ลากยาวในการทำตลาดมา 12-13 ปีครับ กว่าที่โฉมใหม่โมเดลเชนจ์จะเปิดตัว(ตลาดโลก)ช่วงปี 2014 ส่วนบ้านเราเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อาจจะไม่เร็วตามตลาดโลกแต่ก็ไม่ช้าเกินไปนัก ซึ่งส่วนหนึ่ง วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย คงดูจังหวะของโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ที่เริ่มใช้ 1 มกราคม 2559 ด้วย
สำหรับ “วอลโว่ เอ็กซ์ซี90” (Volvo XC90) ถือเป็นรถยนต์รุ่นธงของค่าย (Flagship Model - ต้องมาพร้อมเทคโนโลยีที่ดีที่สุดและหวังยอดขาย) โดยช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าทั้งคันมาจากยุโรป แบ่งเป็นรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร 1 รุ่นย่อย ราคา 4.89 ล้านบาท และรุ่นปลั๊ก-อินไฮบริด 2 รุ่นย่อย ราคา 5.39 และ 5.99 ล้านบาท ส่วนรุ่นประกอบที่โรงงานประเทศมาเลเซียจะพร้อมส่งมาขายช่วงไตรมาส4 ปีนี้ ซึ่งราคาน่าจะย่อมเยาลงมาหน่อย
“เอ็กซ์ซี90” ถือเป็นแบรนด์ไอคอนของวอลโว่ และโฉมใหม่ครั้งนี้ยังแสดงถึงทิศทางในอนาคตของรถยนต์วอลโว่รุ่นอื่นๆที่จะเปิดตัวตามมา
ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการออกแบบ ที่วอลโว่คิดค้น Scalable Product Architecture (SPA) หรือแพลตฟอร์มใหม่ที่มีความยืดหยุ่น ซึ่ง“เอ็กซ์ซี90” เป็นโมเดลแรกที่ใช้ จากนั้นจะมีรุ่นใหม่อย่าง “เอส90” และ “วี90” เดินในแนวทางนี้
ขณะเดียวกันยังเป็นการพลิกโฉมการออกแบบที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากไฟหน้าจะใช้หลอดLED เป็นไฟใหญ่และไฟเลี้ยวในชุดเดียวกัน โดยออกแบบเป็นรูป “ตัวทีแนวนอน” หรือวอลโว่เรียกเท่ๆว่า สไตล์ค้อนของเทพเจ้าสายฟ้า THOR รวมถึงโล้โก้ VOLVOที่แปะตรงกระจังหน้าก็ออกแบบใหม่ให้เรียบหรูแต่ดูทันสมัยขึ้น
…ทิศทางของรูปลักษณ์ประมาณนี่ละครับที่เราจะได้เห็นต่อๆไปในรถยนต์เอสยูวี ซีดาน และสเตชันแวกอนของวอลโว่
สอดคล้องกับทิศทางขุมพลัง ที่จริงๆเปิดตัวให้เราได้รู้จักไปก่อนหน้าแล้วกับ เทคโนโลยี Drive E ที่เน้นเครื่องยนต์ดีเซล-เบนซิน 4 สูบ 2.0 ลิตร และเสริมการทำงานด้วยเทอร์โบชาร์จ ซูเปอร์ชาร์จ และมอเตอร์ไฟฟ้า(ปลั๊ก-อินไฮบริด) พัฒนาสมรรถนะให้ยอดเยี่ยม แต่ยังคงประหยัดน้ำมัน และปล่อยมลพิษต่ำ
สำหรับการทดสอบ“เอ็กซ์ซี90 โฉมใหม่” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน-กรุงเทพ) วอลโว่มีให้ลองขับเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนรุ่นปลั๊ก-อินไฮบริดได้กระแสตอบรับจากลูกค้าดีมาก มีเท่าไหร่ก็ต้องรีบส่งมอบไปก่อน เหมือนกับสถานการณ์ในตลาดโลกที่“เอ็กซ์ซี90” ผลิตแทบไม่ทันขาย(ถึงต้องรอโรงงานมาเลเซียจัดให้ช่วงปลายปีนี้)
ในรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลD5 Momentum (ชื่อหลัง Momentum แสดงถึงเกรดของออปชันและการตกแต่งภายใน) เป็นบล็อก 4 สูบเรียง ขนาด 2.0 ลิตร คอมมอนเรล เทอร์โบคู่ ใช้เทคโนโลยหัวฉีดแบบ i-ART มีเซนเซอร์ควบคุมการทำงานให้เป็นอิสระในแต่ละหัวฉีด และฉีดน้ำมันตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ด้วยการคิดและสั่งงานแบบเรียลไทม์ ทั้งยังฉีดได้ถึง 8 ครั้งต่อการหมุนของเครื่องยนต์ 1 รอบ โดยให้ความแม่นยำสูง พร้อมเผาไหม้หมดจด ลดอัตราบริโภคน้ำมัน ที่สำคัญให้แรงดันสูงถึง 2,500 บาร์
ประสิทธิผลที่ได้คือ กำลังสูงสุด 225 แรงม้าที่ 4,250 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 470 นิวตัน-เมตร ที่ 1,750-2,500 รอบต่อนาที เมื่อประกบด้วยระบบส่งกำลังแบบอัตโนมัติ 8 สปีด ทำอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม.ได้ 7.8 วินาที ส่วนความเร็งสูงสุด 220 กม./ชม.
ขับขี่จริงเครื่องยนต์และเกียร์ตอบสนองได้นุ่มเนียน (ในโหมดคอมฟอร์ต) เร่งแรงได้รวดเร็วตามน้ำหนักเท้าขวาที่กดคันเร่ง ช่วงออกตัวไหลลื่นสบายๆ ส่วนอัตราเร่งช่วงความเร็วกลางและปลายแอบจัดจ้านขึ้นมาเล็กๆ(ตามใจผู้ขับ)
การขับ “เอ็กซ์ซี90” อาจจะไม่รับรู้ถึงความดุดัน(แต่จริงๆรถมันพุ่งไปอย่างรวดเร็วแล้ว) ส่วนหนึ่งเพราะภายในห้องโดยสารเงียบมากๆ พร้อมช่วงล่างที่หนึบแน่นทรงตัวดี ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ AWD เมื่อใช้ความเร็วสูงในทางตรงหรือโค้งยาว ตัวรถนิ่งอยู่มาก เช่นเดียวกับการควบคุมผ่านพวงมาลัยที่ถือได้สบายมือให้เสถียรภาพมั่นคง
ขณะที่มิติตัวถังของ “เอ็กซ์ซี90” ถือว่าใหญ่นะครับ เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง GLE (M-Class)และ X5 หรือถ้าเทียบกับ “เอ็กซ์ซี90 ตัวเก่า” ก็ใหญ่ขึ้นแทบทุกมิติยกเว้นความสูง
ด้วยความยาว 4,950 มม.(เพิ่มขึ้น 143 มม.) กว้าง 2,140 มม.(เพิ่มขึ้น 204 มม.) ระยะฐานล้อ 2,984 มม.(เพิ่มขึ้น 127 มม.) ส่วนความสูง 1,776 มม. ลดลง 8 มม. แม้ตัวรถจะยาวเกือบ 5 เมตร แต่การขับขี่ในเมืองช่วงรถติด (มีแอบเลี้ยวเข้าไปในตลาดแม่กลอง) ยังพบว่าขับขี่ได้คล่องตัว ความยาวใหญ่ไม่ได้เป็นปัญหา พวงมาลัยควบคุมง่าย(น้ำหนักแปรผันตามความเร็วรถอยู่แล้ว) การเดินคันเร่งแม่นยำ การจับของเบรกแน่นพร้อมระยะชะลอหยุดอยู่ในการควบคุม (อาจต้องใช้เวลาปรับตัวเข้าหารถสักพักก็จับทิศทางกะระยะได้แล้ว)
