เอเชียน วอลล์สตรีท - โหลวจี้เหว่ย ประธาน ไชน่า อินเวสต์เมนต์ คอร์ป (ซีไอซี) เผยทิศทางกระจายลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภททั่วโลก ชี้ยังชะลอไม่ลงทุนในยุโรปบางประเทศ ที่ไม่ต้อนรับกองทุนฯจีน
โหลวจี้เหว่ย ประธานซีไอซี กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (sovereign wealth fund) ของจีน ซึ่งทำหน้าที่บริหารเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมูลค่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 6 ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนทั้งหมด เผยทิศทางการลงทุน เน้นกระจายหลักทรัพย์ลงทุนหลายบริษัท ในธุรกิจหลากประเภท เพื่อลดความเสี่ยง ไม่ยึดลงทุนบริษัทไม่กี่แห่ง พร้อมชี้ว่า ยังชะลอไม่เข้าไปลงทุนในประเทศยุโรปที่ตั้งข้อสงสัยต่อสถานะของซีไอซี
หลังเดินสายชี้แจง หาช่องทางการลงทุนในสหรัฐฯเป็นระวิง โดยเข้าพบกับผู้บริหารกองทุนบำนาญรายใหญ่ อาทิ กองทุนบำนาญของแคลิฟอร์เนีย และพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, ประธานกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), สมาชิกสภาครองเกส และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารโลก รวมทั้งวอลล์สตรีท เพื่อสางข้อครหาซีไอซีลงทุนหวังผลทางการเมือง
"เราเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ทางการเงิน" โหลวเผยระหว่างการประชุมที่ธนาคารโลก ทั้งนี้โหลวมิได้อธิบายให้กระจ่างว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ว่าคืออะไร ทำให้เกิดความสับสน เนื่องจากโหลวเคยเผยว่า เขาอาจพึ่งกองทุนรวม ทว่าอีกครั้งหนึ่งโหลวกลับเผยว่าเขาจะสร้างสมดุลการลงทุน กระจายไปในหลายภาคธุรกิจและหลายประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตามประธานซีไอซีเผยว่า "จีนเล็งลงทุนในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานสะอาด และกำลังมองหานักบริหารจากภายนอก เนื่องจากเราขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ"
ทั้งนี้ซีไอซี ซึ่งถือกำเนิดเมื่อปีที่แล้ว และกลายเป็นกองทุนที่ใหญ่สุดของโลก กำลังเผชิญปัญหาหนักถึง 2 เรื่องคือ ภาวะขาดทุนในตลาดหุ้น หลังจากเข้าซื้อหุ้นของมอร์แกน สแตนลีย์ และปัญหาข้อสงสัยต่อความโปร่งใสของซีไอซี
เพื่อบรรเทาความกังวลของสหรัฐฯและยุโรปเกี่ยวกับความโปร่งใสของกองทุนความมั่งคั่ง ไอเอ็มเอฟกำลังเจรจากับกองทุนเหล่านี้ เพื่อกำหนดข้อปฏิบัติที่ทางกองทุนสามารถปฏิบัติได้ตามความสมัครใจ โดยทางไอเอ็มเอฟคาดว่า การร่างข้อกำหนดดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ราวกันยายน - พฤศจิกายน)
โหลวแสดงทัศนะว่า ความพยายามดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และยากที่จะได้ข้อยุติ "เมื่อพูดถึงประเด็นความโปร่งใสแล้ว แต่ละฝ่ายย่อมบอกว่าตัวเองดีกว่าเสมอ ทำให้หาข้อสรุปไม่ได้"
แม้ก่อนหน้านี้การลงทุนของซีไอซีใน มอร์แกน สแตนลีย์ และแบล็ก สโตน จะได้รับไฟเขียวจากวอชิงตัน ทว่าข่าวครหาเกี่ยวกับซีไอซีก็ยังคงกระจายอย่างหนาหู แถมตั้งแต่การลงทุนในแบล็ก สโตน เมื่อเดือนมิถุนายน และมอร์แกน สแตนลีย์เมื่อเดือนธันวาคมตลาดหุ้นสหรัฐฯก็เจอพิษซับไพรม์ดึงหุ้นวูบอีก
"บางคนอาจมองว่าเราถูกมอร์แกน สแตนลีย์เล่นงานเอาเสียแล้ว ทว่าการลงทุนในมอร์แกนมูลค่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯถือว่าเป็นโอกาสทองของเรา และเมื่อเห็นโอกาสเราก็ควรคว้าไว้" โหลวกล่าว
