DHL เผยภาคธุรกิจยานยนต์ปฏิวัติวงการควบรวมกับภาคเทคโนโลยี เนื่องจากผู้ผลิตยานยนต์มองหาการปฏิบัติการที่มีมาตรฐานดีกว่าเดิม ตรวจสอบสถานะการปฏิบัติงานได้ และมีการจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดในกระบวนการซัพพลายเชนได้ดียิ่งขึ้น อันเป็นผลมาจากความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมล้ำหน้า
รายงานเรื่อง “การปฏิวัติเงียบ: การผนึกกำลังและซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต” (The Quiet Revolution: Convergence and the Future Automotive Supply Chain) จัดทำขึ้นโดย ลิซ่า ฮาร์ริงตัน ประธานกลุ่มแอริงตัน ซึ่งได้รับมอบหมายจากดีเอชแอล (DHL) บริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของโลก ในการค้นหาความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก
การบรรจบกันสู่สุดยอดแห่งการรวมตัวนี้ เป็นผลพวงจากกับการเติบโตของซัพพลายเออร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก อันจะเห็นได้จากการที่ส่วนประกอบยานยนต์ที่ผู้ผลิตยานยนต์ใช้ถึงร้อยละ 82 ในปัจจุบันนั้นมาจากซัพพลายเออร์ ในขณะที่เมื่อสามสิบปีก่อน มีอัตราการใช้ส่วนประกอบจากซัพพลายเออร์เพียงร้อยละ 56 เท่านั้น การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างโรงงานผลิตและซัพพลายเออร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญในบทบาทของแต่ละผู้เล่นในตลาดไป จากเดิมที่อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ผู้รับจ้างผลิต ภายใต้การควบคุมของเจ้าของผลิตภัณฑ์ (OEMs) ซึ่งผู้ผลิตยานยนต์ต่างต้องการมาตรฐานที่ดีขึ้น ความสามารถในการตรวจสอบสถานะการปฏิบัติการ และการจัดการกับความเสี่ยงในกระบวนการซัพพลายเชน เพื่อคงไว้ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด
ลิซ่า ฮาร์ริงตัน ประธานกลุ่มแอริงตัน กล่าวว่า ยุคสมัยของการทำธุรกิจยานยนต์แบบเก่าได้สิ้นสุดลงแล้ว ในอดีตการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จะเอื้อประโยชน์ให้กับโรงงานผู้รับจ้างผลิต ซึ่งมีฐานซัพพลายเออร์ของตนอย่างจำกัด จากภายในอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น แต่ในวันนี้รถยนต์ขนาดกลางโดยทั่วไปใช้ระบบไมโครโพรเซสเซอร์ถึงประมาณ 40-50 ระบบในการขับเคลื่อน ซึ่งต้องใช้การเขียนรหัสคำสั่งที่มีความยาวกว่า 20 ล้านบรรทัด ในขณะที่เครื่องบินโบอิ้ง 787 ใช้รหัสคำสั่งเพียงไมถึง 15 ล้านบรรทัด
“สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยง และการพึ่งพาอาศัยกันของภาคอุตสาหกรรมทั้งสอง” ฮาร์ริงตันเสริมว่า “ในขณะที่ผู้บริโภคต้องการรถยนต์ที่ชาญฉลาดและไฮเทคมากขึ้น ผู้ผลิตต้องเผชิญกับความท้าทายในการแบกรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนในกระบวนการซัพพลายเชนของตน ธุรกิจจำเป็นต้องมีมาตรการเชิงรุกและทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานในซัพพลายเชน มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานในยุคใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักทางธุรกิจ”
กระบวนการซัพพลายเชนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์โฉมใหม่ ประกอบด้วยสามเสาหลักที่สำคัญ คือ การวางมาตรฐาน การตรวจสอบสถานะและการบริหารความเสี่ยง ธุรกิจจะต้องทำงานที่จะสร้างการจัดการทางกายภาพและข้อมูลของซัพพลายเชน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์และซัพพลายเออร์ ปรับปรุงการดำเนินงานซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวม บริษัทหลายๆแห่งได้เดินทางไปสู่การวางมาตรฐาน ซึ่งเป็นส่วนหลักในการวางแผนกลยุทธ์ที่จะเปลี่ยนซัพพลายเชนโลกของพวกเขา
เสาหลักที่สอง การตรวจสอบสถานะการปฏิบัติงาน เกิดขึ้นได้โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านซัพพลายเชน ระบบไอทีจะช่วยให้การตรวจสอบเกิดขึ้นผ่านระบบวิเคราะห์ผลและระบบติดตามซึ่งบันทึกทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นในกระบวนการซัพพลายเชน ความสามารถในการตรวจสอบเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบความถูกต้องว่าอะไรกำลังผ่านเข้ามาในเครือข่ายของพวกเขาบ้างได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ความสามารถในการตรวจสอบดังกล่าวยังช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง อันเป็นเสาหลักที่สาม ด้วยการลดความไม่แน่นอนในกระบวนการซัพพลายเชน
