กองทุนสปส.ออกโรงเตือนบลจ.-บล.ระวัง 18 มงกุฎ อ้างตัวเป็นนักการเมืองระดับสูง ขอกินหัวคิวช่วยระดมเงิน หรือเปิดทางขายผลิตภัณพ์ให้กองทุนได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอน ระบุการบริหารเงินทุกสตางค์ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ตั้งไว้เท่านั้น พร้อมรณรงค์คนไทยเร่งออมเงินเพื่อวัยเกษียณให้มากขึ้น
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ในขณะนี้ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริหารของธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง ว่ามีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มมีพฤติกรรมพยายามเข้าไปติดต่อ อ้างว่ารู้จักสนิทสนมกับนักการเมืองหรือผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน สามารถช่วยหาเงินฝากให้ หรือช่วยประสานงานอำนวยความสะดวกในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับกองทุนประกันสังคมได้ โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวจะขอค่านายหน้า ในอัตรา 0.25 – 1.00% ของวงเงินที่ตกลงกัน
ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมขอเตือนว่า การลงทุนทุกบาททุกสตางค์ของกองทุนประกันสังคมนั้น เป็นไปตามกรอบการลงทุนที่กำหนดโดยระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 การลงทุนที่อยู่นอกเหนือกรอบไม่สามารถกระทำได้
ส่วนการลงทุนตามกรอบ มีผลตอบแทนที่ดีและมีความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ สำนักงานสามารถลงทุนได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านนายหน้าหรือบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมมีนโยบายชัดเจนในการลดสัดส่วนการลงทุนในเงินฝากธนาคาร และหากจะมีการฝากเงิน สำนักงานจะนำเงินไปฝากกับสำนักงานใหญ่ของธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดในขณะนั้นเท่านั้น
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุปันคนไทยในวัยทำงานจำนวนกว่า 12 ล้านคน ได้มีการออมเพื่อวัยเกษียณผ่านระบบการออมต่างๆ ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครอบคลุมข้าราชการจำนวน 1.1 ล้านคน กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ครอบคลุมพนักงานเอกชนจำนวน 9.18 ล้านคน และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ครอบคลุมพนักงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจจำนวน 2 ล้านคน โดยที่เงินออมทั้ง 3 ระบบมีจำนวนรวมกันมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เกิดการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ นอกจากจะช่วยดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของประชาชนแล้ว ยังส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ช่วยให้ภาคเศรษฐกิจไทยได้มีแหล่งเงินนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ได้ ซึ่งรัฐบาลเองมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการออมภายใต้เงื่อนไขของการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด โดยสนับสนุนให้มีการออมในระดับครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
นับตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนกรณีชราภาพเมื่อปี พ.ศ. 2542 สำนักงานประกันสังคมได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการออมจากผู้ประกันตนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศ โดยให้ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบในช่วงที่ทำงานเพื่อออมไว้ในรูปของบำเหน็จบำนาญไว้ยังชีพในยามชรา โดยในจำนวนเงินสมทบ 5% ที่ผู้ประกันตนส่งสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น 3% เป็นเงินออมกรณีชราภาพ นายจ้างช่วยสมทบอีก 3% รวมเป็น 6% ซึ่งสำนักงานประกันสังคมออมไว้เตรียมจ่ายเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ ในขณะนี้ ผู้ประกันตนจำนวน 9.18 ล้านคนมีเงินออมรวมกันมากถึง 4 แสนล้านบาท
โดยเงื่อนไขของผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงาน จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หากสมทบมากกว่า 1 ปีแต่ไม่ครบ 15 ปี จะได้รับ “บำเหน็จ” เป็นเงินก้อนเท่ากับเงินสมทบของตนเองและของนายจ้างที่สะสมไว้บวกดอกผลจากการลงทุน หากสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ปี จะมีสิทธิรับ “บำนาญ” จ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดชีวิต โดยจำนวนเงินบำนาญคำนวณจากสูตรเท่ากับ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (เงินเดือนขั้นต่ำ 1,650 บาท - ขั้นสูง 15,000 บาท) แต่ถ้าหากคนงานสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญส่วนเพิ่ม เท่ากับ 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ ปี
