กระแสบอนด์กิมจิฟีเวอร์ยังร้อนแรง 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ประกาศเข็นกองใหม่ตอบสนองความต้องการของนักลงทุนต่อเนื่อง "บลจ.ทหารไทย" ส่งทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 10 -11 ไอพีโอพร้อมกัน 2-9 เม.ย.นี้ ส่วน "บลจ.กสิกรไทย" ขยายซีรีส์เค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เพิ่มอีก 4 กองทุน กระจายเปิดขายตลอดเดือนเมษายนนี้ ขณะที่กูรูชี้ยิลด์กองทุนพันธบัตรเกาหลีสูงขึ้น เหตุรับอานิสงส์อัตราสวอปปรับตัวดีขึ้นและบลจ.ลดค่าฟี หวังรักษาฐานลูกค้าหลังกอง ECP เริ่มครบอายุ
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการเปิดขายกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้เพิ่มอีก 2 รุ่น ได้แก่กองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 10 และกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 11 โดยทั้ง 2 กองทุนจะเปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) พร้อมกันในระหว่างวันที่ 2-9 เมษายน 2551
สำหรับกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 10 มีอายุโครงการ 1 ปี มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท โดยกองทุนจะลงทุนในพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งชาติ ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ เป็นผู้ออกหรือเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ใน 2 อันดับแรก ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ในประเทศที่มีอายุของสัญญา อายุของตราสาร หรือระยะเวลาการฝากเงิน ไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
โดยกองทุนอาจจะสัญญาสวอป หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreing Exchange Rate Risk) โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด แต่จะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ขณะที่บริษัทได้กำหนดให้มีการดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน 4 ครั้งต่อปี ในอัตราไม่ต่ำกว่า 4.0% ต่อปีเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรของรัฐบาลไทย (ณ วันที่ 26 มีนาคม 2551) อายุคงที่ 1 ปี ที่ 2.85%
ส่วนกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 11 มีอายุโครงการ 2 ปี มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท และมีนโยบายการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 10 และจะดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน 4 ครั้งต่อปี ในอัตราไม่ต่ำกว่า 4.3% ต่อปี เมื่อเทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรของรัฐบาลไทยอายุคงที่ 2 ปี ที่ 2.95%
"กองทุนที่ออกใหม่ยังคงมีนโยบายการเข้าไปลงทุนในพันธบัตรธนาคารแห่งชาติเกาหลีใต้ในสัดส่วนประมาณ 99% ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากฟิทช์เรตติ้งอยู่ที่ระดับ AA ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากธนาคารในประเทศประเภทออมทรัพย์ " นางโชติกา กล่าว
นางโชติกา กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา บลจ.ทหารไทยได้มีการเปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 9 กองทุน ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก ทำให้ปัจจุบันมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในกองทุนดังกล่าวรวมแล้วมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาทแล้ว
ขณะที่นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เพิ่มอีก 4 กองทุนในเดือนเมษายน 2551 โดยจะแบ่งเป็นกองทุนที่มีขนาดโครงการ 3,300 ล้านบาท จำนวน 1 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี จี โดยจะเปิดขายในวันที่ 2 – 8 เมษายน
นอกจากนี้บริษัทยังจะมีการเปิดจำหน่ายกองทุนที่มีขนาด 3,500 ล้านบาท อีกจำนวน 3 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอช เปิดขายวันที่ 8 – 16 เมษายน 2551 , กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี ไอ เปิดขาย 11 – 17 เมษายน 2551 และกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เจ จะเปิดขายวันที่ 18-24 เมษายน 2551 โดยทุกกองทุนยังคงมุ่งลงทุนในพันธบัตรของประเทศเกาหลีใต้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับ F1 ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดจากการจัดอันดับของ Fitch Rating
“กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี ที่จะเสนอขายในเดือนเมษายน มีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงจะมีการจัดสรรแบบจองซื้อก่อนได้ก่อน และจะปิดการขายทันทีเมื่อขายได้ตามขนาดโครงการโดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวันเสนอขายวันสุดท้าย” นางวิวรรณ กล่าว
