แบงก์เอชเอสบีซีเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้จัดการกองทุนทั่วโลก 62%ให้น้ำหนักกับการถือเงินสดมากขึ้น พร้อมลดน้ำหนักลงทุนในหุ้นหลังซับไพรม์ทำตลาดทั่วโลกป่วน ขณะที่หุ้นเอเชียแปซิฟิกเนื้อหอมได้รับความสนใจสูง กูรูชี้หุ้นผันผวน ส่งผลให้นักลงทุนระมัดระวังการลงทุนเพิ่มมากขึ้น แนะเป็นเวลาที่เหมาะแก่การทบทวนและปรับพอร์ตลงทุน
ธนาคาร เอชเอสบีซี (ประเทศไทย) ได้รายงานผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนเกี่ยวกับทิศทางและตลาดการลงทุนประจำไตรมาส 1 ปี 2551 ว่า 62% ของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจให้น้ำหนักมากขึ้นกับการถือเงินสด ซึ่งมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ 38% ของผู้จัดการกองทุนได้ลดน้ำหนักการลงทุนในตราสารหุ้นซึ่งแตกต่างจากไตรมาสก่อนซึ่งไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดเลยที่มีความเห็นดังกล่าว
โดยในส่วนของการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น จากผลสำรวจพบว่าผู้จัดการกองทุนทุกรายมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้น้ำหนักกับตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ส่วนตลาดหุ้นอื่นที่ได้รับความนิยมรองลงมา คือ จีน (Greater China) คิดเป็นสัดส่วน 75% ของผู้จัดการกองทุนที่ตอบแบบสำรวจเพิ่มน้ำหนักการลงทุน ด้านการลงทุนในตลาดพันธบัตรนั้นผู้จัดการกองทุน 50% ของกลุ่มสำรวจให้น้ำหนักน้อยลงกับการลงทุนในตราสารประเภทนี้ และ37% มีความเห็นเป็นกลาง
ด้านผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการไหลเวียนของกระแสเงินลงทุนทั่วโลก (the global liquidity flow) และความเคลื่อนไหวในการจัดสรรเงินลงทุนในตลาดตราสารประเภทต่างๆ ทั่วโลก และกระแสเงินลงทุนสุทธิ2 (Net fund flow) พบว่า ปัจจุบันปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจในไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ากว่า 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2%
ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา เงินลงทุนส่วนใหญ่ยังคงไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) คิดเป็นเงินไหลเข้าสุทธิประมาณ 14.3% เนื่องมาจากนักลงทุนมั่นใจในศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มากกว่าตลาดหุ้นของประเทศพัฒนาแล้ว ด้านตลาดหุ้นญี่ปุ่นและยุโรปนั้นมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย คิดเป็น 1.9% และ 0.4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะมีผลประกอบการลดลง แต่กลับปรากฏว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นกลับมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเงินทุนไหลออกสุทธิในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งโดยในภาพรวม ตลาดหุ้นที่มีปริมาณเงินทุนไหลออกสุทธิสูงสุดในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2551 คือ ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (ไม่รวมตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย) คิดเป็นการลดลง 7.2% อันดับ 2 ตลาดหุ้นสหรัฐ ลดลง 2% และตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ลดลง 1.8% ซึ่งการปรับตัวลดลงครั้งนี้เพราะนักลงทุนยังเป็นห่วงผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤติปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) และภาวะวิกฤติของตลาดสินเชื่อทั่วโลก
ขณะเดียวกันจากความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลกส่งผลทำให้นักลงทุนย้ายการลงทุนมายังตลาดตราสารที่ให้ผลตอบแทนมั่นคงกว่าเพิ่มมากขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่าตลาดพันธบัตรที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิสูง 3 ลำดับแรก ได้แก่ ตลาดพันธบัตรทั่วโลก ยุโรป และตลาดเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง คิดเป็น 5.4% , 2.4% และ 4.4% ตามลำดับ สำหรับตลาดพันธบัตรของประเทศสหรัฐฯนั้น แม้จะมีอัตราเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรอื่นๆ แต่การผ่อนคลายด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กลับส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกสุทธิจำนวนมาก
ด้านยอดเงินกองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจทั้ง 10 แห่งในครั้งนี้ มีมูลค่าเงินกองทุนรวม 4.85 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2549 คิดเป็น 16.2% โดยกองทุนที่มีสัดส่วนในเงินกองทุนและให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้น โดยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 2,400,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่เงินทุนจะไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นทั่วโลก ยุโรป ญี่ปุ่น เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก (ไม่รวมตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย)
