สำนักงานประกันสังคม เผยปรับเพิ่มค่าจัดการศพใหม่ จากเดิม 3 หมื่นบาทเป็น 4 หมื่นบาท ระบุมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.50
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.ได้ปรับเพิ่มการจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตายของกองทุนประกันสังคม โดยจ่ายค่าทำศพให้แก่ผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากเดิม 30,000 บาท เพิ่มเป็น 40,000 บาท เพื่อเป็นค่าจัดการศพ เมื่อผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค. 2550 โดยผู้มีสิทธิสามารถนำหลักฐาน คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) สำเนาบัตรประชาชนของผู้จัดการศพ หลักฐานจากฌาปณสถาน หรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ สำเนาใบมรณบัตร สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้จัดการศพ กรณีรับเงินทางธนาคาร
นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิจะได้รับคืนเงินออมกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีตาย ถ้าผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี ให้ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างโดยเฉลี่ย 1 เดือนครึ่ง เช่น เงินเดือน 10,000 บาท รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 15,000 บาท แต่ถ้าผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 10 ปีขึ้นไปให้ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างโดยเฉลี่ย 5 เดือน เช่น เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 50,000 บาท โดยเงินสงเคราะห์กรณีตายนี้จะจ่ายก็ต่อเมื่อเป็นบุคคลที่ผู้ประกันตนระบุให้เป็นผู้รับสิทธิประโยชน์โดยการทำหนังสือระบุไว้
นายสุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า หากผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ว่าให้ใครเป็นผู้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ทาง สปส.จะจ่ายให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือ บิดา มารดา ภรรยา และบุตรโดยหารเฉลี่ยในอัตราคนละเท่าๆ กัน จึงแนะให้ผู้ประกันตนโสด ที่ไม่มีทายาท ควรทำหนังสือระบุชื่อผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตายให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างรับประโยชน์ทดแทน หากไม่มีผู้รับประโยชน์ทดแทน เงินส่วนนั้นจะตกเป็นของกองทุนประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.ได้ปรับเพิ่มการจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตายของกองทุนประกันสังคม โดยจ่ายค่าทำศพให้แก่ผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากเดิม 30,000 บาท เพิ่มเป็น 40,000 บาท เพื่อเป็นค่าจัดการศพ เมื่อผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค. 2550 โดยผู้มีสิทธิสามารถนำหลักฐาน คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) สำเนาบัตรประชาชนของผู้จัดการศพ หลักฐานจากฌาปณสถาน หรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ สำเนาใบมรณบัตร สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้จัดการศพ กรณีรับเงินทางธนาคาร
นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิจะได้รับคืนเงินออมกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีตาย ถ้าผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี ให้ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างโดยเฉลี่ย 1 เดือนครึ่ง เช่น เงินเดือน 10,000 บาท รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 15,000 บาท แต่ถ้าผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 10 ปีขึ้นไปให้ได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างโดยเฉลี่ย 5 เดือน เช่น เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 50,000 บาท โดยเงินสงเคราะห์กรณีตายนี้จะจ่ายก็ต่อเมื่อเป็นบุคคลที่ผู้ประกันตนระบุให้เป็นผู้รับสิทธิประโยชน์โดยการทำหนังสือระบุไว้
นายสุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า หากผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือระบุไว้ว่าให้ใครเป็นผู้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ทาง สปส.จะจ่ายให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือ บิดา มารดา ภรรยา และบุตรโดยหารเฉลี่ยในอัตราคนละเท่าๆ กัน จึงแนะให้ผู้ประกันตนโสด ที่ไม่มีทายาท ควรทำหนังสือระบุชื่อผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์กรณีตายให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างรับประโยชน์ทดแทน หากไม่มีผู้รับประโยชน์ทดแทน เงินส่วนนั้นจะตกเป็นของกองทุนประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด