ผ่านไปกว่า 4 ปี นับตั้งแต่ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” รายงานถึงทิศทางการ Downsizing หรือพัฒนาเครื่องยนต์เล็กลงในตลาดปิกอัพ มาถึงวันนี้กำลังเป็นกระแสหลักชัดเจน โดยเกือบทุกค่ายต่างพัฒนาเครื่องยนต์ในแนวทางนี้กันหมด ซึ่งบางค่ายมีการขยับไปเป็นครั้งที่ 2 แล้ว และล่าสุดเจ้าตลาด “โตโยต้า ไฮลักซ์” เพิ่งวางเครื่องยนต์บล็อกใหม่เล็กกว่าเดิม ลงมาชนกับคู่แข่งอื่นๆ ที่ขยับไปก่อนหน้านี้ หรือแม้แต่คู่แข่งสำคัญ “อีซูซุ ดีแมคซ์” ก็เริ่มมีกระแสความเคลื่อนไหวเช่นกัน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่ายรถพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ให้เล็กลง แต่สมรรถนะความแรงเท่าเดิม หรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ มาจากเรื่องวิกฤตพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง และปัญหามลพิษจากไอเสีย ซึ่งในต่างประเทศจะเห็นการวางเครื่องยนต์เล็กในกลุ่มรถยนต์นั่ง หรือเก๋งเป็นส่วนใหญ่ และในไทยรถที่วางเครื่องยนต์แนวทางดังกล่าว คือเครื่องยนต์อีโคบูสต์ของฟอร์ด หรือสกายแอคทีฟของมาสด้า แต่ที่มีความเคลื่อนไหวชัดเจนจะเป็นกลุ่มปิกอัพขนาด 1 ตัน ในฐานะประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและตลาดใหญ่สุดในโลก โดยเฉพาะในวันที่ 1 ม.ค.2559 เป็นต้นไป ที่โครงสร้างภาษีใหม่จะใช้มาตรฐาการปล่อย CO2 มาเป็นเกณฑ์กำหนดอัตราภาษี
อย่างล่าสุด “โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่” ปิกอัพโมเดลใหม่ของค่ายโตโยต้าที่มาทำตลาดแทนรุ่นไฮลักซ์ วีโก้ นอกจากการปฏิวัติปรับเปลี่ยนรูปโฉม โครงสร้างตัวถังและแชสซี รวมถึงระบบส่งกำลังแล้ว อีกจุดสำคัญของการเปลี่ยนคือการวางเครื่องยนต์บล็อกใหม่รหัส GD ที่มีให้เลือกทั้งขนาด 2.8 และ 2.4 ลิตร ซึ่งถูกนำมาวางแทนบล็อก KD ขนาด 3.0 และ 2.5 ลิตรในรุ่นไฮลักซ์ วีโก้
เครื่องยนต์บล็อกใหม่ของโตโยต้า ไฮลักซ์ จะเห็นว่ามีขนาดเล็กลงกว่ารุ่นเดิม แต่ให้สมรรถนะความแรงเพิ่มขึ้น โดยในรุ่น 1GD-FTV 2.8 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 177 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 420 นิวตัน-เมตร ขณะที่เดิมในรุ่น 1KD-FTV 3.0 ลิตร ให้กำลังสูงสุดเพียง 171 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 360 นิวตัน-เมตร และในรุ่นใหม่ 2GD-FTV 2.4 ลิตร มีกำลังสูงสุด 150 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 343 นิวตัน-เมตร แต่ในรุ่น 2KD-FTV 2.5 ลิตร VN Turbo ให้กำลังสูงสุดเพียง 144 แรงม้าเท่านั้น
ดังนั้นเครื่องยนต์เจเนอเรชั่นใหม่ในปิกอัพไฮลักซ์ รีโว่ จึงเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ในแนวทาง Downsizing ซึ่งทำให้เครื่องยนต์มีขนาดเล็กลง แต่กำลังดีกว่ารุ่นเดิมที่มีเครื่องขนาดใหญ่ ที่สำคัญต้องกินน้ำมันน้อยลง โดย “ฮิโรกิ นาคาจิมะ” หัวหน้าวิศวกรอาวุโส และเจ้าหน้าที่บริหาร โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่าไฮลักซ์ รีโว่ มากับหัวฉีดเทคโนโลยีล่าสุดปั๊มแรงดันสูง 220 MPa และยังมีเทคโนโลยีช่วยประหยัดนั้นอื่นๆ จึงทำให้ไฮลักซ์ รีโว่ ประหยัดน้ำมันดีกว่ารุ่นเดิมไฮลักซ์ วีโก้ ประมาณ 10% ในทั้งสองเครื่องยนต์