นาย บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงมีความผันผวนและจิตวิทยาของนักลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้กลยุทธ์การลงทุนในช่วงดังกล่าวมีความระมัดระวังและเน้นเฉพาะตลาดตราสารที่ให้ผลตอบแทนแน่นอน ขณะที่นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะรักษาสภาพคล่องในมือไว้ให้พร้อมสำหรับการลงทุนเมื่อตลาดเปิดโอกาสและให้ผลตอบแทนดีขึ้นรวมทั้งยังมีการรักษาสมดุลของการลงทุนในตลาดหุ้นด้วยการหันไปลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย และตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ที่ยังมีโอกาสเติบโตเพิ่มมากขึ้นแทน
“ปี 2007 นับเป็นปีแห่งการทำกำไรจากตลาดหุ้นที่มีการเติบโตทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในเอเชีย ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดหุ้นจีน ขณะที่ตลาดหุ้นในสหรัฐฯ อ่อนตัวลง ส่วนความผันผวนอย่างรุนแรงในช่วงปลายปีที่แล้ว ที่ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาอย่างต่อเนื่องมาถึงไตรมาสแรกของปีนี้ เกิดจากการที่นักลงทุนปรับสมดุลของพอร์ตลงทุนโดยให้น้ำหนักกับพันธบัตรและเงินสดมากขึ้น ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง แต่ผลสำรวจพบว่านักลงทุนได้ปรับตัวโดยหันมาเน้นการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) จีน และตลาดเกิดใหม่ ที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตมากขึ้น" นาย บรูโน กล่าว
อย่างไรก็ตามขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะกับการทบทวนและปรับพอร์ตลงทุน สำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยง ในตลาดยังมีผลิตภัณฑ์การเงินประเภทความเสี่ยงต่ำให้เลือกหลายชนิด ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้บ้างสามารถเลือกลงทุนในกองทุนพันธบัตรคุณภาพสูงควบกับกองทุนผสมที่มีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรและหุ้นในตลาดทั่วโลก สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงอาจเลือกลงทุนกองทุนหุ้นที่เน้นลงทุนในธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ในภูมิภาคเอเชียและตลาดหุ้นเกิดใหม่หลายแห่ง
ธนาคาร เอชเอสบีซี (ประเทศไทย) ได้รายงานผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนเกี่ยวกับทิศทางและตลาดการลงทุนประจำไตรมาส 1 ปี 2551 ว่า 62% ของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจให้น้ำหนักมากขึ้นกับการถือเงินสด ซึ่งมากกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ 38% ของผู้จัดการกองทุนได้ลดน้ำหนักการลงทุนในตราสารหุ้นซึ่งแตกต่างจากไตรมาสก่อนซึ่งไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดเลยที่มีความเห็นดังกล่าว
โดยในส่วนของการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น จากผลสำรวจพบว่าผู้จัดการกองทุนทุกรายมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้น้ำหนักกับตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ส่วนตลาดหุ้นอื่นที่ได้รับความนิยมรองลงมา คือ จีน (Greater China) คิดเป็นสัดส่วน 75% ของผู้จัดการกองทุนที่ตอบแบบสำรวจเพิ่มน้ำหนักการลงทุน ด้านการลงทุนในตลาดพันธบัตรนั้นผู้จัดการกองทุน 50% ของกลุ่มสำรวจให้น้ำหนักน้อยลงกับการลงทุนในตราสารประเภทนี้ และ37% มีความเห็นเป็นกลาง
ด้านผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการไหลเวียนของกระแสเงินลงทุนทั่วโลก (the global liquidity flow) และความเคลื่อนไหวในการจัดสรรเงินลงทุนในตลาดตราสารประเภทต่างๆ ทั่วโลก และกระแสเงินลงทุนสุทธิ2 (Net fund flow) พบว่า ปัจจุบันปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจในไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ากว่า 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2%
ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา เงินลงทุนส่วนใหญ่ยังคงไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) คิดเป็นเงินไหลเข้าสุทธิประมาณ 14.3% เนื่องมาจากนักลงทุนมั่นใจในศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มากกว่าตลาดหุ้นของประเทศพัฒนาแล้ว ด้านตลาดหุ้นญี่ปุ่นและยุโรปนั้นมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย คิดเป็น 1.9% และ 0.4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะมีผลประกอบการลดลง แต่กลับปรากฏว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นกลับมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเงินทุนไหลออกสุทธิในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งโดยในภาพรวม ตลาดหุ้นที่มีปริมาณเงินทุนไหลออกสุทธิสูงสุดในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2551 คือ ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (ไม่รวมตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย) คิดเป็นการลดลง 7.2% อันดับ 2 ตลาดหุ้นสหรัฐ ลดลง 2% และตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ลดลง 1.8% ซึ่งการปรับตัวลดลงครั้งนี้เพราะนักลงทุนยังเป็นห่วงผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤติปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) และภาวะวิกฤติของตลาดสินเชื่อทั่วโลก
ขณะเดียวกันจากความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลกส่งผลทำให้นักลงทุนย้ายการลงทุนมายังตลาดตราสารที่ให้ผลตอบแทนมั่นคงกว่าเพิ่มมากขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่าตลาดพันธบัตรที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิสูง 3 ลำดับแรก ได้แก่ ตลาดพันธบัตรทั่วโลก ยุโรป และตลาดเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง คิดเป็น 5.4% , 2.4% และ 4.4% ตามลำดับ สำหรับตลาดพันธบัตรของประเทศสหรัฐฯนั้น แม้จะมีอัตราเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรอื่นๆ แต่การผ่อนคลายด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กลับส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกสุทธิจำนวนมาก
ด้านยอดเงินกองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจทั้ง 10 แห่งในครั้งนี้ มีมูลค่าเงินกองทุนรวม 4.85 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2549 คิดเป็น 16.2% โดยกองทุนที่มีสัดส่วนในเงินกองทุนและให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้น โดยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 2,400,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่เงินทุนจะไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นทั่วโลก ยุโรป ญี่ปุ่น เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก (ไม่รวมตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย)
นาย บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงมีความผันผวนและจิตวิทยาของนักลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้กลยุทธ์การลงทุนในช่วงดังกล่าวมีความระมัดระวังและเน้นเฉพาะตลาดตราสารที่ให้ผลตอบแทนแน่นอน ขณะที่นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะรักษาสภาพคล่องในมือไว้ให้พร้อมสำหรับการลงทุนเมื่อตลาดเปิดโอกาสและให้ผลตอบแทนดีขึ้นรวมทั้งยังมีการรักษาสมดุลของการลงทุนในตลาดหุ้นด้วยการหันไปลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย และตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ที่ยังมีโอกาสเติบโตเพิ่มมากขึ้นแทน
“ปี 2007 นับเป็นปีแห่งการทำกำไรจากตลาดหุ้นที่มีการเติบโตทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในเอเชีย ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดหุ้นจีน ขณะที่ตลาดหุ้นในสหรัฐฯ อ่อนตัวลง ส่วนความผันผวนอย่างรุนแรงในช่วงปลายปีที่แล้ว ที่ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาอย่างต่อเนื่องมาถึงไตรมาสแรกของปีนี้ เกิดจากการที่นักลงทุนปรับสมดุลของพอร์ตลงทุนโดยให้น้ำหนักกับพันธบัตรและเงินสดมากขึ้น ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง แต่ผลสำรวจพบว่านักลงทุนได้ปรับตัวโดยหันมาเน้นการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) จีน และตลาดเกิดใหม่ ที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตมากขึ้น" นาย บรูโน กล่าว
อย่างไรก็ตามขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะกับการทบทวนและปรับพอร์ตลงทุน สำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยง ในตลาดยังมีผลิตภัณฑ์การเงินประเภทความเสี่ยงต่ำให้เลือกหลายชนิด ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้บ้างสามารถเลือกลงทุนในกองทุนพันธบัตรคุณภาพสูงควบกับกองทุนผสมที่มีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรและหุ้นในตลาดทั่วโลก สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงอาจเลือกลงทุนกองทุนหุ้นที่เน้นลงทุนในธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ในภูมิภาคเอเชียและตลาดหุ้นเกิดใหม่หลายแห่ง