คอลัมน์ : บัวหลวง Money Tips
ปัจจุบันประชาชนผู้มีเงินออมยอมรับเรื่องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้มากขึ้น ว่าเป็นทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารเฉยๆ โดยดูได้จากยอดเงินลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างๆ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่เพิ่มขึ้นทุกปี
ล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ของไทยมีขนาดทรัพย์สินสูงถึง 9.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 60% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนรวมทั้งอุตสาหกรรม
ทว่าก็ยังมีผู้มีเงินออมอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่เลือกลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้แทนการฝากเงิน โดยมีเหตุผลสำคัญอยู่สองประการ กลัวการขาดทุน และ คิดว่าผลตอบแทนที่ได้เพิ่มไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ
เนื่องจากคุณลักษณะพื้นฐานของกองทุนรวมที่ไม่มีการค้ำประกันเงินต้นเหมือนการฝากเงิน (เว้นแต่กองทุนประเภทมีประกัน) ทำให้ผู้มีเงินออมส่วนหนึ่งไม่อยากเสี่ยงลงทุนเพราะกลัวเงินต้นสูญหาย ยอมเก็บเงินไว้กับธนาคาร และรอซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่มีออกมาขายในช่วงต่างๆ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่า
ทั้งนี้ หากผู้ออมได้ศึกษากองทุนตราสารหนี้ถึงนโยบายการลงทุนจะพบว่า การซื้อกองทุนตราสารหนี้หลายกองทุนแทบจะไม่แตกต่างจากการซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรงหรือการฝากเงินกับสถาบันการเงินต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือเลย ทั้งเรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทน เพราะกองทุนเหล่านั้นก็ได้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้สถาบันการเงิน แล้วถือรอจนครบอายุเช่นกัน
กองทุนรวมถือเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่สามารถเข้าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาครัฐอื่นๆ และตราสารหนี้สถาบันการเงินต่างๆ ได้ง่ายกว่าบุคคลธรรมดา ดังนั้นหากผู้มีเงินออมกล้าที่จะฝากเงินกับธนาคารต่างๆ กล้าซื้อพันธบัตรออมทรัพย์เพราะมั่นใจเรื่องความปลอดภัยก็สามารถซื้อกองทุนตราสารหนี้กลุ่มนี้ได้เช่นกัน
สำหรับเรื่องผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ที่ผู้มีเงินออมจำนวนหนึ่งมองว่าไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยง ก็ขึ้นกับว่าผู้ออมเปรียบเทียบกองทุนตราสารหนี้แบบใด เพราะกองทุนตราสารหนี้เองก็มีหลายแบบ ถ้าเป็นกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป หรือกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นหุ้นกู้เอกชนที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำกับธนาคารที่มั่นคงอย่างมีนัยสำคัญ
แต่ถ้าเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐหรือสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือสูงๆ ก็จะให้ผลตอบแทนที่น้อยลง แลกกับความมั่นคงของเงินลงทุนที่มากขึ้น ซึ่งสำหรับผู้มีเงินออมกลุ่มนี้การพิจารณาว่าสมควรเปลี่ยนจากการฝากเงินมาซื้อกองทุนตราสารหนี้หรือไม่ อาจใช้หลักการเรื่องระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนมาช่วยตัดสินใจได้ คือ ในระดับความเสี่ยงที่พิจารณาแล้วเท่ากัน ให้เลือกลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือ ในระดับผลตอบแทนที่เท่ากัน ให้เลือกลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า เช่น หากการฝากประจำอายุ 6 เดือน กับธนาคาร ก ให้อัตราดอกเบี้ย 3%ต่อปี (ผลตอบแทนสุทธิหลังหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เท่ากับ 2.55%ต่อปี)
ขณะที่กองทุนตราสารหนี้อายุ 6 เดือน ลงทุนในตราสารการเงินของธนาคาร ก ที่มีความเสี่ยงเท่ากัน ให้ผลตอบแทนได้ 2.9%ต่อปี (ไม่ต้องเสียภาษี) การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้กองนี้จึงน่าสนใจกว่าการฝากประจำ เป็นต้น
ปัจจุบันมีกองทุนตราสารหนี้เสนอขายมากมาย โดยการบริหารกองทุนจะหันมาเน้นเรื่องความปลอดภัยของเงินลงทุน และให้ความสำคัญกับการคัดเลือกตราสารหนี้เพื่อลงทุน ตราสารหนี้ส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมก็เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง เงินฝากสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินค้ำประกัน ตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่ดี รวมไปถึงตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงมากๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ และตราสารของสถาบันการเงินระดับโลกที่มีเครดิตดี เป็นต้น
ลักษณะการลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้จะมีความแตกต่างกันไปตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน ซึ่งนั่นหมายความว่า อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของแต่ละกองทุนก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งกองทุนตราสารหนี้ออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) หรืออาจเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่บริหารจัดการเสมือนเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและส่วนมากมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี จึงเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ความมั่นคงของเงินสูง และสภาพคล่องสูง เมื่อขายคืนสามารถรับเงินได้ภายใน 1 วัน เหมาะสำหรับเงินที่รอใช้จ่าย หรือรอลงทุนแทนการพักเงินในบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนที่มีความปลอดภัยสูงและยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไป (General Fixed Income Fund) มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กว้างกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน สามารถลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวๆ ได้มากกว่า ทั้งนี้การลงทุนจะขึ้นกับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารจัดการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วง โดยปกติกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน รวมถึงอาจมีความผันผวนของราคา NAV ได้มากกว่ากองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นๆ ด้วย
นอกจากนี้ยังมีกองทุนรวมตราสารหนี้ที่อีกประเภทน่าสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนในการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เพื่อแสวงหาตราสารหนี้ใหม่ๆ สำหรับลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า
แต่อย่างไรก็ดียังคงมีความเสี่ยงในเรื่องของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะป้องกันความเสี่ยงโดยการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวไว้ จึงเรียกได้ว่าปัจจุบันกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้มีเงินออมเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันประชาชนผู้มีเงินออมยอมรับเรื่องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้มากขึ้น ว่าเป็นทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารเฉยๆ โดยดูได้จากยอดเงินลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างๆ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่เพิ่มขึ้นทุกปี
ล่าสุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ของไทยมีขนาดทรัพย์สินสูงถึง 9.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 60% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนรวมทั้งอุตสาหกรรม
ทว่าก็ยังมีผู้มีเงินออมอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่เลือกลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้แทนการฝากเงิน โดยมีเหตุผลสำคัญอยู่สองประการ กลัวการขาดทุน และ คิดว่าผลตอบแทนที่ได้เพิ่มไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ
เนื่องจากคุณลักษณะพื้นฐานของกองทุนรวมที่ไม่มีการค้ำประกันเงินต้นเหมือนการฝากเงิน (เว้นแต่กองทุนประเภทมีประกัน) ทำให้ผู้มีเงินออมส่วนหนึ่งไม่อยากเสี่ยงลงทุนเพราะกลัวเงินต้นสูญหาย ยอมเก็บเงินไว้กับธนาคาร และรอซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่มีออกมาขายในช่วงต่างๆ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่า
ทั้งนี้ หากผู้ออมได้ศึกษากองทุนตราสารหนี้ถึงนโยบายการลงทุนจะพบว่า การซื้อกองทุนตราสารหนี้หลายกองทุนแทบจะไม่แตกต่างจากการซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรงหรือการฝากเงินกับสถาบันการเงินต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือเลย ทั้งเรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทน เพราะกองทุนเหล่านั้นก็ได้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้สถาบันการเงิน แล้วถือรอจนครบอายุเช่นกัน
กองทุนรวมถือเป็นผู้ลงทุนสถาบันที่สามารถเข้าลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาครัฐอื่นๆ และตราสารหนี้สถาบันการเงินต่างๆ ได้ง่ายกว่าบุคคลธรรมดา ดังนั้นหากผู้มีเงินออมกล้าที่จะฝากเงินกับธนาคารต่างๆ กล้าซื้อพันธบัตรออมทรัพย์เพราะมั่นใจเรื่องความปลอดภัยก็สามารถซื้อกองทุนตราสารหนี้กลุ่มนี้ได้เช่นกัน
