“เซียส” (Ciaz) อีโคคาร์ลำดับที่สามของซูซูกิ เปิดตัวทำตลาดในเมืองไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นสร้างความฮือฮาด้วยขนาดตัวถังยาวใหญ่และรูปลักษณ์ที่ดูภูมิฐาน พร้อมการตกแต่งภายในและออปชันจัดมาแบบน่าใช้
ทว่ายังมีบางจุดที่ผู้เขียนเคยให้ความเห็นเรื่องพละกำลังและการควบคุมว่ายังไม่ประทับใจนัก นั่นเพราะซูซูกิคำนึงถึงการเป็นอีโคคาร์ ที่ต้องผ่านมาตรฐานไอเสียอันเข้มงวด สอดคล้องกับอัตราบริโภคน้ำมันที่ต้องทำให้ได้ไม่น้อยกว่า 20 กม./ลิตร ตามเงื่อนไขของโครงการ
ในญี่ปุ่น ซูซูกิขึ้นชื่อเรื่องเก๋งเล็กมานานครับ ขณะที่เมืองไทยต้องยกตำแหน่งให้เป็นเจ้าพ่ออีโคคาร์ เพราะมีโมเดลให้เลือกมากที่สุดคือ 3 รุ่น
“เซเลริโอ้” เจาะกลุ่มลูกค้าที่เน้นความคุ้มค่า ราคาเข้าถึงได้ง่าย (แถมประหยัดน้ำมันสุดๆ) “สวิฟท์” จับลูกค้าที่กล้าต่างอย่างมีสไตล์ มีบุคลิกเฉพาะตัว ขณะที่ “เซียส” หวังเข้าทางคนเริ่มมีครอบครัว และได้ประโยชน์จากพื้นที่ใช้สอยอันกว้างขวางนั่งสบาย
ล่าสุดซูซูกิเพิ่มทางเลือกด้วยรุ่นย่อย “อาร์เอส” (RS) เน้นรูปลักษณ์ที่โฉบเฉี่ยวมากขึ้น มาพร้อมแนวคิด “ภาพลักษณ์ใหม่แห่งอีโคคาร์สไตล์สปอร์ต”
“เซียส อาร์เอส” จึงกลายเป็นอีโคคาร์ที่แพงที่สุดของค่าย ด้วยราคา 675,000 บาท หรือเพิ่ม 50,000 บาท เมื่อเทียบกับตัวท็อปเดิม GLX
โดยของที่ให้มาเพิ่มในรุ่น RS มีทั้ง ชุดแต่งรอบคัน ไล่ตั้งแต่ สเกิร์ตหน้า-ด้านข้าง-ด้านหลัง และสปอยเลอร์หลังฝังไฟเบรกดวงที่สามรวมถึงสัญลักษณ์ตัวอักษร RS แปะด้านท้าย ซึ่งชิ้นงานนี้ดูดีกว่าตอนที่สวิฟท์ แปะชื่อรุ่น RX ขายเมื่อปี 2014
ภายในเบาะนั่งหุ้มด้วยหนัง (รุ่นอื่นๆเป็นเบาะผ้า) แถมโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยหน้าจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว ควบคุมและแสดงการทำงานของเครื่องเสียง โทรศัพท์ ระบบนำทาง พร้อมรองรับโปรแกรม Apple CarPlay (เมื่อเชื่อมต่อบลูทูธโทรศัพท์)
ออปชันเหล่านี้ครับ ส่งให้รถดูมีระดับมากขึ้น อย่างรูปลักษณ์ภายนอกก็โดดเด่นชัดเจน ชุดแต่งและเส้นสายไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่าหล่อแตกต่างจากเพื่อนร่วมถนน
เช่นเดียวกับภายในห้องโดยสาร ด้วยเบาะหนังกับหน้าจอทัชกรีนขนาดโตเต็มตา ส่งให้รถดูหรูหราน่าสัมผัส ส่วนจุดเด่นเรื่องความกว้างภายในห้องโดยสารยังต้องยกให้เซียสชนะเลิศ โดยเฉพาะด้านหลังกว้างขวางนั่งสบาย พนักพิงหลังเอนกำลังดี เบาะรองนั่งก็รับกับสะโพกได้ลงตัว ไม่นิ่มไม่แข็งจนเกินไป เพียงแต่ต้องปรับเรื่องหมอนรองศีรษะสำหรับผู้โดยสารด้านหลัง ควรจะเป็นแบบปรับระดับให้สูงขึ้นได้ (แบบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ หมอนไม่รับกับหัวคนตัวสูงๆ)
อีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้ ในรุ่น RS จะใช้ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง 195/55 R16 ต่างจากตัวท็อปเดิม GLX ใช้ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว ประกบ 185/65 R15 (และไม่มียางอะไหล่เหมือนเดิม)
ลงตัวกับช่วงล่างด้านหน้าแบบแมคเพอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม ซึ่งมีผลพอสมควรกับการควบคุมที่เสถียรมากขึ้น การสั่งงานพวงมาลัยชัดเจนตามความรู้สึก เช่นเดียวกับน้ำหนักหน่วงมือพร้อมความนิ่งเมื่อขับความเร็วเกิน 100 กม./ชม.ขึ้นไป
….ประเด็นเรื่องขนาดล้อและยางของรุ่น RS อาจจะไม่ถึงกับทำให้รถเปลี่ยนบุคลิกจากอีกคันเป็นอีกคัน แต่ในความรู้สึกของผู้เขียนว่ามันต่างกันพอสมควรและเป็นการเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดี
ขณะเดียวกัน ไม่มีผลเรื่องเสียงยางดังเข้ามากระแทกหู เพราะการเก็บเสียงรบกวนจากภายนอกของเซียสนั้นทำได้ดีอยู่แล้ว ส่วนอัตราบริโภคน้ำมัน ขับความเร็วเฉลี่ย 120 กม./ชม. และหลายช่วงก็เข่นแรงเร่งเร็วมากไปกว่านั้น ลองจับในระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร(วิ่งไปพัทยา) หน้าจอยังแสดงตัวเลขได้ระดับ 16 กม./ลิตร
ส่วนที่ยังรู้สึกเหมือนเดิม นั่นคือการตอบสนองของเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.25 ลิตร 91 แรงม้า และเกียร์สายพาน CVT ที่เหมือนจะออกตัวจากจุดหยุดนิ่งดีมีแรงผลัก แต่ช่วงความเร็วกลางๆหากหวังพลังเร่งเร็วทันที ต้องใช้คำว่าอืด
กล่าวคือถ้าขับไปเรื่อยๆก็ไม่มีปัญหา ทว่าบางช่วงต้องการให้รถพุ่งทยานทันที(ในบางสถานการณ์) ระหว่างย่านความเร็ว 30-70 กม./ชม. กำลังลงสู่ล้ออาจจะมาช้าไปสักนิด (คงเป็นเรื่องเซ็ทอัตราทดเกียร์ด้วย)
อย่างไรก็ตาม ถ้าขับไปจนถึงหรือเลยความเร็ว 100 กม./ชม. ขึ้นไป รถก็พลิ้วพุ่งขับสบาย
ด้านระบบความปลอดภัยจัดให้ทั้ง ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบเสริมแรงเบรก BA ขณะที่เบรกหน้าเป็นดิสก์ หลังดรัม การตอบสนองของจังหวะและระยะชะลอหยุดยังให้ความมั่นใจสูง
รวบรัดตัดความ...จ่ายเพิ่ม 50,000 บาทจากรุ่น GLX ถือว่าสมควรกับออปชันใหม่ที่ให้มา แต่ถ้าดูค่าตัวโดยรวม 6.75 แสนบาท ถือเป็นอีโคคาร์ระดับพรีเมียมราคาสูง ขณะที่ประสิทธิภาพของช่วงล่างการควบคุมแน่นขึ้น เครื่องยนต์ขนาด 1.25 ลิตร 91 แรงม้า ไม่จี๊ดเร้าใจแน่ๆ แต่ก็เพียงพอกับการใช้งานจริงและเน้นประหยัดน้ำมัน กับรถซีดานความยาว 4.5 เมตร บริหารจัดการพลังได้ขนาดนี้ ถือว่าไม่ขี้เหร่ละครับ
