ข่าวในประเทศ - รถยนต์ไฟฟ้าพร้อมใช้งาน “โตโยต้า” จับมือ “จุฬา” ทดลองระบบ ใช้รถร่วมกัน หรือ Car Sharing นำ โตโยต้า คอมส์ COMS รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จำนวน 30 คัน วิ่งให้บริการในพื้นที่จุฬาลงกรณ์ ผ่านเครือข่ายสมาร์ทโฟน เก็บค่าใช้สุดถูกเริ่มต้นแค่ 30 บาท ระบุทดลองวิ่ง 2 ปี พร้อมเปิดรับผู้สนใจร่วมลงทุน สร้างเครือข่ายCarSharing
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปีของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ในประเทศไทย และครบรอบ 100 ปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสองหน่วยงานได้มีการร่วมมือกันสร้างโครงการขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาด้านการจราจรของประเทศไทย
สำหรับโครงการนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า CU TOYOTA Ha:mo โดยจะเป็นการทดลองระบบแบ่งปันรถกันใช้ ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (EV Car Sharing) วิ่งเป็นระยะทางสั้นๆ ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานคณะอาจารย์, นิสิตของจุฬาฯ และประชาชนทั่วไป
“ระบบ Car Sharing นี้ทางโตโยต้า ได้ดำเนินงานอยู่แล้วในประเทศญี่ปุ่นและฝรั่งเศส ส่วนเมืองไทยเป็นประเทศที่ 3 ที่เรานำระบบนี้มาทดลองวิ่งใช้งาน เพื่อดูกระแสตอบรับของคนไทย อันจะนำไปสู่การประมวลผลเพื่อดำเนินการในรูปแบบของธุรกิจเต็มตัวในอนาคต ซึ่งแค่เริ่มต้นก็มีผู้สนใจลงทุนติดต่อเข้ามาแล้ว” นายนินนาทกล่าว
ทั้งนี้ก่อนการใช้บริการจะต้องสมัครสมาชิกของโครงการผ่านระบบออนไลน์หรือมาสมัครด้วยตนเองที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อน โดยมีค่าสมัคร 100 บาท และจะได้รับคืนผ่านรูปแบบของคะแนนสะสม ส่วนการใช้งานจะดำเนินการผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือและมีค่าบริการเริ่มต้น ครั้งละ 30 บาท ต่อการใช้งาน 20 นาทีแรก หลังจากนั้น คิดนาทีละ 2 บาท เริ่มทดลองใช้งานได้ราวปลายปีนี้
นายนินนาท กล่าวว่า โตโยต้า เลือกนำรถไฟฟ้ารุ่น COMS เข้ามาสำหรับการทดลองให้บริการในโครงการนี้ โดยในช่วงเริ่มต้นจะมีรถไฟฟ้าให้บริการทั้งสิ้น 10 คัน และจะเพิ่มเป็น 30 คันในปีหน้า และกำหนดสิ้นสุดโครงการไว้ที่ระยะเวลา 2 ปี ใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 50 ล้านบาท ไม่รวมส่วนของค่าบริหารจัดการที่จุฬาฯ รับผิดชอบประมาณ 8 ล้านบาท/ปี หลังจากนั้นจะรวบรวมข้อมูลและสรุปผลเพื่อนำไปขยายการให้บริการต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
โดยพื้นที่การให้บริการจะครอบคลุมในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสองฝัง โดยทางโครงการจะเตรียมสถานีจอดรถไว้ทั้งหมด 12 สถานี กระจายครอบคลุมเพื่อรองรับความต้องการใช้งาน พร้อมทั้งติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า 12 สถานี และมีจำนวนช่องจอดรถให้บริการทั้งหมด 33 ช่องจอด ทำให้สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการในการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าทั้ง BTS, MRT และรถโดยสารประจำทาง กลุ่มเป้าหมายในการให้บริการคือนิสิต อาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป โดยผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของโครงการผ่านระบบออนไลน์หรือมาสมัครด้วยตนเองที่สำนักงานโครงการที่ตั้งอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
นอกจากนี้ โครงการยังวางแผนที่จะให้ “CU TOYOTA Ha:mo” เป็นเวทีเปิด เพื่อร่วมพัฒนาสู่นวัตกรรมการเดินทางของสังคมในอนาคต โดยมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากบุคคลและภาคประชาสังคมในเรื่องระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก อันเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาสังคม การเปิดโอกาสให้ทั้ง บริษัทที่สนใจ นิสิตนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และองค์กรต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ช่วยให้สามารถรวบรวมแนวคิดต่างๆ คัดเลือกแนวทาง พัฒนาแผนโครงการ ตลอดจนทดลองใช้ในพื้นที่จริง ซึ่งจะเป็นแนวทางต่ออนาคตของระบบการแบ่งปันรถกันใช้ในประเทศไทย
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับโตโยต้าในโครงการนี้ และพร้อมสนับสนุนเพื่อการพัฒนาสังคมการเดินทางให้มีความสมบูรณ์ โดยมีการจัดเตรียมพื้นที่สถานีจอดไว้รวม 12 สถานี พร้อมสถานีชาร์จไฟ 10 แห่ง และช่องจอดรถให้บริการทั้งหมด 33 ช่องจอด เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
