สำนักงานประกัน (สปส.) เผยแผนการดำเนินงานปีนี้ทุ่มงบลงทุนเพิ่มเน้นลงทุนกองทุนเอฟไอเอฟเพิ่มอีก 5.5% จากเดิมที่ลงทุนเพียง 2.5% ส่วนที่เหลือยังคงกระจายการในหุ้นกู้เอกชน รวมทั้งหลักทรัพย์ในต่างประเทศ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เช่นเดิม ยืนยันกุมภาพันธ์นี้เปลี่ยนบอร์ดใหม่ แต่นโยบายลงทุนยังคงเดิม
นายวิน พรหมแพทย์ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยถึงกรณีเรื่องคณะกรรมการผู้บริหารของสำนักงานประกันสังคมที่จะหมดวาระในการบริหารช่วงเดือนกุมภาพันธ์ นี้ว่า เรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อนโยบายการบริหารการลงทุนแต่อย่างใด โดยยังคงเป็นนโยบายเดิมจากที่ได้กล่าวไว้ในช่วงเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่อย่างไรตามในการเปลี่ยนแปลงเรื่องของนโยบายการลงทุนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกัน เพราะต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารท่านใหม่ที่จะเข้ามาบริหารว่าจะทำการคงไว้ซึ่งนโยบายการลงทุนเดิม หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประกันสังคมนั้น คาดว่าในปีนี้สปส. จะจัดเก็บเงินสมทบได้ประมาณ 108,000 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายสิทธิประโยชน์และค่าใช้จ่ายบริหารประมาณ 43,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีเงินคงเหลือนำไปลงทุนประมาณ 65,000 ล้านบาท และส่วนใหญ่จะเป็นเงินที่ออมไว้รอจ่ายเป็นบำนาญชราภาพในอนาคต
โดยแผนการลงทุนในเงินจำนวนดังกล่าวนั้น สปส. ยังคงเน้นการกระจายลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน หุ้นสามัญ หลักทรัพย์ในต่างประเทศ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยจะลงทุนเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยงด้วย
ขณะที่ ในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้น สปส. มีแผนจะทยอยลงทุนให้ครบตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้วจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อปีที่แล้วจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นประมาณ 14,000 ล้านบาท โดยจำกัดการลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีความมั่นคงสูง มีอันดับเครดิต BBB ขึ้นไป และมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเคร่งครัด และคาดว่าหากลงทุนได้ตามแผน กองทุนจะมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 2.5% ในปัจจุบันเป็น 5.5%
นายวิน กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 499,912 ล้านบาท โดยกองทุนได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ 8.71% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ได้ผลตอบแทนเพียง 5.04% ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากภาวะตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน รวมถึงการรักษาวินัยการลงทุนอย่างเคร่งครัด และการกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จึงทำให้สปส.ได้รับผลตอบแทนอยู่ในระดับดี
โดยเงินจำนวนดังกล่าวปีที่ผ่านมาสปส.ได้นำเงินเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคง ซึ่งประกอบไปด้วย พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน 17.69% หุ้นกู้เอกชน 8.66% และเงินฝากธนาคาร 1.20% รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 412,370 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82% ของเงินลงทุน นอกนี้ในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น ตราสารหนี้ 5.28% หุ้นกู้สามัญ 9.29% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร้อพเพอร์ตี้ฟันด์) และกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) รวมหน่วยลงทุน 2.94% รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 87,542 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ของเงินลงทุน
สำหรับเงินลงทุนจำนวน 499,912 ล้านบาทนี้ แบ่งเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 398,488 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่าเก้าล้านรายทั่วประเทศ ที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เพื่อเตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี 2557 ซึ่งเป็นเงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ รวมถึงการคลอดบุตร รวมทั้งสิ้นประมาณ 72,736 ล้านบาท และเป็นเงินกองทุนกรณีว่างงานอีก 28,688 ล้านบาท
นายวิน พรหมแพทย์ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยถึงกรณีเรื่องคณะกรรมการผู้บริหารของสำนักงานประกันสังคมที่จะหมดวาระในการบริหารช่วงเดือนกุมภาพันธ์ นี้ว่า เรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อนโยบายการบริหารการลงทุนแต่อย่างใด โดยยังคงเป็นนโยบายเดิมจากที่ได้กล่าวไว้ในช่วงเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่อย่างไรตามในการเปลี่ยนแปลงเรื่องของนโยบายการลงทุนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกัน เพราะต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารท่านใหม่ที่จะเข้ามาบริหารว่าจะทำการคงไว้ซึ่งนโยบายการลงทุนเดิม หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประกันสังคมนั้น คาดว่าในปีนี้สปส. จะจัดเก็บเงินสมทบได้ประมาณ 108,000 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายสิทธิประโยชน์และค่าใช้จ่ายบริหารประมาณ 43,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีเงินคงเหลือนำไปลงทุนประมาณ 65,000 ล้านบาท และส่วนใหญ่จะเป็นเงินที่ออมไว้รอจ่ายเป็นบำนาญชราภาพในอนาคต
โดยแผนการลงทุนในเงินจำนวนดังกล่าวนั้น สปส. ยังคงเน้นการกระจายลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน หุ้นสามัญ หลักทรัพย์ในต่างประเทศ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยจะลงทุนเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยงด้วย
ขณะที่ ในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้น สปส. มีแผนจะทยอยลงทุนให้ครบตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้วจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อปีที่แล้วจำนวน 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นประมาณ 14,000 ล้านบาท โดยจำกัดการลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีความมั่นคงสูง มีอันดับเครดิต BBB ขึ้นไป และมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเคร่งครัด และคาดว่าหากลงทุนได้ตามแผน กองทุนจะมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 2.5% ในปัจจุบันเป็น 5.5%
นายวิน กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 499,912 ล้านบาท โดยกองทุนได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ 8.71% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ได้ผลตอบแทนเพียง 5.04% ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากภาวะตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน รวมถึงการรักษาวินัยการลงทุนอย่างเคร่งครัด และการกระจายการลงทุนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จึงทำให้สปส.ได้รับผลตอบแทนอยู่ในระดับดี
โดยเงินจำนวนดังกล่าวปีที่ผ่านมาสปส.ได้นำเงินเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคง ซึ่งประกอบไปด้วย พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน 17.69% หุ้นกู้เอกชน 8.66% และเงินฝากธนาคาร 1.20% รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 412,370 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82% ของเงินลงทุน นอกนี้ในส่วนของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น ตราสารหนี้ 5.28% หุ้นกู้สามัญ 9.29% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร้อพเพอร์ตี้ฟันด์) และกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) รวมหน่วยลงทุน 2.94% รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 87,542 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ของเงินลงทุน
สำหรับเงินลงทุนจำนวน 499,912 ล้านบาทนี้ แบ่งเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 398,488 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่าเก้าล้านรายทั่วประเทศ ที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เพื่อเตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี 2557 ซึ่งเป็นเงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ รวมถึงการคลอดบุตร รวมทั้งสิ้นประมาณ 72,736 ล้านบาท และเป็นเงินกองทุนกรณีว่างงานอีก 28,688 ล้านบาท