คอลัมน์คุยกับผู้จัดการกองทุน
ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
คราวที่แล้วผมได้เกริ่นนำไปว่าคนเราควรจะมีการวางแผนการลงทุนเพื่อที่ในอนาคตตัวคุณเองและคนที่คุณรักจะได้มีกินมีใช้อย่างไม่ลำบาก และควรจะเริ่มกระทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเร่งประหยัดในภายภาคหน้าในขณะที่ภาระการใช้จ่ายของบางท่านอาจจะเพิ่มขึ้น จากนั้น ก็ได้แนะนำถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติบางประการในการวางแผนการลงทุน
สำหรับหนึ่งในสิ่งที่ผมได้แนะนำให้ท่านคำนึงถึงเสมอก็คือ เงินของเราหายไปกับเงินเฟ้อตลอดเวลา ถึงแม้ว่าท่านจะฝากเงินไว้กับธนาคารก็ตาม บางท่านอาจจะงงว่าเงินหายไปได้อย่างไรก็ในเมื่อท่านเห็นเงินในบัญชีของท่านเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ผมขออธิบายดังนี้ครับ สมมุติว่าท่านฝากเงินเป็นจำนวน 1 ล้านบาทในบัญชีฝากประจำ 1 ปี มาตั้งแต่ต้นปี 2546 จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดอกเบี้ยที่ทางธนาคารได้แจ้งแก่ท่านโดยเฉลี่ยตลอดช่วงระยะเวลาจะอยู่ประมาณ 2.3% ต่อปี แต่ดอกเบี้ยที่ท่านจะได้จริงๆก็คือประมาณ 1.96% เพราะรายได้จากดอกเบี้ยจะถูกหักภาษีไป 15% ดังนั้น เงินที่ท่านเห็นในบัญชีในปัจจุบันจะมีค่าประมาณ 1,100,000 บาท หรือได้ดอกเบี้ยรวมประมาณ 10% ในรอบ 5 ปี 3 เดือน
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงเดียวกันนี้อยู่ที่ 3.21% ต่อปี ซึ่งหมายความว่าราคาสินค้าแพงขึ้นปีละ 3.21% ในขณะที่เงินฝากของท่านเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 1.96% หรือคิดเป็นขาดทุนจากการฝากเงินปีละ 1.25% แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือโดยทั่วไปทางธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยจากการฝากเงินให้ปีละ 2 ครั้ง ในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นทุกเดือน (อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกเดือน) และตั้งแต่ต้นปี 2546 จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีเพียง 13 เดือน จากทั้งหมด 63 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากหลังหักภาษีแล้ว มีค่าสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น ถ้าหากคำนวณเงินฝากหลังหักภาษีโดยสมมุติว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ทุกเดือน แล้วหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ จะพบว่าเงิน 1 ล้านบาทที่ท่านฝากไปเมื่อต้นปี 2546 ในปัจจุบันจะมีมูลค่าราว 843,000 บาท เมื่อเทียบกับมูลค่าเงินในปี 2546 หรือเงินท่านหายไปประมาณ 15.70% จากการฝากเงิน ในขณะที่ถ้าท่านเก็บเงินนั้นไว้เฉยๆโดยไม่ฝากธนาคาร ค่าเงิน 1 ล้านบาทของท่านเมื่อต้นปี 2546 ในวันนี้จะมีค่าเพียงประมาณ 607,312 บาท เมื่อเทียบกับค่าเงินในปี 2546
จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การฝากเงินแทนที่จะทำให้ท่านร่ำรวยขึ้น กลับทำให้ท่านจนลงโดยไม่รู้ตัว เพราะมีอัตราเงินเฟ้อเป็นตัวบั่นทอนความมั่งคั่งของท่าน เงินเฟ้อนอกจากจะทำให้เงินออมของท่านหายไปแล้ว ยังอาจทำให้รายได้และการออมของท่านหายไปด้วย สมมุติว่าอัตราเงินเฟ้อปีนี้เท่ากับ 5% และในปีหน้าท่านได้รับการปรับเงินเดือนขึ้น 5% ก็หมายความว่าในความเป็นจริง ท่านไม่รวยขึ้นจากการได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะราคาสินค้าก็ปรับขึ้น 5% เช่นกัน นอกจากนี้ หากท่านมีวินัยทางการออม โดยออมเงินเดือนละ 10,000 บาท และหากในปีหน้าท่านเก็บออมเดือนละ 10,000 บาทเท่าเดิม จะหมายความว่าท่านออมน้อยลง เพราะมูลค่าเงินของท่านน้อยลง (หลังหักเงินเฟ้อ)
