แคมเปญดอกเบี้ยเงินฝากแบงก์พ่นพิษ ฉุดยอดเงินลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้หดหายร่วม 4 หมื่นล้านบาท ขณะที่เม็ดเงินลงทุนทั้งระบบลดลงเหลือ 1.59 ล้านล้านบาท จากเดิม 1.61 ล้านล้านบาทในเดือนมกราคม เหตุดอกเบี้ยฝากโดนใจนักลงทุน เพราะให้ยิลด์สูงกว่าผลตอบแทนตราสารหนี้และECPที่หมดเสน่ห์ ทำฐานลูกค้าและสินทรัพย์ภายใต้การบริหารบลจ.หดตัว ขณะที่ “ไทยพาณิชย์” ยังครองแชมป์มารเก็ตแชร์สูงสุด ส่วน “เอ็มเอฟซี”เบียดขึ้นอันดับ 5 แล้ว
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) แจ้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวเลขยอดเงินลงทุนผ่านกองทุนรวมทั้งระบบ มีมูลค่าลดลงอยู่ที่ 1,590,171,751,544.53 บาท ซึ่งลดลงจากเดือนมกราคมที่ผ่านมามีอยู่ 1,617,009,859,889.80 บาท หรือลดลง 26,838,108,345.27 บาท
ทั้งนี้ พบว่า กองทุนรวมตราสารหนี้ กองผสม รวมทั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) และกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น มีตัวเลขเม็ดเงินลงทุนปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม โดย ยอดเงินลงทุนรวมกองทุนรวมตราสารหนี้เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 939,156,035,818.96 บาท ลดลง 39,557,845,229.76 บาท จากช่วงเดือนมกราคมที่มี 978,713,881,048.72 บาท อีกทั้งจำนวนกองทุนที่มีการจัดตั้งปรับตัวลดลง 15 กองทุน เหลือเพียง 442 กองทุน สำหรับกองทุนผสมมียอดเงินลงทุนรวม 235,698,207,851.05 บาท ลดลง1,659,240,661.86บาท จากตัวเลขทั้งระบบเมื่อเดือนมกราคมซึ่งอยู่ที่ 237,357,448,512.91 บาท
ขณะที่ กองทุนเอฟไอเอฟ มีตัวเลขเงินลงทุนทั้งระบบในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 229,498,216,668.99 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมซึ่งมีอยู่ 287,102,647,220.38 บาท หรือลดลง 57,604,430,551.39 บาท แม้มีจำนวนกองทุนรวมที่ได้รับการจัดตั้งเพิ่มขึ้น 7 กองทุนรวมเป็น 138 กองทุน
ส่วนกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น มีตัวเลขเงินลงทุนรวมทั้งระบบในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 65,234,414,703.41 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมที่มีอยู่ 67,291,769,757.81 บาท หรือลดลง 2,057,355,054.4 บาท
สำหรับกองทุนรวมอื่นๆ ตัวเลขยอดเงินลงทุนรวมทั้งระบบมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งจำนวนการจัดตั้งกองทุน โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ กองทุนรวมตราสารทุนมียอดเงินลงทุนรวมในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 132,687,436,032.81 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมซึ่งมีอยู่ 120,537,259,573.46 บาท ,กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มียอดเงินลงทุนรวม 57,799,880,974.68 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมซึ่งมี 57,507,004,597.29 บาท ขณะที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) มีตัวเลขเงินลงทุนรวมทั้งระบบที่ 38,660,081,837.21 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมที่มี 36,649,020,549.00 บาท และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) มียอดเงินลงทุนรวมที่ 49,738,170,023.24 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมซึ่งมีอยู่ 45,594,207,383.01 บาท
**เงินฝากแบงก์-ยิลด์บอนด์ต่ำฉุดเม็ดเงินหาย
นางสาวดวงกมล พิศาล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) กล่าวว่า การที่ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ใช้แผนดึงเงินลงทุน ด้วยการออกเคมเปญเงินฝากระยะสั้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงนั้น ในส่วนของอุตสาหกรรรมกองทุนรวมที่จะได้รับผลกระทบจะเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) เนื่องมาจากการลงทุนในกองทุนตลาดเงินมีความคล้ายคลึง และใกล้เคียงกับการฝากเงินค่อนข้างมาก ส่วนจะเกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนหรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับว่าผลตอบแทนของการลงทุนด้วยว่าการลงทุนใดให้ผลตอบแทนที่มากกว่ากัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการลงทุนในกองทุนตลาดเงินนั้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้อย่างหลากหลาย และกองทุนมีการแสวงหาโอกาสการลงทุนที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้สามารถได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามไปด้วย