ดังนั้นความใหญ่ดังกล่าว จึงส่งผลดีมาในห้องโดยสารกับการวางเบาะ 3 แถว 7 ที่นั่ง แม้ไปนั่งเบาะแถว3ยังมีพื้นที่ให้ขยับขยายพอสมควร (สำหรับคนความสูงไม่เกิน 170) นี่ขนาดมียางอะไหล่เก็บอยู่ด้านล่าง
ส่วนหนึ่งเพราะการออกแบบช่วงล่าง โดยด้านหน้าเป็นแบบปีกนกสองชั้นแต่ด้านหลังวอลโว่เรียกว่า “อินทิกรัลลิงก์” (Integral Link) มีแขนและจุดยึดต่างๆ ร่วมกับเหล็กสปริงแบบแบนขวางลำตัวรถ ช่วยลดพื้นที่สำหรับชุดกันสะเทือนหลังน้อยลง จึงมีส่วนสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ตรงเบาะนั่งแถวสาม หรือถ้าไม่เปิดนั่งในตำแหน่งนี้ ก็สามารถพับลงได้ราบสวยงาม
ผู้เขียนยังเห็นความเอาใจใส่ของวอลโว่ ด้วยการติดตั้งช่องแอร์มาเต็มรถ ทั้งของคนขับ-ผู้โดยสารด้านหน้าที่มีเป็นปกติอยู่แล้ว แต่สำหรับคนนั่งแถวสองจัดให้สองจุด ตรงอุโมงค์กลางระหว่างเบาะคู่หน้าซึ่งออกแบบมาสวยน่าใช้ และช่องแอร์ด้านข้างตรงเสาบี-พิลลาร์ ส่วนคนนั่งแถวสามจะมีฝังไว้ตรงเสาซี-พิลลาร์
...แม้จะเป็นรถยุโรป แบรนด์สวีเดนเมืองหนาว แต่ออกแบบระบบปรับอากาศได้โดนใจคนเมืองร้อนจริงๆ (ช่วยให้เย็นเร็วและสบายตลอดการเดินทาง)
พูดถึงการเป็นวอลโว่ แบรนด์สวีเดน(แต่เจ้าของเป็นทุนจีน) หลักการออกแบบภายในที่ยึดถือมานานอย่าง “สแกนดิเนเวียน ดีไซน์” ในเอ็กซ์ซี90 โฉมใหม่ก็ไม่ได้ละทิ้ง
โดยหลักของ“สแกนดิเนเวียน ดีไซน์” คือ การออกแบบภายในให้ปราณีต หรูหรา ใช้วัสดุคุณภาพดี ที่สำคัญต้องใช้งานง่าย ดังนั้นเมื่อเข้ามาในห้องโดยสารจะเห็นจอควบคุมแบบทัชสกรีนขนาด 9 นิ้ว ฝังอยู่คอนโซลกลางซึ่งออกแบบเอียงหันหน้าเข้าหาคนขับเล็กน้อย
คล้ายมีไอแพดขนาดใหญ่ติดรถ ซึ่งจะใช้ควบคุมระบบต่างๆของรถทั้ง เครื่องเสียง ระบบปรับอากาศ ระบบนำทาง และระบบความปลอดภัยต่างๆให้เปิดหรือปิดการใช้งานได้ง่ายจากจอควบคุมนี้ (มีระบบสั่งงานด้วยเสียงด้วย)
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมัน ลองวัดช่วงขากลับจากเพชรบุรีใช้ความเร็วเฉลี่ย 100-120 กม./ชม. จากนั้นมาเจอรถติดหนักบนทางด่วนในกรุงเทพอีกครึ่งชั่วโมง สุดท้ายเห็นตัวเลขหน้าจอแสดงผล 7.5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือประมาณ 13.33 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ... “เอ็กซ์ซี90”เป็นผู้นำในการเข้ามาพลิกศักราชใหม่แห่งความก้าวหน้าให้กับ รถยนต์“วอลโว่” ทั้งแนวคิดการออกแบบ ขุมพลัง Drive E ขับดีสมรรถะสูง บวกกับความคุ้มค่าของระบบความปลอดภัยที่จัดให้อยู่ในเอสยูวีระดับท็อปของโลก ซึ่งยุคใหม่ของวอลโว่จะเริ่มนับจากตรงนี้ได้เลย ในส่วนตัวรถใครชอบเทคโนโลยีสุดล้ำและต้องการความเป็นที่สุดคงต้องเลือกไปทางปลั๊ก-อินไฮบริด แต่ถ้าใช้งานจริง ออปชันเพียงพอต่อการใช้งาน รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลถือว่าสมเหตุสมผลแล้ว แถมประหยัดเงินไป 5 แสนบาท(เทียบกับเกรด Momentum)
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างรุ่น D5 กับ T8 Twin Engine (ปลั๊กอินไฮบริด)
ระบบความปลอดภัยขึ้นเทพ
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ MGR Motoring
สำหรับ “วอลโว่ เอ็กซ์ซี90” (Volvo XC90) ถือเป็นรถยนต์รุ่นธงของค่าย (Flagship Model - ต้องมาพร้อมเทคโนโลยีที่ดีที่สุดและหวังยอดขาย) โดยช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าทั้งคันมาจากยุโรป แบ่งเป็นรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร 1 รุ่นย่อย ราคา 4.89 ล้านบาท และรุ่นปลั๊ก-อินไฮบริด 2 รุ่นย่อย ราคา 5.39 และ 5.99 ล้านบาท ส่วนรุ่นประกอบที่โรงงานประเทศมาเลเซียจะพร้อมส่งมาขายช่วงไตรมาส4 ปีนี้ ซึ่งราคาน่าจะย่อมเยาลงมาหน่อย
“เอ็กซ์ซี90” ถือเป็นแบรนด์ไอคอนของวอลโว่ และโฉมใหม่ครั้งนี้ยังแสดงถึงทิศทางในอนาคตของรถยนต์วอลโว่รุ่นอื่นๆที่จะเปิดตัวตามมา
ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการออกแบบ ที่วอลโว่คิดค้น Scalable Product Architecture (SPA) หรือแพลตฟอร์มใหม่ที่มีความยืดหยุ่น ซึ่ง“เอ็กซ์ซี90” เป็นโมเดลแรกที่ใช้ จากนั้นจะมีรุ่นใหม่อย่าง “เอส90” และ “วี90” เดินในแนวทางนี้
ขณะเดียวกันยังเป็นการพลิกโฉมการออกแบบที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากไฟหน้าจะใช้หลอดLED เป็นไฟใหญ่และไฟเลี้ยวในชุดเดียวกัน โดยออกแบบเป็นรูป “ตัวทีแนวนอน” หรือวอลโว่เรียกเท่ๆว่า สไตล์ค้อนของเทพเจ้าสายฟ้า THOR รวมถึงโล้โก้ VOLVOที่แปะตรงกระจังหน้าก็ออกแบบใหม่ให้เรียบหรูแต่ดูทันสมัยขึ้น
…ทิศทางของรูปลักษณ์ประมาณนี่ละครับที่เราจะได้เห็นต่อๆไปในรถยนต์เอสยูวี ซีดาน และสเตชันแวกอนของวอลโว่
สอดคล้องกับทิศทางขุมพลัง ที่จริงๆเปิดตัวให้เราได้รู้จักไปก่อนหน้าแล้วกับ เทคโนโลยี Drive E ที่เน้นเครื่องยนต์ดีเซล-เบนซิน 4 สูบ 2.0 ลิตร และเสริมการทำงานด้วยเทอร์โบชาร์จ ซูเปอร์ชาร์จ และมอเตอร์ไฟฟ้า(ปลั๊ก-อินไฮบริด) พัฒนาสมรรถนะให้ยอดเยี่ยม แต่ยังคงประหยัดน้ำมัน และปล่อยมลพิษต่ำ
