งาน มอเตอร์เอ็กซ์โป ที่ผ่านมา บริษัท ซิลิคอน มอเตอร์ส จำกัด ได้เปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า “แรตเทิ่ล Rayttle” เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้าและนำไปพัฒนาสู่การทำตลาดในอนาคต เราลองมาฟังความคิดเห็น หัวเรือใหญ่ของค่ายนี้กัน ทำไมถึงสนใจ .. นายอภิเชต สีตกะลิน กรรมการบริหาร บริษัท ซิลิคอน มอเตอร์ส จำกัด
-ทำไมถึงสนใจนำเข้ามา
การนำรถยต์พลังงานไฟฟ้า EV แรตเทิ่ล มาแสดงในครั้งนี้ นับเป็นความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสังคมไทยได้ลองสัมผัส และเข้าใจถึงเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ในหลายๆ ประเทศทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน มีการทำตลาดจำหน่ายรถ EV ไปเป็นจำนวนมากแล้ว ปีนี้จีนได้ก้าวขึ้นสู่ผู้นำตลาดรถ EV มีอัตราการเติบโตที่สูงและรวดเร็ว คาดว่าสิ้นปีนี้น่าจะมียอดขายรถ EV รวมถึง 4 แสนคัน จะทำให้มีรถประเภทนี้วิ่งอยู่บนถนนของจีนประมาณ 7 แสนคัน ส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่ก้าวหน้าไปมาก ทั้งในเรื่องราคาที่ต่ำลง น้ำหนักลดลง และมีความจุที่เพิ่มมากขึ้น สามารถวิ่งได้ระยะทางที่ไกลเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก จนสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า “แรตเทิ่ล Rayttle” เป็นแบบไหน
รถ EV Rayttle เริ่มต้นจากแนวคิดของคำว่า Ray หมายถึงลำแสงที่ทรงพลังพุ่งตรงไปข้างหน้าสู่อนาคต ผสมเข้ากับคำว่า Little ที่มุ่งเน้นกลยุทธหลัก ต้องการผลิตแต่รถคันเล็กๆ เน้นความคล่องตัว ความสะดวกสบาย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดคำว่า Rayttle ขึ้นในโลกแห่งยนตรกรรม แรตเทิ่ล EV เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 3 ที่นั่ง ออกแบบโดย Car Studio ประเทศอิตาลี ใช้โครงสร้างเฟรมเหล็กกล้าที่ให้ความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ สามารถรับแรงปะทะได้เช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป โครงสร้างตัวถังน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงทนทานด้วยวัสดุคอมโพสิท ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าใช้เทคโนโลยี EV ของกลุ่ม Actia ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมรถไฟฟ้า มอเตอร์ไม่ต้องบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน มีขุมกำลังให้เลือกใช้งานหลายระดับ ให้กำลังสูงสุดตั้งแต่ 4 - 7.5 กิโลวัตต์ ความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 45 - 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีระบบทำความเย็นติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานมาจากโรงงานทุกคัน แบตเตอรี่เมื่อชาร์จไฟเต็มสามารถวิ่งได้ประมาณ 120-150 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ และสภาพการจราจร
คิดว่าจะไปได้ในตลาดไทยหรือ ?
