กองทุนญี่ปุ่น "เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป" ยก "กลุ่มว่องกุศลกิจ"เพื่อนรักทางธุรกิจ คาดแผนร่วมจัดตั้งบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.)มีความชัดเจนในเดือนมีนาคมนี้ ประธานกลุ่มยืนยันทางบริษัทในเครือแชร์ข้อมูลร่วมกัน ดันประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงขึ้น ตั้งเป้าปีนี้หวังเก็บบริษัทอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการเงินเพิ่ม เพื่อเดินแผนตั้งกลุ่มนอนแบงก์ครบวงจรตามที่วาดฝันไว้ ล่าสุดเล็งส่งบล.ยูไนเต็ด ลุยทำตลาดแดนอาทิตย์อุทัย วาง 2 แผน ขอไลเซนต์เอง หรือเข้าร่วมทุนในบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อปูทางดึงนักลงทุนไทยไปลงทุนแดนปลาดิบ
นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป (APF Group) เปิดเผยถึง การจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูไนเต็ด จำกัด (UNITED ASSET MANAGEMENT COMPANY LIMITED) ว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับกระทรวงการคลัง และดำเนินการเจรจาทำความตกลงในสัญญาร่วมลงทุนให้แล้วเสร็จ และคาดว่าจะสามารถเห็นความชัดเจนได้ภายในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2551
สำหรับการจัดตั้งบลจ.แห่งนี้จะเป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างบล.ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) (US) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มเอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และกลุ่มว่องกุศลกิจ ซึ่งเป็นอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ของบล.ยูไนเต็ด โดยโครงสร้างการถือหุ้น ประกอบด้วย บล.ยูไนเต็ด ในสัดส่วน 51% ส่วนกลุ่มว่องกุศลกิจจะถือหุ้นในบลจ.ในสัดส่วน 49% และทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งตัวแทนเข้ามาบริหารงานบริษัทแห่งใหม่ร่วมกัน ส่วนการนำบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแห่งนี้เข้าจดทะเบียนทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่นั้น ประธานกรรมการ APF Group กล่าวว่า จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาในอนาคต
ว่องกุศลกิจเพื่อนรักในเมืองไทย
"สาเหตุที่ทางกลุ่ม APF ตัดสินใจทำธุรกิจบลจ.ร่วมกับกลุ่มว่องกุศลกิจ เนื่องมาจากทางกลุ่มต้องการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนที่มีความน่าเชื่อถือในไทย และกลุ่มว่องกุศลกิจเองก็เป็นพันธมิตรที่ดีกับทางเอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และบล.ยูไนเต็ดมาโดยตลอด นับตั้งแต่ทางกลุ่มได้เข้ามาซื้อหุ้นในธุรกิจบล.ร่วมประมาณ 2 ปีครึ่งแล้ว ทั้งนี้ในช่วงเริ่มต้นบลจ.นี้ คงจะเน้นการทำธุรกิจภายในประเทศไทยก่อน เพราะเราเชื่อมั่นในศักยภาพการลงทุนที่ดีอยู่" นายมิทซึจิ กล่าว
ทั้งนี้ บลจ.ยูไนเต็ด มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ด้วยทุนจดทะเบียน 25,000,000 บาท แบ่งเป็น 250,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท โดยมีทุนชำระแล้วซึ่งเรียกชำระครั้งแรก 25% และจะชำระเต็มมูลค่าเมื่อได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง โดยจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวได้แจ้งแก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แล้วเมื่อวันนี้19 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ไม่เกิน 12.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของสินทรัพย์รวมของUS ณ วันที่ 30 กันยายน 2550
เป้าต่อไปนอนแบงก์ครบวงจร
ปัจจุบันทางกลุ่มAPF Group มีแผนที่จะขยายการทำธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้เข้ามาบริหารงานใน บล. ยูไนเต็ด และบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL รวมทั้งบริษัทอื่นๆในประเทศไทย แล้ว ในปีนี้APF Group มีวัตถุประสงค์ ที่จะจัดตั้งกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินที่ไม่ใช้ธนาคาร (Nonbank finance group) แบบครบวงจรในประเทศไทยและภูมิภาค ซึ่งรวมไปถึงการจัดตั้งบลจ. แห่งใหม่ด้วย