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง กล่าวว่า สาเหตุที่เม็ดเงินลงทุนรวมในกองทุนรวมตราสารหนี้มีการปรับตัวลดลง นั้นมาจากการที่ประชาชน หรือผู้ลงทุนหันไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์มากขึ้นเพราะได้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่า ขณะเดียวกันการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยอดเงินลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ลดลงเช่นกัน
ปัจจุบันมีรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปี 2551 ธนาคารพาณิชย์ต่างทยอยออกแคมเปญระดมเงินฝากออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อระดมเงินไว้ปล่อยสินเชื่อรองรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่จะทยอยออกมา และเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาฝากเงินผ่านธนาคารเพิ่มขึ้น ท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำ ด้วยวิธีการออกแคมเปญเงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่มีเงื่อนไขในด้านวงเงินฝากขั้นต่ำ และระยะเวลาในการฝากเงินซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ออกบริการเงินฝากประจำ Combo Set เป็นทางเลือกของการออมเงินทั้งระยะสั้น และ ระยะกลางที่เหมาะสม และได้รับดอกเบี้ยอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติ โดย เงินฝากประจำ Combo Set ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ย 2.7% สำหรับบัญชีฝากประจำ 3 เดือน และ 2.4% สำหรับบัญชีฝากประจำ 12 เดือน ทั้งนี้ลูกค้าต้องฝากด้วยจำนวนเงินเท่ากันทั้ง 2 บัญชี โดยในการฝากครั้งแรก จะต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าบัญชีละ 50,000 บาท และสำหรับการฝากครั้งต่อๆ ไป จะต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าบัญชีละ 10,000 บาท
ด้าน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดให้บริการเงินฝากประจำคล่องตัว 4 เดือน (Fixed Deposit Flexible 4 Months) เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการฝากเงินให้ได้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากประจำทั่วไปและจะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถไถ่ถอนเงินฝากได้ก่อนกำหนด โดยจะได้รับดอกเบี้ยทุกเดือนในอัตรา 2.75% ต่อปี ส่วนลูกค้าที่ฝากไม่ถึง 3 เดือนจะได้รับดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ฝากจริงในอัตรา 0.75% ต่อปี และลูกค้าที่ฝากเงินตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 เดือน จะได้รับดอกเบี้ย 2.00% ต่อปีและเงินต้นที่เหลืออยู่ในบัญชียังได้รับอัตราดอกเบี้ย 2.75% ต่อไปจนครบระยะเวลาการฝาก แต่จะต้องฝากขั้นต่ำ 100,000 บาทต่อบัญชีย่อย โดยธนาคารตั้งเป้าจะสามารถระดมเงินฝากได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธนาคารเกียรตินาคินได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากสำหรับลูกค้ารายย่อย ด้วยเงินเริ่มต้นที่ 5 แสนบาทจนถึง 2 ล้านบาท แบ่งเป็นฝากประจำ 12 เดือน รับดอกเบี้ยที่ 3.50% หรือฝากประจำ 18 เดือน ดอกเบี้ยสูงถึง 3.75% โดยจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน
“เรื่องนี้ถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะผู้ลงทุนทุกรายล้วนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้นเมื่อผลตอบแทนตราสารหนี้ต่ำลง ผู้ลงทุนจึงไปหาสิ่งอื่นทดแทน แต่การที่แบงก์ทำการแข่งขันเรื่องเงินฝากก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกระทบให้แก่ฐานลูกค้าและเม็ดเงินลงทุนรวมผ่านกองทุน โดยตรง” แหล่งข่าว กล่าว
**บาทแข็ง-ECP ไร้เสน่ห์ดึงเอฟไอเอฟหด
สำหรับกองทุนเอฟไอเอฟ นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่าสาเหตุตัวเลขเงินลงทุนทั้งระบบลดลงมาจากตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในยุโรป (Euro Commercial Paper : ECP) ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนน้อยลง ตามอัตราผลตอบแทนที่ต่ำลงไปนั่นเอง นอกจากนี้ปัญหาการแข็งค่าของค่าเงินบาท นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ลงทุนชะลอการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน
ส่วน กองทุนคุ้มครองเงินต้นนั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ช่วงนี้กองทุนประเภทดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยลง และปัจจุบันมีบริษัทจัดการลงทุนน้อยรายที่จัดตั้งกองทุนประเภทนี้ออกมานำเสนอลูกค้า เนื่องจากในปัจจุบันนี้นักลงทุนที่นิยมลงทุนผ่านกองทุนรวม เริ่มได้รับข้อมูลข่าวสารด้านกองทุนรวมมากขึ้น ทำให้มีความมั่นใจที่จะกล้ารับความเสี่ยงจากการลงทุนสูงขึ้นเพื่อรอรับอัตราผลตอบแทนที่ที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
**ไทยพาณิชย์ครองแชมป์-MFC เบียดขึ้นที่ 5
ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของสมาคมบลจ.พบว่า ส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) และสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (เอยูเอ็ม) ของบริษัทจัดการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 5 อันดับแรก บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 20.62% และมีเอยูเอ็มที่ 289,422,079,185.40 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมซึ่งมี 21.29% และมีเอยูเอ็ม 304,804,426,535.51 บาท
อันดับ 2 .บลจ.กสิกรไทย จำกัด มีมาร์เก็ตแชร์ 16.41% มีเอยูเอ็ม 230,360,565,530.11 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมซึ่งอยู่ที่ 16.67% มีเอยูเอ็ม 238,581,510,705.43 บาท, อันดับ 3 บลจ. บัวหลวง จำกัด ครองส่วนแบ่งการตลาด 10.12% และมียอดเอยูเอ็มที่ 142,033,620,063.27 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 9.92% โดยมีเอยูเอ็ม 142,008,324,994.82 บาท
อันดับ 4.บลจ.ทหารไทย จำกัด มีมาร์เก็ตแชร์ 9.15% และเอยูเอ็ม 128,446,079,185.40 บาท ลดลงจาก 9.48% ในเดือนมกราคม ซึ่งมีเอยูเอ็ม 135,711,528,519.68 บาท และอันดับ บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด ครองส่วนแบ่งการตลาด 7.94% มีเอยูเอ็มทั้งสิ้น 111,422,184,290.08 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมากราคมที่มี 7.71 % เอยูเอ็ม 110,365,845,075.58 บาท โดยถือว่าเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า บลจ.กรุงไทย จำกัด ซึ่งเมื่อเดือนมกราคมมีส่วนการตลาด 8.07% มีเอยูเอ็ม 115,486,084,057.10 บาท แต่ปรับตัวลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยเหลือเพียง 7.76% และมีเอยูเอ็ม 108,845,577,482.01 บาท
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) แจ้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวเลขยอดเงินลงทุนผ่านกองทุนรวมทั้งระบบ มีมูลค่าลดลงอยู่ที่ 1,590,171,751,544.53 บาท ซึ่งลดลงจากเดือนมกราคมที่ผ่านมามีอยู่ 1,617,009,859,889.80 บาท หรือลดลง 26,838,108,345.27 บาท
ทั้งนี้ พบว่า กองทุนรวมตราสารหนี้ กองผสม รวมทั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) และกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น มีตัวเลขเม็ดเงินลงทุนปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม โดย ยอดเงินลงทุนรวมกองทุนรวมตราสารหนี้เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 939,156,035,818.96 บาท ลดลง 39,557,845,229.76 บาท จากช่วงเดือนมกราคมที่มี 978,713,881,048.72 บาท อีกทั้งจำนวนกองทุนที่มีการจัดตั้งปรับตัวลดลง 15 กองทุน เหลือเพียง 442 กองทุน สำหรับกองทุนผสมมียอดเงินลงทุนรวม 235,698,207,851.05 บาท ลดลง1,659,240,661.86บาท จากตัวเลขทั้งระบบเมื่อเดือนมกราคมซึ่งอยู่ที่ 237,357,448,512.91 บาท
ขณะที่ กองทุนเอฟไอเอฟ มีตัวเลขเงินลงทุนทั้งระบบในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 229,498,216,668.99 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมซึ่งมีอยู่ 287,102,647,220.38 บาท หรือลดลง 57,604,430,551.39 บาท แม้มีจำนวนกองทุนรวมที่ได้รับการจัดตั้งเพิ่มขึ้น 7 กองทุนรวมเป็น 138 กองทุน
ส่วนกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น มีตัวเลขเงินลงทุนรวมทั้งระบบในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 65,234,414,703.41 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมที่มีอยู่ 67,291,769,757.81 บาท หรือลดลง 2,057,355,054.4 บาท