“จากวิสัยทัศน์ของเรา เรามุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก โดยสร้างความรู้และนวัตกรรมที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์และยังยืน เราก่อตั้งโครงการ ’ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ (CU Innovation Hub) เมื่อปีที่แล้วเพื่อเป็นเวทีสำหรับพัฒนาทั้ง นวัตกรและนวัตกรรม อันเป็นการปูทางเพื่อ ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศที่มีศักยภาพเชิงนวัตกรรมในระดับโลก เพื่อเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิต การเรียนรู้ และการทำกิจกรรมต่างๆ ของคนไทย นอกจากนี้ เรายังพัฒนาโครงการใหญ่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ด้วยชื่อโครงการ เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CU Smart City) เพื่อเป็นต้นแบบอนาคตของกรุงเทพฯ ในหลากหลายมิติ เช่น เรื่องพลังงาน การเดินทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้น เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งทีได้ร่วมมือกับโตโยต้าในโครงการนี่้ และพร้อมสนับสนุนโครงการเพื่อร่วมพัฒนาสังคมการเดินทางในอนาคต ภายใต้แนวคิด ‘เวทีเปิดทางนวัตกรรม’ ”
นินนาท ไชยธีรภิญโญ กล่าวทิ้ง ท้าย “ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาทางเลือกใหม่สำหรับการเดินทางในสังคมเมือง หัวใจสำคัญก็คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่ง เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงวิถีการเดินทาง อันจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติที่จะพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน”
อนึ่ง “Ha:mo คือการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับการ เดินทางระยะสั้นในสังคมเมือง โดยเมื่อขับรถไปถึงทีหมายแล้ว ผู้ใช้รถ Ha:mo สามารถจอดรถทิ้งเอาไว้ได้เลย Ha:mo ช่วยให้ผู้คนเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทางได้ง่ายขึ้น การเปิดตัว Ha:mo ในกรุงเทพฯ ถือเป็นการริเริ่มสร้างต้นแบบของแนวทางการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบ ที่ช่วยแก้ปัญหาการจราจรในประเทศตลาดเกิดใหม่ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยจะให้การยอมรับ Ha:mo โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในอนาคต”
โครงการนี้มีชื่อว่า “CU TOYOTA Ha:mo” ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเองในโอกาสครบรอบ 100 ปี การสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในโอกาสครบรอบ 55 ปี ของการก่อตั้ง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดโดยจะมีการทดลองระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (EV sharing) เพื่ออวิ่งในระยะสั้น ๆ ภายในพื้นที่โดยรอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะจากต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางของผู้ใช้งาน
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปีของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ในประเทศไทย และครบรอบ 100 ปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสองหน่วยงานได้มีการร่วมมือกันสร้างโครงการขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาด้านการจราจรของประเทศไทย
สำหรับโครงการนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า CU TOYOTA Ha:mo โดยจะเป็นการทดลองระบบแบ่งปันรถกันใช้ ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (EV Car Sharing) วิ่งเป็นระยะทางสั้นๆ ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานคณะอาจารย์, นิสิตของจุฬาฯ และประชาชนทั่วไป
“ระบบ Car Sharing นี้ทางโตโยต้า ได้ดำเนินงานอยู่แล้วในประเทศญี่ปุ่นและฝรั่งเศส ส่วนเมืองไทยเป็นประเทศที่ 3 ที่เรานำระบบนี้มาทดลองวิ่งใช้งาน เพื่อดูกระแสตอบรับของคนไทย อันจะนำไปสู่การประมวลผลเพื่อดำเนินการในรูปแบบของธุรกิจเต็มตัวในอนาคต ซึ่งแค่เริ่มต้นก็มีผู้สนใจลงทุนติดต่อเข้ามาแล้ว” นายนินนาทกล่าว
ทั้งนี้ก่อนการใช้บริการจะต้องสมัครสมาชิกของโครงการผ่านระบบออนไลน์หรือมาสมัครด้วยตนเองที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อน โดยมีค่าสมัคร 100 บาท และจะได้รับคืนผ่านรูปแบบของคะแนนสะสม ส่วนการใช้งานจะดำเนินการผ่านแอพพลิเคชันบนมือถือและมีค่าบริการเริ่มต้น ครั้งละ 30 บาท ต่อการใช้งาน 20 นาทีแรก หลังจากนั้น คิดนาทีละ 2 บาท เริ่มทดลองใช้งานได้ราวปลายปีนี้
นายนินนาท กล่าวว่า โตโยต้า เลือกนำรถไฟฟ้ารุ่น COMS เข้ามาสำหรับการทดลองให้บริการในโครงการนี้ โดยในช่วงเริ่มต้นจะมีรถไฟฟ้าให้บริการทั้งสิ้น 10 คัน และจะเพิ่มเป็น 30 คันในปีหน้า และกำหนดสิ้นสุดโครงการไว้ที่ระยะเวลา 2 ปี ใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 50 ล้านบาท ไม่รวมส่วนของค่าบริหารจัดการที่จุฬาฯ รับผิดชอบประมาณ 8 ล้านบาท/ปี หลังจากนั้นจะรวบรวมข้อมูลและสรุปผลเพื่อนำไปขยายการให้บริการต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
