อื้อฉาวไปทั่วโลก! กรณีสหรัฐอเมริกาจับความขี้ฉ้อของค่ายรถยักษ์ใหญ่ “โฟล์คสวาเกน” เกี่ยวกับค่ามลพิษ แต่ในส่วนของประเทศไทยที่การคุ้มครองผู้บริโภคค่อนข้างต่ำ ได้ขยับแสดงความโปร่งใสเพื่อผู้บริโภคอีกระดับ ด้วยการออกมาตรการให้ผู้ประกอบการติดป้ายข้อมูล “อีโค สติ๊กเกอร์”(ECO Sticker) รถทุกคัน ขณะที่ในภูมิภาคก็มี Asean NCAP เป็นแหล่งตรวจสอบประเมินคุณค่าของรถ ซึ่งทั้งสองอย่างถือเป็นข้อมูลควรรู้อีกอย่าง สำหรับคนคิดจะซื้อรถได้ดีทีเดียว...
เกี่ยวกับเรื่องของมลพิษสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักๆ ในการพิจารณาซื้อรถสักคันของผู้บริโภค แต่เพื่อให้เกิดการใช้รถอย่างยั่งยืน (Sustainable Mobility) ในรถยนต์ทุกประเภท อย่างแพร่หลายในประเทศไทย รัฐบาลไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์และผู้นำเข้า จะต้องติด “อีโค สติ๊กเกอร์” (ECO Sticker) ที่ต้องแสดงการประหยัดพลังงานและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ไปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป ยกเว้นรถที่ยุติการผลิตในประเทศไทย หรือนำเข้าก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2558
การติดป้ายข้อมูลอีโค สติ๊กเกอร์ ยังเป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ที่อัตราการจัดเก็บเป็นไปตามปริมาณการปล่อย CO2 ของรถยนต์ ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป และยังเป็นการแสดงความโปร่งใสของข้อมูลสมรรถนะรถแก่ผู้บริโภคไทย ซึ่งทั้งหมดก่อให้เกิดประโยชน์ใน 4 มิติด้วยกัน
โดยมิติแรกเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปสู่เป้าหมายการใช้รถยนต์อย่างยั่งยืน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติที่แท้จริงของรถยนต์แต่ละรุ่น ทั้งเรื่องในด้านความสะอาด ประหยัด และปลอดภัย เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ และยังจูงใจให้ผู้ประกอบการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีต่อเนื่อง, มิติที่ 2 เป็นการยกระดับการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย, มิติที่ 3 ส่งเสริมและสร้างความเป็นธรรม ทั้งในส่วนของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และการชำระภาษีระบบ ECO Sticker และสุดท้ายมิติที่ 4 การก้าวไปสู่เป้าหมายของระบบราชการแบบ Digital ซึ่งข้อมูลอีโค สติ๊เกอร์ ของรถจะเปิดเผยอย่างเป็นทางการผ่านเว็บไซต์ www.car.go.th ในเดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นไป
สำหรับป้ายข้อมูลอีโค สติ๊กเกอร์ ที่บริษัทรถต้องติดไว้กับรถที่ผลิต หรือนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นไป ต้องติดไว้บริเวณกระจกด้านหน้ารถยนต์ทุกคัน ก่อนส่งมอบให้กับตัวแทนจำหน่าย หรือโชว์รูมรถยนต์ โดยจะมีการแสดงข้อมูลพื้นฐานของรถ เช่น ยี่ห้อ รุ่น หมายเลขตัวถัง รหัสเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ และสมรรถนะรถ เป็นต้น
ทั้งนี้ข้อมูลสำคัญที่เดิมไม่ค่อยจะเผยแพร่ แต่ในอีโค สติ๊กเกอร์ จะมีแสดง 3 ส่วนสำคัญ คือส่วนแรกเป็นเรื่องของความสะอาด หรือการปล่อย CO2 มากน้อยเท่าไหร่ (หน่วย g/km) จากการทดสอบตามหลักเกณฑ์ UN R101 และยังมีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมว่าผ่านการตรวจสอบ “มอก.” หรือมาตรฐานมลพิษของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มาตรฐานบังคับ) และผ่านมตรฐานมลพิษระดับสากลที่วัดตามหลักเกณฑ์ UN R83 ในระดับ EURO4, EURO5 หรือ EURO6(ดีที่สุด)