ไมเคิล มาร์ติน รองประธานกรรมการ ฝ่ายพัฒนายุทธศาสตร์ ภาคธุรกิจยานยนต์ระดับสากล ของดีเอชแอล ซัพพลายเชน กล่าวว่า ดีเอชแอลมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับทั้งธุรกิจยานยนต์และธุรกิจเทคโนโลยีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ เราได้เห็นวิธีการที่ทั้งสองธุรกิจบรรจบเข้าหากันและเห็นความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถเกิดขึ้นได้ การเพิ่มเติมของซัพพลายเออร์รายใหม่สู่ธุรกิจยานยนต์นั่นหมายความว่า การบริหารความเสี่ยงของซัพพลายเออร์ได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนและซับซ้อนในธุรกิจยานยนต์ สำหรับซัพพลายเออร์ด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภค ผู้แข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องกระจายฐานซัพพลายเออร์ของพวกเขาให้มีความหลากหลาย ด้วยการจัดหาแหล่งซัพพลายเออร์ท้องถิ่นหรือใกล้เคียงในระดับภูมิภาคเพื่อลดการพึ่งพาและป้องกันความเสี่ยง
“บริษัทต้องแน่ใจว่าพวกเขาใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นการจัดการความเสี่ยงล่าสุด ในการรักษาความสามารถในการแข่งขัน” มาร์ตินกล่าวเสริมว่า “โซลูชั่นเหล่านี้รวมถึงการมีศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการขนส่งหรือคอนโทรลทาวเวอร์ในกระบวนการซัพพลายเชนที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติงานได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อีกทั้งยังควบคุมการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นในกระบวนการซัพพลายเชน นอกจากนี้ ยังมีการประเมินความเสี่ยงและเครื่องมือจัดการความเสี่ยง เช่น ระบบซอฟท์แวร์ DHL’s Resilience360 ซึ่งเป็นระบบการจัดการความเสี่ยงรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้ธุรกิจแปรเปลี่ยนการหยุดชะงักของธุรกิจ ความผันผวนทางสังคมและการเมือง รวมถึงสิ่งแวดล้อมของโลก ให้กลายเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยความสามารถในการตรวจตรากระบวนการซัพพลายเชนได้ครบทุกแง่มุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และความสามารถในการตรวจสอบความเสี่ยงได้ตามเวลาจริง”
สามารถดาวน์โหลดเอกสารรายงาน “การปฏิวัติเงียบ: การผนึกกำลังและซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต” ได้ที่นี้ www.dhl.com/auto-convergence
รายงานเรื่อง “การปฏิวัติเงียบ: การผนึกกำลังและซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต” (The Quiet Revolution: Convergence and the Future Automotive Supply Chain) จัดทำขึ้นโดย ลิซ่า ฮาร์ริงตัน ประธานกลุ่มแอริงตัน ซึ่งได้รับมอบหมายจากดีเอชแอล (DHL) บริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของโลก ในการค้นหาความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก
การบรรจบกันสู่สุดยอดแห่งการรวมตัวนี้ เป็นผลพวงจากกับการเติบโตของซัพพลายเออร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก อันจะเห็นได้จากการที่ส่วนประกอบยานยนต์ที่ผู้ผลิตยานยนต์ใช้ถึงร้อยละ 82 ในปัจจุบันนั้นมาจากซัพพลายเออร์ ในขณะที่เมื่อสามสิบปีก่อน มีอัตราการใช้ส่วนประกอบจากซัพพลายเออร์เพียงร้อยละ 56 เท่านั้น การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างโรงงานผลิตและซัพพลายเออร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญในบทบาทของแต่ละผู้เล่นในตลาดไป จากเดิมที่อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ผู้รับจ้างผลิต ภายใต้การควบคุมของเจ้าของผลิตภัณฑ์ (OEMs) ซึ่งผู้ผลิตยานยนต์ต่างต้องการมาตรฐานที่ดีขึ้น ความสามารถในการตรวจสอบสถานะการปฏิบัติการ และการจัดการกับความเสี่ยงในกระบวนการซัพพลายเชน เพื่อคงไว้ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด
ลิซ่า ฮาร์ริงตัน ประธานกลุ่มแอริงตัน กล่าวว่า ยุคสมัยของการทำธุรกิจยานยนต์แบบเก่าได้สิ้นสุดลงแล้ว ในอดีตการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จะเอื้อประโยชน์ให้กับโรงงานผู้รับจ้างผลิต ซึ่งมีฐานซัพพลายเออร์ของตนอย่างจำกัด จากภายในอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น แต่ในวันนี้รถยนต์ขนาดกลางโดยทั่วไปใช้ระบบไมโครโพรเซสเซอร์ถึงประมาณ 40-50 ระบบในการขับเคลื่อน ซึ่งต้องใช้การเขียนรหัสคำสั่งที่มีความยาวกว่า 20 ล้านบรรทัด ในขณะที่เครื่องบินโบอิ้ง 787 ใช้รหัสคำสั่งเพียงไมถึง 15 ล้านบรรทัด
“สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยง และการพึ่งพาอาศัยกันของภาคอุตสาหกรรมทั้งสอง” ฮาร์ริงตันเสริมว่า “ในขณะที่ผู้บริโภคต้องการรถยนต์ที่ชาญฉลาดและไฮเทคมากขึ้น ผู้ผลิตต้องเผชิญกับความท้าทายในการแบกรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนในกระบวนการซัพพลายเชนของตน ธุรกิจจำเป็นต้องมีมาตรการเชิงรุกและทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานในซัพพลายเชน มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานในยุคใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักทางธุรกิจ”
กระบวนการซัพพลายเชนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์โฉมใหม่ ประกอบด้วยสามเสาหลักที่สำคัญ คือ การวางมาตรฐาน การตรวจสอบสถานะและการบริหารความเสี่ยง ธุรกิจจะต้องทำงานที่จะสร้างการจัดการทางกายภาพและข้อมูลของซัพพลายเชน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์และซัพพลายเออร์ ปรับปรุงการดำเนินงานซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวม บริษัทหลายๆแห่งได้เดินทางไปสู่การวางมาตรฐาน ซึ่งเป็นส่วนหลักในการวางแผนกลยุทธ์ที่จะเปลี่ยนซัพพลายเชนโลกของพวกเขา
เสาหลักที่สอง การตรวจสอบสถานะการปฏิบัติงาน เกิดขึ้นได้โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านซัพพลายเชน ระบบไอทีจะช่วยให้การตรวจสอบเกิดขึ้นผ่านระบบวิเคราะห์ผลและระบบติดตามซึ่งบันทึกทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นในกระบวนการซัพพลายเชน ความสามารถในการตรวจสอบเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบความถูกต้องว่าอะไรกำลังผ่านเข้ามาในเครือข่ายของพวกเขาบ้างได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ความสามารถในการตรวจสอบดังกล่าวยังช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง อันเป็นเสาหลักที่สาม ด้วยการลดความไม่แน่นอนในกระบวนการซัพพลายเชน
ไมเคิล มาร์ติน รองประธานกรรมการ ฝ่ายพัฒนายุทธศาสตร์ ภาคธุรกิจยานยนต์ระดับสากล ของดีเอชแอล ซัพพลายเชน กล่าวว่า ดีเอชแอลมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับทั้งธุรกิจยานยนต์และธุรกิจเทคโนโลยีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ เราได้เห็นวิธีการที่ทั้งสองธุรกิจบรรจบเข้าหากันและเห็นความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถเกิดขึ้นได้ การเพิ่มเติมของซัพพลายเออร์รายใหม่สู่ธุรกิจยานยนต์นั่นหมายความว่า การบริหารความเสี่ยงของซัพพลายเออร์ได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนและซับซ้อนในธุรกิจยานยนต์ สำหรับซัพพลายเออร์ด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภค ผู้แข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องกระจายฐานซัพพลายเออร์ของพวกเขาให้มีความหลากหลาย ด้วยการจัดหาแหล่งซัพพลายเออร์ท้องถิ่นหรือใกล้เคียงในระดับภูมิภาคเพื่อลดการพึ่งพาและป้องกันความเสี่ยง
“บริษัทต้องแน่ใจว่าพวกเขาใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นการจัดการความเสี่ยงล่าสุด ในการรักษาความสามารถในการแข่งขัน” มาร์ตินกล่าวเสริมว่า “โซลูชั่นเหล่านี้รวมถึงการมีศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการขนส่งหรือคอนโทรลทาวเวอร์ในกระบวนการซัพพลายเชนที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติงานได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อีกทั้งยังควบคุมการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นในกระบวนการซัพพลายเชน นอกจากนี้ ยังมีการประเมินความเสี่ยงและเครื่องมือจัดการความเสี่ยง เช่น ระบบซอฟท์แวร์ DHL’s Resilience360 ซึ่งเป็นระบบการจัดการความเสี่ยงรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้ธุรกิจแปรเปลี่ยนการหยุดชะงักของธุรกิจ ความผันผวนทางสังคมและการเมือง รวมถึงสิ่งแวดล้อมของโลก ให้กลายเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยความสามารถในการตรวจตรากระบวนการซัพพลายเชนได้ครบทุกแง่มุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และความสามารถในการตรวจสอบความเสี่ยงได้ตามเวลาจริง”
สามารถดาวน์โหลดเอกสารรายงาน “การปฏิวัติเงียบ: การผนึกกำลังและซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต” ได้ที่นี้ www.dhl.com/auto-convergence