กลับมาพบกันอีกเช่นเคย ในคอลัมน์ "Q&A corner" วันนี้มีคำถามเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม หลังจากประชาชนทั่วไปเริ่มมีความกังวลในเรื่องความไม่แน่นอนทางด้านการเงินเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์จะไม่คุ้มครองเงินฝากอีกต่อไป หรืออาจจะคุ้มครองเงินฝากอย่างจำกัดเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยมีคำถามที่ส่งมาจากผู้อ่านว่า...
ผมอายุ 34 ปี ทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และมีเงินฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์อยู่ประมาณ 200,000 บาท ต้องการนำไปลงทุนในกองทุนรวม เพราะว่ามีความปลอดภัยมากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น และในอนาคตการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์จะไม่ได้รับการคุ้มครองอีกแล้ว อยากทราบว่าควรนำไปลงทุนในกองทุนรวมประเภทใด..สมชาย
ตอบ : ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสำหรับคำถามดีๆ ที่ส่งเข้ามานะครับ คุณสมชาย อายุ 34 ปีต้องการย้ายเงินฝากไปลงทุนในกองทุนรวมบ้าง หลังจากทราบมาว่าธนาคารพาณิชย์จะไม่ให้การคุ้มครองเงินฝากอีกต่อไปแล้ว โดยที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์มีการคุ้มครองเงินฝากซึ่งเงินต้นจะไม่สูญหาย อีกทั้งยังได้รับดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้คนส่วนใหญ่นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์จนมองข้ามทางเลือกในการลงทุนอื่นๆ ไป
อันที่จริงแล้ว ยังมีทางเลือกการลงทุนอื่นๆ อีกมากมายหลายประเภทที่ช่วยให้เงินออมของผู้อ่านงอกเงยขึ้นในอัตราที่น่าพอใจ ขณะเดียวกัน ยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อได้ด้วย เช่น การลงทุนในกองทุนรวม การลงทุนในหุ้น การลงทุนในตราสารหนี้ แม้กระทั่งการซื้อทองคำ หรือที่ดินเก็บไว้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงอัตราความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน
สำหรับปัจจัยที่ควรพิจารณาในการกำหนดอัตราผลตอบแทนจากการเข้าไปลงทุนมี 3 ประการด้วยกัน คือ ปัจจัยแรก ค่าเสียโอกาสของเงินก้อนนั้นในช่วงเวลาที่คุณรอคอย เพราะว่าแทนที่คุณจะนำเงินไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้ตามความต้องการ แต่คุณจะต้องนำเงินก้อนนั้นไปลงทุนก่อน เมื่อครบเงื่อนไขเวลาที่กำหนดแล้ว จึงจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ปัจจัยที่สอง อัตราเงินเฟ้อ เป็นผลมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินออมและอำนาจซื้อของคุณลดลง
และปัจจัยสุดท้าย ความเสี่ยงเฉพาะตัวของทางเลือกที่ลงทุน ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะหรือประเภทของทางเลือกการลงทุน
ส่วนการลงทุนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ การลงทุนในตราสารหนี้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงินคลัง ขณะที่กองทุนรวมก็มีกองทุนรวมตราสารหนี้อยู่มากมายหลากหลายประเภทเช่นกัน ทั้งที่ลงทุนในตราสารหนี้ภายในประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) ที่ลงทุนตราสารหนี้ในต่างประเทศ
ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศกับต่างประเทศในขณะนี้มีความใกล้เคียงกัน จึงอยากแนะนำให้ซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศก่อน เพราะว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่า และสามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่แตกต่างกันมาก โดยอาจจะเลือกกองทุนรวมที่รับประกับเงินต้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้รับเงินต้นครบจำนวน และได้รับผลตอบแทนที่เหนือกว่าการฝากเงินกับธนาคารด้วย
หลังจากนี้ คุณสมชายก็อาจจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม และเมื่อสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ก็อาจจะทยอยนำเงินบางส่วนไปลงทุนในกองทุนรวมประเภทอื่นบ้าง เพื่อเป็นการปรับพอร์ตลงทุนของตนเอง และได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ คุณสมชายสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลกองทุนรวมได้ที่เว็บไซต์ www.aimc.or.th โดยคลิกเข้าไปที่ บ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ด้านบนทางขวามือ ก็จะพบรายชื่อเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอีกมากมาย หรืออาจจะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากหนังสือพิมพ์ประเภทธุรกิจก่อนก็ได้