นางวิวรรณ กล่าวว่า สำหรับกองทุนดังกล่าว บริษัทหวังจะออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุน ซึ่งยังคงต้องการทางเลือกในการลงทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ประกอบกับมีความเชื่อมั่นในการลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการตอบรับอย่างล้นหลามของผู้ลงทุน ที่ส่งผลให้กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี ทั้ง 6 กองทุน ที่เสนอขายต่อเนื่องตลอดเดือนมีนาคม สามารถปิดการขายได้ภายในระยะเวลาอันสั้นด้วยยอดขายกว่า 11,500 ล้านบาท
ลดค่าฟีแข่งยิลด์หวังดึงลูกค้าECP
รายงานข่าว ระบุว่าปัจจุบันมีหลายบลจ.ที่มีการออกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าผลตอบแทนของกองทุนในช่วงหลังปรับตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงแรกๆ ที่มีการออกกองทุนประเภทดังกล่าว
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนแห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลทำให้ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเกิดมาจาก 2 สาเหตุคืออัตราค่าสวอปซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มมากขึ้น และการลดค่าธรรมเนียม (ฟี) ของแต่ละบริษัท
สำหรับการปรับลดค่าฟีเพื่อดึงผลตอบแทนสูงขึ้นนั้น เนื่องจากแต่ละบริษัทต้องมีการแข่งขันกันเอง ประกอบกับปัจจุบันกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินยุโรป (ECP) ซึ่งในปี 2550 มีจำนวนเงินในกองทุนรวมที่เข้าไปลงทุนในกองทุนประเภทดังกล่าวจำนวนมากเริ่มครบกำหนดอายุโครงการเแล้ว ทำให้ทางบริษัทต่างๆจึงต้องเร่งหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทดแทนที่จะให้ผลตอบแทนในระดับที่สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าเก่าเอาไว้ได้
"ตอนนี้กอง ECP ส่วนใหญ่เริ่มจะครบกำหนดแล้ว ทำให้แต่ละแห่งต้องเร่งหาสินค้าใหม่ที่ให้ยิลด์ดีๆเพื่อดึงลูกค้าเก่าไว้กับตัวต่อไป ไม่ให้ออกไปลงทุนยังบริษัทอื่น" แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามปัจจุบันที่หลายบลจ.ได้นิยมออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีเพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากเป็นแนวทางการลงทุนที่จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ แต่ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นนี้เกิดมาจากความผิดปกติของตลาดของประเทศเกาหลี ซึ่งไม่มีใครสามารถประเมินได้ว่าช่องทางการทำกำไรดังกล่าวจะคงอยู่ถึงเมื่อไร ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่สนใจควรที่จะหาจังหวะที่ยังมีผิดปกตินี้ เข้ามาทำกำไรในการลงทุนผ่านพันธบัตรเกาหลีใต้
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการเปิดขายกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้เพิ่มอีก 2 รุ่น ได้แก่กองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 10 และกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 11 โดยทั้ง 2 กองทุนจะเปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) พร้อมกันในระหว่างวันที่ 2-9 เมษายน 2551
สำหรับกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 10 มีอายุโครงการ 1 ปี มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท โดยกองทุนจะลงทุนในพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งชาติ ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ เป็นผู้ออกหรือเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ใน 2 อันดับแรก ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ในประเทศที่มีอายุของสัญญา อายุของตราสาร หรือระยะเวลาการฝากเงิน ไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
โดยกองทุนอาจจะสัญญาสวอป หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreing Exchange Rate Risk) โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด แต่จะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ขณะที่บริษัทได้กำหนดให้มีการดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน 4 ครั้งต่อปี ในอัตราไม่ต่ำกว่า 4.0% ต่อปีเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรของรัฐบาลไทย (ณ วันที่ 26 มีนาคม 2551) อายุคงที่ 1 ปี ที่ 2.85%
ส่วนกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 11 มีอายุโครงการ 2 ปี มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท และมีนโยบายการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนเปิดทหารไทยพันธบัตรเกาหลีใต้รุ่น 10 และจะดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน 4 ครั้งต่อปี ในอัตราไม่ต่ำกว่า 4.3% ต่อปี เมื่อเทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรของรัฐบาลไทยอายุคงที่ 2 ปี ที่ 2.95%
