วันที่ 5 ธันวาคม 2559 เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และเป็นวันพ่อแห่งชาติ ทีมงาน เอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง ขอนำเสนอ “รถของพ่อ” โดยเรื่องราวเล่าผ่าน นายแพทย์ สมคนึง ตัณฑ์วรกุล ในงานเสวนา “CEO TALK พระมหากรุณาธิคุณต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง รวมถึงเรื่องของรถยนต์ ที่ท่านทรงทำให้พสกนิกรเห็นอย่างชัดเจนมาโดยตลอด เราลองมาทำความรู้จักกับส่วนหนึ่งของรถยนต์พระที่นั่งที่สะท้อนให้เห็นการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของท่าน
รถยนต์คันแรกของรัชกาลที่ 9 ที่ทรงขอประทานจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งทรงประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนค์ คือ เฟียต 500 โทโปลีโน รุ่นปี 1947
หากมองจากมุมของราชวงศ์ต่างๆ และด้วยฐานันดรศักดิ์ที่ "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช" ในเวลานั้น พระองค์ท่านทรงเลือกใช้รถยนต์ยี่ห้อหรือรุ่นใดก็ได้ แต่พระองค์เลือกที่จะใช้รถยนต์ขนาดเล็กแบบซิตี้คาร์ มิใช่รถยนต์ยี่ห้อหรูหราหรือราคาแพงแต่ประการใดทั้งที่พระองค์สามารถเลือกรถที่ราคาสูงกว่านั้นได้ แสดงให้เห็นถึงความพอเพียงอย่างชัดเจน
สำหรับ เฟียต 500 รู้จักกันในชื่อของ โทโปลีโน และในเมืองไทยเราเรียกว่า เฟียต หน้าหนู ผลิตขึ้นระหว่างปี 1936-1955 ในประเทศอิตาลี เป็นซีตี้คาร์ ขนาดเล็ก 2 ประตู เครื่องยนต์ 569 ซีซี 4 สูบ ถือว่าเป็นหนึ่งในรถยอดนิยมของยุโรปในเวลานั้น ซึ่งรถคันดังกล่าวนี้มีเรื่องราวสำคัญต่อรัชกาลที่ 9 เป็นอย่างมากกล่าวคือ
เฟียต 500 คันดังกล่าวนี้เมื่อครั้งที่ทรงประทับเพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานประกอบรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส พระองค์ประสบอุบัติเหตุ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พระองค์ทรงใกล้ชิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งต่อมาทรงอภิเษกสมรสกันและสถาปนา หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สำหรับรถยนต์ส่วนพระองค์ที่ทรงนำกลับมาเมืองไทยหลังจบการศึกษา มี 4 คัน ทั้งหมดเป็นรถยี่ห้อ เดอลาเฮย์ ได้แก่รุ่น 135,178 ปี 1952, 178 ปี 1953 และ 180 โดยทั้งหมดนำเข้ามาเพื่อใช้และศึกษาด้านยานยนต์ หนึ่งใน 4 คันนี้พระองค์ทรงให้บริษัทประกอบรถยนต์ของไทยทำการดัดแปลงเป็นแบบ WAGONอีกด้วย
ส่วนรถยนต์ที่ใช้ทรงงานมักจะเป็นรถแบบออฟโรด ซึ่งคันที่เราคุ้นเป็นอย่างดีคือ แลนด์โรเวอร์ ซีรี่ส์ 1 ที่พระองค์ประทับทรงงานในท้องถิ่นทุรกันดาร ภาพที่เราเห็นคุ้นตาของรถคันนี้คือภาพที่จอดบนสะพานและพระองค์ทรงทอดพระเนตรแผนที่และตรัสถามว่า “ทำไมไม่มีหมู่บ้านนี้ในแผนที่”
นอกจากแลนด์โรเวอร์แล้ว ... เราจะเห็นรถยนต์แบบออฟโรดหลากหลายยี่ห้อจากภาพการทรงงานที่คุ้นชิน ซึ่งทุกคันจะมิใช่รถหรู ราคาแพง แต่จะเป็นรถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นหลัก ตรงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เลือกใช้งานให้พอเหมาะ พอดีกับสิ่งที่มี
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ทรงปฏิบัติอยู่เป็นนิจ พวกเราสามารถนำไปเป็นแบบอย่างและนำไปปฏิบัติต่อ......เหมือนที่ “พ่อของแผ่นดิน” ท่านทรงทำไว้ ....