ดังนั้น ท่านควรจะออมเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% เพื่อรักษาระดับมูลค่าการออมของท่าน แต่ถ้าท่านอยากออมมากกว่า 5% ปีหน้าท่านก็จะต้องใช้จ่ายน้อยลงจากปีนี้ เพราะราคาสินค้าในปีหน้าเพิ่มขึ้น 5% ตามอัตราเงินเฟ้อ กล่าวคือในขณะที่ท่านได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 5% การออมเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% จะมาแชร์ในส่วนที่ท่านเคยใช้จ่ายออกไป (งงไหมครับ) ที่แย่ยิ่งกว่านั้นก็คือถึงแม้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ทางการประกาศจะเป็น 5% แต่อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงที่ท่านเผชิญอยู่อาจจะสูงกว่านั้นมาก เช่น หากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของท่านหมดไปกับการเติมน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อที่ท่านเผชิญอยู่ในขณะนี้คือเกือบ 20% เพราะราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นประมาณ 20% จากปีที่แล้ว
ด้วยเหตุที่การออมอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมที่จะสร้างความมั่งคั่งให้แก่ท่านในช่วงนี้ การลงทุนจึงน่าจะเป็นช่องทางเลือกที่ดีในการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งในระยะยาวให้แก่ท่าน สำหรับการวางแผนการลงทุน ท่านควรเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายการลงทุนว่า เป้าหมายการลงทุนของท่านคืออะไร เช่น เพื่อเกษียณรวย เพื่อซื้อบ้าน เพื่อการศึกษาของบุตรเป็นต้น เป้าหมายการลงทุนของท่านจะบ่งบอกถึงระยะเวลาการลงทุนของท่านจนถึงเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ว่าจะใช้เวลายาวนานเพียงใด และผลตอบแทนที่ท่านต้องการคือเท่าใด ตัวอย่างเช่น หากปัจจุบันท่านอายุ 35 ปี และต้องการเกษียณตอนอายุ 55 ปี โดยหลังจากเกษียณท่านต้องการมีเงินใช้เดือนละ 100,000 บาท จนถึงอายุ 85 ปี ท่านจะต้องมีเงินเก็บประมาณ 51,392,488 บาทในวันที่ท่านเกษียณ ดังนั้นหากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 2% ท่านจะต้องออมเดือนละ 176,262 บาททุกเดือนจนถึงเดือนที่ท่านเกษียณ หากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 5% ท่านจะต้องออมเดือนละ 129,520 บาท หากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 10% ท่านจะต้องออมเดือนละ 74,774 บาท และหากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 15% ท่านจะต้องออมเดือนละ 41,806 บาท
จากตัวอย่างข้างบนนี้ จะเห็นได้ว่าหากท่านต้องการออมเพื่อที่จะรวยเมื่อยามเกษียณ ท่านจะมีภาระการออมต่อเดือนในระดับที่สูงมาก แต่ถ้าท่านไม่อยากมีภาระในการออมสูง การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท่านจะต้องคำนึงถึงเสมอก็คือ ผลตอบแทนในระดับสูงมักจะมาพร้อมๆกับระดับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ท่านควรประเมินดูความสามารถในการรับความเสี่ยงของท่านด้วยว่า ท่านสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ในการที่จะดูว่าท่านควรจะออมหรือลงทุนเป็นจำนวนเท่าใด ท่านอาจดูได้จากค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และตรวจสอบดูว่ารายการใช้จ่ายใดที่ท่านสามารถลดหรือยกเลิกได้ เมื่อได้จำนวนเงินที่ท่านสามารถออมต่อเดือนได้แล้ว จึงนำค่าที่ได้ไปเทียบดูว่าท่านมีเป้าหมายการใช้จ่ายหลังเกษียณอย่างไร จากนั้นจึงคำนวณออกมาว่าท่านควรจะลงทุนในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนต่อปีเป็นร้อยละเท่าใด
