ดร. สมจินต์ ศรไพศาล บลจ. วรรณ จำกัด
ผมได้รับคำถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวขึ้นลงของหุ้นที่มีความผันผวนมากจากนักลงทุนหลายท่านในช่วงปีที่ผ่านมา คำถามที่มักจะได้รับเสมอๆคือ จะซื้อหุ้นได้หรือยัง หรือควรจะขายหุ้นออกไหม ควรจะถือเงินสดทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยหรือไม่
ความผันผวนของหุ้นในปีที่ผ่านมีความรวดเร็วและรุนแรง โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดสูงสุดในวันที่ 29 ต.ต. 2550 ที่ระดับ 915.03 จุด และปิดต่ำสุดในวันที่ 9 ม.ค. 2550 ที่ระดับ 616.75 จุด ซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 48% และตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็แกว่งตัวขึ้นลงเกินกว่า 10% และในขณะเดียวกันความผันผวนนี้ก็เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นกัน
สำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวในตลาดหุ้นมาเป็นเวลานาน ก็จะพบว่าตลอด 30 ปีที่ผ่านมา หุ้นมีความผันผวนมาตลอด มีปีที่ตลาดหุ้นบวกมากกว่า 100% และ มีปีที่ติดลบเกือบ 50% และเป็นที่แน่นอนว่าตลาดหุ้นจะยังคงผันผวนขึ้นและลงอย่างนี้ต่อไปในอนาคต
สำหรับผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว ข้อมูลจาก SET Research พบว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 12% ต่อปี และข้อมูลที่บลจ.วรรณ นำเสนอย้อนหลัง 9 ปี (2542 – 2550) พบว่าตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย13% ต่อปี แน่นอนครับว่าตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดึงดูดใจมากกว่าการฝากเงินหรือการซื้อตราสารหนี้ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน
ความเสี่ยงหมายถึงความผันผวนของผลตอบแทน หากความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนไปจากค่าเฉลี่ยมากขึ้น การจัดทัพลงทุน(ดังที่ได้เขียนในบทความก่อนหน้าหลายๆครั้ง) หรือการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนได้ สำหรับการลงทุนในปัจจุบันในภาวะที่มีตัวแปรต่างๆที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่คาดหวัง หลายๆตัวแปรเกิดขึ้นอย่างที่ไม่ได้คาดคิดไว้มาก่อน ดังนั้นการปรับกระบวนทัพนั้นก็มีความสำคัญสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน
การจัดทัพลงทุนนั้นจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงทุนและความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาความผันผวนที่เกิดขึ้น ทำให้นักลงทุนหลายท่านปรับสัดส่วนการลงทุนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตามอารมณ์ของตลาด แต่ที่สำคัญของการปรับกระบวนทัพนั้น นักลงทุนต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ของการลงทุนในระยะยาว ความเสี่ยงของการลงทุน และสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนแล้วก็สามารถพิจารณาจัดการลงทุนที่เป็นส่วนเสริมสำหรับการแสวงหากำไรในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
Core-Satellite strategy เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นการลงทุนแบบยืดหยุ่นที่จัดสรรการลงทุนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุนระยะยาว และแสวงหาโอกาสในการลงทุนช่วงสั้น