โดยพื้นที่การให้บริการจะครอบคลุมในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสองฝัง โดยทางโครงการจะเตรียมสถานีจอดรถไว้ทั้งหมด 12 สถานี กระจายครอบคลุมเพื่อรองรับความต้องการใช้งาน พร้อมทั้งติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า 12 สถานี และมีจำนวนช่องจอดรถให้บริการทั้งหมด 33 ช่องจอด ทำให้สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการในการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าทั้ง BTS, MRT และรถโดยสารประจำทาง กลุ่มเป้าหมายในการให้บริการคือนิสิต อาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป โดยผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของโครงการผ่านระบบออนไลน์หรือมาสมัครด้วยตนเองที่สำนักงานโครงการที่ตั้งอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
นอกจากนี้ โครงการยังวางแผนที่จะให้ “CU TOYOTA Ha:mo” เป็นเวทีเปิด เพื่อร่วมพัฒนาสู่นวัตกรรมการเดินทางของสังคมในอนาคต โดยมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากบุคคลและภาคประชาสังคมในเรื่องระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก อันเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาสังคม การเปิดโอกาสให้ทั้ง บริษัทที่สนใจ นิสิตนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และองค์กรต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ช่วยให้สามารถรวบรวมแนวคิดต่างๆ คัดเลือกแนวทาง พัฒนาแผนโครงการ ตลอดจนทดลองใช้ในพื้นที่จริง ซึ่งจะเป็นแนวทางต่ออนาคตของระบบการแบ่งปันรถกันใช้ในประเทศไทย
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับโตโยต้าในโครงการนี้ และพร้อมสนับสนุนเพื่อการพัฒนาสังคมการเดินทางให้มีความสมบูรณ์ โดยมีการจัดเตรียมพื้นที่สถานีจอดไว้รวม 12 สถานี พร้อมสถานีชาร์จไฟ 10 แห่ง และช่องจอดรถให้บริการทั้งหมด 33 ช่องจอด เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
“จากวิสัยทัศน์ของเรา เรามุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก โดยสร้างความรู้และนวัตกรรมที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์และยังยืน เราก่อตั้งโครงการ ’ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ (CU Innovation Hub) เมื่อปีที่แล้วเพื่อเป็นเวทีสำหรับพัฒนาทั้ง นวัตกรและนวัตกรรม อันเป็นการปูทางเพื่อ ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศที่มีศักยภาพเชิงนวัตกรรมในระดับโลก เพื่อเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิต การเรียนรู้ และการทำกิจกรรมต่างๆ ของคนไทย นอกจากนี้ เรายังพัฒนาโครงการใหญ่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ด้วยชื่อโครงการ เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CU Smart City) เพื่อเป็นต้นแบบอนาคตของกรุงเทพฯ ในหลากหลายมิติ เช่น เรื่องพลังงาน การเดินทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้น เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งทีได้ร่วมมือกับโตโยต้าในโครงการนี่้ และพร้อมสนับสนุนโครงการเพื่อร่วมพัฒนาสังคมการเดินทางในอนาคต ภายใต้แนวคิด ‘เวทีเปิดทางนวัตกรรม’ ”
นินนาท ไชยธีรภิญโญ กล่าวทิ้ง ท้าย “ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาทางเลือกใหม่สำหรับการเดินทางในสังคมเมือง หัวใจสำคัญก็คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่ง เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงวิถีการเดินทาง อันจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติที่จะพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน”
อนึ่ง “Ha:mo คือการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับการ เดินทางระยะสั้นในสังคมเมือง โดยเมื่อขับรถไปถึงทีหมายแล้ว ผู้ใช้รถ Ha:mo สามารถจอดรถทิ้งเอาไว้ได้เลย Ha:mo ช่วยให้ผู้คนเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทางได้ง่ายขึ้น การเปิดตัว Ha:mo ในกรุงเทพฯ ถือเป็นการริเริ่มสร้างต้นแบบของแนวทางการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบ ที่ช่วยแก้ปัญหาการจราจรในประเทศตลาดเกิดใหม่ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยจะให้การยอมรับ Ha:mo โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในอนาคต”
โครงการนี้มีชื่อว่า “CU TOYOTA Ha:mo” ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเองในโอกาสครบรอบ 100 ปี การสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในโอกาสครบรอบ 55 ปี ของการก่อตั้ง บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดโดยจะมีการทดลองระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (EV sharing) เพื่ออวิ่งในระยะสั้น ๆ ภายในพื้นที่โดยรอบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะจากต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางของผู้ใช้งาน