สำหรับเรื่องผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ที่ผู้มีเงินออมจำนวนหนึ่งมองว่าไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยง ก็ขึ้นกับว่าผู้ออมเปรียบเทียบกองทุนตราสารหนี้แบบใด เพราะกองทุนตราสารหนี้เองก็มีหลายแบบ ถ้าเป็นกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป หรือกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นหุ้นกู้เอกชนที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำกับธนาคารที่มั่นคงอย่างมีนัยสำคัญ
แต่ถ้าเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารภาครัฐหรือสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือสูงๆ ก็จะให้ผลตอบแทนที่น้อยลง แลกกับความมั่นคงของเงินลงทุนที่มากขึ้น ซึ่งสำหรับผู้มีเงินออมกลุ่มนี้การพิจารณาว่าสมควรเปลี่ยนจากการฝากเงินมาซื้อกองทุนตราสารหนี้หรือไม่ อาจใช้หลักการเรื่องระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนมาช่วยตัดสินใจได้ คือ ในระดับความเสี่ยงที่พิจารณาแล้วเท่ากัน ให้เลือกลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือ ในระดับผลตอบแทนที่เท่ากัน ให้เลือกลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า เช่น หากการฝากประจำอายุ 6 เดือน กับธนาคาร ก ให้อัตราดอกเบี้ย 3%ต่อปี (ผลตอบแทนสุทธิหลังหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เท่ากับ 2.55%ต่อปี)
ขณะที่กองทุนตราสารหนี้อายุ 6 เดือน ลงทุนในตราสารการเงินของธนาคาร ก ที่มีความเสี่ยงเท่ากัน ให้ผลตอบแทนได้ 2.9%ต่อปี (ไม่ต้องเสียภาษี) การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้กองนี้จึงน่าสนใจกว่าการฝากประจำ เป็นต้น
ปัจจุบันมีกองทุนตราสารหนี้เสนอขายมากมาย โดยการบริหารกองทุนจะหันมาเน้นเรื่องความปลอดภัยของเงินลงทุน และให้ความสำคัญกับการคัดเลือกตราสารหนี้เพื่อลงทุน ตราสารหนี้ส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมก็เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง เงินฝากสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงินค้ำประกัน ตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่ดี รวมไปถึงตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงมากๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ และตราสารของสถาบันการเงินระดับโลกที่มีเครดิตดี เป็นต้น
ลักษณะการลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้จะมีความแตกต่างกันไปตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน ซึ่งนั่นหมายความว่า อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของแต่ละกองทุนก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งกองทุนตราสารหนี้ออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) หรืออาจเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่บริหารจัดการเสมือนเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและส่วนมากมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี จึงเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ความมั่นคงของเงินสูง และสภาพคล่องสูง เมื่อขายคืนสามารถรับเงินได้ภายใน 1 วัน เหมาะสำหรับเงินที่รอใช้จ่าย หรือรอลงทุนแทนการพักเงินในบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนที่มีความปลอดภัยสูงและยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไป (General Fixed Income Fund) มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กว้างกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน สามารถลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวๆ ได้มากกว่า ทั้งนี้การลงทุนจะขึ้นกับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารจัดการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วง โดยปกติกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน รวมถึงอาจมีความผันผวนของราคา NAV ได้มากกว่ากองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นๆ ด้วย
นอกจากนี้ยังมีกองทุนรวมตราสารหนี้ที่อีกประเภทน่าสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนในการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เพื่อแสวงหาตราสารหนี้ใหม่ๆ สำหรับลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า
แต่อย่างไรก็ดียังคงมีความเสี่ยงในเรื่องของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะป้องกันความเสี่ยงโดยการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวไว้ จึงเรียกได้ว่าปัจจุบันกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้มีเงินออมเป็นอย่างมาก