สำหรับกองทุนรวมอื่นๆ ตัวเลขยอดเงินลงทุนรวมทั้งระบบมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งจำนวนการจัดตั้งกองทุน โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ กองทุนรวมตราสารทุนมียอดเงินลงทุนรวมในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 132,687,436,032.81 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมซึ่งมีอยู่ 120,537,259,573.46 บาท ,กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มียอดเงินลงทุนรวม 57,799,880,974.68 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมซึ่งมี 57,507,004,597.29 บาท ขณะที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) มีตัวเลขเงินลงทุนรวมทั้งระบบที่ 38,660,081,837.21 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมที่มี 36,649,020,549.00 บาท และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) มียอดเงินลงทุนรวมที่ 49,738,170,023.24 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมซึ่งมีอยู่ 45,594,207,383.01 บาท
**เงินฝากแบงก์-ยิลด์บอนด์ต่ำฉุดเม็ดเงินหาย
นางสาวดวงกมล พิศาล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) กล่าวว่า การที่ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ใช้แผนดึงเงินลงทุน ด้วยการออกเคมเปญเงินฝากระยะสั้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงนั้น ในส่วนของอุตสาหกรรรมกองทุนรวมที่จะได้รับผลกระทบจะเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เก็ต) เนื่องมาจากการลงทุนในกองทุนตลาดเงินมีความคล้ายคลึง และใกล้เคียงกับการฝากเงินค่อนข้างมาก ส่วนจะเกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนหรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับว่าผลตอบแทนของการลงทุนด้วยว่าการลงทุนใดให้ผลตอบแทนที่มากกว่ากัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการลงทุนในกองทุนตลาดเงินนั้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้อย่างหลากหลาย และกองทุนมีการแสวงหาโอกาสการลงทุนที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้สามารถได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามไปด้วย
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุนรายหนึ่ง กล่าวว่า สาเหตุที่เม็ดเงินลงทุนรวมในกองทุนรวมตราสารหนี้มีการปรับตัวลดลง นั้นมาจากการที่ประชาชน หรือผู้ลงทุนหันไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์มากขึ้นเพราะได้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่า ขณะเดียวกันการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยอดเงินลงทุนผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้ลดลงเช่นกัน
ปัจจุบันมีรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปี 2551 ธนาคารพาณิชย์ต่างทยอยออกแคมเปญระดมเงินฝากออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อระดมเงินไว้ปล่อยสินเชื่อรองรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่จะทยอยออกมา และเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาฝากเงินผ่านธนาคารเพิ่มขึ้น ท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำ ด้วยวิธีการออกแคมเปญเงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่มีเงื่อนไขในด้านวงเงินฝากขั้นต่ำ และระยะเวลาในการฝากเงินซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด อาทิ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ออกบริการเงินฝากประจำ Combo Set เป็นทางเลือกของการออมเงินทั้งระยะสั้น และ ระยะกลางที่เหมาะสม และได้รับดอกเบี้ยอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติ โดย เงินฝากประจำ Combo Set ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ย 2.7% สำหรับบัญชีฝากประจำ 3 เดือน และ 2.4% สำหรับบัญชีฝากประจำ 12 เดือน ทั้งนี้ลูกค้าต้องฝากด้วยจำนวนเงินเท่ากันทั้ง 2 บัญชี โดยในการฝากครั้งแรก จะต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าบัญชีละ 50,000 บาท และสำหรับการฝากครั้งต่อๆ ไป จะต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าบัญชีละ 10,000 บาท