ปัญหาก็คือ การลงทุนแบบใด ที่จะสามารถตอบสนองแผนการเกษียณของท่านได้ การลงทุนในกองทุนรวมน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณา เพราะท่านจะได้มืออาชีพมาดูแลเงินของท่าน หากท่านลงทุนเอง ท่านจะต้องคอยติดตามการลงทุนของท่าน ซึ่งอาจจะทำให้ท่านรู้สึกไขว้เขวหรือตัดสินใจผิดพลาดได้ในยามที่ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาด ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การลงทุนในกองทุนรวมจะมีสัดส่วนสูงกว่าการฝากเงินในธนาคาร เพราะประชาชนในประเทศเหล่านั้นมักจะมีการวางแผนทางการเงินที่ดี และมีการศึกษาเกี่ยวกับการเงินหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินกันเป็นเรื่องปกติ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าประชาชนในประเทศเหล่านั้นมักจะพึ่งตัวเอง จึงต้องดูแลอนาคตของตัวเองอยู่เสมอ สำหรับในประเทศไทย การฝากเงินเป็นรูปแบบการออมที่มีอัตราส่วนสูงที่สุด ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า การฝากเงินยังคงได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาล จึงมั่นใจได้ว่าเงินของท่าน(ทางบัญชี)จะไม่สูญหายไปไหน บางท่านที่รวยอยู่แล้วจึงคิดเพียงว่า ขอแค่รักษาเงินไม่ให้หายไปก็พอ (แต่ในอนาคตรัฐบาลจะเลิกคุ้มครองเงินฝาก ท่านนักลงทุนทั้งหลายคงจะต้องเริ่มศึกษาทางเลือกอื่นในการรักษาเงินของท่านบ้างแล้วครับ) ในขณะที่ การลงทุนในกองทุนรวมยังคิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะหลายๆท่านยังคงเจ็บตัวจากการลงทุนในกองทุนรวมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มีทัศนคติที่ไม่ดีกับกองทุนรวม เพราะหลายๆท่านมีความเข้าใจว่า การลงทุนในกองทุนรวมจะไม่มีวันขาดทุน ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดอย่างร้ายแรงครับ เพราะการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอในรูปแบบต่างๆ
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
คราวที่แล้วผมได้เกริ่นนำไปว่าคนเราควรจะมีการวางแผนการลงทุนเพื่อที่ในอนาคตตัวคุณเองและคนที่คุณรักจะได้มีกินมีใช้อย่างไม่ลำบาก และควรจะเริ่มกระทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเร่งประหยัดในภายภาคหน้าในขณะที่ภาระการใช้จ่ายของบางท่านอาจจะเพิ่มขึ้น จากนั้น ก็ได้แนะนำถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติบางประการในการวางแผนการลงทุน
สำหรับหนึ่งในสิ่งที่ผมได้แนะนำให้ท่านคำนึงถึงเสมอก็คือ เงินของเราหายไปกับเงินเฟ้อตลอดเวลา ถึงแม้ว่าท่านจะฝากเงินไว้กับธนาคารก็ตาม บางท่านอาจจะงงว่าเงินหายไปได้อย่างไรก็ในเมื่อท่านเห็นเงินในบัญชีของท่านเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ผมขออธิบายดังนี้ครับ สมมุติว่าท่านฝากเงินเป็นจำนวน 1 ล้านบาทในบัญชีฝากประจำ 1 ปี มาตั้งแต่ต้นปี 2546 จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดอกเบี้ยที่ทางธนาคารได้แจ้งแก่ท่านโดยเฉลี่ยตลอดช่วงระยะเวลาจะอยู่ประมาณ 2.3% ต่อปี แต่ดอกเบี้ยที่ท่านจะได้จริงๆก็คือประมาณ 1.96% เพราะรายได้จากดอกเบี้ยจะถูกหักภาษีไป 15% ดังนั้น เงินที่ท่านเห็นในบัญชีในปัจจุบันจะมีค่าประมาณ 1,100,000 บาท หรือได้ดอกเบี้ยรวมประมาณ 10% ในรอบ 5 ปี 3 เดือน