สำหรับการทดสอบ“เอ็กซ์ซี90 โฉมใหม่” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน-กรุงเทพ) วอลโว่มีให้ลองขับเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนรุ่นปลั๊ก-อินไฮบริดได้กระแสตอบรับจากลูกค้าดีมาก มีเท่าไหร่ก็ต้องรีบส่งมอบไปก่อน เหมือนกับสถานการณ์ในตลาดโลกที่“เอ็กซ์ซี90” ผลิตแทบไม่ทันขาย(ถึงต้องรอโรงงานมาเลเซียจัดให้ช่วงปลายปีนี้)
ในรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลD5 Momentum (ชื่อหลัง Momentum แสดงถึงเกรดของออปชันและการตกแต่งภายใน) เป็นบล็อก 4 สูบเรียง ขนาด 2.0 ลิตร คอมมอนเรล เทอร์โบคู่ ใช้เทคโนโลยหัวฉีดแบบ i-ART มีเซนเซอร์ควบคุมการทำงานให้เป็นอิสระในแต่ละหัวฉีด และฉีดน้ำมันตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ด้วยการคิดและสั่งงานแบบเรียลไทม์ ทั้งยังฉีดได้ถึง 8 ครั้งต่อการหมุนของเครื่องยนต์ 1 รอบ โดยให้ความแม่นยำสูง พร้อมเผาไหม้หมดจด ลดอัตราบริโภคน้ำมัน ที่สำคัญให้แรงดันสูงถึง 2,500 บาร์
ประสิทธิผลที่ได้คือ กำลังสูงสุด 225 แรงม้าที่ 4,250 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 470 นิวตัน-เมตร ที่ 1,750-2,500 รอบต่อนาที เมื่อประกบด้วยระบบส่งกำลังแบบอัตโนมัติ 8 สปีด ทำอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม.ได้ 7.8 วินาที ส่วนความเร็งสูงสุด 220 กม./ชม.
ขับขี่จริงเครื่องยนต์และเกียร์ตอบสนองได้นุ่มเนียน (ในโหมดคอมฟอร์ต) เร่งแรงได้รวดเร็วตามน้ำหนักเท้าขวาที่กดคันเร่ง ช่วงออกตัวไหลลื่นสบายๆ ส่วนอัตราเร่งช่วงความเร็วกลางและปลายแอบจัดจ้านขึ้นมาเล็กๆ(ตามใจผู้ขับ)
การขับ “เอ็กซ์ซี90” อาจจะไม่รับรู้ถึงความดุดัน(แต่จริงๆรถมันพุ่งไปอย่างรวดเร็วแล้ว) ส่วนหนึ่งเพราะภายในห้องโดยสารเงียบมากๆ พร้อมช่วงล่างที่หนึบแน่นทรงตัวดี ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ AWD เมื่อใช้ความเร็วสูงในทางตรงหรือโค้งยาว ตัวรถนิ่งอยู่มาก เช่นเดียวกับการควบคุมผ่านพวงมาลัยที่ถือได้สบายมือให้เสถียรภาพมั่นคง
ขณะที่มิติตัวถังของ “เอ็กซ์ซี90” ถือว่าใหญ่นะครับ เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง GLE (M-Class)และ X5 หรือถ้าเทียบกับ “เอ็กซ์ซี90 ตัวเก่า” ก็ใหญ่ขึ้นแทบทุกมิติยกเว้นความสูง