นายมิทซึจิ กล่าวต่อว่า นอกจากการจัดตั้งบลจ.แล้ว เป้าหมายต่อไปที่ทางกลุ่มต้องการคือ หาบริษัทที่จะเข้ามาร่วมในเครือเพิ่มเติม นอกเหนือจากธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์และธุรกิจลีสซิ่ง โดยในปีนี้ทางกลุ่มคาดหวังที่จะมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการเงิน และบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์เข้ามาเสริมศักภาพ ซึ่งขณะนี้APF Group มีความสนใจที่จะซื้อกิจการของบริษัทดังกล่าวเพิ่มเติม โดยจะเป็นการลงทุนด้วยการถือหลักทรัพย์เกิน 50% ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวภายในไตรมาส 1 ของปีนี้เช่นกัน
ขณะเดียวกัน ในอนาคตถ้ากลุ่มธุรกิจใดมีการเติบโตสูง และมีปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคง ทางกลุ่มอาจมีการพิจารณาในศักยภาพของธุรกิจดังกล่าวเพิ่มเติมและอาจจะพิจารณาถึงการเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิธีซื้อกิจการ (Take over) หรือเข้าไปร่วมลงทุนในการถือหุ้นก็ตาม
ฐานลูกค้าแรกเริ่มการประสานงานในเครือ
นายมิทซึจิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันบริษัทในเครือของกลุ่มมีการประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของฐานข้อมูลลูกค้า ซึ่งทุกบริษัทในเครือต่างแบ่งบันฐานข้อมูลดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่เกิดความร่วมมือระหว่างกันขึ้น นอกจากนี้การซื้อกิจการ บมจ.กรุ๊ปลีส มาร่วมในกลุ่ม ทำให้ฐานลูกค้าของGL เข้ามามีส่วนช่วยส่งเสริมธุรกิจของบริษัทในเครือด้วยเช่นกัน
USเล็งสยายปีกลุยธุรกิจในญี่ปุ่น
ส่วนผลการดำเนินงานของธุรกิจของบล.ยูไนเต็ด นายมิทซึจิ กล่าวว่า ความผันผวนของดัชนีในปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบล แต่ บล.ยูไนเต็ดยังสามารถทำผลกำไรจากการดำเนินการได้ รวมทั้งบริษัทยังมีการพัฒนาในเชิงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องเน้นยำว่า การขยายส่วนแบ่งการตลาดนั้นไม่ใช้เป้าหมายหลักของ US อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ โดยงานด้านวานิชธนกิจนั้น นอกจากการเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัทในเครือแล้ว USยังมีบริษัทอื่นๆ โดยเฉพาะลูกค้าของ APF Group เข้ามาติดต่อให้ดำเนินการด้านวานิชธนกิจ ด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเลือกลูกค้า นอกจากนี้หากมีบริษัทในประเทศญี่ปุ่นหรือบริษัทที่เป็นสถาบันแสดงความต้องการเข้ามา ทาง US เองมีความพร้อมที่จะขยายงานในจุดนี้เพิ่มเติม เช่นกัน
ขณะเดียวกัน บล.ยูไนเต็ด อยู่ระหว่างการขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาการจัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ไลเซนต์) รวมทั้งแนวคิดการเข้าร่วมทุนกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นการเข้าไปถือหุ้นใหญ่ เพื่อที่จะเพิ่มช่องทางในการขยายธุรกิจ รวมทั้งฐานลูกค้าของบริษัท
"ปีนี้เรายังคงพยายามที่จะนำนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม รวมทั้งอยากชวนให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในญี่ปุ่นด้วย อาทิการเข้าซื้อหุ้นของ หุ้นในเวดจ์ โฮลดิ้ง ของ APF ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นจำนวน 40% มูลค่า 180 ล้านบาท เนื่องจากยังมีหลายบริษัทในญี่ปุ่นที่ศักยภาพดี และมีราคาหุ้นถูก เหมาะแก่การเข้าลงทุน ขณะเดียวกันหาก US ได้รับอนุญาติให้ประกอบธุรกิจในญี่ปุ่นได้ ก็คงจะมีการลงทุนผ่าน US แต่ตอนนี้กระบวนการดังกล่าวยังไม่ชัดเจน และมีหลายแนวทางที่จะสามารถดำเนินการได้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบริษัทที่ใบอนุญาติการลงทุนในญี่ปุ่นอยู่แล้ว หรือ การขอใบอนุญาติใหม่" นายมิทซึจิ กล่าว
ญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย
นายมิทซึจิ กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับภาวะการลงทุนในตลาดทุนประเทศไทยในไตรมาส1/2551 แม้ว่ามีปัจจัยจากเรื่องการเมืองเข้ามาส่งผลกระทบต่อการลงทุนบ้าง แต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังเข็มแข็ง โดยเมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา ทาง APF Group ได้มีการจัดสัมมนาให้แก่กลุ่มลูกค้าของกลุ่ม เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญของญี่ปุ่น ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อเป็นการเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการลงทุนให้นักลงทุน หรือสถานบันการเงินเหล่านี้ได้รับทราบ โดยจากการบรรยายพบว่า นักลงทุนเหล่านี้แสดงความสนใจการลงทุนในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งในอนาคตอาจมีการลงทุนผ่านทาง เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และบล.ยูไนเต็ด เกิดขึ้น
"ภายในงานผมบอกว่าเมืองไทยดีที่สุด ที่สุด สำหรับลงทุน ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาฟังงานสัมมนาก็ให้ความสนใจการลงทุนในไทยเป็นอย่างมาก" นายมิทซึจิ กล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีมติให้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การมีสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้ บล.ดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว เพื่อรองรับการแข่งขันก่อนการเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ในอนาคต โดยอนุญาตให้ บล. สามารถแต่งตั้งผู้จัดการสาขา 1 คน ให้ดูแลรับผิดชอบมากกว่า 1 สาขา พร้อมทั้งออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่ออนุญาตให้ บล.สามารถมีสาขาในต่างประเทศได้ หากมีความพร้อมในด้านฐานะการเงิน ด้านระบบงาน และมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจที่ต่างประเทศ
โดยกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับการเปิดสาขาแห่งใหม่ โดยบล.ต้องมีระบบในการจัดการข้อร้องเรียนเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบล.กับลูกค้า หาก บล.เข้าร่วมโครงการอนุญาโตตุลาการของ ก.ล.ต.จะถือว่า บล.ได้จัดให้มีระบบดังกล่าวแล้ว และเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ซึ่งจะเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ในรอบนี้ตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ถึง 30 เมษายน 2551
รวมทั้งปรับหลักเกณฑ์การประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) และการขายหลักทรัพย์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง และเพิ่มให้ตลาดหลักทรัพย์มีเสถียรภาพ โดยให้สามารถยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ทั้งที่อยู่ภายใต้การจัดการของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในประเทศและในต่างประเทศได้
ทั้งนี้ให้เพิ่มเติมประเภททรัพย์สินที่วางเป็นหลักประกันให้ครอบคลุมถึงเงินสดทุกสกุล หลักทรัพย์จดทะเบียนทุกประเภท ยกเว้นใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ และหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดที่เปิดขายหรือรับซื้อคืนทุกวันทำการ รวมทั้งสามารถนำเงินที่ได้รับจากการขายชอร์ตมาวางเป็นหลักประกันได้ด้วย การกำหนดสัดส่วนของยอดหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์จะให้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์และให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายย่อยรายใดรายหนึ่ง เมื่อสิ้นวันต้องไม่เกิน 25% ของเงินกองทุนของ บล.และเมื่อรวมลูกค้าทุกรายแล้วต้องไม่เกิน 5 เท่าของเงินกองทุนของ บล.เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในการให้กู้ยืม และยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นภาระ
สำหรับหลักเกณฑ์การขายชอร์ตหลักทรัพย์ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ลูกค้าสามารถขายชอร์ตผ่านบัญชีเงินสดได้ ซึ่ง บล.ต้องมั่นใจว่า ลูกค้ายืมหลักทรัพย์ไว้แล้วและลูกค้าจะสามารถส่งมอบหลักทรัพย์ได้ภายในเวลาที่กำหนด รวมทั้งได้เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถยืมหลักทรัพย์ได้ ทั้งจาก บล.และจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (TSD) เพื่อส่งมอบกรณีผิดนัด