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงเดียวกันนี้อยู่ที่ 3.21% ต่อปี ซึ่งหมายความว่าราคาสินค้าแพงขึ้นปีละ 3.21% ในขณะที่เงินฝากของท่านเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 1.96% หรือคิดเป็นขาดทุนจากการฝากเงินปีละ 1.25% แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือโดยทั่วไปทางธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยจากการฝากเงินให้ปีละ 2 ครั้ง ในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นทุกเดือน (อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกเดือน) และตั้งแต่ต้นปี 2546 จนถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีเพียง 13 เดือน จากทั้งหมด 63 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากหลังหักภาษีแล้ว มีค่าสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น ถ้าหากคำนวณเงินฝากหลังหักภาษีโดยสมมุติว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ทุกเดือน แล้วหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ จะพบว่าเงิน 1 ล้านบาทที่ท่านฝากไปเมื่อต้นปี 2546 ในปัจจุบันจะมีมูลค่าราว 843,000 บาท เมื่อเทียบกับมูลค่าเงินในปี 2546 หรือเงินท่านหายไปประมาณ 15.70% จากการฝากเงิน ในขณะที่ถ้าท่านเก็บเงินนั้นไว้เฉยๆโดยไม่ฝากธนาคาร ค่าเงิน 1 ล้านบาทของท่านเมื่อต้นปี 2546 ในวันนี้จะมีค่าเพียงประมาณ 607,312 บาท เมื่อเทียบกับค่าเงินในปี 2546
จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การฝากเงินแทนที่จะทำให้ท่านร่ำรวยขึ้น กลับทำให้ท่านจนลงโดยไม่รู้ตัว เพราะมีอัตราเงินเฟ้อเป็นตัวบั่นทอนความมั่งคั่งของท่าน เงินเฟ้อนอกจากจะทำให้เงินออมของท่านหายไปแล้ว ยังอาจทำให้รายได้และการออมของท่านหายไปด้วย สมมุติว่าอัตราเงินเฟ้อปีนี้เท่ากับ 5% และในปีหน้าท่านได้รับการปรับเงินเดือนขึ้น 5% ก็หมายความว่าในความเป็นจริง ท่านไม่รวยขึ้นจากการได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะราคาสินค้าก็ปรับขึ้น 5% เช่นกัน นอกจากนี้ หากท่านมีวินัยทางการออม โดยออมเงินเดือนละ 10,000 บาท และหากในปีหน้าท่านเก็บออมเดือนละ 10,000 บาทเท่าเดิม จะหมายความว่าท่านออมน้อยลง เพราะมูลค่าเงินของท่านน้อยลง (หลังหักเงินเฟ้อ)
ดังนั้น ท่านควรจะออมเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% เพื่อรักษาระดับมูลค่าการออมของท่าน แต่ถ้าท่านอยากออมมากกว่า 5% ปีหน้าท่านก็จะต้องใช้จ่ายน้อยลงจากปีนี้ เพราะราคาสินค้าในปีหน้าเพิ่มขึ้น 5% ตามอัตราเงินเฟ้อ กล่าวคือในขณะที่ท่านได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 5% การออมเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% จะมาแชร์ในส่วนที่ท่านเคยใช้จ่ายออกไป (งงไหมครับ) ที่แย่ยิ่งกว่านั้นก็คือถึงแม้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ทางการประกาศจะเป็น 5% แต่อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงที่ท่านเผชิญอยู่อาจจะสูงกว่านั้นมาก เช่น หากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของท่านหมดไปกับการเติมน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อที่ท่านเผชิญอยู่ในขณะนี้คือเกือบ 20% เพราะราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นประมาณ 20% จากปีที่แล้ว
ด้วยเหตุที่การออมอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมที่จะสร้างความมั่งคั่งให้แก่ท่านในช่วงนี้ การลงทุนจึงน่าจะเป็นช่องทางเลือกที่ดีในการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งในระยะยาวให้แก่ท่าน สำหรับการวางแผนการลงทุน ท่านควรเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายการลงทุนว่า เป้าหมายการลงทุนของท่านคืออะไร เช่น เพื่อเกษียณรวย เพื่อซื้อบ้าน เพื่อการศึกษาของบุตรเป็นต้น เป้าหมายการลงทุนของท่านจะบ่งบอกถึงระยะเวลาการลงทุนของท่านจนถึงเป้าหมายที่ท่านตั้งไว้ว่าจะใช้เวลายาวนานเพียงใด และผลตอบแทนที่ท่านต้องการคือเท่าใด ตัวอย่างเช่น หากปัจจุบันท่านอายุ 35 ปี และต้องการเกษียณตอนอายุ 55 ปี โดยหลังจากเกษียณท่านต้องการมีเงินใช้เดือนละ 