ด้วยความยาว 4,950 มม.(เพิ่มขึ้น 143 มม.) กว้าง 2,140 มม.(เพิ่มขึ้น 204 มม.) ระยะฐานล้อ 2,984 มม.(เพิ่มขึ้น 127 มม.) ส่วนความสูง 1,776 มม. ลดลง 8 มม. แม้ตัวรถจะยาวเกือบ 5 เมตร แต่การขับขี่ในเมืองช่วงรถติด (มีแอบเลี้ยวเข้าไปในตลาดแม่กลอง) ยังพบว่าขับขี่ได้คล่องตัว ความยาวใหญ่ไม่ได้เป็นปัญหา พวงมาลัยควบคุมง่าย(น้ำหนักแปรผันตามความเร็วรถอยู่แล้ว) การเดินคันเร่งแม่นยำ การจับของเบรกแน่นพร้อมระยะชะลอหยุดอยู่ในการควบคุม (อาจต้องใช้เวลาปรับตัวเข้าหารถสักพักก็จับทิศทางกะระยะได้แล้ว)
ดังนั้นความใหญ่ดังกล่าว จึงส่งผลดีมาในห้องโดยสารกับการวางเบาะ 3 แถว 7 ที่นั่ง แม้ไปนั่งเบาะแถว3ยังมีพื้นที่ให้ขยับขยายพอสมควร (สำหรับคนความสูงไม่เกิน 170) นี่ขนาดมียางอะไหล่เก็บอยู่ด้านล่าง
ส่วนหนึ่งเพราะการออกแบบช่วงล่าง โดยด้านหน้าเป็นแบบปีกนกสองชั้นแต่ด้านหลังวอลโว่เรียกว่า “อินทิกรัลลิงก์” (Integral Link) มีแขนและจุดยึดต่างๆ ร่วมกับเหล็กสปริงแบบแบนขวางลำตัวรถ ช่วยลดพื้นที่สำหรับชุดกันสะเทือนหลังน้อยลง จึงมีส่วนสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ตรงเบาะนั่งแถวสาม หรือถ้าไม่เปิดนั่งในตำแหน่งนี้ ก็สามารถพับลงได้ราบสวยงาม
ผู้เขียนยังเห็นความเอาใจใส่ของวอลโว่ ด้วยการติดตั้งช่องแอร์มาเต็มรถ ทั้งของคนขับ-ผู้โดยสารด้านหน้าที่มีเป็นปกติอยู่แล้ว แต่สำหรับคนนั่งแถวสองจัดให้สองจุด ตรงอุโมงค์กลางระหว่างเบาะคู่หน้าซึ่งออกแบบมาสวยน่าใช้ และช่องแอร์ด้านข้างตรงเสาบี-พิลลาร์ ส่วนคนนั่งแถวสามจะมีฝังไว้ตรงเสาซี-พิลลาร์
...แม้จะเป็นรถยุโรป แบรนด์สวีเดนเมืองหนาว แต่ออกแบบระบบปรับอากาศได้โดนใจคนเมืองร้อนจริงๆ (ช่วยให้เย็นเร็วและสบายตลอดการเดินทาง)
พูดถึงการเป็นวอลโว่ แบรนด์สวีเดน(แต่เจ้าของเป็นทุนจีน) หลักการออกแบบภายในที่ยึดถือมานานอย่าง “สแกนดิเนเวียน ดีไซน์” ในเอ็กซ์ซี90 โฉมใหม่ก็ไม่ได้ละทิ้ง
โดยหลักของ“สแกนดิเนเวียน ดีไซน์” คือ การออกแบบภายในให้ปราณีต หรูหรา ใช้วัสดุคุณภาพดี ที่สำคัญต้องใช้งานง่าย ดังนั้นเมื่อเข้ามาในห้องโดยสารจะเห็นจอควบคุมแบบทัชสกรีนขนาด 9 นิ้ว ฝังอยู่คอนโซลกลางซึ่งออกแบบเอียงหันหน้าเข้าหาคนขับเล็กน้อย
คล้ายมีไอแพดขนาดใหญ่ติดรถ ซึ่งจะใช้ควบคุมระบบต่างๆของรถทั้ง เครื่องเสียง ระบบปรับอากาศ ระบบนำทาง และระบบความปลอดภัยต่างๆให้เปิดหรือปิดการใช้งานได้ง่ายจากจอควบคุมนี้ (มีระบบสั่งงานด้วยเสียงด้วย)
