ผลพวงยาแรงเฟด อาจฉุดอัตราการเติบโตกองทุนเอฟไอเอฟปีนี้ชะลอตัวลง เหลือแค่ 10-15% ผู้จัดการกองทุนประเมินกองหุ้นต่างแดนจะมีบทบาทมากขึ้น เชื่อมั่นภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมแข็งแกร่ง แม้ตลาดต่างแดนไม่บูม แต่ในประเทศยังทดแทนได้ ด้านบลจ.พรีมาเวสท์ ยกเลิกขาย "กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์อินคัม 12" จากเดิมที่วางแผนเข็นเข้าตลาด 23 ม.ค.ที่ผ่านมา
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุน กล่าวว่า ผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Fed Fund Rate) ฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถึง 0.75% และประกอบกับแนวโน้มว่าเฟดจะทำการปรับลดดอกเบี้ยลงอีกในอนาคต ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ ไม่น่าจะได้ความสนใจมากนัก เพราะผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนเมื่อหักลบจากการทำการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (เฮดจ์จิ้ง) จะน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ภายในประเทศ โดยคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ บลจ.ต่างๆ จะชะลอการออกกองทุนในลักษณะลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศระยะสั้นออกไปก่อน เพราะผลตอบแทนที่ได้รับลดลง แต่สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะต้องมีการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตามการชะลอการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในต่างประเทศในช่วงครึ่งปีแรกนี้ แหล่งข่าว เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมทั้งระบบในปี 2551 แน่นอน โดยประเมินว่ากองทุนตราสารหนี้ยังคงจะเป็นกองทุนหลักที่สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณความต้องการของนักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในกองทุนประเภทนี้ที่มีอยู่ในระดับสูง
"การที่ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศลดลง ไม่น่าจะกระทบต่อการขยายตัวโดยรวมของทั้งอุตสาหกรรม เพราะเมื่อผลตอบแทนในต่างประเทศลดลง นักลงทุนก็จะหันมาลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นแทน" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 เฟด ได้ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Fed Fund Rate) ลงฉุกเฉิน 0.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐลดลงเหลือ 3.5% จาก 4.25% ซึ่งการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ นับการปรับลดดอกเบี้ยลงในคราวเดียวที่สูงที่สุดในรอบหลายปี อีกทั้งผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยรุนแรงดังกล่าว ทำให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หลายรายได้ทำการยกเลิกการเสนอขายกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท ECP เนื่องมาจากอัตราของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนปรับตัวลดลง เอฟไอเอฟผลพวงต่อไป
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า อัตราการขยายตัวของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ในปีนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวบ้าง โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของกองทุนเอฟไอเอฟจะชะลอตัวลงกว่าในปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากในปี 2550 ต้องยอมรับว่าการขยายตัวของกองทุนเอฟไอเอฟส่วนใหญ่ มาจากกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ประเภท 3 เดือน 6 เดือน ดังนั้นจึงคาดว่าในปี 2551 กองทุนเอฟไอเอฟทั้งระบบจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 10-15% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเติบโตในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวดังกล่าวอาจจะมีการเพิ่มขึ้นได้ ถ้าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้สถานการณ์และโอกาสการลงทุนปรับตัวดีขึ้น และบลจ.ต่างๆ หันกลับมาออกกองทุนในลักษณะดังกล่าวอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน ข้อมูลตัวเลขจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) ระบุว่า ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2550 กองทุนเอฟไอเอฟทั้งระบบมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิทั้งสิ้น 209,274.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 180,393.30 ล้านบาท หรือ 624.61%% จากเดือนธันวาคม ปี 2549 ที่ทั้งระบบมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิจำนวน 28,880.75 ล้านบาท โดยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิมาจากกองทุนประเภทเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นอายุ 3 เดือนและ 6 เดือน และกองทุนที่ลงทุนในหุ้น
"แม้ว่าแนวโน้มที่เฟดจะลดดอกเบี้ยลง จะส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนเอฟไอเอฟประเภทตราสารหนี้ แต่อาจจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นการเติบโตของกองทุนเอฟไอเอฟประเภทตราสารทุนแทน เพราะการลดดอกเบี้ยน่าจะส่งผลทำให้สถานการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศสหรัฐฯ และตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเสนอขายและขยายตัวของกองทุนเอฟไอเอฟตราสารทุนหลังจากนี้"แหล่งข่าว กล่าว
พรีมาเวสท์เลิกขายKPI12
นายเพิ่มพล ประเสริฐล้ำ กรรมการผู้จัดการ บลจ.พรีมาเวสท์ เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทมีแผนจะทำการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ของกองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์อินคัม 12 (KPI12) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ ในระหว่างวันที่ 23-29 มกราคม 2551นั้น บริษัทได้ทำการยกเลิกการจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวจากกำหนดการเดิม
