ข่าวในประเทศ - ประธานใหญ่มาสด้า เชื่อมั่นประเทศไทยโดยวางให้เป็นฐานการผลิตสำคัญหนึ่งในสี่แห่งของโลก และมีศักยภาพเทียบเท่าประเทศญี่ปุ่น หลังเปิดโรงงานผลิตเครื่องยนต์และเกียร์แห่งใหม่ที่จังหวัดชลบุรี ด้วยเงินลงทุน 7.3 พันล้านบาท หวังผลักดันยอดขายทั่วโลกให้ถึง 1.65 ล้านคันภายใน 3 ปี
นายมาซามิชิ โคไก ประธานและซีอีโอ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า บริษัทได้วางให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญหนึ่งในสี่แห่งของโลก อันประกอบด้วย ญี่ปุ่น จีน เม็กซิโก และไทย ล่าสุดจัดพิธีเปิดโรงงานมาสด้า พาวเวอร์เทรน เมนูแฟคเจอร์ริ่ง ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ (7 ส.ค.) ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้วยเงินลงทุนกว่า 7.3 พันล้านบาท
สำหรับโรงงานแห่งนี้จะผลิตระบบส่งกำลังและเครื่องยนต์ เพื่อป้อนโรงงานผลิตรถยนต์มาสด้าในไทย(ออโต้ อัลลายแอนซ์) รวมถึงโรงงานที่ประเทศ จีน เม็กซิโก เวียดนาม และมาเลเซีย รองรับทั้งรุ่นมาสด้า2 มาสด้า3 เอสยูวีซีเอ็กซ์-5 และมาสด้า6 ในส่วนของเกียร์อัตโนมัติสกายแอคทีฟ ไดร์ฟ เริ่มสายการผลิตไปตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ตั้งเป้าผลิตปีนี้ 2.3 แสนลูกจากกำลังการผลิตเต็มที่ 4.0 แสนลูก ต่อปี ส่วนเครื่องยนต์สกายแอคทีฟดีเซลและเบนซินจะเริ่มดำเนินการเร็วๆนี้ ซึ่งช่วงเริ่มต้นเตรียมกำลังผลิต 3.0 หมื่นเครื่องต่อปี
“ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของมาสด้าในภูมิภาคอาเซียน และการเปิดโรงงานมาสด้า พาวเวอร์เทรน เมนูแฟคเจอร์ริ่ง ประเทศไทย ส่งผลให้ไทยกลายเป็นประเทศแรกนอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นที่มีการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์อย่างครอบคลุม พร้อมยกระดับให้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเทียบเท่าประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว"
นายโคไก กล่าวว่า ปิดปีงบประมาณ 2557 มาสด้ามียอดขายรถยนต์ทั่วโลก 1.39 ล้านคัน ส่วนปีนี้จะขายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.49 ล้านคัน ซึ่งหลังการเปิดโรงงาน มาสด้า พาวเวอร์เทรน เมนูแฟคเจอร์ริ่ง ประเทศไทย จะมีส่วนช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจของมาสด้าในภาพรวม โดยบริษัทตั้งเป้าหมายในแผนระยะกลาง หรือ 3 ปีจากนี้จะเพิ่มกำลังผลิตหรือมียอดขายถึง 1.65 ล้านคันทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านแผนระยะกลาง 3 ปี และเข้าสู่เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ เจเนอเรชันที่สอง แล้ว บริษัทจะต้องพิจารณาแผนการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะฐานการผลิตในประเทศต่างๆ รวมถึงภูมิภาคอาเซียนที่มีกำลังการผลิตรถยนต์รวม 1.7 แสนคันต่อปี แบ่งเป็นไทย 1.4 แสนคัน เวียดนาม 2 หมื่นคัน และมาเลเซีย 1 หมื่นคัน ส่วนจะเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใด หรือเลือกเพิ่มกำลังการผลิตและการลงทุนในประเทศใดบริษัทยังไม่ได้ตัดสินใจ
นายมาซามิชิ โคไก ประธานและซีอีโอ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า บริษัทได้วางให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญหนึ่งในสี่แห่งของโลก อันประกอบด้วย ญี่ปุ่น จีน เม็กซิโก และไทย ล่าสุดจัดพิธีเปิดโรงงานมาสด้า พาวเวอร์เทรน เมนูแฟคเจอร์ริ่ง ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ (7 ส.ค.) ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้วยเงินลงทุนกว่า 7.3 พันล้านบาท
สำหรับโรงงานแห่งนี้จะผลิตระบบส่งกำลังและเครื่องยนต์ เพื่อป้อนโรงงานผลิตรถยนต์มาสด้าในไทย(ออโต้ อัลลายแอนซ์) รวมถึงโรงงานที่ประเทศ จีน เม็กซิโก เวียดนาม และมาเลเซีย รองรับทั้งรุ่นมาสด้า2 มาสด้า3 เอสยูวีซีเอ็กซ์-5 และมาสด้า6 ในส่วนของเกียร์อัตโนมัติสกายแอคทีฟ ไดร์ฟ เริ่มสายการผลิตไปตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ตั้งเป้าผลิตปีนี้ 2.3 แสนลูกจากกำลังการผลิตเต็มที่ 4.0 แสนลูก ต่อปี ส่วนเครื่องยนต์สกายแอคทีฟดีเซลและเบนซินจะเริ่มดำเนินการเร็วๆนี้ ซึ่งช่วงเริ่มต้นเตรียมกำลังผลิต 3.0 หมื่นเครื่องต่อปี
“ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของมาสด้าในภูมิภาคอาเซียน และการเปิดโรงงานมาสด้า พาวเวอร์เทรน เมนูแฟคเจอร์ริ่ง ประเทศไทย ส่งผลให้ไทยกลายเป็นประเทศแรกนอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นที่มีการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์อย่างครอบคลุม พร้อมยกระดับให้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเทียบเท่าประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว"
นายโคไก กล่าวว่า ปิดปีงบประมาณ 2557 มาสด้ามียอดขายรถยนต์ทั่วโลก 1.39 ล้านคัน ส่วนปีนี้จะขายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.49 ล้านคัน ซึ่งหลังการเปิดโรงงาน มาสด้า พาวเวอร์เทรน เมนูแฟคเจอร์ริ่ง ประเทศไทย จะมีส่วนช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจของมาสด้าในภาพรวม โดยบริษัทตั้งเป้าหมายในแผนระยะกลาง หรือ 3 ปีจากนี้จะเพิ่มกำลังผลิตหรือมียอดขายถึง 1.65 ล้านคันทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านแผนระยะกลาง 3 ปี และเข้าสู่เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ เจเนอเรชันที่สอง แล้ว บริษัทจะต้องพิจารณาแผนการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะฐานการผลิตในประเทศต่างๆ รวมถึงภูมิภาคอาเซียนที่มีกำลังการผลิตรถยนต์รวม 1.7 แสนคันต่อปี แบ่งเป็นไทย 1.4 แสนคัน เวียดนาม 2 หมื่นคัน และมาเลเซีย 1 หมื่นคัน ส่วนจะเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใด หรือเลือกเพิ่มกำลังการผลิตและการลงทุนในประเทศใดบริษัทยังไม่ได้ตัดสินใจ