ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
สวัสดีปีใหม่ครับท่านนักลงทุนทุกท่าน ท่านนักลงทุนได้ตรวจเช็คดูบ้างหรือยังครับว่าปีที่แล้วท่านนักลงทุนได้บรรลุเป้าหมายการลงทุนหรือไม่ ตอนนี้ก็เริ่มปีใหม่กันแล้ว ท่านนักลงทุนได้วางแผนการเงินกันไว้บ้างหรือยังครับ
ในช่วงต้นปี นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนทางการเงิน เพราะเป็นช่วงที่ท่านนักลงทุนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างผม ได้เริ่มรับเงินเดือนในอัตราใหม่ พร้อมกับรับเงินโบนัสอีกจำนวนหนึ่ง บางท่านอาจจะวางแผนว่าพอได้เงินมาแล้วจะซื้อของที่อยากได้ เพื่อเป็นรางวัลให้กับชีวิตตัวเอง ซึ่งตรงนี้ผมเห็นด้วยครับว่าเราควรให้รางวัลกับตัวเองบ้าง แต่อย่าลืมวางแผนการเงินของท่านนะครับ
อย่าลืมวางแผนภาษี
สิ่งที่ตามมาแน่นอนสำหรับการที่ท่านมีรายได้เพิ่มขึ้นก็คือ ท่านจะมีภาระที่ต้องจ่ายภาษีมากขึ้น ท่านนักลงทุนเป็นจำนวนมากมักจะเข้าซื้อกองทุนที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อย่าง LTF และ RMF ในช่วงปลายปี ซึ่งการที่เข้าซื้อทีเดียว จะทำให้ต้นทุนที่ท่านลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีมีราคาเดียว แต่หากท่านนักลงทุนทยอยซื้อสะสมไปเรื่อยๆ ต้นทุนของท่านก็จะเฉลี่ยออกไป ทำให้โอกาสที่ท่านนักลงทุนอาจจะได้ต้นทุนการลงทุนที่ถูกกว่ามีมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าโอกาสที่ท่านนักลงทุนจะได้กำไรสะสมมีมากขึ้นด้วย
ปรับตัวเลขการออมใหม่
ท่านนักลงทุนส่วนมากนิยมแบ่งเงินออมตามสัดส่วนของเงินเดือนที่ได้รับ ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านนักลงทุนมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ท่านอาจจะแบ่งเงิน 30% หรือประมาณ 9,000 บาท ออกมาเก็บเป็นเงินออม ซึ่งจะทำให้ในแต่ละปีท่านนักลงทุนสามารถออมเงินได้ 108,000 บาท พร้อมกับดอกเบี้ยที่ได้รับอีกจำนวนหนึ่ง และสมมุติว่าในปีนี้ท่านนักลงทุนได้เงินเดือนเพิ่มอีก 5% จากปีก่อน ทำให้เงินเดือนของท่านเป็น 31,500 บาท หากท่านนักลงทุนแบ่งเงิน 30% เป็นเงินออมเท่าเดิม ท่านนักลงทุนจะสามารถออมได้เดือนละ 9,450 บาท หรือคิดเป็นปีละ 113,400 บาท พร้อมดอกเบี้ย แต่หากท่านนักลงทุนใช้จ่ายเท่ากับปีที่แล้วคือ 21,000 บาท (30,000 – 9,000 = 21,000) ท่านจะสามารถออมได้เดือนละ 10,500 บาท หรือคิดเป็นปีละ 126,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งมากกว่าเงินออมปีที่แล้วประมาณ 18,000 บาท
ลดภาระหนี้สิน
นอกจากการออมแล้ว การชำระหนี้สินเป็นการช่วยลดภาระทางการเงินของท่าน เพราะจะช่วยให้ท่านนักลงทุนมีภาระในการใช้จ่ายลดลง และทำให้ท่านนักลงทุนมีอิสระทางการเงินมากขึ้น ท่านควรวางแผนว่าท่านควรจะชำระค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ บัตรเครดิต เป็นจำนวนเท่าใด โดยไม่กระทบแผนการออมของท่าน และในขณะเดียวกันจะทำให้ท่านมีภาระหนี้สินลดลงด้วย ซึ่งในจุดนี้ ท่านนักลงทุนจะต้องลองคำนวณดูว่าการชำระหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและการออมเป็นจำนวนเท่าใดจะให้ประโยชน์แก่ท่านมากที่สุด
ประมาณรายจ่าย