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ในขณะนี้ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริหารของธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง ว่ามีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มมีพฤติกรรมพยายามเข้าไปติดต่อ อ้างว่ารู้จักสนิทสนมกับนักการเมืองหรือผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน สามารถช่วยหาเงินฝากให้ หรือช่วยประสานงานอำนวยความสะดวกในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับกองทุนประกันสังคมได้ โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวจะขอค่านายหน้า ในอัตรา 0.25 – 1.00% ของวงเงินที่ตกลงกัน
ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมขอเตือนว่า การลงทุนทุกบาททุกสตางค์ของกองทุนประกันสังคมนั้น เป็นไปตามกรอบการลงทุนที่กำหนดโดยระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 การลงทุนที่อยู่นอกเหนือกรอบไม่สามารถกระทำได้
ส่วนการลงทุนตามกรอบ มีผลตอบแทนที่ดีและมีความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ สำนักงานสามารถลงทุนได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านนายหน้าหรือบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมมีนโยบายชัดเจนในการลดสัดส่วนการลงทุนในเงินฝากธนาคาร และหากจะมีการฝากเงิน สำนักงานจะนำเงินไปฝากกับสำนักงานใหญ่ของธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดในขณะนั้นเท่านั้น
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุปันคนไทยในวัยทำงานจำนวนกว่า 12 ล้านคน ได้มีการออมเพื่อวัยเกษียณผ่านระบบการออมต่างๆ ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครอบคลุมข้าราชการจำนวน 1.1 ล้านคน กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ครอบคลุมพนักงานเอกชนจำนวน 9.18 ล้านคน และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ครอบคลุมพนักงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจจำนวน 2 ล้านคน โดยที่เงินออมทั้ง 3 ระบบมีจำนวนรวมกันมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เกิดการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ นอกจากจะช่วยดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของประชาชนแล้ว ยังส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ช่วยให้ภาคเศรษฐกิจไทยได้มีแหล่งเงินนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ได้ ซึ่งรัฐบาลเองมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการออมภายใต้เงื่อนไขของการใช้จ่ายประจำวันอย่างประหยัด โดยสนับสนุนให้มีการออมในระดับครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
นับตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนกรณีชราภาพเมื่อปี พ.ศ. 2542 สำนักงานประกันสังคมได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการออมจากผู้ประกันตนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศ โดยให้ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบในช่วงที่ทำงานเพื่อออมไว้ในรูปของบำเหน็จบำนาญไว้ยังชีพในยามชรา โดยในจำนวนเงินสมทบ 5% ที่ผู้ประกันตนส่งสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น 3% เป็นเงินออมกรณีชราภาพ นายจ้างช่วยสมทบอีก 3% รวมเป็น 6% ซึ่งสำนักงานประกันสังคมออมไว้เตรียมจ่ายเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ ในขณะนี้ ผู้ประกันตนจำนวน 9.18 ล้านคนมีเงินออมรวมกันมากถึง 4 แสนล้านบาท
โดยเงื่อนไขของผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงาน จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หากสมทบมากกว่า 1 ปีแต่ไม่ครบ 15 ปี จะได้รับ “บำเหน็จ” เป็นเงินก้อนเท่ากับเงินสมทบของตนเองและของนายจ้างที่สะสมไว้บวกดอกผลจากการลงทุน หากสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ปี จะมีสิทธิรับ “บำนาญ” จ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดชีวิต โดยจำนวนเงินบำนาญคำนวณจากสูตรเท่ากับ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (เงินเดือนขั้นต่ำ 1,650 บาท - ขั้นสูง 15,000 บาท) แต่ถ้าหากคนงานสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญส่วนเพิ่ม เท่ากับ 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ ปี