ทว่ายังมีบางจุดที่ผู้เขียนเคยให้ความเห็นเรื่องพละกำลังและการควบคุมว่ายังไม่ประทับใจนัก นั่นเพราะซูซูกิคำนึงถึงการเป็นอีโคคาร์ ที่ต้องผ่านมาตรฐานไอเสียอันเข้มงวด สอดคล้องกับอัตราบริโภคน้ำมันที่ต้องทำให้ได้ไม่น้อยกว่า 20 กม./ลิตร ตามเงื่อนไขของโครงการ
ในญี่ปุ่น ซูซูกิขึ้นชื่อเรื่องเก๋งเล็กมานานครับ ขณะที่เมืองไทยต้องยกตำแหน่งให้เป็นเจ้าพ่ออีโคคาร์ เพราะมีโมเดลให้เลือกมากที่สุดคือ 3 รุ่น
“เซเลริโอ้” เจาะกลุ่มลูกค้าที่เน้นความคุ้มค่า ราคาเข้าถึงได้ง่าย (แถมประหยัดน้ำมันสุดๆ) “สวิฟท์” จับลูกค้าที่กล้าต่างอย่างมีสไตล์ มีบุคลิกเฉพาะตัว ขณะที่ “เซียส” หวังเข้าทางคนเริ่มมีครอบครัว และได้ประโยชน์จากพื้นที่ใช้สอยอันกว้างขวางนั่งสบาย
ล่าสุดซูซูกิเพิ่มทางเลือกด้วยรุ่นย่อย “อาร์เอส” (RS) เน้นรูปลักษณ์ที่โฉบเฉี่ยวมากขึ้น มาพร้อมแนวคิด “ภาพลักษณ์ใหม่แห่งอีโคคาร์สไตล์สปอร์ต”
“เซียส อาร์เอส” จึงกลายเป็นอีโคคาร์ที่แพงที่สุดของค่าย ด้วยราคา 675,000 บาท หรือเพิ่ม 50,000 บาท เมื่อเทียบกับตัวท็อปเดิม GLX
โดยของที่ให้มาเพิ่มในรุ่น RS มีทั้ง ชุดแต่งรอบคัน ไล่ตั้งแต่ สเกิร์ตหน้า-ด้านข้าง-ด้านหลัง และสปอยเลอร์หลังฝังไฟเบรกดวงที่สามรวมถึงสัญลักษณ์ตัวอักษร RS แปะด้านท้าย ซึ่งชิ้นงานนี้ดูดีกว่าตอนที่สวิฟท์ แปะชื่อรุ่น RX ขายเมื่อปี 2014
ภายในเบาะนั่งหุ้มด้วยหนัง (รุ่นอื่นๆเป็นเบาะผ้า) แถมโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยหน้าจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว ควบคุมและแสดงการทำงานของเครื่องเสียง โทรศัพท์ ระบบนำทาง พร้อมรองรับโปรแกรม Apple CarPlay (เมื่อเชื่อมต่อบลูทูธโทรศัพท์)
ออปชันเหล่านี้ครับ ส่งให้รถดูมีระดับมากขึ้น อย่างรูปลักษณ์ภายนอกก็โดดเด่นชัดเจน ชุดแต่งและเส้นสายไปในทิศทางเดียวกัน เรียกว่าหล่อแตกต่างจากเพื่อนร่วมถนน
เช่นเดียวกับภายในห้องโดยสาร ด้วยเบาะหนังกับหน้าจอทัชกรีนขนาดโตเต็มตา ส่งให้รถดูหรูหราน่าสัมผัส ส่วนจุดเด่นเรื่องความกว้างภายในห้องโดยสารยังต้องยกให้เซียสชนะเลิศ โดยเฉพาะด้านหลังกว้างขวางนั่งสบาย พนักพิงหลังเอนกำลังดี เบาะรองนั่งก็รับกับสะโพกได้ลงตัว ไม่นิ่มไม่แข็งจนเกินไป เพียงแต่ต้องปรับเรื่องหมอนรองศีรษะสำหรับผู้โดยสารด้านหลัง ควรจะเป็นแบบปรับระดับให้สูงขึ้นได้ (แบบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ หมอนไม่รับกับหัวคนตัวสูงๆ)
อีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้ ในรุ่น RS จะใช้ล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง 195/55 R16 ต่างจากตัวท็อปเดิม GLX ใช้ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว ประกบ 185/65 R15 (และไม่มียางอะไหล่เหมือนเดิม)
ลงตัวกับช่วงล่างด้านหน้าแบบแมคเพอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม ซึ่งมีผลพอสมควรกับการควบคุมที่เสถียรมากขึ้น การสั่งงานพวงมาลัยชัดเจนตามความรู้สึก เช่นเดียวกับน้ำหนักหน่วงมือพร้อมความนิ่งเมื่อขับความเร็วเกิน 100 กม./ชม.ขึ้นไป
….ประเด็นเรื่องขนาดล้อและยางของรุ่น RS อาจจะไม่ถึงกับทำให้รถเปลี่ยนบุคลิกจากอีกคันเป็นอีกคัน แต่ในความรู้สึกของผู้เขียนว่ามันต่างกันพอสมควรและเป็นการเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดี
ขณะเดียวกัน ไม่มีผลเรื่องเสียงยางดังเข้ามากระแทกหู เพราะการเก็บเสียงรบกวนจากภายนอกของเซียสนั้นทำได้ดีอยู่แล้ว ส่วนอัตราบริโภคน้ำมัน ขับความเร็วเฉลี่ย 120 กม./ชม. และหลายช่วงก็เข่นแรงเร่งเร็วมากไปกว่านั้น ลองจับในระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร(วิ่งไปพัทยา) หน้าจอยังแสดงตัวเลขได้ระดับ 16 กม./ลิตร
ส่วนที่ยังรู้สึกเหมือนเดิม นั่นคือการตอบสนองของเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.25 ลิตร 91 แรงม้า และเกียร์สายพาน CVT ที่เหมือนจะออกตัวจากจุดหยุดนิ่งดีมีแรงผลัก แต่ช่วงความเร็วกลางๆหากหวังพลังเร่งเร็วทันที ต้องใช้คำว่าอืด
กล่าวคือถ้าขับไปเรื่อยๆก็ไม่มีปัญหา ทว่าบางช่วงต้องการให้รถพุ่งทยานทันที(ในบางสถานการณ์) ระหว่างย่านความเร็ว 30-70 กม./ชม. กำลังลงสู่ล้ออาจจะมาช้าไปสักนิด (คงเป็นเรื่องเซ็ทอัตราทดเกียร์ด้วย)
อย่างไรก็ตาม ถ้าขับไปจนถึงหรือเลยความเร็ว 100 กม./ชม. ขึ้นไป รถก็พลิ้วพุ่งขับสบาย
ด้านระบบความปลอดภัยจัดให้ทั้ง ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบเสริมแรงเบรก BA ขณะที่เบรกหน้าเป็นดิสก์ หลังดรัม การตอบสนองของจังหวะและระยะชะลอหยุดยังให้ความมั่นใจสูง
รวบรัดตัดความ...จ่ายเพิ่ม 50,000 บาทจากรุ่น GLX ถือว่าสมควรกับออปชันใหม่ที่ให้มา แต่ถ้าดูค่าตัวโดยรวม 6.75 แสนบาท ถือเป็นอีโคคาร์ระดับพรีเมียมราคาสูง ขณะที่ประสิทธิภาพของช่วงล่างการควบคุมแน่นขึ้น เครื่องยนต์ขนาด 1.25 ลิตร 91 แรงม้า ไม่จี๊ดเร้าใจแน่ๆ แต่ก็เพียงพอกับการใช้งานจริงและเน้นประหยัดน้ำมัน กับรถซีดานความยาว 4.5 เมตร บริหารจัดการพลังได้ขนาดนี้ ถือว่าไม่ขี้เหร่ละครับ