“สำนักงานประกันสังคม”ระบุอยากเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรและหุ้นไทยมากขึ้น แต่อุปทานยังมีจำกัด โดยเฉพาะตลาดหุ้นที่มีขนาดเล็ก อีกทั้งขาดแคลนหุ้น IPOขนาดใหญ่ แต่ในภาพรวมยังมีปัจจัยพื้นฐานดี คาดให้ผลตอบแทน 8.0 - 10.0% ต่อปี สูงกว่าเงินเฟ้อ ยืนยันเป้าหมายเดิมโกยกำไรลงทุน 2.5 หมื่นล้านบาท
นายวิน พรหมแพทย์ รองโฆษก สำนักงานประกันสังคม (สปส.)กล่าวว่า ในช่วงนี้กองทุนประกันสังคมได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินไม่ต่างจากกองทุนรวมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งจากตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน ดังนั้นกองทุนสปส.จึงปรับตัวโดยการทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวในระยะยาว ซึ่งกลุ่มหลักทรัพย์ที่จะเข้าลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ชนะเงินเฟ้อได้แก่ หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ทองคำ อย่างไรก็ตามในปี 2551 สปส.จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 4-5% ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งได้ผลตอบแทน 6.93% เพราะปีที่แล้วผลตอบแทนจากหุ้นดีมาก
ส่วนของกำไรนั้น คาดว่าปีนี้สปส.จะได้รับกำไรจากการลงทุนตลอดทั้งปีประมาณ 25,000 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งได้กำไรจากการลงทุน 21,109 ล้านบาท
รองโฆษก สปส. กล่าวว่า ในแง่ของเป้าหมายปีนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเป้าหมายของสปส.คือการนำเงินออมของผู้ประกันตนกว่า 9.2 ล้านคนทั่วประเทศไปลงทุนให้เกิดดอกผล เพื่อให้กองทุนมีเงินมากพอรองรับภาระการจ่ายบำนาญในอนาคต
ขณะที่ ทิศทางการทำงาน สปส.ได้เล็งเห็นมาโดยตลอดว่า ความเสี่ยงสำคัญที่สุดของกองทุนสปส.นั่นคือ เงินเฟ้อทำให้สำนักงานได้ปรับตัวมาโดยตลอด ดังนั้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สำนักงานได้ทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนกองทุนไปมากแล้ว จากเดิมที่ลงทุนเฉพาะในเงินฝากและพันธบัตรซึ่งมีความมั่นคงแต่ได้ดอกเบี้ยต่ำซึ่งที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนประมาณ 4.0-6.0% ต่อปี แล้วหันมาลงทุนในหุ้นสามัญและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นแต่มีผลตอบแทนในระยะยาวประมาณ 8.0-10.0% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีวงเงินลงทุนในต่างประเทศรวม 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบเป็นเงินลงทุนจำนวน 24,435 ล้านบาท และคิดเป็น 5% ของเงินลงทุน โดยเป็นการทยอยลงทุนตั้งแต่ปี 2545 - ปัจจุบัน และเป็นการลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ และหุ้นกู้ต่างประเทศที่มีอันดับเครดิตในระดับ Investment Gradc ซึ่งมีความมั่นคงสูงมาก และไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินโลกในขณะนี้
สำหรับ เงินลงทุนอีก 95% สปส.ได้ทำการลงทุนในประเทศไทยทั้งหมด โดยแบ่งเป็น พันธบัตรรัฐบาลไทย 54% พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน 19% หุ้นกู้เอกชน 8% ตราสารหนี้อื่น ๆ 4% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 0.5% และหุ้นไทย 9%
อย่างไรก็ตาม สปส.มีความต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรไทยและหุ้นไทยมากขึ้น แต่อุปทานพันธบัตรและหุ้นมีจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม และตลาดหุ้นไทยขาดแคลนหุ้น IPO ขนาดใหญ่ทำให้สำนักงานไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรไทยและหุ้นไทยได้มากนัก
นายวิน ยังกล่าวต่ออีกว่า ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจเอกชนจะประสบปัญหาต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจจะมีกำไรน้อยลง แต่ตลาดหุ้นไทยในภาพรวมยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี การลงทุนในหุ้นจัดเป็นกลุ่มหลักทรัพย์หนึ่งที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนในระดับ 8.0 - 10.0% ต่อปี สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เหมาะสมกับกองทุนบำนาญอย่างกองทุนประกันสังคม แต่มีข้อแม้ว่าต้องลงทุนในระยะยาว สปส.จึงยึดถือหลักการสำคัญในฐานะนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของประเทศ โดยเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีในระดับราคาที่เหมาะสม และถือลงทุนระยะยาว 5-10 ปีขึ้นไป เมื่อทำได้เช่นนี้ กองทุนจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากความผันผวนของตลาดหุ้นในระยะสั้น
ก่อนหน้านี้ นาย สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า หากสถานการณ์เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากจะกระทบต่อผลการลงทุน และจะมีผลต่อกำไรงวดสิ้นปีจะน้อยลงจากปีที่แล้วที่ได้รับ 8.71% ซึ่งยอมรับว่าการบริหารเงินในขณะนี้เป็นไปอย่างลำบากและต้องรอบคอบให้มากที่สุด ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้น ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาหุ้นตกนั้นคิดว่าไม่ส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของสปส.
