xs
xsm
sm
md
lg

Q&A Corner : กองทุนเอเชียนบอนด์ ตอนจบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วันนี้เราจะมาต่อเรื่อง กองทุนเอเชียนบอนด์ ให้จบกันนะครับ กองทุนเอเชียนบอนด์ฟันด์ 2 (ABF 2) จะมีกลยุทธ์การบริหารเชิงรับโดยอิงกับดัชนีอ้างอิงที่บริษัท International Index Company (IIC) พัฒนาขึ้น ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิค เเละคณะกรรมการตรวจสอบ เข้ามาดูเเล ตราสารหนี้ที่เข้ามาคำนวณในดัชนีต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับที่มีมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับ ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมถึงสถาบันจัดอันดับท้องถิ่นหลายๆเเห่งของกลุ่มประเทศสมาชิก โดยการดำเนินการจัดตั้ง ABF 2 จะเเบ่งเป็น 2 ระยะได้เเก่

1.ระยะเเรก จะมีผู้ร่วมลงทุน จากภายในสมาชิกกลุ่ม EMEAP เท่านั้น โดยจัดตั้งเป็นกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)

2.ระยะที่สอง เป็นการขยายกองทุนให้นักลงทุนจากภายในเเละต่สงประเทศเข้าร่วมลงทุนได้ ในรูปกองทุนเปิดหรือ EXchande Traded Fund (ETF)

สำหรับประเทศไทยหลังจากได้รับการจัดสรรกองทุนย่อยมาเเล้วในขั้นเเรก ก็จะตั้งเป็นกองทุน Private Fund ก่อน หลังจากนั้น จะแปรสภาพกองทุนส่วนบุคคลให้เป็นกองทุนเปิด ETF โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้จัดการกองทุน ABF 2 ของประเทศไทย จะแปรสภาพเป็นกองทุนส่วนบุคคล ให้เป็นกองทุนเปิด ETF ออกเป็นหน่วยลงทุนย่อยๆที่นักลงทุนรายใหญ่ เเละรายย่อยสามารถซื้อขายได้

กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ ได้เข้าจดทะเบียนซื้อขายบนกระดานของตลาดตราสารหนี้ Bond Elecreonic Exchange หรือ BEX เเละได้มีการเปลี่ยนมือจากผู้ลงทุนเดิม จากกลุ่มประเทศสมาชิกของ EMEAP เป็นนักลงทุนรายใหญ่ เเละรายย่อยทั้งในเเละต่างประเทศ

อีกนัยหนึ่ง ก็คือสัดส่วนเงินกู้ของผู้ให้กู้เดิม ที่ได้เงินมาจากเงินลงขันของกลุ่ม EMEAP จะลดลง เเละเปลี่ยนเป็นเงินให้กู้ยืมจากนัลงทุนในประเทศ เเละต่างประเทศ ผ่านการซื้อพันธบัตรของภาครัฐ การเกิดธุรกรรมนี้ทำให้ภาครัฐสามารถกู้ยืมเงินภาคประชาชนได้เพิ่มขึ้นขณะที่ประชาชนทั่วไปที่เป็นนักลงทุนก็มีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น รวมทั้งมีความมั่นใจว่า ได้เลือกตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำเเละสภาพคล่องสูง

สำหรับรูปแบบการลงทุนใน กองทุนเปิด ABFTH มี 2 ลักษณะ คือ การลงทุนโดยใช้เงินสด เเละการลงทุนโดยใช้หลักทรัพย์ การลงทุนโดยใช้เงินสด เป็นการลงทุนของนักลงทุนรายย่อยที่เข้าไปซื้อขายผ่านตลาดตราสารหนี้ของตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย

ส่วนนักลงทุนรายใหญ่ จะเป็นนักลงทุนสถาบนหลักประเภท Fund Manager ซึ่งมีการซื้อขายในลักษณะ การให้หลักทรัพย์มาเเลกเปลี่ยนกันระหว่างหน่วยลงทุนของ ABFTH กับตราสารหนี้ภาครัญ หรือกึ่งภาครัฐ ตัวใดตัวหนึ่ง โดยมีข้อจำกัด คือตราสารหนี้ภาครัฐหรือกึ่งภาครัฐนั้นจะต้องมี พอร์ตที่ ABFTH ลงทุนอยู่ด้วย ขณะเดียวกันตราสารหนี้ที่กองทุนเปิด จะเข้าไปลงทุนจะต้องเป็นตราสารหนี้ตัวที่มีการนำไปคำนวณดัชนีที่ บริษัท International Index Company (IIC) จักทำขึ้นเพื่อวัด Performance ของกองทุน ABFTH เงื่อนไขหลักๆของตราสาหนี้ที่จะนำไปสร้างดัชนีคือ เป็นตราสารหนี้ภาครัฐหนือกึ่งรัฐ ที่มีสภาพคล่องเเละมีอันดับความน่าเชื่อถือ ในระดับสูงจากสถาบันจัดอันดับที่มีมาตรฐานสากล

การเเลกเปลี่ยนในลักษณะ In-Kind นี้อาจมีการเกร็งกำไรเกิดขึ้นได้ ถ้าราคาซื้อขายหน่วยลงทุน ABFTH เเตกต่างกับราคา NAV ของตราสารหนี้ภาครัฐหรือกึ่งภาครัฐตัวใดตัวหนึ่ง ที่เป็นองค์ประกอบใน พอร์ตของ ABFTH เเต่อย่างไรก็ตามในที่สุด เมื่อมีการเเลกเปลี่ยนหน่วยลงทุนของ ABFTH กับตราสารหนี่ภาครัฐหรือกึ่งภาครัฐ ตัวใดตัวหนึ่งที่มี NAV ต่างกันเเล้ว ระดับอุปสงค์เเละอุปทานในตลาดรองตราสารหนี้ หรือตลาด BEX จะทำให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของ ABFTH ปรับตัวจนไม่ต่างกับ NAV ทำให้การเก็งกำไรหมดไป

ท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงุทนในกองทุนรวม หรือสงสัยในกองทุนที่ท่านผู้อ่านเข้าไปลงทุน ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางให้ครับ ท่านสามารถส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสต์คำถามไว้ที่ www.manager.co.th. ในหน้ากองทุนรวมนะครับ สำหรับที่สนใจกองทุนเอเชียนบอนด์ หรือ กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.bex.or.th
กำลังโหลดความคิดเห็น