100,000 บาท จนถึงอายุ 85 ปี ท่านจะต้องมีเงินเก็บประมาณ 51,392,488 บาทในวันที่ท่านเกษียณ ดังนั้นหากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 2% ท่านจะต้องออมเดือนละ 176,262 บาททุกเดือนจนถึงเดือนที่ท่านเกษียณ หากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 5% ท่านจะต้องออมเดือนละ 129,520 บาท หากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 10% ท่านจะต้องออมเดือนละ 74,774 บาท และหากท่านลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนปีละ 15% ท่านจะต้องออมเดือนละ 41,806 บาท
จากตัวอย่างข้างบนนี้ จะเห็นได้ว่าหากท่านต้องการออมเพื่อที่จะรวยเมื่อยามเกษียณ ท่านจะมีภาระการออมต่อเดือนในระดับที่สูงมาก แต่ถ้าท่านไม่อยากมีภาระในการออมสูง การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท่านจะต้องคำนึงถึงเสมอก็คือ ผลตอบแทนในระดับสูงมักจะมาพร้อมๆกับระดับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ท่านควรประเมินดูความสามารถในการรับความเสี่ยงของท่านด้วยว่า ท่านสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ในการที่จะดูว่าท่านควรจะออมหรือลงทุนเป็นจำนวนเท่าใด ท่านอาจดูได้จากค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และตรวจสอบดูว่ารายการใช้จ่ายใดที่ท่านสามารถลดหรือยกเลิกได้ เมื่อได้จำนวนเงินที่ท่านสามารถออมต่อเดือนได้แล้ว จึงนำค่าที่ได้ไปเทียบดูว่าท่านมีเป้าหมายการใช้จ่ายหลังเกษียณอย่างไร จากนั้นจึงคำนวณออกมาว่าท่านควรจะลงทุนในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนต่อปีเป็นร้อยละเท่าใด
ปัญหาก็คือ การลงทุนแบบใด ที่จะสามารถตอบสนองแผนการเกษียณของท่านได้ การลงทุนในกองทุนรวมน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณา เพราะท่านจะได้มืออาชีพมาดูแลเงินของท่าน หากท่านลงทุนเอง ท่านจะต้องคอยติดตามการลงทุนของท่าน ซึ่งอาจจะทำให้ท่านรู้สึกไขว้เขวหรือตัดสินใจผิดพลาดได้ในยามที่ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาด ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การลงทุนในกองทุนรวมจะมีสัดส่วนสูงกว่าการฝากเงินในธนาคาร เพราะประชาชนในประเทศเหล่านั้นมักจะมีการวางแผนทางการเงินที่ดี และมีการศึกษาเกี่ยวกับการเงินหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินกันเป็นเรื่องปกติ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าประชาชนในประเทศเหล่านั้นมักจะพึ่งตัวเอง จึงต้องดูแลอนาคตของตัวเองอยู่เสมอ สำหรับในประเทศไทย การฝากเงินเป็นรูปแบบการออมที่มีอัตราส่วนสูงที่สุด ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า การฝากเงินยังคงได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาล จึงมั่นใจได้ว่าเงินของท่าน(ทางบัญชี)จะไม่สูญหายไปไหน บางท่านที่รวยอยู่แล้วจึงคิดเพียงว่า ขอแค่รักษาเงินไม่ให้หายไปก็พอ (แต่ในอนาคตรัฐบาลจะเลิกคุ้มครองเงินฝาก ท่านนักลงทุนทั้งหลายคงจะต้องเริ่มศึกษาทางเลือกอื่นในการรักษาเงินของท่านบ้างแล้วครับ) ในขณะที่ การลงทุนในกองทุนรวมยังคิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะหลายๆท่านยังคงเจ็บตัวจากการลงทุนในกองทุนรวมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มีทัศนคติที่ไม่ดีกับกองทุนรวม เพราะหลายๆท่านมีความเข้าใจว่า การลงทุนในกองทุนรวมจะไม่มีวันขาดทุน ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดอย่างร้ายแรงครับ เพราะการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอในรูปแบบต่างๆ
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