ส่วนคู่แข่งที่เปิดตัวโฉมใหม่ก่อนหน้านี้ไม่นาน “มิตซูบิชิ ไทรทัน” ได้วางเครื่องยนต์ใหม่ รหัส 4N15 “MIVEC วีจีเทอร์โบ อะลูมินัม อัลลอย บล็อก” ขนาด 2.4 ลิตร VG Turbo ให้แรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง 200 Mpa จึงช่วยเครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์แบบ ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 430 นิวตัน-เมตร โดยเครื่องยนต์ใหม่นี้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นถึง 20% และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดมลพิษลงได้ถึง 17% เมื่อเทียบกับรุ่นที่ผ่านมา
การวางเครื่องยนต์เล็กแต่มีสมรรถนะกำลังเพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ค่ายมิตซูบิชิได้ประเดิมเริ่มลองมาแล้ว ในรุ่นไทรทันโฉมเดิมก่อนที่จะโมเดลเชนจ์ ด้วยการพัฒนาปรับปรุงบล็อก 4D56 ขนาด 2.5 ลิตร Di-D 140 แรงม้า ติดตั้งระบบเทอร์โบแปรผัน หรือ VG Turbo พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพหัวฉีด จึงทำให้เพิ่มกำลังสูงสุดเป็น 178 แรงม้า ซึ่งมากกว่าเครื่องยนต์ใหญ่สุด 3.2 ลิตร 165 แรงม้า ที่มิตซูบิชิได้ถอดออกจากตลาดในไทย เพื่อนำรุ่น 2.5 ลิตร VG Turbo มาแทนเสียอีก
ในส่วนปิกอัพ “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “มาสด้า บีที-50 โปร” ที่จะปรับโฉมหรือไมเนอร์เชนจ์เปิดตัวในไทยกลางปีนี้ แม้จะไม่มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์บล็อกใหม่ แต่ทั้งสองค่ายนับเป็นกลุ่มแรกๆ ที่นำแนวทางการ Downsizing มาใช้ ซึ่งในการเปิดตัวโฉมปัจจุบันครั้งแรกเมื่อปี 2554 ทั้งสองโมเดลวางเครื่องยนต์รหัส PUMA ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยฟอร์ด มอเตอร์ แทนเครื่องยนต์บล็อกเดิม MZR ที่พัฒนาโดยมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และบล็อกใหม่นี้ตัวขายหลักวางเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร VG Turbo 150 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 375 นิวตัน-เมตร ซึ่งมาแทนเครื่องยนต์ MZR 2.5 ลิตร 143 แรงม้าเดิม ขณะเดียวกันในบล็อกใหม่ฟอร์ดและมาสด้ายังมีตัวแรง 3.2 ลิตร VG Turbo 200 แรงม้า มาเป็นอีกทางเลือกด้วย
อย่างไรก็ตาม ขุมกำลังระดับ 200 แรงม้า ยังมีวางในปิกอัพ “เชฟโรเลต โคโลราโด” รวมถึงรุ่นย่อยล่าสุด “ไฮคันทรี” ที่เพิ่งแนะนำสู่ตลาดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับขนาดเครื่องยนต์ Duramax ขนาด 2.8 ลิตร และมีแรงบิดสูงสุด 500 นิวตัน-เมตร ซึ่งมาจากการปรับเปลี่ยนระบบหัวฉีดใหม่ในเครื่องยนต์บล็อกเดิม ทำให้จากเดิมที่มีกำลัง 180 แรงม้า ขยับขึ้นเป็น 200 แรงม้า โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ให้ใหญ่เหมือนฟอร์ดและมาสด้า
แต่ช่วงเวลานี้ปิกอัพที่ถูกจับตามองมากที่สุด เห็นจะเป็น “อีซูซุ ดี-แมคซ์” ใหม่ ซึ่งล่าสุดมีกระแสข่าวแรงขึ้นเรื่อยๆ ว่าภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะมีการไมเนอร์เชนจ์รูปลักษณ์ และวางเครื่องยนต์บล็อกใหม่เล็กลง ขนาด 1900-2000 ซีซี เทอร์โบคู่ เพื่อแนะนำสู่ตลาดไทย หวังท้าชนกับโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่