ส่วนต่อมาจะเป็นข้อมูลการประหยัดเชื้อเพลิง (หน่วย ลิตร/100 กม. หรือ L/100 km) ซึ่งเป็นอัตราการใช้น้ำมันอ้างอิงที่ทดสอบตามหลักเกณฑ์ UN R101 ในห้องปฎิบัติการ โดยแยกอัตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสภาวะรวม หรือเฉลี่ย(Combine) สภาวะในเมือง(Urban) และสภาวะนอกเมือง
อีกส่วนของมาตรฐานความปลอดภัย ที่แยกเป็นมาตรฐานระบบเบรก(Active Safety) ไม่ว่าจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบของระบบเบรก ABS และ ESC ผ่านการทดสอบมาตรฐานระบบเบรกรถยนต์นั่ง UN R13H และรถตู้ รถบรรทุก หรือรถลาก UN R13 นอกจากนี้ยังมีระบบมาตรฐานการปกป้องผู้โดยสาร(Passive Safety) ตามมาตรฐานของ UN R94 กรณีเกิดการชนด้านหน้าของตัวรถ และ UN R95 กรณีเกิดการชนด้านข้างของตัวรถ (หมายเหตุ : มาตรฐาน UN คือมาตรฐานของสหประชาชาติ หรือ United Nation ตามข้อตกลงปี 1958 ซึ่งมีประเทศสมาชิก 51 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย)
นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ จากหน่วยงานทดสอบและประเมินคุณค่าของรถที่จำหน่ายในอาเซียน หรือ Asean NCAP ซึ่งเป็นองกรณ์ประเมินคุณค่ารถจัดตั้งเป็นลำดับที่ 9 ของ NCAP (New Car Assessment Program) เมื่อปี 20111 ภายใต้มาตรฐาน Global NCAP สนับสนุนการดำเนินงานโดยหน่วยงานวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย (MIROS)
แม้จะไม่ได้อยู่ในเมืองไทย แต่มีรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศไทย หรือรถบางรุ่นที่นำเข้ามาขายในไทยและอาเซียน ได้นำรถไปทดสอบกับ Asean NCAP เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีการส่งออกและนำเข้าเพื่อทำตลาดในภูมิภาคเหมือนๆ กันหลายรุ่น ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทรถ 20 ยี่ห้อ ส่งรถไปให้ทาง Asean NCAP ทดสอบและประเมินคุณค่ารถ แม้จะไม่ครอบคลุมทุกรุ่นแต่มีหลายรุ่นที่วางจำหน่ายในไทย โดยเฉพาะรุ่นสำคัญๆ และผลิตในไทยถูกส่งไปทดสอบเกือบหมด อย่างรถใหม่รุ่นล่าสุดฮอนด้า เอชอาร์-วี และโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว เป็นต้น
การประเมินคุณค่ารถจากผลการทดสอบของ Asean NCAP ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้ได้มาตรฐานสูงขึ้นต่อเนื่อง จนปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 3 (Phase III) ซึ่งแสดงข้อมูลที่ชัดเจนและดูง่ายขึ้น โดยส่วนสำคัญจะมีผลการทดสอบจากการป้องกันความปลอดภัยผู้ใหญ่ (Adult Occupant Protection : AOP) ที่แสดงเป็นระดับสูงสุด 5 ดาว หรือ 16 คะแนนเต็ม และการป้องกันความปลอดภัยเด็ก (Child Occupant Protection : COP) ที่แสดงระดับสูงสุด 5 ดาวเช่นกัน แต่เปอร์เซ็นต์ที่ได้สูงสุดเทียบกับ 49 คะแนน หรือเท่ากับ 100% และยังมีผลการทดสอบการชนด้านข้างตามมาตรฐาน UN R95 ถ้าผ่านจะเขียนว่า “Pass” และไม่ผ่านจะระบุเป็น “Fail” ส่วนแถวสุดท้ายจะบอกเดือนและปีที่ทำการทดสอบ (ดูภาพประกอบ)
สำหรับข้อมูลการทดสอบรถของ Asean NCAP สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.aseancap.org ซึ่งจะมีผลการทดสอบอย่างละเอียดของรถที่ผู้ผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายนำมาทดสอบ รวมถึงรายละเอียดการแสดงผลระดับการบาดเจ็บของส่วนต่างๆ ของร่างกาย 4 ส่วนหลักๆ และคำอธิบายประกอบเหตุผลด้วย
นี่คือการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้บริโภค ซึ่งแม้อาจจะไม่ใช่ปัจจัยลำดับแรกของการตัดสินใจซื้อรถ แต่นับเป็นข้อมูลควรรู้และนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ เพื่อมุ่งสู้การใช้รถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย ที่สำคัญยังเป็นการผลักดันให้บริษัทรถเร่งปรับปรุงพัฒนารถด้วย...