ปัจจุบัน เอพีเอฟ กรุ๊ป มีบริษัทในเครือจำนวน 13 บริษัท เช่น บริษัทซันวา โฮม เซอร์ จำกัด ดูแลจัดการการลงทุนในธุรกิจด้านสุขภาพ, กีฬา, และร้านอาหารในญี่ปุ่น, บริษัทบางกอก สเตชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด จัดทำข้อมูลด้านธุรกิจ การเงิน ลงสื่อสิ่งพิมพ์ ผ่านหนังสือพิมพ์ และ นิตยสารต่างประเทศ , บริษัท นันจา มนจา เอเชีย จำกัด ดำเนินธุรกิจภัตตาคารในสิงคโปร์ และไทย และล่าสุดบริษัทเว็ดจิ โฮลดิ้งส์ ดำเนินธุรกิจบันเทิงในการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น, เพลง รวมทั้งคอนเทนต์บนมือถือ เป็นต้น
นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป (APF Group) เปิดเผยถึง การจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูไนเต็ด จำกัด (UNITED ASSET MANAGEMENT COMPANY LIMITED) ว่า ขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับกระทรวงการคลัง และดำเนินการเจรจาทำความตกลงในสัญญาร่วมลงทุนให้แล้วเสร็จ และคาดว่าจะสามารถเห็นความชัดเจนได้ภายในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2551
สำหรับการจัดตั้งบลจ.แห่งนี้จะเป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างบล.ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) (US) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มเอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และกลุ่มว่องกุศลกิจ ซึ่งเป็นอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ของบล.ยูไนเต็ด โดยโครงสร้างการถือหุ้น ประกอบด้วย บล.ยูไนเต็ด ในสัดส่วน 51% ส่วนกลุ่มว่องกุศลกิจจะถือหุ้นในบลจ.ในสัดส่วน 49% และทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งตัวแทนเข้ามาบริหารงานบริษัทแห่งใหม่ร่วมกัน ส่วนการนำบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแห่งนี้เข้าจดทะเบียนทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่นั้น ประธานกรรมการ APF Group กล่าวว่า จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาในอนาคต
ว่องกุศลกิจเพื่อนรักในเมืองไทย
"สาเหตุที่ทางกลุ่ม APF ตัดสินใจทำธุรกิจบลจ.ร่วมกับกลุ่มว่องกุศลกิจ เนื่องมาจากทางกลุ่มต้องการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนที่มีความน่าเชื่อถือในไทย และกลุ่มว่องกุศลกิจเองก็เป็นพันธมิตรที่ดีกับทางเอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และบล.ยูไนเต็ดมาโดยตลอด นับตั้งแต่ทางกลุ่มได้เข้ามาซื้อหุ้นในธุรกิจบล.ร่วมประมาณ 2 ปีครึ่งแล้ว ทั้งนี้ในช่วงเริ่มต้นบลจ.นี้ คงจะเน้นการทำธุรกิจภายในประเทศไทยก่อน เพราะเราเชื่อมั่นในศักยภาพการลงทุนที่ดีอยู่" นายมิทซึจิ กล่าว
ทั้งนี้ บลจ.ยูไนเต็ด มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ด้วยทุนจดทะเบียน 25,000,000 บาท แบ่งเป็น 250,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท โดยมีทุนชำระแล้วซึ่งเรียกชำระครั้งแรก 25% และจะชำระเต็มมูลค่าเมื่อได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง โดยจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวได้แจ้งแก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แล้วเมื่อวันนี้19 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ไม่เกิน 12.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของสินทรัพย์รวมของUS ณ วันที่ 30 กันยายน 2550
เป้าต่อไปนอนแบงก์ครบวงจร
ปัจจุบันทางกลุ่มAPF Group มีแผนที่จะขยายการทำธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้เข้ามาบริหารงานใน บล. ยูไนเต็ด และบริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL รวมทั้งบริษัทอื่นๆในประเทศไทย แล้ว ในปีนี้APF Group มีวัตถุประสงค์ ที่จะจัดตั้งกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินที่ไม่ใช้ธนาคาร (Nonbank finance group) แบบครบวงจรในประเทศไทยและภูมิภาค ซึ่งรวมไปถึงการจัดตั้งบลจ. แห่งใหม่ด้วย
นายมิทซึจิ กล่าวต่อว่า นอกจากการจัดตั้งบลจ.แล้ว เป้าหมายต่อไปที่ทางกลุ่มต้องการคือ หาบริษัทที่จะเข้ามาร่วมในเครือเพิ่มเติม นอกเหนือจากธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์และธุรกิจลีสซิ่ง โดยในปีนี้ทางกลุ่มคาดหวังที่จะมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการเงิน และบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์เข้ามาเสริมศักภาพ ซึ่งขณะนี้APF Group มีความสนใจที่จะซื้อกิจการของบริษัทดังกล่าวเพิ่มเติม โดยจะเป็นการลงทุนด้วยการถือหลักทรัพย์เกิน 50% ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวภายในไตรมาส 1 ของปีนี้เช่นกัน