กลยุทธ์การลงทุนจะแบ่งสัดส่วนการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ Core หรือ ส่วนหลัก โดยการลงทุนจะมีเป้าหมายของผลตอบแทนที่คาดหวังที่สอดคล้องการลงทุนระยะยาว เป็นการลงทุนอย่างมีวินัย และมีความเสี่ยงที่เหมาะสมกับนักลงทุน และส่วน Satellite หรือ ส่วนเสริม เป็นเงินลงทุนส่วนที่แสวงหาโอกาสในการทำกำไรในสถานการณ์ต่างๆ ที่นักลงทุนมีความชำนาญหรือมองเห็นโอกาสนั้นๆ
เงินส่วนมากของเงินลงทุนจะอยู่ในส่วน Core โดยมีเป้าหมายให้เงินลงทุนมีมูลค่าเพิ่มจากการลงทุน (Capital appreciation) โดยมีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างมีวินัย เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คาดหวังเหมาะสมกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยหลักการลงทุนระยะยาว (Rational investment) ส่วน Satellite มีเป้าหมายของการแสวงหาโอกาสของการทำกำไรในระยะกลาง – สั้น นักลงทุนสามารถที่จะให้น้ำหนักการลงทุนเน้นไปยังกลุ่มหลักทรัพย์ที่พบว่ามีโอกาสที่ดีในการลงทุน เช่นในภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น น้ำมันมีราคาแพง นักลงทุนอาจเน้นการในหุ้นกลุ่มพลังงาน พลังงานทดแทน หรือการลงทุนในทองคำ เป็นการลงทุนด้วยการเห็นโอกาสในช่วงสั้นหรือตามอารมณ์ของตลาด (emotionally-driven investment)
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนใน TDEX (ThaiDEX SET50 ETF) สามารถประยุกต์ใช้ TDEX เข้ากับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Core-Satellite ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้เป็นทั้งส่วนหลัก หรือ เป็นส่วนเสริม โดยนักลงทุนที่เน้นลงทุนหุ้นเป็นส่วนมากของพอร์ตการลงทุนสามารถเลือกใช้ TDEX เป็นส่วนหลักของการลงทุนในหุ้น เพราะ TDEX มีกระจายความเสี่ยงแบบ Market portfolio ซึ่งให้ผลตอบแทนที่คาดหวังต่อความเสี่ยงที่ดีที่สุด ส่วน Satellite ของพอร์ตก็สามารถเลือกลงทุนในหุ้นเฉพาะกลุ่ม เช่น พลังงาน ธนาคาร อสังหาฯ สาธารณูปโภค หรืออาจพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ เป็นต้น ในกรณีนี้ เท่ากับว่า ส่วน sattlelite นั้นจะพยายามทำกำไรเป็นพิเศษจากความสามารถในการเลือกหุ้น โดยมีส่วน core ที่กระจายความเสี่ยงเป็นหลักไว้ แม้การเลือกหุ้นในส่วน sattlelite พลาด ก็ไม่เจ็บตัวมาก
นักลงทุนบางท่านที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้เป็นส่วนหลัก ก็สามารถเลือกใช้ TDEX เป็นส่วนเสริมในการลงทุน เพราะ TDEX นั้นเคลื่อนไหวเหมือนดัชนี SET50 และมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ให้นักลงทุนสามารถซื้อหรือขายได้อย่างทันที (Real-time) เพื่อหาโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ กรณีหลังนี้เมาะสำหรับผู้ที่เชื่อในความสามารถด้านการจับจังหวะเคลื่อนไหวของตลาดโดยรวม หากช่วงใดคาดว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะวิ่งขึ้นก็ ถือ TDEX มากหน่อย แต่ถ้าช่วงใดคาดว่าตลาดอยู่ขาลงหรือทรงก็ลดการถือครอง TDEX ลงเสีย หากตลาดเคลื่อนไหวดังที่เราคิด ก็จะได้ผลตอบแทนเพิ่มเติมจากจังหวะการเพิ่มลด TDEX แต่หากจับจังหวะพลาดก็ยังมีส่วน core ที่ลงทุนในตราสารหนี้ช่วยประคองมูลค่าของพอร์ตลงทุนมิให้เสียหายมากเกินไปได้ครับ
พร้อมกันนี้ ผมอยากจะประชาสัมพันธ์งานสัมมนาหัวข้อเรื่อง “ตลาดทุนไทย.... ใครจะผ่าตัด” ซึ่งว่าด้วยแนวคิดในการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยมีวิทยากรที่เป็นผู้นำทางความคิดในตลาดทุนไทยหลายท่าน งานสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 8.30 – 12.30 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาสามารถสำรองที่นั่งได้ที่ 02-596-9501 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ผมได้รับคำถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวขึ้นลงของหุ้นที่มีความผันผวนมากจากนักลงทุนหลายท่านในช่วงปีที่ผ่านมา คำถามที่มักจะได้รับเสมอๆคือ จะซื้อหุ้นได้หรือยัง หรือควรจะขายหุ้นออกไหม ควรจะถือเงินสดทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยหรือไม่