นอกจากนี้ ประธานซีไอซียังเผยว่า จะไม่เข้าไปลงทุนในประเทศที่ไม่ได้รับการต้อนรับ แม้จะไม่ได้เปิดเผยชื่ออย่างชัดเจน ทว่าหลายฝ่ายเข้าใจว่าหมายถึงฝรั่งเศสและเยอรมนีที่วิตกกังวลกับการลงทุนของกองทุนความมั่งคั่ง
โหลวจี้เหว่ย ประธานซีไอซี กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (sovereign wealth fund) ของจีน ซึ่งทำหน้าที่บริหารเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมูลค่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 6 ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนทั้งหมด เผยทิศทางการลงทุน เน้นกระจายหลักทรัพย์ลงทุนหลายบริษัท ในธุรกิจหลากประเภท เพื่อลดความเสี่ยง ไม่ยึดลงทุนบริษัทไม่กี่แห่ง พร้อมชี้ว่า ยังชะลอไม่เข้าไปลงทุนในประเทศยุโรปที่ตั้งข้อสงสัยต่อสถานะของซีไอซี
หลังเดินสายชี้แจง หาช่องทางการลงทุนในสหรัฐฯเป็นระวิง โดยเข้าพบกับผู้บริหารกองทุนบำนาญรายใหญ่ อาทิ กองทุนบำนาญของแคลิฟอร์เนีย และพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, ประธานกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), สมาชิกสภาครองเกส และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารโลก รวมทั้งวอลล์สตรีท เพื่อสางข้อครหาซีไอซีลงทุนหวังผลทางการเมือง
"เราเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ทางการเงิน" โหลวเผยระหว่างการประชุมที่ธนาคารโลก ทั้งนี้โหลวมิได้อธิบายให้กระจ่างว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ว่าคืออะไร ทำให้เกิดความสับสน เนื่องจากโหลวเคยเผยว่า เขาอาจพึ่งกองทุนรวม ทว่าอีกครั้งหนึ่งโหลวกลับเผยว่าเขาจะสร้างสมดุลการลงทุน กระจายไปในหลายภาคธุรกิจและหลายประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตามประธานซีไอซีเผยว่า "จีนเล็งลงทุนในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานสะอาด และกำลังมองหานักบริหารจากภายนอก เนื่องจากเราขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ"
ทั้งนี้ซีไอซี ซึ่งถือกำเนิดเมื่อปีที่แล้ว และกลายเป็นกองทุนที่ใหญ่สุดของโลก กำลังเผชิญปัญหาหนักถึง 2 เรื่องคือ ภาวะขาดทุนในตลาดหุ้น หลังจากเข้าซื้อหุ้นของมอร์แกน สแตนลีย์ และปัญหาข้อสงสัยต่อความโปร่งใสของซีไอซี
เพื่อบรรเทาความกังวลของสหรัฐฯและยุโรปเกี่ยวกับความโปร่งใสของกองทุนความมั่งคั่ง ไอเอ็มเอฟกำลังเจรจากับกองทุนเหล่านี้ เพื่อกำหนดข้อปฏิบัติที่ทางกองทุนสามารถปฏิบัติได้ตามความสมัครใจ โดยทางไอเอ็มเอฟคาดว่า การร่างข้อกำหนดดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ราวกันยายน - พฤศจิกายน)
โหลวแสดงทัศนะว่า ความพยายามดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และยากที่จะได้ข้อยุติ "เมื่อพูดถึงประเด็นความโปร่งใสแล้ว แต่ละฝ่ายย่อมบอกว่าตัวเองดีกว่าเสมอ ทำให้หาข้อสรุปไม่ได้"
แม้ก่อนหน้านี้การลงทุนของซีไอซีใน มอร์แกน สแตนลีย์ และแบล็ก สโตน จะได้รับไฟเขียวจากวอชิงตัน ทว่าข่าวครหาเกี่ยวกับซีไอซีก็ยังคงกระจายอย่างหนาหู แถมตั้งแต่การลงทุนในแบล็ก สโตน เมื่อเดือนมิถุนายน และมอร์แกน สแตนลีย์เมื่อเดือนธันวาคมตลาดหุ้นสหรัฐฯก็เจอพิษซับไพรม์ดึงหุ้นวูบอีก
"บางคนอาจมองว่าเราถูกมอร์แกน สแตนลีย์เล่นงานเอาเสียแล้ว ทว่าการลงทุนในมอร์แกนมูลค่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯถือว่าเป็นโอกาสทองของเรา และเมื่อเห็นโอกาสเราก็ควรคว้าไว้" โหลวกล่าว
นอกจากนี้ ประธานซีไอซียังเผยว่า จะไม่เข้าไปลงทุนในประเทศที่ไม่ได้รับการต้อนรับ แม้จะไม่ได้เปิดเผยชื่ออย่างชัดเจน ทว่าหลายฝ่ายเข้าใจว่าหมายถึงฝรั่งเศสและเยอรมนีที่วิตกกังวลกับการลงทุนของกองทุนความมั่งคั่ง