วันที่ 9 เมษายน นี้ หลายฝ่าติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รอบ 3 ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเชื่อว่า ในการประชุมครั้งนี้ กนง.จะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับเดิมที่ 3.25% เพื่อรักษาสเถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม
แต่สำหรับมุมมองของการลงทุนผ่านกองทุนรวมล่ะ...ผู้จัดการกองทุนที่ทำหน้าที่บริหารเงินให้กับเราๆท่านๆอยู่นี้ จะมีวิสัยทัศน์ และมุมมองในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้าง ลองมารับฟังความคิดเห็นของพวกเขาเหล่านี้กันดูว่า หากผลการประชุมกนง.ครั้งนี้ ถ้ายังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจะเป็นอย่างไร และถ้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 3.25% จะเป็นอย่างไร เรื่องเหล่านี้จะมีผลต่อภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมอย่างไร...บ้าง?
วรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด และนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 9 เมษายน นี้ คาดว่า จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 3.25% โดยจะไม่มีการปรับลดลงอย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจัยอัตราเงินเฟ้อยังมีการปรับตัวอยู่ในระดับที่สูง อย่างไรก็ตามจากปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นบริษัทมองว่าจะเป็นแค่ช่วงระยะสั้นเท่านั้น หลังจากนั้นยังคงต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร เพราะความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งอนาคตอาจจะมีการปรับตัวลดลงอีกได้
ธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บลจ. กรุงไทย กล่าวว่า สำหรับการประชุมของกนง.ในวันที่ 9 เมษายนนี้ คาดว่าทางคณะกรรมการน่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมมากกว่าปรับลดดอกเบี้ยลง แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงต่อเนื่อง จนทำให้เกิดส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยหลักที่จะทำให้คณะกรรมการต้องพิจารณาก็คือ ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
สำหรับความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของค่าเงินบาทจากการเก็งกำไรนั้น แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาดอกเบี้ยระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่ยังไม่เห็นถึงสัญญาการเข้าไปเก็งกำไรของนักลงทุนต่างชาติ และค่าเงินบาทก็ไม่มีสัญญาณที่จะเกิดการแข็งค่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ขณะที่กลับมีสัญญาณว่าหลังจากนี้ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าเพิ่มขึ้นแทนอีกด้วย
"ประชุมครั้งนี้เชื่อว่ากนง.น่าจะคงดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมมากกว่า เพราะเชื่อว่ากนง.จะต้องเป็นห่วงและจัดการเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยก่อน" นายธีรพันธุ์ กล่าว
อาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการลงทุนตราสารหนี้ บลจ. อยุธยา กล่าวว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 9 เมษยายนนี้ เชื่อว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 3.25% ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมที่ผ่านมายังอยู่ในระดับ 5.3-5.4% ซึ่งมีกลุ่มอาหารยังเป็นตัวนำที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา ธปท.และหลายหน่วยงานออกมาส่งสัญญาณว่าเงินเฟ้อยังเป็นปัญหาอยู่ ดังนั้น จึงเชื่อว่ารอบนี้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรซื้อคืนระยะสั้น 1 วัน (อาร์/พี) จึงยังไม่มีการปรับ
ก่อนหน้านี้ ตลาดมีการคาดการณ์ว่า อาร์/พี จะมีการปรับลดหลังจากธนาคารกลางสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้ จนส่งผลทำให้พันธบัตรระยะยาวที่มีอายุประมาณ 2 ปี ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากมีการส่งสัญญาณออกมาว่ายังเป็นห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อทำให้อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรที่ต่ำกว่า 2 ปีปรับขึ้นหมด
ส่วนความเป็นห่วงว่าหากธปท.คงดอกเบี้ยเอาไว้ จะทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเฟดอยู่ในระดับสูงเท่าเดิมนั้น มองว่า แนวโน้มดังกล่าวเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับทั่วโลก ดังนั้น จึงไม่น่าจะเป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงอะไร ประกอบกับช่วงประมาณ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ความเป็นห่วงว่าเงินจะไหลเข้าแล้วกดดันในค่าเงินบาทแข็งยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก
นที ดำรงค์กิจการ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง นั่นหมายถึงการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่3.25% หรืออาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เนื่องจากขณะนี้ หลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นมีโอกาสเป็นไปได้โดยสังเกตุได้จากปัญหาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาเหล็กและราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูง ณ ขณะนี้
ขณะเดียวกัน สังเกตุว่าในช่วงนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในสหรัฐ หลายแห่งได้มีการประกาศผลดำเนินงานออกมา โดยส่วนใหญ่มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวเหมือนเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ถ้ากนง. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยเรืองดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบมาถึงภาพรวมธุรกิจการเงิน และธุรกิจกองทุนรวมแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันหากในวันที่ 9 เมษายนนี้มีการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เรื่องดังกล่าวจะส่งผลดีต่อภาพรวม เพราะจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง และจะเป็นการป้องกันเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในไทยได้