ความผันผวนของหุ้นในปีที่ผ่านมีความรวดเร็วและรุนแรง โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดสูงสุดในวันที่ 29 ต.ต. 2550 ที่ระดับ 915.03 จุด และปิดต่ำสุดในวันที่ 9 ม.ค. 2550 ที่ระดับ 616.75 จุด ซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 48% และตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็แกว่งตัวขึ้นลงเกินกว่า 10% และในขณะเดียวกันความผันผวนนี้ก็เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นกัน
สำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวในตลาดหุ้นมาเป็นเวลานาน ก็จะพบว่าตลอด 30 ปีที่ผ่านมา หุ้นมีความผันผวนมาตลอด มีปีที่ตลาดหุ้นบวกมากกว่า 100% และ มีปีที่ติดลบเกือบ 50% และเป็นที่แน่นอนว่าตลาดหุ้นจะยังคงผันผวนขึ้นและลงอย่างนี้ต่อไปในอนาคต
สำหรับผลตอบแทนการลงทุนระยะยาว ข้อมูลจาก SET Research พบว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 12% ต่อปี และข้อมูลที่บลจ.วรรณ นำเสนอย้อนหลัง 9 ปี (2542 – 2550) พบว่าตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย13% ต่อปี แน่นอนครับว่าตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ดึงดูดใจมากกว่าการฝากเงินหรือการซื้อตราสารหนี้ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน
ความเสี่ยงหมายถึงความผันผวนของผลตอบแทน หากความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนไปจากค่าเฉลี่ยมากขึ้น การจัดทัพลงทุน(ดังที่ได้เขียนในบทความก่อนหน้าหลายๆครั้ง) หรือการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนได้ สำหรับการลงทุนในปัจจุบันในภาวะที่มีตัวแปรต่างๆที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่คาดหวัง หลายๆตัวแปรเกิดขึ้นอย่างที่ไม่ได้คาดคิดไว้มาก่อน ดังนั้นการปรับกระบวนทัพนั้นก็มีความสำคัญสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบัน
การจัดทัพลงทุนนั้นจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงทุนและความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาความผันผวนที่เกิดขึ้น ทำให้นักลงทุนหลายท่านปรับสัดส่วนการลงทุนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตามอารมณ์ของตลาด แต่ที่สำคัญของการปรับกระบวนทัพนั้น นักลงทุนต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ของการลงทุนในระยะยาว ความเสี่ยงของการลงทุน และสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนแล้วก็สามารถพิจารณาจัดการลงทุนที่เป็นส่วนเสริมสำหรับการแสวงหากำไรในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
Core-Satellite strategy เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นการลงทุนแบบยืดหยุ่นที่จัดสรรการลงทุนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุนระยะยาว และแสวงหาโอกาสในการลงทุนช่วงสั้น
กลยุทธ์การลงทุนจะแบ่งสัดส่วนการลงทุนออกเป็น 2 ส่วน คือ Core หรือ ส่วนหลัก โดยการลงทุนจะมีเป้าหมายของผลตอบแทนที่คาดหวังที่สอดคล้องการลงทุนระยะยาว เป็นการลงทุนอย่างมีวินัย และมีความเสี่ยงที่เหมาะสมกับนักลงทุน และส่วน Satellite หรือ ส่วนเสริม เป็นเงินลงทุนส่วนที่แสวงหาโอกาสในการทำกำไรในสถานการณ์ต่างๆ ที่นักลงทุนมีความชำนาญหรือมองเห็นโอกาสนั้นๆ