ด้าน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดให้บริการเงินฝากประจำคล่องตัว 4 เดือน (Fixed Deposit Flexible 4 Months) เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการฝากเงินให้ได้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากประจำทั่วไปและจะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถไถ่ถอนเงินฝากได้ก่อนกำหนด โดยจะได้รับดอกเบี้ยทุกเดือนในอัตรา 2.75% ต่อปี ส่วนลูกค้าที่ฝากไม่ถึง 3 เดือนจะได้รับดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ฝากจริงในอัตรา 0.75% ต่อปี และลูกค้าที่ฝากเงินตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 เดือน จะได้รับดอกเบี้ย 2.00% ต่อปีและเงินต้นที่เหลืออยู่ในบัญชียังได้รับอัตราดอกเบี้ย 2.75% ต่อไปจนครบระยะเวลาการฝาก แต่จะต้องฝากขั้นต่ำ 100,000 บาทต่อบัญชีย่อย โดยธนาคารตั้งเป้าจะสามารถระดมเงินฝากได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธนาคารเกียรตินาคินได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากสำหรับลูกค้ารายย่อย ด้วยเงินเริ่มต้นที่ 5 แสนบาทจนถึง 2 ล้านบาท แบ่งเป็นฝากประจำ 12 เดือน รับดอกเบี้ยที่ 3.50% หรือฝากประจำ 18 เดือน ดอกเบี้ยสูงถึง 3.75% โดยจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน
“เรื่องนี้ถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะผู้ลงทุนทุกรายล้วนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้นเมื่อผลตอบแทนตราสารหนี้ต่ำลง ผู้ลงทุนจึงไปหาสิ่งอื่นทดแทน แต่การที่แบงก์ทำการแข่งขันเรื่องเงินฝากก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกระทบให้แก่ฐานลูกค้าและเม็ดเงินลงทุนรวมผ่านกองทุน โดยตรง” แหล่งข่าว กล่าว
**บาทแข็ง-ECP ไร้เสน่ห์ดึงเอฟไอเอฟหด
สำหรับกองทุนเอฟไอเอฟ นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่าสาเหตุตัวเลขเงินลงทุนทั้งระบบลดลงมาจากตราสารหนี้ของสถาบันการเงินในยุโรป (Euro Commercial Paper : ECP) ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนน้อยลง ตามอัตราผลตอบแทนที่ต่ำลงไปนั่นเอง นอกจากนี้ปัญหาการแข็งค่าของค่าเงินบาท นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ลงทุนชะลอการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน
ส่วน กองทุนคุ้มครองเงินต้นนั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ช่วงนี้กองทุนประเภทดังกล่าวได้รับความสนใจน้อยลง และปัจจุบันมีบริษัทจัดการลงทุนน้อยรายที่จัดตั้งกองทุนประเภทนี้ออกมานำเสนอลูกค้า เนื่องจากในปัจจุบันนี้นักลงทุนที่นิยมลงทุนผ่านกองทุนรวม เริ่มได้รับข้อมูลข่าวสารด้านกองทุนรวมมากขึ้น ทำให้มีความมั่นใจที่จะกล้ารับความเสี่ยงจากการลงทุนสูงขึ้นเพื่อรอรับอัตราผลตอบแทนที่ที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
**ไทยพาณิชย์ครองแชมป์-MFC เบียดขึ้นที่ 5
ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของสมาคมบลจ.พบว่า ส่วนแบ่งการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) และสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (เอยูเอ็ม) ของบริษัทจัดการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 5 อันดับแรก บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 20.62% และมีเอยูเอ็มที่ 289,422,079,185.40 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมซึ่งมี 21.29% และมีเอยูเอ็ม 304,804,426,535.51 บาท
อันดับ 2 .บลจ.กสิกรไทย จำกัด มีมาร์เก็ตแชร์ 16.41% มีเอยูเอ็ม 230,360,565,530.11 บาท ลดลงจากเดือนมกราคมซึ่งอยู่ที่ 16.67% มีเอยูเอ็ม 238,581,510,705.43 บาท, อันดับ 3 บลจ. บัวหลวง จำกัด ครองส่วนแบ่งการตลาด 10.12% และมียอดเอยูเอ็มที่ 142,033,620,063.27 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 9.92% โดยมีเอยูเอ็ม 142,008,324,994.82 บาท
อันดับ 4.บลจ.ทหารไทย จำกัด มีมาร์เก็ตแชร์ 9.15% และเอยูเอ็ม 128,446,079,185.40 บาท ลดลงจาก 9.48% ในเดือนมกราคม ซึ่งมีเอยูเอ็ม 135,711,528,519.68 บาท และอันดับ บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด ครองส่วนแบ่งการตลาด 7.94% มีเอยูเอ็มทั้งสิ้น 111,422,184,290.08 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมากราคมที่มี 7.71 % เอยูเอ็ม 110,365,845,075.58 บาท โดยถือว่าเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า บลจ.กรุงไทย จำกัด ซึ่งเมื่อเดือนมกราคมมีส่วนการตลาด 8.07% มีเอยูเอ็ม 115,486,084,057.10 บาท แต่ปรับตัวลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยเหลือเพียง 7.76% และมีเอยูเอ็ม 108,845,577,482.01 บาท