อย่างไรก็ตามพัฒนาการของการเปิดตลาดรถ EV ในประเทศไทย คงต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการพอสมควร เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น จะต้องเริ่มจากการเพิ่มจำนวนรถยนต์ประเภท Plug-in ให้แพร่หลายมากกว่านี้ และมีจุดชาร์จแบตเตอรี่ตามแหล่งชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ให้ครอบคลุมเสียก่อน รถ EV จึงจะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย
บวกกับกรุงเทพมหานคร มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสร้างที่จอดรถเพิ่มเติม หรือดัดแปลงอาคารที่จอดเพื่อติดตั้งแท่นชาร์จ รองรับการเข้ามาของรถ EV ในอนาคต จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง โดยในต่างประเทศอาคารจอดรถรุ่นใหม่ๆ จะใช้เป็นเครื่องจอดรถ เป็นลิฟต์ยกรถขึ้นไปจอดในแนวตั้ง ซึ่งช่วยให้ประหยัดพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือเครื่องจอดรถจะมีระบบไฟฟ้ารองรับอยู่แล้ว สามารถทำเป็นที่ชาร์จไฟให้กับรถ EV ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประหยัดกว่าการลงทุนสร้างอาคาร หรือวางระบบไฟฟ้าในอาคารเดิม ซึ่งจะยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
อีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลดีต่อรถ EV คือโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน รถไฟใต้ดินสายต่างๆ จะเปิดดำเนินการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเสร็จครบสมบูรณ์ในปี 2565 ไลฟ์สไตล์ของผู้คนจะเปลี่ยนไป คนที่อยู่นอกเมืองต้องขับรถไกลๆ ฝ่าการจราจร ขึ้นทางด่วนมาทำงานในเมือง ก็จะเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ในระยะทางที่สั้นลง นำรถไปจอดที่สถานี และใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น ในรูปแบบเดียวกับประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ประหยัดพลังงาน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากไอเสียรถยนต์ และช่วยลดปัญหาการจราจรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
กลุ่มลูกค้าคือใคร
ลูกค้ากลุ่มแรกๆ ในอนาคตคือกลุ่ม Millennials เป็นเด็กที่เกิดในช่วงปี 2000 เป็นคนรุ่นใหม่ ไม่ยึดติดแบรนด์เก่าๆ เทคโนโลยีเก่าๆ รวมไปถึงกลุ่มคนทำงานในเมืองใหญ่ กลุ่มคนวัยเกษียณ ที่ใช้รถในระยะทางสั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบการขับเคลื่อนของผู้คนในเมืองใหญ่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในการตอบโจทย์แนวคิด “ประเทศไทย 4.0” ทั้งในเรื่องการจราจร สิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Smart City, Smart Solutions
อนาคตบริษัท ซิลิคอน มอเตอร์ส จะนำเข้ามาขาย
แนวคิด Smart City, Smart Solutions ในการนำรถ EV มาเปิดตัวให้คนไทยได้รู้จัก และสัมผัสเพื่อเป็นแนวทางในอนาคต บริษัท ซิลิคอน มอเตอร์ส มีความพร้อมอย่างเต็มที่ ในการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนขานรับนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ที่ภาครัฐต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของรถ EV ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเกิดได้ ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุม ราคาต้องเหมาะสม แบตเตอรี่ไม่แพง วิ่งได้ระยะทางที่เหมาะสมกับการใช้งาน
-ทำไมถึงสนใจนำเข้ามา
การนำรถยต์พลังงานไฟฟ้า EV แรตเทิ่ล มาแสดงในครั้งนี้ นับเป็นความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสังคมไทยได้ลองสัมผัส และเข้าใจถึงเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ในหลายๆ ประเทศทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน มีการทำตลาดจำหน่ายรถ EV ไปเป็นจำนวนมากแล้ว ปีนี้จีนได้ก้าวขึ้นสู่ผู้นำตลาดรถ EV มีอัตราการเติบโตที่สูงและรวดเร็ว คาดว่าสิ้นปีนี้น่าจะมียอดขายรถ EV รวมถึง 4 แสนคัน จะทำให้มีรถประเภทนี้วิ่งอยู่บนถนนของจีนประมาณ 7 แสนคัน ส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่ก้าวหน้าไปมาก ทั้งในเรื่องราคาที่ต่ำลง น้ำหนักลดลง และมีความจุที่เพิ่มมากขึ้น สามารถวิ่งได้ระยะทางที่ไกลเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก จนสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า “แรตเทิ่ล Rayttle” เป็นแบบไหน
รถ EV Rayttle เริ่มต้นจากแนวคิดของคำว่า Ray หมายถึงลำแสงที่ทรงพลังพุ่งตรงไปข้างหน้าสู่อนาคต ผสมเข้ากับคำว่า Little ที่มุ่งเน้นกลยุทธหลัก ต้องการผลิตแต่รถคันเล็กๆ เน้นความคล่องตัว ความสะดวกสบาย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดคำว่า Rayttle ขึ้นในโลกแห่งยนตรกรรม แรตเทิ่ล EV เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 3 ที่นั่ง ออกแบบโดย Car Studio ประเทศอิตาลี ใช้โครงสร้างเฟรมเหล็กกล้าที่ให้ความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ สามารถรับแรงปะทะได้เช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป โครงสร้างตัวถังน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงทนทานด้วยวัสดุคอมโพสิท ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าใช้เทคโนโลยี EV ของกลุ่ม Actia ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมรถไฟฟ้า มอเตอร์ไม่ต้องบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน มีขุมกำลังให้เลือกใช้งานหลายระดับ ให้กำลังสูงสุดตั้งแต่ 4 - 7.5 กิโลวัตต์ ความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 45 - 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีระบบทำความเย็นติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานมาจากโรงงานทุกคัน แบตเตอรี่เมื่อชาร์จไฟเต็มสามารถวิ่งได้ประมาณ 120-150 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ และสภาพการจราจร
คิดว่าจะไปได้ในตลาดไทยหรือ ?
อย่างไรก็ตามพัฒนาการของการเปิดตลาดรถ EV ในประเทศไทย คงต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการพอสมควร เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น จะต้องเริ่มจากการเพิ่มจำนวนรถยนต์ประเภท Plug-in ให้แพร่หลายมากกว่านี้ และมีจุดชาร์จแบตเตอรี่ตามแหล่งชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ให้ครอบคลุมเสียก่อน รถ EV จึงจะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย
บวกกับกรุงเทพมหานคร มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสร้างที่จอดรถเพิ่มเติม หรือดัดแปลงอาคารที่จอดเพื่อติดตั้งแท่นชาร์จ รองรับการเข้ามาของรถ EV ในอนาคต จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง โดยในต่างประเทศอาคารจอดรถรุ่นใหม่ๆ จะใช้เป็นเครื่องจอดรถ เป็นลิฟต์ยกรถขึ้นไปจอดในแนวตั้ง ซึ่งช่วยให้ประหยัดพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือเครื่องจอดรถจะมีระบบไฟฟ้ารองรับอยู่แล้ว สามารถทำเป็นที่ชาร์จไฟให้กับรถ EV ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประหยัดกว่าการลงทุนสร้างอาคาร หรือวางระบบไฟฟ้าในอาคารเดิม ซึ่งจะยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
อีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลดีต่อรถ EV คือโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน รถไฟใต้ดินสายต่างๆ จะเปิดดำเนินการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเสร็จครบสมบูรณ์ในปี 2565 ไลฟ์สไตล์ของผู้คนจะเปลี่ยนไป คนที่อยู่นอกเมืองต้องขับรถไกลๆ ฝ่าการจราจร ขึ้นทางด่วนมาทำงานในเมือง ก็จะเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ในระยะทางที่สั้นลง นำรถไปจอดที่สถานี และใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น ในรูปแบบเดียวกับประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง ประหยัดพลังงาน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากไอเสียรถยนต์ และช่วยลดปัญหาการจราจรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
กลุ่มลูกค้าคือใคร
ลูกค้ากลุ่มแรกๆ ในอนาคตคือกลุ่ม Millennials เป็นเด็กที่เกิดในช่วงปี 2000 เป็นคนรุ่นใหม่ ไม่ยึดติดแบรนด์เก่าๆ เทคโนโลยีเก่าๆ รวมไปถึงกลุ่มคนทำงานในเมืองใหญ่ กลุ่มคนวัยเกษียณ ที่ใช้รถในระยะทางสั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบการขับเคลื่อนของผู้คนในเมืองใหญ่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในการตอบโจทย์แนวคิด “ประเทศไทย 4.0” ทั้งในเรื่องการจราจร สิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Smart City, Smart Solutions
อนาคตบริษัท ซิลิคอน มอเตอร์ส จะนำเข้ามาขาย
แนวคิด Smart City, Smart Solutions ในการนำรถ EV มาเปิดตัวให้คนไทยได้รู้จัก และสัมผัสเพื่อเป็นแนวทางในอนาคต บริษัท ซิลิคอน มอเตอร์ส มีความพร้อมอย่างเต็มที่ ในการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนขานรับนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ที่ภาครัฐต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของรถ EV ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเกิดได้ ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุม ราคาต้องเหมาะสม แบตเตอรี่ไม่แพง วิ่งได้ระยะทางที่เหมาะสมกับการใช้งาน