผลดีจากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะส่งผลในด้านบวกต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของไต้หวัน รวมถึงการที่ประเทศจีนอนุญาตให้ธนาคารของไต้หวันเข้ามาลงทุนในธนาคารของประเทศจีนได้โดยตรง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกลุ่มพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้น้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและภาวะการปรับตัวของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะที่การลงทุนในกลุ่มเกษตรโภคภัณฑ์ (Agricultural) มีแนวโน้มการเติบโตสูงซึ่งเป็นผลมาจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนแนวโน้มการเติบโตของระบบสาธารณูป โภคพื้นฐานที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม อิเล็คทรอนิกส์ วัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เหล็ก เป็นต้น
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ออกกฎเกณฑ์อนุญาตให้นักลงทุนสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรง จากเดิมที่อนุญาตให้นักลงทุนลงทุนได้โดยผ่านทางกองทุนรวมประเภท กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศหรือ เอฟไอเอฟและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น
ทั้งนี้ทาง ธปท.อนุญาตให้นิติบุคคลที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สามารถลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรงในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุนได้แต่ละครั้งไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท (ยกเว้นคณะบุคคล) สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุนในแต่ละครั้งไม่เกิน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ
"การลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคลถือว่าเป็นช่องทางลงทุนใหม่ที่เปิดโอกาสการลงทุนในต่างประเทศสำหรับนักลงทุนรายย่อยให้สามารถลงทุนในตราสารที่ตอบสนองความต้องการของตนเองได้มากขึ้น" นางลดาวรรณ กล่าว
สำหรับ บลจ. แอสเซท พลัส ทางบริษัทฯ ได้ร่วมกับผู้จัดการกองทุนชั้นนำในต่างประเทศ ทำการศึกษาและติดตามภาวะตลาดการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ศึกษาและติดตามในเรื่องการพัฒนารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า โดยนำนวัตกรรมการเงินมาช่วยเพิ่มระดับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนในตราสารระดับเดียวกัน (Enhanced return) ซึ่งคาดว่า จะสามารถเริ่มลงทุนได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
นอกจากนี้ นางลดาวรรณ ได้กล่าวถึง ภาพรวมการลงทุนในต่างประเทศว่า จากการพบปะหารือกับผู้จัดการกองทุนหลายแห่งในต่างประเทศ มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นแม้ว่าจะมีความผันผวนจากสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แต่จากการวิเคราะห์ในด้านปัจจัยพื้นฐานแล้ว มองว่าการลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียยังคงมีความแข็งแกร่ง ซึ่งการปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งในเอเชียช่วงที่ผ่านมา เป็นเพียงการปรับตัวลดลงที่เป็นผลมาจากภาวะการลงทุนเท่านั้น
โดยภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากผลการดำเนินงานที่ดี โดยแนวโน้มการลงทุนที่น่าสนใจ ได้แก่ การลงทุนในกลุ่มประเทศจีนและไต้หวันที่จะได้รับผลดีจากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะส่งผลในด้านบวกต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของไต้หวัน รวมถึงการที่ประเทศจีนอนุญาตให้ธนาคารของไต้หวันเข้ามาลงทุนในธนาคารของประเทศจีนได้โดยตรง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกลุ่มพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้น้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและภาวะการปรับตัวของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะที่การลงทุนในกลุ่มเกษตรโภคภัณฑ์ (Agricultural) มีแนวโน้มการเติบโตสูงซึ่งเป็นผลมาจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนแนวโน้มการเติบโตของระบบสาธารณูป โภคพื้นฐานที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม อิเล็คทรอนิกส์ วัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เหล็ก เป็นต้น