กระทรวงการคลังเตรียมแผนออกกู้เงินปี 52 กว่า 5 แสนล้านบาท เฉพาะพันธบัตร 4 แสนล้าน เพิ่มลูกเล่นเพียบสร้างสีสันตลาดออกประเภทลอยตัวตามเงินเฟ้อช่วยประกันเงินต้น บอนด์เพื่อการศึกษาและบอนด์กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น ฟุ้งเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนหลังรัฐบาลตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยแผนการกู้เงินภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2552 ว่า มีวงเงินทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 2.5 แสนล้านบาท การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ ซึ่งประกอบไปด้วยหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหนี้เดิมของรัฐบาลบางส่วน 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการกู้เงินเพื่อใช้ในการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ในวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
รูปแบบในการกู้เงินดังกล่าวจะเป็นการกู้เงินด้วยพันธบัตรรัฐบาลประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยกระจายเป็นพันธบัตรอายุต่างๆ รวม 6 รุ่น ประกอบด้วย 2, 5, 10, 15, 20 และ 30 ปี โดยรุ่นที่มีสัดส่วนมากที่สุดคือรุ่น 5 ปีและ 10 ปี และจะมีการศึกษาการอกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมบางส่วนจากเดิมที่มีวงเงินคงค้าง 1.49 แสนล้านบาท นอกจากนี้อาจให้รัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของโครงการเมกะโปรเจกต์เองเป็นผู้ออกพันธบัตรและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
“ ณ ขณะนี้ทิศทางดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นดังนั้นความต้องการในตลาดจึงต้องการพันธบัตรที่มีอายุสั้นจึงทำให้รัฐบาลตัดสินใจที่จะออกพันธบัตรอายุ 2 ปีด้วยบางส่วน แต่ในแง่ของการระดมทุนเพื่อก่อสร้างเมกกะโปรเจกต์นั้นรัฐบาลต้องการที่จะออกพันธบัตรระยะยาวเพื่อล็อกอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่ต่ำ อย่างไรก็ตามสัดส่วนที่ชัดเจนของวิธีการระดมทุนจะมีความชัดเจนหลังจากที่ได้หารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่สองของเดือนสิงหาคม” นายพงษ์ภาณุกล่าว
นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังมีรูปแบบในการระดมเงินแบบใหม่คือพันธบัตรรัฐบาลที่อ้างอิงผลตอบแทนเงินเฟ้อ (Inflation linked bond) ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุนระยะยาวเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประชาชนรายย่อยเพื่อเป็นทางเลือกในการออมในยุคที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการหารือกับประเทศไทย (ธปท.) แล้วและเห็นด้วยในหลักการ และจะเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารเงินเฟ้อของ ธปท.ได้ในระดับหนึ่ง
“พันธบัตรดังกล่าวจะมีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวโดยอ้างอิงกับดัชนีราคาสินค้า(CPI) และเพิ่มผลตอบแทนพิเศษ เช่น เมื่อ CPI เท่ากับ 7.6% หากให้ผลตอบแทน +1% นักลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทน 8.6% เป็นต้น ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อแน่นอนและนักลงทุนน่าจะให้ความสนใจซื้อพันธบัตรนี้” นายพงษ์ภาณุกล่าว
ส่วนพันธบัตรในรูปแบบอื่นๆ ที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปและนักลงทุนสถาบันนั้น มีพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อการศึกษาอายุประมาณ 10-15 ปี โดยจะให้ พ่อ แม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นผู้ซื้อพันธบัตรไว้และครบกำหนดจะอยู่ในช่วงที่เด็กต้องใช้เงินสำหรับการศึกษามากในช่วงอุดมศึกษาก็จะมีเงินส่วนนี้สำหรับใช้จ่ายพอดี และยังมีพันธบัตรประเภทกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคซึ่งเน้นขายให้กับรายย่อยรายละไม่เกิน 5 แสนบาท