ส่วนปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่กระทบกับกองทุนบำนาญทั่วโลกเหมือนๆ กัน เนื่องจากกองทุนบำนาญมีภาระในการนำเงินไปลงทุนเพื่อหาดอกผลให้มากพอที่จะรองรับภาระการจ่ายบำนาญในอนาคต เมื่ออัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น เงินบำนาญที่สมาชิกกองทุนจะได้รับในอนาคตจะมีมูลค่าที่แท้จริงน้อยลง
นายวิน พรหมแพทย์ รองโฆษก สำนักงานประกันสังคม (สปส.)กล่าวว่า ในช่วงนี้กองทุนประกันสังคมได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินไม่ต่างจากกองทุนรวมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งจากตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน ดังนั้นกองทุนสปส.จึงปรับตัวโดยการทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวในระยะยาว ซึ่งกลุ่มหลักทรัพย์ที่จะเข้าลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ชนะเงินเฟ้อได้แก่ หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ทองคำ อย่างไรก็ตามในปี 2551 สปส.จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 4-5% ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งได้ผลตอบแทน 6.93% เพราะปีที่แล้วผลตอบแทนจากหุ้นดีมาก
ส่วนของกำไรนั้น คาดว่าปีนี้สปส.จะได้รับกำไรจากการลงทุนตลอดทั้งปีประมาณ 25,000 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งได้กำไรจากการลงทุน 21,109 ล้านบาท
รองโฆษก สปส. กล่าวว่า ในแง่ของเป้าหมายปีนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเป้าหมายของสปส.คือการนำเงินออมของผู้ประกันตนกว่า 9.2 ล้านคนทั่วประเทศไปลงทุนให้เกิดดอกผล เพื่อให้กองทุนมีเงินมากพอรองรับภาระการจ่ายบำนาญในอนาคต
ขณะที่ ทิศทางการทำงาน สปส.ได้เล็งเห็นมาโดยตลอดว่า ความเสี่ยงสำคัญที่สุดของกองทุนสปส.นั่นคือ เงินเฟ้อทำให้สำนักงานได้ปรับตัวมาโดยตลอด ดังนั้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สำนักงานได้ทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนกองทุนไปมากแล้ว จากเดิมที่ลงทุนเฉพาะในเงินฝากและพันธบัตรซึ่งมีความมั่นคงแต่ได้ดอกเบี้ยต่ำซึ่งที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนประมาณ 4.0-6.0% ต่อปี แล้วหันมาลงทุนในหุ้นสามัญและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นแต่มีผลตอบแทนในระยะยาวประมาณ 8.0-10.0% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีวงเงินลงทุนในต่างประเทศรวม 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบเป็นเงินลงทุนจำนวน 24,435 ล้านบาท และคิดเป็น 5% ของเงินลงทุน โดยเป็นการทยอยลงทุนตั้งแต่ปี 2545 - ปัจจุบัน และเป็นการลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ และหุ้นกู้ต่างประเทศที่มีอันดับเครดิตในระดับ Investment Gradc ซึ่งมีความมั่นคงสูงมาก และไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินโลกในขณะนี้
สำหรับ เงินลงทุนอีก 95% สปส.ได้ทำการลงทุนในประเทศไทยทั้งหมด โดยแบ่งเป็น พันธบัตรรัฐบาลไทย 54% พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน 19% หุ้นกู้เอกชน 8% ตราสารหนี้อื่น ๆ 4% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 0.5% และหุ้นไทย 9%
อย่างไรก็ตาม สปส.มีความต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรไทยและหุ้นไทยมากขึ้น แต่อุปทานพันธบัตรและหุ้นมีจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม และตลาดหุ้นไทยขาดแคลนหุ้น IPO ขนาดใหญ่ทำให้สำนักงานไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรไทยและหุ้นไทยได้มากนัก
นายวิน ยังกล่าวต่ออีกว่า ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจเอกชนจะประสบปัญหาต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจจะมีกำไรน้อยลง แต่ตลาดหุ้นไทยในภาพรวมยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี การลงทุนในหุ้นจัดเป็นกลุ่มหลักทรัพย์หนึ่งที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนในระดับ 8.0 - 10.0% ต่อปี สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เหมาะสมกับกองทุนบำนาญอย่างกองทุนประกันสังคม แต่มีข้อแม้ว่าต้องลงทุนในระยะยาว สปส.จึงยึดถือหลักการสำคัญในฐานะนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของประเทศ โดยเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีในระดับราคาที่เหมาะสม และถือลงทุนระยะยาว 5-10 ปีขึ้นไป เมื่อทำได้เช่นนี้ กองทุนจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากความผันผวนของตลาดหุ้นในระยะสั้น
ก่อนหน้านี้ นาย สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า หากสถานการณ์เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากจะกระทบต่อผลการลงทุน และจะมีผลต่อกำไรงวดสิ้นปีจะน้อยลงจากปีที่แล้วที่ได้รับ 8.71% ซึ่งยอมรับว่าการบริหารเงินในขณะนี้เป็นไปอย่างลำบากและต้องรอบคอบให้มากที่สุด ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้น ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาหุ้นตกนั้นคิดว่าไม่ส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของสปส.
ส่วนปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่กระทบกับกองทุนบำนาญทั่วโลกเหมือนๆ กัน เนื่องจากกองทุนบำนาญมีภาระในการนำเงินไปลงทุนเพื่อหาดอกผลให้มากพอที่จะรองรับภาระการจ่ายบำนาญในอนาคต เมื่ออัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น เงินบำนาญที่สมาชิกกองทุนจะได้รับในอนาคตจะมีมูลค่าที่แท้จริงน้อยลง