ทั้งนี้สาเหตุที่บริษัทต้องทำการยกเลิกการจำหน่ายหน่วยลงทุน เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ทางเฟด ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงฉุกเฉินถึง 0.75% ส่งผลกระทบไปถึงผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่กองทุนจะเข้าไปลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์อินคัม 12 เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่มีนโยบายในการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ อายุโครงการประมาณ 6 เดือน มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะได้รับ 3.41% ต่อปี ซึ่งภายหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 0.46% ต่อปี ประมาณผลตอบแทนที่กองทุนจะได้รับคือ 2.95% ต่อปี
โดยกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐไทย ตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และ/หรือเงินฝากของสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น รวมทั้งลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structure Note)
ขณะที่ สัดส่วนเงินลงทุนที่กองทุนจะนำเงินไปลงทุนประกอบไปด้วย ตราสารหนี้ของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 17% และสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.50% , ตราสารหนี้ของบริษัท ไทยพาณิชย์ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 17% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.50% , ตราสารหนี้ของบริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเม้นท์ ลิสซิ่ง จำกัด มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 16% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 4.10% , ตราสารหนี้ของธนาคารดอยซ์แบงก์ มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 17% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.10% , ตราสารหนี้ของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 17% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.10% และตราสารหนี้ของธนาคารคาลิยง มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 16% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.20%
ไอเอ็นจีรายล่าสุดเบรกออกกองใหม่
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตามที่บริษัทได้วางแผนเปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุน ไอเอ็นจี ไทย ตราสารหนี้ระยะสั้นต่างประเทศ 1 ในระหว่างวันที่ 17-24 มกราคม 2551นั้น บริษัทได้เลื่อนการจำหน่ายหน่วยลงทุนออกไป เนื่องมาจากประเมินว่าแนวโน้มของตราสารหนี้ที่จะเข้าไปลงทุนจะมีความผันผวนสูงและมีโอกาสกระทบต่อผลตอบแทนในการเข้าไปลงทุน
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้บริษัทจะมีการออกกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในประเทศ ในซีรีย์ ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม เพิ่มเติมอีกจำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 19 และกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 20 เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้แก่นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้แทน
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุน กล่าวว่า ผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Fed Fund Rate) ฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถึง 0.75% และประกอบกับแนวโน้มว่าเฟดจะทำการปรับลดดอกเบี้ยลงอีกในอนาคต ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ ไม่น่าจะได้ความสนใจมากนัก เพราะผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนเมื่อหักลบจากการทำการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (เฮดจ์จิ้ง) จะน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ภายในประเทศ โดยคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ บลจ.ต่างๆ จะชะลอการออกกองทุนในลักษณะลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศระยะสั้นออกไปก่อน เพราะผลตอบแทนที่ได้รับลดลง แต่สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะต้องมีการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตามการชะลอการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในต่างประเทศในช่วงครึ่งปีแรกนี้ แหล่งข่าว เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมทั้งระบบในปี 2551 แน่นอน โดยประเมินว่ากองทุนตราสารหนี้ยังคงจะเป็นกองทุนหลักที่สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณความต้องการของนักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในกองทุนประเภทนี้ที่มีอยู่ในระดับสูง
"การที่ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศลดลง ไม่น่าจะกระทบต่อการขยายตัวโดยรวมของทั้งอุตสาหกรรม เพราะเมื่อผลตอบแทนในต่างประเทศลดลง นักลงทุนก็จะหันมาลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นแทน" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 เฟด ได้ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Fed Fund Rate) ลงฉุกเฉิน 0.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐลดลงเหลือ 3.5% จาก 4.25% ซึ่งการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ นับการปรับลดดอกเบี้ยลงในคราวเดียวที่สูงที่สุดในรอบหลายปี อีกทั้งผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยรุนแรงดังกล่าว ทำให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หลายรายได้ทำการยกเลิกการเสนอขายกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท ECP เนื่องมาจากอัตราของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนปรับตัวลดลง เอฟไอเอฟผลพวงต่อไป