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง รวมถึงเรื่องของรถยนต์ ที่ท่านทรงทำให้พสกนิกรเห็นอย่างชัดเจนมาโดยตลอด เราลองมาทำความรู้จักกับส่วนหนึ่งของรถยนต์พระที่นั่งที่สะท้อนให้เห็นการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของท่าน
รถยนต์คันแรกของรัชกาลที่ 9 ที่ทรงขอประทานจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งทรงประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนค์ คือ เฟียต 500 โทโปลีโน รุ่นปี 1947
หากมองจากมุมของราชวงศ์ต่างๆ และด้วยฐานันดรศักดิ์ที่ "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช" ในเวลานั้น พระองค์ท่านทรงเลือกใช้รถยนต์ยี่ห้อหรือรุ่นใดก็ได้ แต่พระองค์เลือกที่จะใช้รถยนต์ขนาดเล็กแบบซิตี้คาร์ มิใช่รถยนต์ยี่ห้อหรูหราหรือราคาแพงแต่ประการใดทั้งที่พระองค์สามารถเลือกรถที่ราคาสูงกว่านั้นได้ แสดงให้เห็นถึงความพอเพียงอย่างชัดเจน
สำหรับ เฟียต 500 รู้จักกันในชื่อของ โทโปลีโน และในเมืองไทยเราเรียกว่า เฟียต หน้าหนู ผลิตขึ้นระหว่างปี 1936-1955 ในประเทศอิตาลี เป็นซีตี้คาร์ ขนาดเล็ก 2 ประตู เครื่องยนต์ 569 ซีซี 4 สูบ ถือว่าเป็นหนึ่งในรถยอดนิยมของยุโรปในเวลานั้น ซึ่งรถคันดังกล่าวนี้มีเรื่องราวสำคัญต่อรัชกาลที่ 9 เป็นอย่างมากกล่าวคือ
เฟียต 500 คันดังกล่าวนี้เมื่อครั้งที่ทรงประทับเพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานประกอบรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส พระองค์ประสบอุบัติเหตุ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พระองค์ทรงใกล้ชิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งต่อมาทรงอภิเษกสมรสกันและสถาปนา หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สำหรับรถยนต์ส่วนพระองค์ที่ทรงนำกลับมาเมืองไทยหลังจบการศึกษา มี 4 คัน ทั้งหมดเป็นรถยี่ห้อ เดอลาเฮย์ ได้แก่รุ่น 135,178 ปี 1952, 178 ปี 1953 และ 180 โดยทั้งหมดนำเข้ามาเพื่อใช้และศึกษาด้านยานยนต์ หนึ่งใน 4 คันนี้พระองค์ทรงให้บริษัทประกอบรถยนต์ของไทยทำการดัดแปลงเป็นแบบ WAGONอีกด้วย
ส่วนรถยนต์ที่ใช้ทรงงานมักจะเป็นรถแบบออฟโรด ซึ่งคันที่เราคุ้นเป็นอย่างดีคือ แลนด์โรเวอร์ ซีรี่ส์ 1 ที่พระองค์ประทับทรงงานในท้องถิ่นทุรกันดาร ภาพที่เราเห็นคุ้นตาของรถคันนี้คือภาพที่จอดบนสะพานและพระองค์ทรงทอดพระเนตรแผนที่และตรัสถามว่า “ทำไมไม่มีหมู่บ้านนี้ในแผนที่”
นอกจากแลนด์โรเวอร์แล้ว ... เราจะเห็นรถยนต์แบบออฟโรดหลากหลายยี่ห้อจากภาพการทรงงานที่คุ้นชิน ซึ่งทุกคันจะมิใช่รถหรู ราคาแพง แต่จะเป็นรถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นหลัก ตรงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เลือกใช้งานให้พอเหมาะ พอดีกับสิ่งที่มี
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ทรงปฏิบัติอยู่เป็นนิจ พวกเราสามารถนำไปเป็นแบบอย่างและนำไปปฏิบัติต่อ......เหมือนที่ “พ่อของแผ่นดิน” ท่านทรงทำไว้ ....