ปีนี้ก็มีผู้อายุครบ 60 ปี และเกษียณอายุกันหลายๆ คนจะสนุกกับชีวิตเพราะในเวลาที่ผ่านมาในช่วงทำงานได้ทำงานเต็มที่ รวมไปถึงได้ออมและลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง เพราะตั้งเป้าหมายตั้งแต่ต้นไว้ว่า ต้องการเกษียณอย่างมีความสุข จึงอดทน อดออม และมีวินัยกับเรื่องการใช้เงินมาตลอดชีวิตการทำงาน มาถึงวันที่อายุ 60 ก็สบายทั้งกายและใจ
แต่เมื่อเกษียณแล้วไม่ได้หมายความว่าจะต้องหยุดจัดการเงินตัวเอง เหมือนกับการหยุดทำงานโดยควรจะวางแผนด้านการเงินให้ดีเพื่อที่จะได้ไม่เกิดความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้ก่อนวางแผนการเงินเราต้องตรวจสอบดูว่าสถานะภาพทางการเงินในปัจจุบันของเราก่อนว่าเป็นเช่นไร เช่น ดูว่าตอนนี้มีรายได้ทั้งหมดเท่าไร และมาจากแหล่งใดบ้าง ทำบัญชีทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมด หลังจากนั้นก็พิจารณาว่ารายจ่ายประจำเท่าไรแล้วก็ต้องทำงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด ที่สำคัญอย่าลืมบวกค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงไว้ด้วย โดยตั้งเป็นวงเงินไว้ต่อปีเพื่อให้เห็นประมาณการรายได้และรายจ่าย การประมาณการไว้ล่วงหน้าจะทำให้เราพอจะทราบว่าหลังเกษียณแล้วจะสามารถมีเงินใช้อย่างพอเพียงหรือมากน้อยเพียงใด
หลังจากนั้นควรหาทางลดหรือควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดี โดยทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดทุกวัน เพื่อเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายและทำให้สามารถรู้ได้ว่ายังจะพอมีเงินเหลือที่จะลงทุนเท่าไร เวลาประมาณรายรับ-รายจ่ายนั้นจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้ค่าของเงินที่มีอยู่ลดลงด้วย ทั้งหมดนี้ก็พอจะทำให้คาดการณ์ได้ว่าในแต่ละปี ค่าของเงินจะลดลงเท่าไร และจะมีค่าเหลือเท่าไร ซึ่งจะทำให้นำมาวางแผนเพื่อใช้ชีวิตประจำวันมีความสุขได้เป็นอย่างดี
สำหรับเงินออมที่มีก็ต้องนำไปลงทุนต่อเนื่องโดยการจัดสรรเงินเพื่อการลงทุนก็ต้องแบ่งเงินนำไปลงทุนในเครื่องมือการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นได้ไม่เกิน 10 % ของเงินทั้งหมด และที่เหลือก็ฝากธนาคารหรือลงทุนในกองทุนรวมโดยเลือกนโยบายการลงทุนที่มั่นคงสูงหรือจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนถึงแม้ว่าผลตอบแทนจะไม่สูงเช่นที่เราเคยได้มาในช่วงอายุยังน้อยก็ตาม นั่นเป็นเพราะคนวัย 60 จะรับความเสี่ยงได้น้อยมาก หรือแทบจะไม่ได้เลย
โปรดอย่าลืมว่า ในวัย 60 ปี หรือหลังจากเกษียณอายุไปแล้ว ก็ยังต้องวางแผนการเงินให้รัดกุมอยู่ พร้อมๆ กันนั้นก็ต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพราะถ้าสุขภาพแข็งแรง ก็จะทำอะไรๆ ที่ปรารถนาได้อย่างสมบูรณ์แบบรวมไปถึงเรื่องการวางแผนเรื่องการเงินก็จะทำได้ดีด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าสุขภาพไม่ดีก็ต้องนำเงินที่มีมาใช้เพื่อรักษาสุขภาพ ซึ่งจะกลายเป็นรายจ่ายจำนวนมากและทำให้ชีวิตหลังเกษียณไม่มีความสุข
เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐที่สุดแล้วนั่นเองท่านเห็นด้วยหรือไม่
แต่เมื่อเกษียณแล้วไม่ได้หมายความว่าจะต้องหยุดจัดการเงินตัวเอง เหมือนกับการหยุดทำงานโดยควรจะวางแผนด้านการเงินให้ดีเพื่อที่จะได้ไม่เกิดความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้ก่อนวางแผนการเงินเราต้องตรวจสอบดูว่าสถานะภาพทางการเงินในปัจจุบันของเราก่อนว่าเป็นเช่นไร เช่น ดูว่าตอนนี้มีรายได้ทั้งหมดเท่าไร และมาจากแหล่งใดบ้าง ทำบัญชีทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมด หลังจากนั้นก็พิจารณาว่ารายจ่ายประจำเท่าไรแล้วก็ต้องทำงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด ที่สำคัญอย่าลืมบวกค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงไว้ด้วย โดยตั้งเป็นวงเงินไว้ต่อปีเพื่อให้เห็นประมาณการรายได้และรายจ่าย การประมาณการไว้ล่วงหน้าจะทำให้เราพอจะทราบว่าหลังเกษียณแล้วจะสามารถมีเงินใช้อย่างพอเพียงหรือมากน้อยเพียงใด
หลังจากนั้นควรหาทางลดหรือควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดี โดยทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดทุกวัน เพื่อเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายและทำให้สามารถรู้ได้ว่ายังจะพอมีเงินเหลือที่จะลงทุนเท่าไร เวลาประมาณรายรับ-รายจ่ายนั้นจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้ค่าของเงินที่มีอยู่ลดลงด้วย ทั้งหมดนี้ก็พอจะทำให้คาดการณ์ได้ว่าในแต่ละปี ค่าของเงินจะลดลงเท่าไร และจะมีค่าเหลือเท่าไร ซึ่งจะทำให้นำมาวางแผนเพื่อใช้ชีวิตประจำวันมีความสุขได้เป็นอย่างดี
สำหรับเงินออมที่มีก็ต้องนำไปลงทุนต่อเนื่องโดยการจัดสรรเงินเพื่อการลงทุนก็ต้องแบ่งเงินนำไปลงทุนในเครื่องมือการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นได้ไม่เกิน 10 % ของเงินทั้งหมด และที่เหลือก็ฝากธนาคารหรือลงทุนในกองทุนรวมโดยเลือกนโยบายการลงทุนที่มั่นคงสูงหรือจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนถึงแม้ว่าผลตอบแทนจะไม่สูงเช่นที่เราเคยได้มาในช่วงอายุยังน้อยก็ตาม นั่นเป็นเพราะคนวัย 60 จะรับความเสี่ยงได้น้อยมาก หรือแทบจะไม่ได้เลย
โปรดอย่าลืมว่า ในวัย 60 ปี หรือหลังจากเกษียณอายุไปแล้ว ก็ยังต้องวางแผนการเงินให้รัดกุมอยู่ พร้อมๆ กันนั้นก็ต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพราะถ้าสุขภาพแข็งแรง ก็จะทำอะไรๆ ที่ปรารถนาได้อย่างสมบูรณ์แบบรวมไปถึงเรื่องการวางแผนเรื่องการเงินก็จะทำได้ดีด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าสุขภาพไม่ดีก็ต้องนำเงินที่มีมาใช้เพื่อรักษาสุขภาพ ซึ่งจะกลายเป็นรายจ่ายจำนวนมากและทำให้ชีวิตหลังเกษียณไม่มีความสุข
เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐที่สุดแล้วนั่นเองท่านเห็นด้วยหรือไม่