ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส บลจ.อยุธยา จำกัด
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ยกตัวอย่างให้เห็นว่า เงิน 1 ล้านบาทของเราเมื่อปี 2546 มีมูลค่าเพียงประมาณ 607,312 บาทในวันนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลให้ค่าเงินมูลค่าลดลง ซึ่งอัตราเงินเฟ้อนอกจากจะมีผลต่อชีวิตประจำวันที่ทำให้เราต้องจับจ่ายสินค้าในราคาที่แพงขึ้นแล้ว ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อจะช่วยให้เรามีการวางแผนการใช้เงินและการออมและการลงทุนที่ดีด้วยตัวอย่างเช่น ในด้านการออม ดังที่ผมได้ยกตัวอย่างไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เงินฝาก 1 ล้านบาทในธนาคารของท่านเมื่อปี 2546 เมื่อนับรวมดอกเบี้ยแล้วจะมีค่าเพียงประมาณ 843,000 บาทเท่านั้น สำหรับในด้านการจับจ่าย ผมขอยกตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์ก็แล้วกันครับ สมมุติว่าวันนี้ท่านซื้อรถยนต์มือสองสภาพดีในราคา 650,000 บาท โดยที่รถคันนี้ถูกซื้อมาครั้งแรกเมื่อปี 2546 ในราคา 1 ล้านบาท อาจมองได้ว่าคุณซื้อรถคันนี้มาแพงนะครับ เพราะรถคันนี้ในสภาพใหม่เอี่ยมเมื่อเทียบกับค่าเงินแล้วควรมีค่าประมาณ 607,312 บาทเท่านั้น ในขณะที่หากท่านเป็นผู้ขาย ก็น่าจะสบายใจนะครับที่จริงๆแล้วท่านขายรถได้ราคา (มูลค่าที่แท้จริง) ดีกว่าตอนที่ท่านซื้อมา แต่หากมองอีกนัยหนึ่งจะเห็นว่าราคารถยนต์ (ที่ผู้ใหญ่มักจะพูดว่าซื้อรถแล้วเงินลด) จริงๆแล้วมันลดลงน้อยกว่าการที่ท่านถือเงินอยู่เฉยๆแล้วปล่อยให้ค่าเงินมันหายไปกับเงินเฟ้อนะครับ หรือจะมองอีกมุมหนึ่งว่าราคารถใหม่ก็ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้หากคุณต้องการซื้อรถใหม่ก็ต้องใช้เงินมากกว่า 1,000,000 บาท
อัตราเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายๆท่านไม่สามารถที่จะสร้างฐานะให้ร่ำรวยได้โดยที่ท่านไม่รู้ตัว เพราะเงินเฟ้อจะคอยกัดกร่อนค่าเงินของท่านให้ลดลงและจะส่งผลให้การออมและการลงทุนของท่านไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังเช่นกรณีที่หากเงินเดือนท่านเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ก็หมายความว่าจริงๆแล้วความร่ำรวยของท่านไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย เพราะราคาสินค้าโดยเฉลี่ยแล้วปรับตัวขึ้นเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้เพิ่ม กล่าวคือท่านมีเงินเพิ่มขึ้น แต่ซื้อของได้เท่าเดิม และในความเป็นจริงท่านอาจจะจนลงก็ได้ หากรายจ่ายส่วนใหญ่ของท่านหมดไปกับราคาน้ำมัน สมมุติว่ารถของท่านเติมน้ำมันดีเซล ราคาน้ำมันดีเซลในวันนี้อยู่ที่ลิตรละ 32.94 บาท ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลเมื่อปี 2546 อยู่ที่ลิตรละ 12.79 – 15.09 บาท ซึ่งก็หมายความว่ารายจ่ายค่าน้ำมันของท่านเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ในขณะที่รายได้ของท่าน (หากเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ) จะเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 17% เท่านั้น (อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปี 2546 – ต้นปี 2551 ประมาณ 3.21%)
ในหลายๆประเทศ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ รวมถึงไทย ต่างบริหารเศรษฐกิจโดยการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ และพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบที่กำหนด เพราะบทวิจัยหลายๆชิ้นได้บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยที่เงินเฟ้อจะส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคก็จะสูงขึ้น ทำให้คนมีเงินไว้ใช้จ่ายน้อยลง และจนลง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่เกิดจากความยากจนตามมา เช่น ขโมย ปล้น จี้ชิงทรัพย์ ความอดอยาก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ทางภาครัฐฯจึงได้พยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนเกินไป
ในทางทฤษฎี อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมีจาก 2 สาเหตุหลัก สาเหตุแรกได้แก่ demand-pull inflation กล่าวคือ ความต้องการบริโภคที่มากขึ้นเป็นตัวก่อให้เกิดเงินเฟ้อ โดยเมื่อผู้บริโภคมีเงินไว้จับจ่ายมากขึ้น จึงมีการบริโภคมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณสินค้าที่ผลิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหรืออาจลดลง จึงทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น สาเหตุที่สองได้แก่ cost-push inflation กล่าวคือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวผลักดันให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเข้ากับปัญหาสถานการณ์ในปัจจุบันที่ราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าชนิดอื่นๆปรับราคาขึ้นตาม จึงก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ มาตรการที่สำคัญที่ใช้ในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ทางภาครัฐฯนำมาใช้ก็คืออัตราดอกเบี้ย ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงเกินไป โอกาสที่ทาง ธปท. จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีอยู่มาก เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้บริโภคจะมีแนวโน้มที่จะลดการใช้จ่ายและเปลี่ยนเป็นออมมากขึ้น ความต้องการในการบริโภคสินค้าที่ลดลง จะทำให้ราคาสินค้าลดลง ในทางตรงกันข้าม หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และสภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก ทาง ธปท. จะมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการลดต้นทุนในการกู้ยืม ซึ่งจะกระตุ้นให้บริษัทต่างๆลงทุนและมีการจ้างงานมากขึ้น ในขณะที่ผู้มีเงินออมก็จะนำเงินออกมาใช้จ่าย เพราะการฝากเงินให้ผลตอบแทนที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม ในการตัดสินใจว่าจะปรับลดหรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. จะต้องมีการพิจารณาหาจุดที่เหมาะสม เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเกินไป จะเกิดผลกระทบต่อผู้เกษียณอายุที่อาศัยดอกเบี้ยเงินฝากในการดำรงชีพ และอาจทำลายระบบการออมด้วย
การวิเคราะห์แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ จะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของกองทุนรวมมาก เพราะแนวโน้มเงินเฟ้อจะมีส่วนสำคัญที่จะบ่งบอกถึงทิศทางดอกเบี้ยในอนาคต หากท่านนักลงทุนมองว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง ท่านนักลงทุนควรจะที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในขณะที่หากท่านนักลงทุนมองว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น ท่านนักลงทุนควรลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น นอกจากนี้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในอัตราที่แตกต่างกันด้วย
จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามาก ดังนั้นการที่เราจะบริหารความร่ำรวยของเรา เราควรที่จะให้ความสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อมาก การออมเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้ ท่านนักลงทุนอาจแบ่งเงินส่วนหนึ่งออกมาลงทุน เพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่คอยกัดกร่อนค่าเงินของท่าน อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ยกตัวอย่างให้เห็นว่า เงิน 1 ล้านบาทของเราเมื่อปี 2546 มีมูลค่าเพียงประมาณ 607,312 บาทในวันนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลให้ค่าเงินมูลค่าลดลง ซึ่งอัตราเงินเฟ้อนอกจากจะมีผลต่อชีวิตประจำวันที่ทำให้เราต้องจับจ่ายสินค้าในราคาที่แพงขึ้นแล้ว ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อจะช่วยให้เรามีการวางแผนการใช้เงินและการออมและการลงทุนที่ดีด้วยตัวอย่างเช่น ในด้านการออม ดังที่ผมได้ยกตัวอย่างไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เงินฝาก 1 ล้านบาทในธนาคารของท่านเมื่อปี 2546 เมื่อนับรวมดอกเบี้ยแล้วจะมีค่าเพียงประมาณ 843,000 บาทเท่านั้น สำหรับในด้านการจับจ่าย ผมขอยกตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์ก็แล้วกันครับ สมมุติว่าวันนี้ท่านซื้อรถยนต์มือสองสภาพดีในราคา 650,000 บาท โดยที่รถคันนี้ถูกซื้อมาครั้งแรกเมื่อปี 2546 ในราคา 1 ล้านบาท อาจมองได้ว่าคุณซื้อรถคันนี้มาแพงนะครับ เพราะรถคันนี้ในสภาพใหม่เอี่ยมเมื่อเทียบกับค่าเงินแล้วควรมีค่าประมาณ 607,312 บาทเท่านั้น ในขณะที่หากท่านเป็นผู้ขาย ก็น่าจะสบายใจนะครับที่จริงๆแล้วท่านขายรถได้ราคา (มูลค่าที่แท้จริง) ดีกว่าตอนที่ท่านซื้อมา แต่หากมองอีกนัยหนึ่งจะเห็นว่าราคารถยนต์ (ที่ผู้ใหญ่มักจะพูดว่าซื้อรถแล้วเงินลด) จริงๆแล้วมันลดลงน้อยกว่าการที่ท่านถือเงินอยู่เฉยๆแล้วปล่อยให้ค่าเงินมันหายไปกับเงินเฟ้อนะครับ หรือจะมองอีกมุมหนึ่งว่าราคารถใหม่ก็ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้หากคุณต้องการซื้อรถใหม่ก็ต้องใช้เงินมากกว่า 1,000,000 บาท
อัตราเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายๆท่านไม่สามารถที่จะสร้างฐานะให้ร่ำรวยได้โดยที่ท่านไม่รู้ตัว เพราะเงินเฟ้อจะคอยกัดกร่อนค่าเงินของท่านให้ลดลงและจะส่งผลให้การออมและการลงทุนของท่านไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังเช่นกรณีที่หากเงินเดือนท่านเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ก็หมายความว่าจริงๆแล้วความร่ำรวยของท่านไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย เพราะราคาสินค้าโดยเฉลี่ยแล้วปรับตัวขึ้นเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้เพิ่ม กล่าวคือท่านมีเงินเพิ่มขึ้น แต่ซื้อของได้เท่าเดิม และในความเป็นจริงท่านอาจจะจนลงก็ได้ หากรายจ่ายส่วนใหญ่ของท่านหมดไปกับราคาน้ำมัน สมมุติว่ารถของท่านเติมน้ำมันดีเซล ราคาน้ำมันดีเซลในวันนี้อยู่ที่ลิตรละ 32.94 บาท ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลเมื่อปี 2546 อยู่ที่ลิตรละ 12.79 – 15.09 บาท ซึ่งก็หมายความว่ารายจ่ายค่าน้ำมันของท่านเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ในขณะที่รายได้ของท่าน (หากเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ) จะเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 17% เท่านั้น (อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปี 2546 – ต้นปี 2551 ประมาณ 3.21%)