การประมาณรายจ่ายจะช่วยให้ท่านสามารถวางแผนการณ์การใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น ท่านนักลงทุนอาจวางแผนล่วงหน้าว่าท่านจะต้องใช้จ่ายในสิ่งใดบ้าง เช่น นอกจากค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ชำระหนี้บัตรเครดิตแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย เช่น ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าเครื่องแต่งกาย ค่าสมาชิกต่างๆ เป็นต้น ท่านนักลงทุนอาจจะใช้ข้อมูลจากปีที่แล้วมาเป็นฐานในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดแนวทางการใช้จ่ายในปีนี้ หากท่านนักลงทุนไม่ได้จดบันทึกการใช้จ่ายในปีที่แล้วไว้ ท่านอาจจะเริ่มทำในปีนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ตัวท่านเอง
แบ่งเงินลงทุนใหม่
เมื่อเวลาผ่านไป ความสามารถในการรับความเสี่ยงของท่านนักลงทุนย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ท่านนักลงทุนรับความเสี่ยงได้น้อยลง ในขณะเดียวกัน ท่านนักลงทุนอาจมีรายได้มากขึ้น ทำให้มีเงินลงทุนได้มากขึ้น ท่านนักลงทุนอาจยึดหลักการแบ่งเงินลงทุนแบบง่ายๆโดยใช้หลัก 100 ลบด้วย อายุปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ได้คือสัดส่วนที่ท่านนักลงทุนควรลงทุนในหุ้น ตัวอย่างเช่น หากท่านนักลงทุนมีอายุ 30 ปี ท่านนักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ 30% และลงทุนในหุ้น 70% เป็นต้น
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆสำหรับการวางแผนทางการเงินของท่าน ซึ่งท่านนักลงทุนบางท่านอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องคำนึงถึงมากกว่านี้ ท้ายนี้หวังว่าปีนี้จะเป็นปีทองอีกปีหนึ่งของท่านนักลงทุนนะครับ อย่าลืมนะครับ การลงทุนมีความเสี่ยง ท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ
นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส
บลจ.อยุธยา จำกัด
สวัสดีปีใหม่ครับท่านนักลงทุนทุกท่าน ท่านนักลงทุนได้ตรวจเช็คดูบ้างหรือยังครับว่าปีที่แล้วท่านนักลงทุนได้บรรลุเป้าหมายการลงทุนหรือไม่ ตอนนี้ก็เริ่มปีใหม่กันแล้ว ท่านนักลงทุนได้วางแผนการเงินกันไว้บ้างหรือยังครับ
ในช่วงต้นปี นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนทางการเงิน เพราะเป็นช่วงที่ท่านนักลงทุนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างผม ได้เริ่มรับเงินเดือนในอัตราใหม่ พร้อมกับรับเงินโบนัสอีกจำนวนหนึ่ง บางท่านอาจจะวางแผนว่าพอได้เงินมาแล้วจะซื้อของที่อยากได้ เพื่อเป็นรางวัลให้กับชีวิตตัวเอง ซึ่งตรงนี้ผมเห็นด้วยครับว่าเราควรให้รางวัลกับตัวเองบ้าง แต่อย่าลืมวางแผนการเงินของท่านนะครับ
อย่าลืมวางแผนภาษี
สิ่งที่ตามมาแน่นอนสำหรับการที่ท่านมีรายได้เพิ่มขึ้นก็คือ ท่านจะมีภาระที่ต้องจ่ายภาษีมากขึ้น ท่านนักลงทุนเป็นจำนวนมากมักจะเข้าซื้อกองทุนที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อย่าง LTF และ RMF ในช่วงปลายปี ซึ่งการที่เข้าซื้อทีเดียว จะทำให้ต้นทุนที่ท่านลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีมีราคาเดียว แต่หากท่านนักลงทุนทยอยซื้อสะสมไปเรื่อยๆ ต้นทุนของท่านก็จะเฉลี่ยออกไป ทำให้โอกาสที่ท่านนักลงทุนอาจจะได้ต้นทุนการลงทุนที่ถูกกว่ามีมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าโอกาสที่ท่านนักลงทุนจะได้กำไรสะสมมีมากขึ้นด้วย
ปรับตัวเลขการออมใหม่
ท่านนักลงทุนส่วนมากนิยมแบ่งเงินออมตามสัดส่วนของเงินเดือนที่ได้รับ ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านนักลงทุนมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ท่านอาจจะแบ่งเงิน 30% หรือประมาณ 9,000 บาท ออกมาเก็บเป็นเงินออม ซึ่งจะทำให้ในแต่ละปีท่านนักลงทุนสามารถออมเงินได้ 108,000 บาท พร้อมกับดอกเบี้ยที่ได้รับอีกจำนวนหนึ่ง และสมมุติว่าในปีนี้ท่านนักลงทุนได้เงินเดือนเพิ่มอีก 5% จากปีก่อน ทำให้เงินเดือนของท่านเป็น 31,500 บาท หากท่านนักลงทุนแบ่งเงิน 30% เป็นเงินออมเท่าเดิม ท่านนักลงทุนจะสามารถออมได้เดือนละ 9,450 บาท หรือคิดเป็นปีละ 113,400 บาท พร้อมดอกเบี้ย แต่หากท่านนักลงทุนใช้จ่ายเท่ากับปีที่แล้วคือ 21,000 บาท (30,000 – 9,000 = 21,000) ท่านจะสามารถออมได้เดือนละ 10,500 บาท หรือคิดเป็นปีละ 126,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งมากกว่าเงินออมปีที่แล้วประมาณ 18,000 บาท
ลดภาระหนี้สิน
นอกจากการออมแล้ว การชำระหนี้สินเป็นการช่วยลดภาระทางการเงินของท่าน เพราะจะช่วยให้ท่านนักลงทุนมีภาระในการใช้จ่ายลดลง และทำให้ท่านนักลงทุนมีอิสระทางการเงินมากขึ้น ท่านควรวางแผนว่าท่านควรจะชำระค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ บัตรเครดิต เป็นจำนวนเท่าใด โดยไม่กระทบแผนการออมของท่าน และในขณะเดียวกันจะทำให้ท่านมีภาระหนี้สินลดลงด้วย ซึ่งในจุดนี้ ท่านนักลงทุนจะต้องลองคำนวณดูว่าการชำระหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและการออมเป็นจำนวนเท่าใดจะให้ประโยชน์แก่ท่านมากที่สุด
ประมาณรายจ่าย
การประมาณรายจ่ายจะช่วยให้ท่านสามารถวางแผนการณ์การใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น ท่านนักลงทุนอาจวางแผนล่วงหน้าว่าท่านจะต้องใช้จ่ายในสิ่งใดบ้าง เช่น นอกจากค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ชำระหนี้บัตรเครดิตแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย เช่น ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าเครื่องแต่งกาย ค่าสมาชิกต่างๆ เป็นต้น ท่านนักลงทุนอาจจะใช้ข้อมูลจากปีที่แล้วมาเป็นฐานในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดแนวทางการใช้จ่ายในปีนี้ หากท่านนักลงทุนไม่ได้จดบันทึกการใช้จ่ายในปีที่แล้วไว้ ท่านอาจจะเริ่มทำในปีนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ตัวท่านเอง
แบ่งเงินลงทุนใหม่
เมื่อเวลาผ่านไป ความสามารถในการรับความเสี่ยงของท่านนักลงทุนย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ท่านนักลงทุนรับความเสี่ยงได้น้อยลง ในขณะเดียวกัน ท่านนักลงทุนอาจมีรายได้มากขึ้น ทำให้มีเงินลงทุนได้มากขึ้น ท่านนักลงทุนอาจยึดหลักการแบ่งเงินลงทุนแบบง่ายๆโดยใช้หลัก 100 ลบด้วย อายุปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ได้คือสัดส่วนที่ท่านนักลงทุนควรลงทุนในหุ้น ตัวอย่างเช่น หากท่านนักลงทุนมีอายุ 30 ปี ท่านนักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ 30% และลงทุนในหุ้น 70% เป็นต้น
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆสำหรับการวางแผนทางการเงินของท่าน ซึ่งท่านนักลงทุนบางท่านอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องคำนึงถึงมากกว่านี้ ท้ายนี้หวังว่าปีนี้จะเป็นปีทองอีกปีหนึ่งของท่านนักลงทุนนะครับ อย่าลืมนะครับ การลงทุนมีความเสี่ยง ท่านนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