บลจ.ฟิลลิปออกกองโกล์บอลบอนด์ ลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก "Phillip Fixed Income Fund" เน้น 3 เดือนแรกลงทุนพันธบัตรกีวี่-ไทย ชูผลตอบแทน 4% ต่อปี หลังหักประมาณการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมย้ำนโยบายกองทุนพิจารณาความเสี่ยงจาก ผลตอบแทนของพันธบัตร และความผันผวนของค่าเงินเป็นหลัก เพื่อให้นักลงทุนได้ผลประโยชน์มากที่สุด ด้าน"ทิสโก้"ยังทยอยกวาดเงินเข้าพอรต์กองบอนด์นิวซีแลนด์ 3 อย่างต่อเนื่องเช่นกัน หลัง 2 กองแรกยอดจองล้นจนต้องเปิดกองใหม่
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ บลจ.ฟิลลิป ได้เสนอขายกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีนโยบายสามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้ทั่วโลกชื่อ “กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้” (Phillip Fixed Income Fund ) หรือ PFIX มูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 21 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์นี้
สำหรับจุดเด่นของกองทุน PFIX จะเป็นกองทุนที่สามารถกำหนดช่วงเวลาซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตามสภาวะและความเหมาะสมของตลาดการเงินในขณะนั้น และในช่วง 3 เดือนแรกนี้จะเน้นการลงทุนกว่าร้อยละ 98.0 ในพันธบัตรรัฐบาลนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพันธบัตรที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (AAA) และพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ในการเสนอขายครั้งแรก และสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
“กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้ จะเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในกลุ่ม Investment Grade โดยในช่วง 3 เดือนแรกนี้ กองทุนจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนิวซีแลนด์ และรัฐบาลไทย ซึ่งถือว่าไม่มีความเสี่ยงในส่วนของการผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใด"นายวรรธนะกล่าว
นายวรรธนะ กล่าวอีกว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับนั้น ถ้าคิดแต่เฉพาะผลตอบแทนโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงอื่นแล้วจะสูงถึงประมาณร้อยละ 5.7% ต่อปี แต่หลังจากที่กองทุนได้ทำการประมาณการผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดอลล่าร์นิวซีแลนด์และเงินบาทแล้วบางส่วน ผลตอบแทนที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดในช่วง 3 เดือนแรกน่าจะอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปีโดยประมาณ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บริษัทคำนึงถึงมากที่สุดคือ ความผันผวนของผลตอบแทนตลอดอายุของพันธบัตร และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่หลังจากพิจารณาแนวโน้ม 2 ปีย้อนหลังแล้ว กองทุนมีความมั่นใจว่าความเสี่ยงทั้ง 2 น่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนในช่วง 3 เดือนข้างหน้า แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศปรับตัวไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อกองทุนแล้ว กองทุนก็จะเข้าทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับนักลงทุน
นางสาวธีรินทร์ สุวรรณเตมีย์ หัวหน้าการตลาดธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ. ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิดพันธบัตรนิวซีแลนด์ 3 ที่เปิดขายระหว่างวันที่ 17 ม.ค.-1 ก.พ.51 มียอดจองซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันปิดขายไอพีโอประมาณ 3-4 ร้อยล้านบาท และน่าจะถึง 5 ร้อยล้านบาทได้ในวันสุดท้ายที่เปิดขาย ซึ่งสาเหตุที่กองนี้มียอดจองซื้อไม่เต็มโครงการ เนื่องจากเป็นกองที่เปิดขึ้นมาเพื่อรองรับดีมานของลูกค้าที่เกินมาจาก 2 กองก่อนหน้านี้
สำหรับการออกกองทุนลักษณะนี้ของบริษัทหล้งจากนี้ คงจะต้องดูไปอีกสักระยะเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด มีผลกระทบต่อความกังวลของนักลงทุนพอสมควร แต่บริษัทจะพยายามพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะเสนอขายกองประเภทนี้อีก โดยจะดูจากความน่าเชื่อถือของพันธบัตร และอัตราผลตอบแที่นักลงทุนเป็นหลัก เพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุดจาการลงทุน
"ผลตอบแทน และอันดับเรตติ้งเป็นสิ่งที่เราคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงนี้ทำให้นักลงทุนมีความกังวลเล็กน้อย ทำให้เราต้องเลือกประเทศที่เขาไปลงทุนให้เหมาะสม ซึ่งหลังจากนี้คงจะต้องดูว่าเป็นประเทศไหน เนื่องจากหากมีดีมานเข้าไปมากๆ เป็นไปได้ว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้จะลดลง ซึ่งเราจำเป็นต้องเลือกประเทศที่มีผลตอบแทนดีที่สุดให้กับนักลงทุน ส่วนประเทศที่จะเข้าไปลงทุนนั้นต้องดูด้วยว่านักลงทุนมีความคุ้นเคยและรู้จักประเทศนี้มากน้อยแค่ไหน ถึงแม้จะมีผลตอบแทนที่สูงก็ตาม แต่เมื่อนักลงทุนไม่มีความเข้าใจในประเทศนั้นแล้วอาจไม่ได้รับความนิยมก็เป็นได้"
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ บลจ.ฟิลลิป ได้เสนอขายกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีนโยบายสามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้ทั่วโลกชื่อ “กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้” (Phillip Fixed Income Fund ) หรือ PFIX มูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 21 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์นี้
สำหรับจุดเด่นของกองทุน PFIX จะเป็นกองทุนที่สามารถกำหนดช่วงเวลาซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตามสภาวะและความเหมาะสมของตลาดการเงินในขณะนั้น และในช่วง 3 เดือนแรกนี้จะเน้นการลงทุนกว่าร้อยละ 98.0 ในพันธบัตรรัฐบาลนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพันธบัตรที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (AAA) และพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ในการเสนอขายครั้งแรก และสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
“กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้ จะเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในกลุ่ม Investment Grade โดยในช่วง 3 เดือนแรกนี้ กองทุนจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนิวซีแลนด์ และรัฐบาลไทย ซึ่งถือว่าไม่มีความเสี่ยงในส่วนของการผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใด"นายวรรธนะกล่าว
นายวรรธนะ กล่าวอีกว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับนั้น ถ้าคิดแต่เฉพาะผลตอบแทนโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงอื่นแล้วจะสูงถึงประมาณร้อยละ 5.7% ต่อปี แต่หลังจากที่กองทุนได้ทำการประมาณการผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดอลล่าร์นิวซีแลนด์และเงินบาทแล้วบางส่วน ผลตอบแทนที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดในช่วง 3 เดือนแรกน่าจะอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปีโดยประมาณ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บริษัทคำนึงถึงมากที่สุดคือ ความผันผวนของผลตอบแทนตลอดอายุของพันธบัตร และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่หลังจากพิจารณาแนวโน้ม 2 ปีย้อนหลังแล้ว กองทุนมีความมั่นใจว่าความเสี่ยงทั้ง 2 น่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนในช่วง 3 เดือนข้างหน้า แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศปรับตัวไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อกองทุนแล้ว กองทุนก็จะเข้าทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับนักลงทุน
นางสาวธีรินทร์ สุวรรณเตมีย์ หัวหน้าการตลาดธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ. ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิดพันธบัตรนิวซีแลนด์ 3 ที่เปิดขายระหว่างวันที่ 17 ม.ค.-1 ก.พ.51 มียอดจองซื้อหน่วยลงทุนก่อนวันปิดขายไอพีโอประมาณ 3-4 ร้อยล้านบาท และน่าจะถึง 5 ร้อยล้านบาทได้ในวันสุดท้ายที่เปิดขาย ซึ่งสาเหตุที่กองนี้มียอดจองซื้อไม่เต็มโครงการ เนื่องจากเป็นกองที่เปิดขึ้นมาเพื่อรองรับดีมานของลูกค้าที่เกินมาจาก 2 กองก่อนหน้านี้
สำหรับการออกกองทุนลักษณะนี้ของบริษัทหล้งจากนี้ คงจะต้องดูไปอีกสักระยะเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด มีผลกระทบต่อความกังวลของนักลงทุนพอสมควร แต่บริษัทจะพยายามพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะเสนอขายกองประเภทนี้อีก โดยจะดูจากความน่าเชื่อถือของพันธบัตร และอัตราผลตอบแที่นักลงทุนเป็นหลัก เพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุดจาการลงทุน
"ผลตอบแทน และอันดับเรตติ้งเป็นสิ่งที่เราคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงนี้ทำให้นักลงทุนมีความกังวลเล็กน้อย ทำให้เราต้องเลือกประเทศที่เขาไปลงทุนให้เหมาะสม ซึ่งหลังจากนี้คงจะต้องดูว่าเป็นประเทศไหน เนื่องจากหากมีดีมานเข้าไปมากๆ เป็นไปได้ว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้จะลดลง ซึ่งเราจำเป็นต้องเลือกประเทศที่มีผลตอบแทนดีที่สุดให้กับนักลงทุน ส่วนประเทศที่จะเข้าไปลงทุนนั้นต้องดูด้วยว่านักลงทุนมีความคุ้นเคยและรู้จักประเทศนี้มากน้อยแค่ไหน ถึงแม้จะมีผลตอบแทนที่สูงก็ตาม แต่เมื่อนักลงทุนไม่มีความเข้าใจในประเทศนั้นแล้วอาจไม่ได้รับความนิยมก็เป็นได้"