“การที่กระทรวงการคลังเพิ่มประเภทการออกพันธบัตรให้มีความหลากหลายมากขึ้นนั้นส่วนหนึ่งต้องการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออม และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้ทำให้ประชาชนทั่วไปต้องกระจายความเสี่ยงในการฝากเงินนอกจากธนาคารพาณิชย์เพียงอย่างเดียว” นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยแผนการกู้เงินภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2552 ว่า มีวงเงินทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 2.5 แสนล้านบาท การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ ซึ่งประกอบไปด้วยหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหนี้เดิมของรัฐบาลบางส่วน 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการกู้เงินเพื่อใช้ในการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ในวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
รูปแบบในการกู้เงินดังกล่าวจะเป็นการกู้เงินด้วยพันธบัตรรัฐบาลประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยกระจายเป็นพันธบัตรอายุต่างๆ รวม 6 รุ่น ประกอบด้วย 2, 5, 10, 15, 20 และ 30 ปี โดยรุ่นที่มีสัดส่วนมากที่สุดคือรุ่น 5 ปีและ 10 ปี และจะมีการศึกษาการอกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมบางส่วนจากเดิมที่มีวงเงินคงค้าง 1.49 แสนล้านบาท นอกจากนี้อาจให้รัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของโครงการเมกะโปรเจกต์เองเป็นผู้ออกพันธบัตรและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
“ ณ ขณะนี้ทิศทางดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นดังนั้นความต้องการในตลาดจึงต้องการพันธบัตรที่มีอายุสั้นจึงทำให้รัฐบาลตัดสินใจที่จะออกพันธบัตรอายุ 2 ปีด้วยบางส่วน แต่ในแง่ของการระดมทุนเพื่อก่อสร้างเมกกะโปรเจกต์นั้นรัฐบาลต้องการที่จะออกพันธบัตรระยะยาวเพื่อล็อกอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่ต่ำ อย่างไรก็ตามสัดส่วนที่ชัดเจนของวิธีการระดมทุนจะมีความชัดเจนหลังจากที่ได้หารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่สองของเดือนสิงหาคม” นายพงษ์ภาณุกล่าว
นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังมีรูปแบบในการระดมเงินแบบใหม่คือพันธบัตรรัฐบาลที่อ้างอิงผลตอบแทนเงินเฟ้อ (Inflation linked bond) ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุนระยะยาวเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประชาชนรายย่อยเพื่อเป็นทางเลือกในการออมในยุคที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการหารือกับประเทศไทย (ธปท.) แล้วและเห็นด้วยในหลักการ และจะเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารเงินเฟ้อของ ธปท.ได้ในระดับหนึ่ง
“พันธบัตรดังกล่าวจะมีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวโดยอ้างอิงกับดัชนีราคาสินค้า(CPI) และเพิ่มผลตอบแทนพิเศษ เช่น เมื่อ CPI เท่ากับ 7.6% หากให้ผลตอบแทน +1% นักลงทุนก็จะได้รับผลตอบแทน 8.6% เป็นต้น ซึ่งพันธบัตรดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อแน่นอนและนักลงทุนน่าจะให้ความสนใจซื้อพันธบัตรนี้” นายพงษ์ภาณุกล่าว
ส่วนพันธบัตรในรูปแบบอื่นๆ ที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปและนักลงทุนสถาบันนั้น มีพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อการศึกษาอายุประมาณ 10-15 ปี โดยจะให้ พ่อ แม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นผู้ซื้อพันธบัตรไว้และครบกำหนดจะอยู่ในช่วงที่เด็กต้องใช้เงินสำหรับการศึกษามากในช่วงอุดมศึกษาก็จะมีเงินส่วนนี้สำหรับใช้จ่ายพอดี และยังมีพันธบัตรประเภทกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคซึ่งเน้นขายให้กับรายย่อยรายละไม่เกิน 5 แสนบาท
“การที่กระทรวงการคลังเพิ่มประเภทการออกพันธบัตรให้มีความหลากหลายมากขึ้นนั้นส่วนหนึ่งต้องการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออม และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้ทำให้ประชาชนทั่วไปต้องกระจายความเสี่ยงในการฝากเงินนอกจากธนาคารพาณิชย์เพียงอย่างเดียว” นายพงษ์ภาณุกล่าว