เงินส่วนมากของเงินลงทุนจะอยู่ในส่วน Core โดยมีเป้าหมายให้เงินลงทุนมีมูลค่าเพิ่มจากการลงทุน (Capital appreciation) โดยมีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างมีวินัย เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่คาดหวังเหมาะสมกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยหลักการลงทุนระยะยาว (Rational investment) ส่วน Satellite มีเป้าหมายของการแสวงหาโอกาสของการทำกำไรในระยะกลาง – สั้น นักลงทุนสามารถที่จะให้น้ำหนักการลงทุนเน้นไปยังกลุ่มหลักทรัพย์ที่พบว่ามีโอกาสที่ดีในการลงทุน เช่นในภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น น้ำมันมีราคาแพง นักลงทุนอาจเน้นการในหุ้นกลุ่มพลังงาน พลังงานทดแทน หรือการลงทุนในทองคำ เป็นการลงทุนด้วยการเห็นโอกาสในช่วงสั้นหรือตามอารมณ์ของตลาด (emotionally-driven investment)
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนใน TDEX (ThaiDEX SET50 ETF) สามารถประยุกต์ใช้ TDEX เข้ากับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Core-Satellite ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้เป็นทั้งส่วนหลัก หรือ เป็นส่วนเสริม โดยนักลงทุนที่เน้นลงทุนหุ้นเป็นส่วนมากของพอร์ตการลงทุนสามารถเลือกใช้ TDEX เป็นส่วนหลักของการลงทุนในหุ้น เพราะ TDEX มีกระจายความเสี่ยงแบบ Market portfolio ซึ่งให้ผลตอบแทนที่คาดหวังต่อความเสี่ยงที่ดีที่สุด ส่วน Satellite ของพอร์ตก็สามารถเลือกลงทุนในหุ้นเฉพาะกลุ่ม เช่น พลังงาน ธนาคาร อสังหาฯ สาธารณูปโภค หรืออาจพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ เป็นต้น ในกรณีนี้ เท่ากับว่า ส่วน sattlelite นั้นจะพยายามทำกำไรเป็นพิเศษจากความสามารถในการเลือกหุ้น โดยมีส่วน core ที่กระจายความเสี่ยงเป็นหลักไว้ แม้การเลือกหุ้นในส่วน sattlelite พลาด ก็ไม่เจ็บตัวมาก
นักลงทุนบางท่านที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้เป็นส่วนหลัก ก็สามารถเลือกใช้ TDEX เป็นส่วนเสริมในการลงทุน เพราะ TDEX นั้นเคลื่อนไหวเหมือนดัชนี SET50 และมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ให้นักลงทุนสามารถซื้อหรือขายได้อย่างทันที (Real-time) เพื่อหาโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ กรณีหลังนี้เมาะสำหรับผู้ที่เชื่อในความสามารถด้านการจับจังหวะเคลื่อนไหวของตลาดโดยรวม หากช่วงใดคาดว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะวิ่งขึ้นก็ ถือ TDEX มากหน่อย แต่ถ้าช่วงใดคาดว่าตลาดอยู่ขาลงหรือทรงก็ลดการถือครอง TDEX ลงเสีย หากตลาดเคลื่อนไหวดังที่เราคิด ก็จะได้ผลตอบแทนเพิ่มเติมจากจังหวะการเพิ่มลด TDEX แต่หากจับจังหวะพลาดก็ยังมีส่วน core ที่ลงทุนในตราสารหนี้ช่วยประคองมูลค่าของพอร์ตลงทุนมิให้เสียหายมากเกินไปได้ครับ
พร้อมกันนี้ ผมอยากจะประชาสัมพันธ์งานสัมมนาหัวข้อเรื่อง “ตลาดทุนไทย.... ใครจะผ่าตัด” ซึ่งว่าด้วยแนวคิดในการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยมีวิทยากรที่เป็นผู้นำทางความคิดในตลาดทุนไทยหลายท่าน งานสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 8.30 – 12.30 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาสามารถสำรองที่นั่งได้ที่ 02-596-9501 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น