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า อัตราการขยายตัวของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ในปีนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวบ้าง โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของกองทุนเอฟไอเอฟจะชะลอตัวลงกว่าในปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากในปี 2550 ต้องยอมรับว่าการขยายตัวของกองทุนเอฟไอเอฟส่วนใหญ่ มาจากกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ประเภท 3 เดือน 6 เดือน ดังนั้นจึงคาดว่าในปี 2551 กองทุนเอฟไอเอฟทั้งระบบจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 10-15% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเติบโตในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวดังกล่าวอาจจะมีการเพิ่มขึ้นได้ ถ้าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้สถานการณ์และโอกาสการลงทุนปรับตัวดีขึ้น และบลจ.ต่างๆ หันกลับมาออกกองทุนในลักษณะดังกล่าวอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน ข้อมูลตัวเลขจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) ระบุว่า ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2550 กองทุนเอฟไอเอฟทั้งระบบมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิทั้งสิ้น 209,274.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 180,393.30 ล้านบาท หรือ 624.61%% จากเดือนธันวาคม ปี 2549 ที่ทั้งระบบมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิจำนวน 28,880.75 ล้านบาท โดยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิมาจากกองทุนประเภทเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นอายุ 3 เดือนและ 6 เดือน และกองทุนที่ลงทุนในหุ้น
"แม้ว่าแนวโน้มที่เฟดจะลดดอกเบี้ยลง จะส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนเอฟไอเอฟประเภทตราสารหนี้ แต่อาจจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นการเติบโตของกองทุนเอฟไอเอฟประเภทตราสารทุนแทน เพราะการลดดอกเบี้ยน่าจะส่งผลทำให้สถานการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศสหรัฐฯ และตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเสนอขายและขยายตัวของกองทุนเอฟไอเอฟตราสารทุนหลังจากนี้"แหล่งข่าว กล่าว
พรีมาเวสท์เลิกขายKPI12
นายเพิ่มพล ประเสริฐล้ำ กรรมการผู้จัดการ บลจ.พรีมาเวสท์ เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทมีแผนจะทำการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ของกองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์อินคัม 12 (KPI12) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ ในระหว่างวันที่ 23-29 มกราคม 2551นั้น บริษัทได้ทำการยกเลิกการจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวจากกำหนดการเดิม
ทั้งนี้สาเหตุที่บริษัทต้องทำการยกเลิกการจำหน่ายหน่วยลงทุน เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ทางเฟด ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงฉุกเฉินถึง 0.75% ส่งผลกระทบไปถึงผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่กองทุนจะเข้าไปลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์อินคัม 12 เป็นกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่มีนโยบายในการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ อายุโครงการประมาณ 6 เดือน มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะได้รับ 3.41% ต่อปี ซึ่งภายหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 0.46% ต่อปี ประมาณผลตอบแทนที่กองทุนจะได้รับคือ 2.95% ต่อปี
โดยกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารภาครัฐไทย ตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และ/หรือเงินฝากของสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น รวมทั้งลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structure Note)
ขณะที่ สัดส่วนเงินลงทุนที่กองทุนจะนำเงินไปลงทุนประกอบไปด้วย ตราสารหนี้ของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 17% และสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.50% , ตราสารหนี้ของบริษัท ไทยพาณิชย์ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 17% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.50% , ตราสารหนี้ของบริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเม้นท์ ลิสซิ่ง จำกัด มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 16% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 4.10% , ตราสารหนี้ของธนาคารดอยซ์แบงก์ มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 17% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.10% , ตราสารหนี้ของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 17% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.10% และตราสารหนี้ของธนาคารคาลิยง มีสัดส่วนลงทุนประมาณ 16% สามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.20%
ไอเอ็นจีรายล่าสุดเบรกออกกองใหม่
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตามที่บริษัทได้วางแผนเปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุน ไอเอ็นจี ไทย ตราสารหนี้ระยะสั้นต่างประเทศ 1 ในระหว่างวันที่ 17-24 มกราคม 2551นั้น บริษัทได้เลื่อนการจำหน่ายหน่วยลงทุนออกไป เนื่องมาจากประเมินว่าแนวโน้มของตราสารหนี้ที่จะเข้าไปลงทุนจะมีความผันผวนสูงและมีโอกาสกระทบต่อผลตอบแทนในการเข้าไปลงทุน
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้บริษัทจะมีการออกกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในประเทศ ในซีรีย์ ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม เพิ่มเติมอีกจำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 19 และกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอ็มเอ็ม 20 เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้แก่นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้แทน