ในหลายๆประเทศ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ รวมถึงไทย ต่างบริหารเศรษฐกิจโดยการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ และพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบที่กำหนด เพราะบทวิจัยหลายๆชิ้นได้บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยที่เงินเฟ้อจะส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคก็จะสูงขึ้น ทำให้คนมีเงินไว้ใช้จ่ายน้อยลง และจนลง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่เกิดจากความยากจนตามมา เช่น ขโมย ปล้น จี้ชิงทรัพย์ ความอดอยาก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ทางภาครัฐฯจึงได้พยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนเกินไป
ในทางทฤษฎี อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมีจาก 2 สาเหตุหลัก สาเหตุแรกได้แก่ demand-pull inflation กล่าวคือ ความต้องการบริโภคที่มากขึ้นเป็นตัวก่อให้เกิดเงินเฟ้อ โดยเมื่อผู้บริโภคมีเงินไว้จับจ่ายมากขึ้น จึงมีการบริโภคมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณสินค้าที่ผลิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหรืออาจลดลง จึงทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น สาเหตุที่สองได้แก่ cost-push inflation กล่าวคือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นตัวผลักดันให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเข้ากับปัญหาสถานการณ์ในปัจจุบันที่ราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าชนิดอื่นๆปรับราคาขึ้นตาม จึงก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ มาตรการที่สำคัญที่ใช้ในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ทางภาครัฐฯนำมาใช้ก็คืออัตราดอกเบี้ย ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงเกินไป โอกาสที่ทาง ธปท. จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีอยู่มาก เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้บริโภคจะมีแนวโน้มที่จะลดการใช้จ่ายและเปลี่ยนเป็นออมมากขึ้น ความต้องการในการบริโภคสินค้าที่ลดลง จะทำให้ราคาสินค้าลดลง ในทางตรงกันข้าม หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และสภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก ทาง ธปท. จะมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการลดต้นทุนในการกู้ยืม ซึ่งจะกระตุ้นให้บริษัทต่างๆลงทุนและมีการจ้างงานมากขึ้น ในขณะที่ผู้มีเงินออมก็จะนำเงินออกมาใช้จ่าย เพราะการฝากเงินให้ผลตอบแทนที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม ในการตัดสินใจว่าจะปรับลดหรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. จะต้องมีการพิจารณาหาจุดที่เหมาะสม เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยลงมากเกินไป จะเกิดผลกระทบต่อผู้เกษียณอายุที่อาศัยดอกเบี้ยเงินฝากในการดำรงชีพ และอาจทำลายระบบการออมด้วย
การวิเคราะห์แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ จะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของกองทุนรวมมาก เพราะแนวโน้มเงินเฟ้อจะมีส่วนสำคัญที่จะบ่งบอกถึงทิศทางดอกเบี้ยในอนาคต หากท่านนักลงทุนมองว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง ท่านนักลงทุนควรจะที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในขณะที่หากท่านนักลงทุนมองว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น ท่านนักลงทุนควรลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น นอกจากนี้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในอัตราที่แตกต่างกันด้วย
จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามาก ดังนั้นการที่เราจะบริหารความร่ำรวยของเรา เราควรที่จะให้ความสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อมาก การออมเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้ ท่านนักลงทุนอาจแบ่งเงินส่วนหนึ่งออกมาลงทุน เพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่คอยกัดกร่อนค่าเงินของท่าน อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