ทั้งนี้ข่าวอีซูซุเตรียมนำเครื่องยนต์บล็อกเล็ก 1900 ซีซี มาวางในรุ่นดี-แมคซ์ที่วางขายในไทย ตามที่ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รายงานไปเมื่อกว่า 1 ปีที่ผ่านมา จากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ Nikkei ในญี่ปุ่น โดยระบุว่าจะเปิดตัวในปี 2015 ซึ่งขุมพลังใหม่มีกำลังขับเคลื่อนใกล้เคียงกับรุ่น 2.5 ลิตร แต่ช่วยประหยัดน้ำมันมากกว่าเดิม และการแนะนำเครื่องยนต์ใหม่สู่ตลาดอีซูซุมั่นใจจะช่วยเพิ่มยอดขายได้อีก 20%
ส่วนกระแสข่าวเครื่องยนต์ใหม่ อีซูซุ ดีแมคซ์ ที่ค่อนข้างมาแรงช่วงนี้ เพราะในเว็บคลับของอีซูซุเริ่มกลับมารายงานความเคลื่อนไหวดังกล่าวอีกครั้ง รวมถึงนำภาพแอบถ่ายขณะวิ่งทดสอบในภาคอีสาน และภาพเครื่องยนต์ที่ติดตั้งในปิกอัพดีแมคซ์ แต่มีความแตกต่างจากเครื่องยนต์บล็อกปัจจุบัน มาเผยแพร่ทางเว็บบอร์ดและสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากเปิดตัวปิกอัพโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ได้เพียงวันเดียว พร้อมกับระบุเครื่องยนต์ใหม่นี้ จะมาแทนรุ่น 2.5 ลิตร VGS Turbo 116 แรงม้า และยังมีกระแสข่าวอาจจะนำเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร Twin Turbo ที่ทำตลาดในยุโรปมาแทนรุ่นปัจจุบัน 3.0 VGS Turbo 177 แรงม้าด้วย แต่ยังไม่ยืนยันข่าวนี้ชัดเจนนัก
เรียกว่าขยับเป็นแถวกับเครื่องยนต์ Downsizing จากรายแรก “ทาทา ซีนอน” ที่วางเครื่องยนต์บล็อกเล็ก 2.2 ลิตร และมีตามออกมากันเรื่อยๆ ซึ่งหากยักษ์ใหญ่ “อีซูซุ ดี-แมคซ์” ขยับในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คงจะเหลือเพียง “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” แม้โฉมใหม่จะปรับเครื่อง YD เพิ่มกำลังเป็น 190 แรงม้า แต่ยังมีบล็อกใหม่ 2.3 ลิตร 200 แรงม้า เป็นทีเด็ดที่จะถูกส่งมาทำตลาดเมื่อไหร่ก็ได้?!...
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่ายรถพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ให้เล็กลง แต่สมรรถนะความแรงเท่าเดิม หรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ มาจากเรื่องวิกฤตพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง และปัญหามลพิษจากไอเสีย ซึ่งในต่างประเทศจะเห็นการวางเครื่องยนต์เล็กในกลุ่มรถยนต์นั่ง หรือเก๋งเป็นส่วนใหญ่ และในไทยรถที่วางเครื่องยนต์แนวทางดังกล่าว คือเครื่องยนต์อีโคบูสต์ของฟอร์ด หรือสกายแอคทีฟของมาสด้า แต่ที่มีความเคลื่อนไหวชัดเจนจะเป็นกลุ่มปิกอัพขนาด 1 ตัน ในฐานะประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและตลาดใหญ่สุดในโลก โดยเฉพาะในวันที่ 1 ม.ค.2559 เป็นต้นไป ที่โครงสร้างภาษีใหม่จะใช้มาตรฐาการปล่อย CO2 มาเป็นเกณฑ์กำหนดอัตราภาษี
อย่างล่าสุด “โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่” ปิกอัพโมเดลใหม่ของค่ายโตโยต้าที่มาทำตลาดแทนรุ่นไฮลักซ์ วีโก้ นอกจากการปฏิวัติปรับเปลี่ยนรูปโฉม โครงสร้างตัวถังและแชสซี รวมถึงระบบส่งกำลังแล้ว อีกจุดสำคัญของการเปลี่ยนคือการวางเครื่องยนต์บล็อกใหม่รหัส GD ที่มีให้เลือกทั้งขนาด 2.8 และ 2.4 ลิตร ซึ่งถูกนำมาวางแทนบล็อก KD ขนาด 3.0 และ 2.5 ลิตรในรุ่นไฮลักซ์ วีโก้