"กองทุนที่ออกใหม่ยังคงมีนโยบายการเข้าไปลงทุนในพันธบัตรธนาคารแห่งชาติเกาหลีใต้ในสัดส่วนประมาณ 99% ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากฟิทช์เรตติ้งอยู่ที่ระดับ AA ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝากธนาคารในประเทศประเภทออมทรัพย์ " นางโชติกา กล่าว
นางโชติกา กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา บลจ.ทหารไทยได้มีการเปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 9 กองทุน ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก ทำให้ปัจจุบันมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในกองทุนดังกล่าวรวมแล้วมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาทแล้ว
ขณะที่นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เพิ่มอีก 4 กองทุนในเดือนเมษายน 2551 โดยจะแบ่งเป็นกองทุนที่มีขนาดโครงการ 3,300 ล้านบาท จำนวน 1 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี จี โดยจะเปิดขายในวันที่ 2 – 8 เมษายน
นอกจากนี้บริษัทยังจะมีการเปิดจำหน่ายกองทุนที่มีขนาด 3,500 ล้านบาท อีกจำนวน 3 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอช เปิดขายวันที่ 8 – 16 เมษายน 2551 , กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี ไอ เปิดขาย 11 – 17 เมษายน 2551 และกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เจ จะเปิดขายวันที่ 18-24 เมษายน 2551 โดยทุกกองทุนยังคงมุ่งลงทุนในพันธบัตรของประเทศเกาหลีใต้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับ F1 ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดจากการจัดอันดับของ Fitch Rating
“กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี ที่จะเสนอขายในเดือนเมษายน มีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงจะมีการจัดสรรแบบจองซื้อก่อนได้ก่อน และจะปิดการขายทันทีเมื่อขายได้ตามขนาดโครงการโดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวันเสนอขายวันสุดท้าย” นางวิวรรณ กล่าว
นางวิวรรณ กล่าวว่า สำหรับกองทุนดังกล่าว บริษัทหวังจะออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุน ซึ่งยังคงต้องการทางเลือกในการลงทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ประกอบกับมีความเชื่อมั่นในการลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการตอบรับอย่างล้นหลามของผู้ลงทุน ที่ส่งผลให้กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี ทั้ง 6 กองทุน ที่เสนอขายต่อเนื่องตลอดเดือนมีนาคม สามารถปิดการขายได้ภายในระยะเวลาอันสั้นด้วยยอดขายกว่า 11,500 ล้านบาท
ลดค่าฟีแข่งยิลด์หวังดึงลูกค้าECP
รายงานข่าว ระบุว่าปัจจุบันมีหลายบลจ.ที่มีการออกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าผลตอบแทนของกองทุนในช่วงหลังปรับตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงแรกๆ ที่มีการออกกองทุนประเภทดังกล่าว
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนแห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลทำให้ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเกิดมาจาก 2 สาเหตุคืออัตราค่าสวอปซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่จะส่งผลให้ผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มมากขึ้น และการลดค่าธรรมเนียม (ฟี) ของแต่ละบริษัท
สำหรับการปรับลดค่าฟีเพื่อดึงผลตอบแทนสูงขึ้นนั้น เนื่องจากแต่ละบริษัทต้องมีการแข่งขันกันเอง ประกอบกับปัจจุบันกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินยุโรป (ECP) ซึ่งในปี 2550 มีจำนวนเงินในกองทุนรวมที่เข้าไปลงทุนในกองทุนประเภทดังกล่าวจำนวนมากเริ่มครบกำหนดอายุโครงการเแล้ว ทำให้ทางบริษัทต่างๆจึงต้องเร่งหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทดแทนที่จะให้ผลตอบแทนในระดับที่สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าเก่าเอาไว้ได้
"ตอนนี้กอง ECP ส่วนใหญ่เริ่มจะครบกำหนดแล้ว ทำให้แต่ละแห่งต้องเร่งหาสินค้าใหม่ที่ให้ยิลด์ดีๆเพื่อดึงลูกค้าเก่าไว้กับตัวต่อไป ไม่ให้ออกไปลงทุนยังบริษัทอื่น" แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามปัจจุบันที่หลายบลจ.ได้นิยมออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีเพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากเป็นแนวทางการลงทุนที่จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ แต่ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นนี้เกิดมาจากความผิดปกติของตลาดของประเทศเกาหลี ซึ่งไม่มีใครสามารถประเมินได้ว่าช่องทางการทำกำไรดังกล่าวจะคงอยู่ถึงเมื่อไร ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่สนใจควรที่จะหาจังหวะที่ยังมีผิดปกตินี้ เข้ามาทำกำไรในการลงทุนผ่านพันธบัตรเกาหลีใต้