ขณะเดียวกัน ในอนาคตถ้ากลุ่มธุรกิจใดมีการเติบโตสูง และมีปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคง ทางกลุ่มอาจมีการพิจารณาในศักยภาพของธุรกิจดังกล่าวเพิ่มเติมและอาจจะพิจารณาถึงการเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิธีซื้อกิจการ (Take over) หรือเข้าไปร่วมลงทุนในการถือหุ้นก็ตาม
ฐานลูกค้าแรกเริ่มการประสานงานในเครือ
นายมิทซึจิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันบริษัทในเครือของกลุ่มมีการประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของฐานข้อมูลลูกค้า ซึ่งทุกบริษัทในเครือต่างแบ่งบันฐานข้อมูลดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่เกิดความร่วมมือระหว่างกันขึ้น นอกจากนี้การซื้อกิจการ บมจ.กรุ๊ปลีส มาร่วมในกลุ่ม ทำให้ฐานลูกค้าของGL เข้ามามีส่วนช่วยส่งเสริมธุรกิจของบริษัทในเครือด้วยเช่นกัน
USเล็งสยายปีกลุยธุรกิจในญี่ปุ่น
ส่วนผลการดำเนินงานของธุรกิจของบล.ยูไนเต็ด นายมิทซึจิ กล่าวว่า ความผันผวนของดัชนีในปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบล แต่ บล.ยูไนเต็ดยังสามารถทำผลกำไรจากการดำเนินการได้ รวมทั้งบริษัทยังมีการพัฒนาในเชิงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องเน้นยำว่า การขยายส่วนแบ่งการตลาดนั้นไม่ใช้เป้าหมายหลักของ US อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ โดยงานด้านวานิชธนกิจนั้น นอกจากการเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัทในเครือแล้ว USยังมีบริษัทอื่นๆ โดยเฉพาะลูกค้าของ APF Group เข้ามาติดต่อให้ดำเนินการด้านวานิชธนกิจ ด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเลือกลูกค้า นอกจากนี้หากมีบริษัทในประเทศญี่ปุ่นหรือบริษัทที่เป็นสถาบันแสดงความต้องการเข้ามา ทาง US เองมีความพร้อมที่จะขยายงานในจุดนี้เพิ่มเติม เช่นกัน
ขณะเดียวกัน บล.ยูไนเต็ด อยู่ระหว่างการขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาการจัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ไลเซนต์) รวมทั้งแนวคิดการเข้าร่วมทุนกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นการเข้าไปถือหุ้นใหญ่ เพื่อที่จะเพิ่มช่องทางในการขยายธุรกิจ รวมทั้งฐานลูกค้าของบริษัท
"ปีนี้เรายังคงพยายามที่จะนำนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม รวมทั้งอยากชวนให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในญี่ปุ่นด้วย อาทิการเข้าซื้อหุ้นของ หุ้นในเวดจ์ โฮลดิ้ง ของ APF ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นจำนวน 40% มูลค่า 180 ล้านบาท เนื่องจากยังมีหลายบริษัทในญี่ปุ่นที่ศักยภาพดี และมีราคาหุ้นถูก เหมาะแก่การเข้าลงทุน ขณะเดียวกันหาก US ได้รับอนุญาติให้ประกอบธุรกิจในญี่ปุ่นได้ ก็คงจะมีการลงทุนผ่าน US แต่ตอนนี้กระบวนการดังกล่าวยังไม่ชัดเจน และมีหลายแนวทางที่จะสามารถดำเนินการได้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบริษัทที่ใบอนุญาติการลงทุนในญี่ปุ่นอยู่แล้ว หรือ การขอใบอนุญาติใหม่" นายมิทซึจิ กล่าว
ญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย
นายมิทซึจิ กล่าวปิดท้ายว่า สำหรับภาวะการลงทุนในตลาดทุนประเทศไทยในไตรมาส1/2551 แม้ว่ามีปัจจัยจากเรื่องการเมืองเข้ามาส่งผลกระทบต่อการลงทุนบ้าง แต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังเข็มแข็ง โดยเมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา ทาง APF Group ได้มีการจัดสัมมนาให้แก่กลุ่มลูกค้าของกลุ่ม เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญของญี่ปุ่น ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อเป็นการเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการลงทุนให้นักลงทุน หรือสถานบันการเงินเหล่านี้ได้รับทราบ โดยจากการบรรยายพบว่า นักลงทุนเหล่านี้แสดงความสนใจการลงทุนในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งในอนาคตอาจมีการลงทุนผ่านทาง เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และบล.ยูไนเต็ด เกิดขึ้น