ส่วนผลกระทบที่จะมาถึงอุตสาหกรรมกองทุนรวมนั้น เชื่อว่า หากมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงจริง จะส่งผลให้บรรดาบริษัทจัดการกองทุนต่างๆ ออกหรือจัดตั้งกองทุนไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่สามารถให้ผลตอบแทนได้ในระดับที่สูงกว่าไทย อาทิ เกาหลี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ในขณะนี้
ณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยและบริหารความเสี่ยง บลจ. บีที จำกัด เปิดเผยถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย จากประชุมในวันที่ 9 เมษายน 2551 ว่า ยังมีโอกาสเป็นไปได้ทั้ง 2 แนวทาง โดย กนง.อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูง โดยในครั้งนี้อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่มีแรงกดดันจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย เพราะหากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอีก ก็จะทำให้มีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 1% ขณะเดียวกันมีบางฝ่ายมองว่า กนง.อาจจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 3.00%
ส่วนแนวทางที่ 2 หากกนง. ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ อาจจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งจะมีในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 อยู่ดี เพราะว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยของไทยกับสหรัฐอเมริกาจะมีมากขึ้น
"หาก กนง.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลน้อยลง แต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะหันไปออกกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ที่มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหมดไป โดยกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่มีสวอป เรต ยังมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทยอยู่ดี นอกจากนี้ต้องยอมรับว่ากองทุนใหม่ของบลจ.จะออกยากขึ้น และจะส่งผลให้ภาพรวมขนาดมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยจะลดลง เนื่องจากลูกค้าจะย้ายเงินไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศที่ผลตอบแทนสูงกว่า แต่หากไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้โอกาสเงินจะไหลออกจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยน้อยลง เพราะว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยไม่เพิ่มขึ้น"
สุดท้ายนี้ เรื่องทั้งหมดจะสรุปลงเช่นใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและการตัดสินใจของที่ประชุมกนง.ในวันที่ 9 เมษายนนี้ ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุน จะเป็นไปอย่างที่ผู้จัดการกองทุนหลายท่านคาดไว้หรือไม่นั้น นักลงทุนก็ควรที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวไว้พิจารณาบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ในการเลือกลงทุนผ่านกองทุนประเภทต่างๆ ภายหลังจากมีผลประชุมกนง.ประกาศออกมา
แต่สำหรับมุมมองของการลงทุนผ่านกองทุนรวมล่ะ...ผู้จัดการกองทุนที่ทำหน้าที่บริหารเงินให้กับเราๆท่านๆอยู่นี้ จะมีวิสัยทัศน์ และมุมมองในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้าง ลองมารับฟังความคิดเห็นของพวกเขาเหล่านี้กันดูว่า หากผลการประชุมกนง.ครั้งนี้ ถ้ายังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจะเป็นอย่างไร และถ้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 3.25% จะเป็นอย่างไร เรื่องเหล่านี้จะมีผลต่อภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมอย่างไร...บ้าง?
วรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด และนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 9 เมษายน นี้ คาดว่า จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 3.25% โดยจะไม่มีการปรับลดลงอย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจัยอัตราเงินเฟ้อยังมีการปรับตัวอยู่ในระดับที่สูง อย่างไรก็ตามจากปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นบริษัทมองว่าจะเป็นแค่ช่วงระยะสั้นเท่านั้น หลังจากนั้นยังคงต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร เพราะความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งอนาคตอาจจะมีการปรับตัวลดลงอีกได้
ธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บลจ. กรุงไทย กล่าวว่า สำหรับการประชุมของกนง.ในวันที่ 9 เมษายนนี้ คาดว่าทางคณะกรรมการน่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมมากกว่าปรับลดดอกเบี้ยลง แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงต่อเนื่อง จนทำให้เกิดส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยหลักที่จะทำให้คณะกรรมการต้องพิจารณาก็คือ ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
สำหรับความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของค่าเงินบาทจากการเก็งกำไรนั้น แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาดอกเบี้ยระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่ยังไม่เห็นถึงสัญญาการเข้าไปเก็งกำไรของนักลงทุนต่างชาติ และค่าเงินบาทก็ไม่มีสัญญาณที่จะเกิดการแข็งค่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ขณะที่กลับมีสัญญาณว่าหลังจากนี้ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าเพิ่มขึ้นแทนอีกด้วย
"ประชุมครั้งนี้เชื่อว่ากนง.น่าจะคงดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมมากกว่า เพราะเชื่อว่ากนง.จะต้องเป็นห่วงและจัดการเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยก่อน" นายธีรพันธุ์ กล่าว
อาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการลงทุนตราสารหนี้ บลจ. อยุธยา กล่าวว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันที่ 9 เมษยายนนี้ เชื่อว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 3.25% ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมที่ผ่านมายังอยู่ในระดับ 5.3-5.4% ซึ่งมีกลุ่มอาหารยังเป็นตัวนำที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา ธปท.และหลายหน่วยงานออกมาส่งสัญญาณว่าเงินเฟ้อยังเป็นปัญหาอยู่ ดังนั้น จึงเชื่อว่ารอบนี้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรซื้อคืนระยะสั้น 1 วัน (อาร์/พี) จึงยังไม่มีการปรับ
ก่อนหน้านี้ ตลาดมีการคาดการณ์ว่า อาร์/พี จะมีการปรับลดหลังจากธนาคารกลางสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้ จนส่งผลทำให้พันธบัตรระยะยาวที่มีอายุประมาณ 2 ปี ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากมีการส่งสัญญาณออกมาว่ายังเป็นห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อทำให้อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรที่ต่ำกว่า 2 ปีปรับขึ้นหมด
ส่วนความเป็นห่วงว่าหากธปท.คงดอกเบี้ยเอาไว้ จะทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเฟดอยู่ในระดับสูงเท่าเดิมนั้น มองว่า แนวโน้มดังกล่าวเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับทั่วโลก ดังนั้น จึงไม่น่าจะเป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงอะไร ประกอบกับช่วงประมาณ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ความเป็นห่วงว่าเงินจะไหลเข้าแล้วกดดันในค่าเงินบาทแข็งยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก
นที ดำรงค์กิจการ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง นั่นหมายถึงการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่3.25% หรืออาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เนื่องจากขณะนี้ หลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นมีโอกาสเป็นไปได้โดยสังเกตุได้จากปัญหาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาเหล็กและราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูง ณ ขณะนี้
ขณะเดียวกัน สังเกตุว่าในช่วงนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในสหรัฐ หลายแห่งได้มีการประกาศผลดำเนินงานออกมา โดยส่วนใหญ่มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวเหมือนเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ถ้ากนง. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยเรืองดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบมาถึงภาพรวมธุรกิจการเงิน และธุรกิจกองทุนรวมแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันหากในวันที่ 9 เมษายนนี้มีการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เรื่องดังกล่าวจะส่งผลดีต่อภาพรวม เพราะจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง และจะเป็นการป้องกันเงินทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในไทยได้
ส่วนผลกระทบที่จะมาถึงอุตสาหกรรมกองทุนรวมนั้น เชื่อว่า หากมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงจริง จะส่งผลให้บรรดาบริษัทจัดการกองทุนต่างๆ ออกหรือจัดตั้งกองทุนไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่สามารถให้ผลตอบแทนได้ในระดับที่สูงกว่าไทย อาทิ เกาหลี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ในขณะนี้
ณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยและบริหารความเสี่ยง บลจ. บีที จำกัด เปิดเผยถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย จากประชุมในวันที่ 9 เมษายน 2551 ว่า ยังมีโอกาสเป็นไปได้ทั้ง 2 แนวทาง โดย กนง.อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยยังอยู่ในระดับสูง โดยในครั้งนี้อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่มีแรงกดดันจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย เพราะหากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอีก ก็จะทำให้มีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 1% ขณะเดียวกันมีบางฝ่ายมองว่า กนง.อาจจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 3.00%
ส่วนแนวทางที่ 2 หากกนง. ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ อาจจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งจะมีในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 อยู่ดี เพราะว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยของไทยกับสหรัฐอเมริกาจะมีมากขึ้น
"หาก กนง.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลน้อยลง แต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะหันไปออกกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ที่มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทย เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหมดไป โดยกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่มีสวอป เรต ยังมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทยอยู่ดี นอกจากนี้ต้องยอมรับว่ากองทุนใหม่ของบลจ.จะออกยากขึ้น และจะส่งผลให้ภาพรวมขนาดมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยจะลดลง เนื่องจากลูกค้าจะย้ายเงินไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศที่ผลตอบแทนสูงกว่า แต่หากไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้โอกาสเงินจะไหลออกจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยน้อยลง เพราะว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยไม่เพิ่มขึ้น"
สุดท้ายนี้ เรื่องทั้งหมดจะสรุปลงเช่นใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและการตัดสินใจของที่ประชุมกนง.ในวันที่ 9 เมษายนนี้ ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุน จะเป็นไปอย่างที่ผู้จัดการกองทุนหลายท่านคาดไว้หรือไม่นั้น นักลงทุนก็ควรที่จะนำข้อเสนอดังกล่าวไว้พิจารณาบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ในการเลือกลงทุนผ่านกองทุนประเภทต่างๆ ภายหลังจากมีผลประชุมกนง.ประกาศออกมา