เกี่ยวกับเรื่องของมลพิษสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักๆ ในการพิจารณาซื้อรถสักคันของผู้บริโภค แต่เพื่อให้เกิดการใช้รถอย่างยั่งยืน (Sustainable Mobility) ในรถยนต์ทุกประเภท อย่างแพร่หลายในประเทศไทย รัฐบาลไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์และผู้นำเข้า จะต้องติด “อีโค สติ๊กเกอร์” (ECO Sticker) ที่ต้องแสดงการประหยัดพลังงานและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ไปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป ยกเว้นรถที่ยุติการผลิตในประเทศไทย หรือนำเข้าก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2558
การติดป้ายข้อมูลอีโค สติ๊กเกอร์ ยังเป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ที่อัตราการจัดเก็บเป็นไปตามปริมาณการปล่อย CO2 ของรถยนต์ ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป และยังเป็นการแสดงความโปร่งใสของข้อมูลสมรรถนะรถแก่ผู้บริโภคไทย ซึ่งทั้งหมดก่อให้เกิดประโยชน์ใน 4 มิติด้วยกัน
โดยมิติแรกเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปสู่เป้าหมายการใช้รถยนต์อย่างยั่งยืน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติที่แท้จริงของรถยนต์แต่ละรุ่น ทั้งเรื่องในด้านความสะอาด ประหยัด และปลอดภัย เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ และยังจูงใจให้ผู้ประกอบการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีต่อเนื่อง, มิติที่ 2 เป็นการยกระดับการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย, มิติที่ 3 ส่งเสริมและสร้างความเป็นธรรม ทั้งในส่วนของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และการชำระภาษีระบบ ECO Sticker และสุดท้ายมิติที่ 4 การก้าวไปสู่เป้าหมายของระบบราชการแบบ Digital ซึ่งข้อมูลอีโค สติ๊เกอร์ ของรถจะเปิดเผยอย่างเป็นทางการผ่านเว็บไซต์ www.car.go.th ในเดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นไป
สำหรับป้ายข้อมูลอีโค สติ๊กเกอร์ ที่บริษัทรถต้องติดไว้กับรถที่ผลิต หรือนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นไป ต้องติดไว้บริเวณกระจกด้านหน้ารถยนต์ทุกคัน ก่อนส่งมอบให้กับตัวแทนจำหน่าย หรือโชว์รูมรถยนต์ โดยจะมีการแสดงข้อมูลพื้นฐานของรถ เช่น ยี่ห้อ รุ่น หมายเลขตัวถัง รหัสเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ และสมรรถนะรถ เป็นต้น
ทั้งนี้ข้อมูลสำคัญที่เดิมไม่ค่อยจะเผยแพร่ แต่ในอีโค สติ๊กเกอร์ จะมีแสดง 3 ส่วนสำคัญ คือส่วนแรกเป็นเรื่องของความสะอาด หรือการปล่อย CO2 มากน้อยเท่าไหร่ (หน่วย g/km) จากการทดสอบตามหลักเกณฑ์ UN R101 และยังมีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมว่าผ่านการตรวจสอบ “มอก.” หรือมาตรฐานมลพิษของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มาตรฐานบังคับ) และผ่านมตรฐานมลพิษระดับสากลที่วัดตามหลักเกณฑ์ UN R83 ในระดับ EURO4, EURO5 หรือ EURO6(ดีที่สุด)
ส่วนต่อมาจะเป็นข้อมูลการประหยัดเชื้อเพลิง (หน่วย ลิตร/100 กม. หรือ L/100 km) ซึ่งเป็นอัตราการใช้น้ำมันอ้างอิงที่ทดสอบตามหลักเกณฑ์ UN R101 ในห้องปฎิบัติการ โดยแยกอัตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสภาวะรวม หรือเฉลี่ย(Combine) สภาวะในเมือง(Urban) และสภาวะนอกเมือง