"ภายในงานผมบอกว่าเมืองไทยดีที่สุด ที่สุด สำหรับลงทุน ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาฟังงานสัมมนาก็ให้ความสนใจการลงทุนในไทยเป็นอย่างมาก" นายมิทซึจิ กล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีมติให้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การมีสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้ บล.ดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว เพื่อรองรับการแข่งขันก่อนการเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ในอนาคต โดยอนุญาตให้ บล. สามารถแต่งตั้งผู้จัดการสาขา 1 คน ให้ดูแลรับผิดชอบมากกว่า 1 สาขา พร้อมทั้งออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่ออนุญาตให้ บล.สามารถมีสาขาในต่างประเทศได้ หากมีความพร้อมในด้านฐานะการเงิน ด้านระบบงาน และมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจที่ต่างประเทศ
โดยกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับการเปิดสาขาแห่งใหม่ โดยบล.ต้องมีระบบในการจัดการข้อร้องเรียนเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบล.กับลูกค้า หาก บล.เข้าร่วมโครงการอนุญาโตตุลาการของ ก.ล.ต.จะถือว่า บล.ได้จัดให้มีระบบดังกล่าวแล้ว และเห็นชอบหลักเกณฑ์การรับสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ซึ่งจะเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ในรอบนี้ตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 ถึง 30 เมษายน 2551
รวมทั้งปรับหลักเกณฑ์การประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) และการขายหลักทรัพย์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง และเพิ่มให้ตลาดหลักทรัพย์มีเสถียรภาพ โดยให้สามารถยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ทั้งที่อยู่ภายใต้การจัดการของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในประเทศและในต่างประเทศได้
ทั้งนี้ให้เพิ่มเติมประเภททรัพย์สินที่วางเป็นหลักประกันให้ครอบคลุมถึงเงินสดทุกสกุล หลักทรัพย์จดทะเบียนทุกประเภท ยกเว้นใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ และหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดที่เปิดขายหรือรับซื้อคืนทุกวันทำการ รวมทั้งสามารถนำเงินที่ได้รับจากการขายชอร์ตมาวางเป็นหลักประกันได้ด้วย การกำหนดสัดส่วนของยอดหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์จะให้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์และให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้ารายย่อยรายใดรายหนึ่ง เมื่อสิ้นวันต้องไม่เกิน 25% ของเงินกองทุนของ บล.และเมื่อรวมลูกค้าทุกรายแล้วต้องไม่เกิน 5 เท่าของเงินกองทุนของ บล.เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในการให้กู้ยืม และยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นภาระ
สำหรับหลักเกณฑ์การขายชอร์ตหลักทรัพย์ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ลูกค้าสามารถขายชอร์ตผ่านบัญชีเงินสดได้ ซึ่ง บล.ต้องมั่นใจว่า ลูกค้ายืมหลักทรัพย์ไว้แล้วและลูกค้าจะสามารถส่งมอบหลักทรัพย์ได้ภายในเวลาที่กำหนด รวมทั้งได้เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถยืมหลักทรัพย์ได้ ทั้งจาก บล.และจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (TSD) เพื่อส่งมอบกรณีผิดนัด
ปัจจุบัน เอพีเอฟ กรุ๊ป มีบริษัทในเครือจำนวน 13 บริษัท เช่น บริษัทซันวา โฮม เซอร์ จำกัด ดูแลจัดการการลงทุนในธุรกิจด้านสุขภาพ, กีฬา, และร้านอาหารในญี่ปุ่น, บริษัทบางกอก สเตชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด จัดทำข้อมูลด้านธุรกิจ การเงิน ลงสื่อสิ่งพิมพ์ ผ่านหนังสือพิมพ์ และ นิตยสารต่างประเทศ , บริษัท นันจา มนจา เอเชีย จำกัด ดำเนินธุรกิจภัตตาคารในสิงคโปร์ และไทย และล่าสุดบริษัทเว็ดจิ โฮลดิ้งส์ ดำเนินธุรกิจบันเทิงในการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น, เพลง รวมทั้งคอนเทนต์บนมือถือ เป็นต้น