สำหรับผู้อ่านท่านอื่นๆ หากมีคำถามก็สามารถส่งมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสเป็นความเห็นไว้ในข่าวของหน้ากองทุนรวมที่เว็บไซด์ www.manager.co.th ทีมงานพร้อมที่จะหาคำตอบมาให้อย่างแน่นอน
ผมอายุ 34 ปี ทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และมีเงินฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์อยู่ประมาณ 200,000 บาท ต้องการนำไปลงทุนในกองทุนรวม เพราะว่ามีความปลอดภัยมากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น และในอนาคตการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์จะไม่ได้รับการคุ้มครองอีกแล้ว อยากทราบว่าควรนำไปลงทุนในกองทุนรวมประเภทใด..สมชาย
ตอบ : ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสำหรับคำถามดีๆ ที่ส่งเข้ามานะครับ คุณสมชาย อายุ 34 ปีต้องการย้ายเงินฝากไปลงทุนในกองทุนรวมบ้าง หลังจากทราบมาว่าธนาคารพาณิชย์จะไม่ให้การคุ้มครองเงินฝากอีกต่อไปแล้ว โดยที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์มีการคุ้มครองเงินฝากซึ่งเงินต้นจะไม่สูญหาย อีกทั้งยังได้รับดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้คนส่วนใหญ่นิยมฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์จนมองข้ามทางเลือกในการลงทุนอื่นๆ ไป
อันที่จริงแล้ว ยังมีทางเลือกการลงทุนอื่นๆ อีกมากมายหลายประเภทที่ช่วยให้เงินออมของผู้อ่านงอกเงยขึ้นในอัตราที่น่าพอใจ ขณะเดียวกัน ยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อได้ด้วย เช่น การลงทุนในกองทุนรวม การลงทุนในหุ้น การลงทุนในตราสารหนี้ แม้กระทั่งการซื้อทองคำ หรือที่ดินเก็บไว้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงอัตราความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน
สำหรับปัจจัยที่ควรพิจารณาในการกำหนดอัตราผลตอบแทนจากการเข้าไปลงทุนมี 3 ประการด้วยกัน คือ ปัจจัยแรก ค่าเสียโอกาสของเงินก้อนนั้นในช่วงเวลาที่คุณรอคอย เพราะว่าแทนที่คุณจะนำเงินไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้ตามความต้องการ แต่คุณจะต้องนำเงินก้อนนั้นไปลงทุนก่อน เมื่อครบเงื่อนไขเวลาที่กำหนดแล้ว จึงจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ปัจจัยที่สอง อัตราเงินเฟ้อ เป็นผลมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินออมและอำนาจซื้อของคุณลดลง
และปัจจัยสุดท้าย ความเสี่ยงเฉพาะตัวของทางเลือกที่ลงทุน ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะหรือประเภทของทางเลือกการลงทุน
ส่วนการลงทุนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ การลงทุนในตราสารหนี้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงินคลัง ขณะที่กองทุนรวมก็มีกองทุนรวมตราสารหนี้อยู่มากมายหลากหลายประเภทเช่นกัน ทั้งที่ลงทุนในตราสารหนี้ภายในประเทศ และกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) ที่ลงทุนตราสารหนี้ในต่างประเทศ
ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศกับต่างประเทศในขณะนี้มีความใกล้เคียงกัน จึงอยากแนะนำให้ซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศก่อน เพราะว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่า และสามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่แตกต่างกันมาก โดยอาจจะเลือกกองทุนรวมที่รับประกับเงินต้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้รับเงินต้นครบจำนวน และได้รับผลตอบแทนที่เหนือกว่าการฝากเงินกับธนาคารด้วย
หลังจากนี้ คุณสมชายก็อาจจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม และเมื่อสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ก็อาจจะทยอยนำเงินบางส่วนไปลงทุนในกองทุนรวมประเภทอื่นบ้าง เพื่อเป็นการปรับพอร์ตลงทุนของตนเอง และได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ คุณสมชายสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลกองทุนรวมได้ที่เว็บไซต์ www.aimc.or.th โดยคลิกเข้าไปที่ บ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ด้านบนทางขวามือ ก็จะพบรายชื่อเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอีกมากมาย หรืออาจจะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากหนังสือพิมพ์ประเภทธุรกิจก่อนก็ได้
สำหรับผู้อ่านท่านอื่นๆ หากมีคำถามก็สามารถส่งมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสเป็นความเห็นไว้ในข่าวของหน้ากองทุนรวมที่เว็บไซด์ www.manager.co.th ทีมงานพร้อมที่จะหาคำตอบมาให้อย่างแน่นอน