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมัน ลองวัดช่วงขากลับจากเพชรบุรีใช้ความเร็วเฉลี่ย 100-120 กม./ชม. จากนั้นมาเจอรถติดหนักบนทางด่วนในกรุงเทพอีกครึ่งชั่วโมง สุดท้ายเห็นตัวเลขหน้าจอแสดงผล 7.5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือประมาณ 13.33 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ... “เอ็กซ์ซี90”เป็นผู้นำในการเข้ามาพลิกศักราชใหม่แห่งความก้าวหน้าให้กับ รถยนต์“วอลโว่” ทั้งแนวคิดการออกแบบ ขุมพลัง Drive E ขับดีสมรรถะสูง บวกกับความคุ้มค่าของระบบความปลอดภัยที่จัดให้อยู่ในเอสยูวีระดับท็อปของโลก ซึ่งยุคใหม่ของวอลโว่จะเริ่มนับจากตรงนี้ได้เลย ในส่วนตัวรถใครชอบเทคโนโลยีสุดล้ำและต้องการความเป็นที่สุดคงต้องเลือกไปทางปลั๊ก-อินไฮบริด แต่ถ้าใช้งานจริง ออปชันเพียงพอต่อการใช้งาน รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลถือว่าสมเหตุสมผลแล้ว แถมประหยัดเงินไป 5 แสนบาท(เทียบกับเกรด Momentum)
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างรุ่น D5 กับ T8 Twin Engine (ปลั๊กอินไฮบริด)
ระบบความปลอดภัยขึ้นเทพ
ระบบปกป้องเมื่อเกิดการวิ่งตกถนนหรือลื่นไถลออกนอกถนน(Run-Off Road Protection) (ครั้งแรกของโลก) |
ระบบเบรกอัตโนมัติบริเวณทางร่วมแยก (Auto Brake at Intersection) เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดอันตรายจากการชนกับรถที่วิ่งสวนมาที่ทางแยก (ครั้งแรกของโลก) |
ระบบป้องกันการชนพร้อมเซนเซอร์ตรวจจับรถยนต์ คนเดินถนน ผู้ขับขี่จักรยานและสัตว์ขนาดใหญ่พร้อมฟังก์ชั่นหยุดรถอัตโนมัติ (City Safety and Auto Braking function) |
ระบบป้องกันจากกรณีถูกชนท้ายรถ (Pre-crash protection in rear impacts) |
ระบบแจ้งเตือนป้ายจราจรบนหน้าปัดรถ (Extended Road Sign Information) |
ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีรถวิ่งเข้ามาทางด้านข้างขณะถอยหลังออกจากที่จอด (Cross Traffic Alert) |
ระบบแจ้งเตือนเมื่อมียานพาหนะบริเวณจุดบอดสายตา (Cover the Blind Spot) |
ระบบหยุดและออกตัวรถโดยอัตโนมัติ (Queue Assist) |
ระบบป้องกันและปกป้องกรณีรถพลิกคว่ำ (Groundbreaking Rollover Prevention and Protection) |
ระบบช่วยในการขึ้นที่ลาดชัน (Hill Start Assist) |
ระบบช่วยในกาลงที่ลาดชัน (Hill Descent Control) |
ระบบช่วยในการจอดรถอัตโนมัติ แบบถอยหลังเข้าซองและขนานขอบทาง (Park Assist Pilot-Perpendicular & Parallel Parking) |
กล้องช่วยในการจอดรถพร้อมจอแสดงผลด้วยภาพ 360 องศา Park Assist Camera -360 degree |
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ MGR Motoring