อีกส่วนของมาตรฐานความปลอดภัย ที่แยกเป็นมาตรฐานระบบเบรก(Active Safety) ไม่ว่าจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบของระบบเบรก ABS และ ESC ผ่านการทดสอบมาตรฐานระบบเบรกรถยนต์นั่ง UN R13H และรถตู้ รถบรรทุก หรือรถลาก UN R13 นอกจากนี้ยังมีระบบมาตรฐานการปกป้องผู้โดยสาร(Passive Safety) ตามมาตรฐานของ UN R94 กรณีเกิดการชนด้านหน้าของตัวรถ และ UN R95 กรณีเกิดการชนด้านข้างของตัวรถ (หมายเหตุ : มาตรฐาน UN คือมาตรฐานของสหประชาชาติ หรือ United Nation ตามข้อตกลงปี 1958 ซึ่งมีประเทศสมาชิก 51 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย)
นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ จากหน่วยงานทดสอบและประเมินคุณค่าของรถที่จำหน่ายในอาเซียน หรือ Asean NCAP ซึ่งเป็นองกรณ์ประเมินคุณค่ารถจัดตั้งเป็นลำดับที่ 9 ของ NCAP (New Car Assessment Program) เมื่อปี 20111 ภายใต้มาตรฐาน Global NCAP สนับสนุนการดำเนินงานโดยหน่วยงานวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย (MIROS)
แม้จะไม่ได้อยู่ในเมืองไทย แต่มีรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศไทย หรือรถบางรุ่นที่นำเข้ามาขายในไทยและอาเซียน ได้นำรถไปทดสอบกับ Asean NCAP เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีการส่งออกและนำเข้าเพื่อทำตลาดในภูมิภาคเหมือนๆ กันหลายรุ่น ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทรถ 20 ยี่ห้อ ส่งรถไปให้ทาง Asean NCAP ทดสอบและประเมินคุณค่ารถ แม้จะไม่ครอบคลุมทุกรุ่นแต่มีหลายรุ่นที่วางจำหน่ายในไทย โดยเฉพาะรุ่นสำคัญๆ และผลิตในไทยถูกส่งไปทดสอบเกือบหมด อย่างรถใหม่รุ่นล่าสุดฮอนด้า เอชอาร์-วี และโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว เป็นต้น
การประเมินคุณค่ารถจากผลการทดสอบของ Asean NCAP ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้ได้มาตรฐานสูงขึ้นต่อเนื่อง จนปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 3 (Phase III) ซึ่งแสดงข้อมูลที่ชัดเจนและดูง่ายขึ้น โดยส่วนสำคัญจะมีผลการทดสอบจากการป้องกันความปลอดภัยผู้ใหญ่ (Adult Occupant Protection : AOP) ที่แสดงเป็นระดับสูงสุด 5 ดาว หรือ 16 คะแนนเต็ม และการป้องกันความปลอดภัยเด็ก (Child Occupant Protection : COP) ที่แสดงระดับสูงสุด 5 ดาวเช่นกัน แต่เปอร์เซ็นต์ที่ได้สูงสุดเทียบกับ 49 คะแนน หรือเท่ากับ 100% และยังมีผลการทดสอบการชนด้านข้างตามมาตรฐาน UN R95 ถ้าผ่านจะเขียนว่า “Pass” และไม่ผ่านจะระบุเป็น “Fail” ส่วนแถวสุดท้ายจะบอกเดือนและปีที่ทำการทดสอบ (ดูภาพประกอบ)
สำหรับข้อมูลการทดสอบรถของ Asean NCAP สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.aseancap.org ซึ่งจะมีผลการทดสอบอย่างละเอียดของรถที่ผู้ผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายนำมาทดสอบ รวมถึงรายละเอียดการแสดงผลระดับการบาดเจ็บของส่วนต่างๆ ของร่างกาย 4 ส่วนหลักๆ และคำอธิบายประกอบเหตุผลด้วย
นี่คือการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้บริโภค ซึ่งแม้อาจจะไม่ใช่ปัจจัยลำดับแรกของการตัดสินใจซื้อรถ แต่นับเป็นข้อมูลควรรู้และนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ เพื่อมุ่งสู้การใช้รถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัย ที่สำคัญยังเป็นการผลักดันให้บริษัทรถเร่งปรับปรุงพัฒนารถด้วย...