เครื่องยนต์บล็อกใหม่ของโตโยต้า ไฮลักซ์ จะเห็นว่ามีขนาดเล็กลงกว่ารุ่นเดิม แต่ให้สมรรถนะความแรงเพิ่มขึ้น โดยในรุ่น 1GD-FTV 2.8 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 177 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 420 นิวตัน-เมตร ขณะที่เดิมในรุ่น 1KD-FTV 3.0 ลิตร ให้กำลังสูงสุดเพียง 171 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 360 นิวตัน-เมตร และในรุ่นใหม่ 2GD-FTV 2.4 ลิตร มีกำลังสูงสุด 150 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 343 นิวตัน-เมตร แต่ในรุ่น 2KD-FTV 2.5 ลิตร VN Turbo ให้กำลังสูงสุดเพียง 144 แรงม้าเท่านั้น
ดังนั้นเครื่องยนต์เจเนอเรชั่นใหม่ในปิกอัพไฮลักซ์ รีโว่ จึงเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ในแนวทาง Downsizing ซึ่งทำให้เครื่องยนต์มีขนาดเล็กลง แต่กำลังดีกว่ารุ่นเดิมที่มีเครื่องขนาดใหญ่ ที่สำคัญต้องกินน้ำมันน้อยลง โดย “ฮิโรกิ นาคาจิมะ” หัวหน้าวิศวกรอาวุโส และเจ้าหน้าที่บริหาร โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่าไฮลักซ์ รีโว่ มากับหัวฉีดเทคโนโลยีล่าสุดปั๊มแรงดันสูง 220 MPa และยังมีเทคโนโลยีช่วยประหยัดนั้นอื่นๆ จึงทำให้ไฮลักซ์ รีโว่ ประหยัดน้ำมันดีกว่ารุ่นเดิมไฮลักซ์ วีโก้ ประมาณ 10% ในทั้งสองเครื่องยนต์
ส่วนคู่แข่งที่เปิดตัวโฉมใหม่ก่อนหน้านี้ไม่นาน “มิตซูบิชิ ไทรทัน” ได้วางเครื่องยนต์ใหม่ รหัส 4N15 “MIVEC วีจีเทอร์โบ อะลูมินัม อัลลอย บล็อก” ขนาด 2.4 ลิตร VG Turbo ให้แรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง 200 Mpa จึงช่วยเครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์แบบ ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 430 นิวตัน-เมตร โดยเครื่องยนต์ใหม่นี้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นถึง 20% และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดมลพิษลงได้ถึง 17% เมื่อเทียบกับรุ่นที่ผ่านมา
การวางเครื่องยนต์เล็กแต่มีสมรรถนะกำลังเพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้ค่ายมิตซูบิชิได้ประเดิมเริ่มลองมาแล้ว ในรุ่นไทรทันโฉมเดิมก่อนที่จะโมเดลเชนจ์ ด้วยการพัฒนาปรับปรุงบล็อก 4D56 ขนาด 2.5 ลิตร Di-D 140 แรงม้า ติดตั้งระบบเทอร์โบแปรผัน หรือ VG Turbo พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพหัวฉีด จึงทำให้เพิ่มกำลังสูงสุดเป็น 178 แรงม้า ซึ่งมากกว่าเครื่องยนต์ใหญ่สุด 3.2 ลิตร 165 แรงม้า ที่มิตซูบิชิได้ถอดออกจากตลาดในไทย เพื่อนำรุ่น 2.5 ลิตร VG Turbo มาแทนเสียอีก
ในส่วนปิกอัพ “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “มาสด้า บีที-50 โปร” ที่จะปรับโฉมหรือไมเนอร์เชนจ์เปิดตัวในไทยกลางปีนี้ แม้จะไม่มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์บล็อกใหม่ แต่ทั้งสองค่ายนับเป็นกลุ่มแรกๆ ที่นำแนวทางการ Downsizing มาใช้ ซึ่งในการเปิดตัวโฉมปัจจุบันครั้งแรกเมื่อปี 2554 ทั้งสองโมเดลวางเครื่องยนต์รหัส PUMA ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยฟอร์ด มอเตอร์ แทนเครื่องยนต์บล็อกเดิม MZR ที่พัฒนาโดยมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และบล็อกใหม่นี้ตัวขายหลักวางเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร VG Turbo 150 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 375 นิวตัน-เมตร ซึ่งมาแทนเครื่องยนต์ MZR 2.5 ลิตร 143 แรงม้าเดิม ขณะเดียวกันในบล็อกใหม่ฟอร์ดและมาสด้ายังมีตัวแรง 3.2 ลิตร VG Turbo 200 แรงม้า มาเป็นอีกทางเลือกด้วย
อย่างไรก็ตาม ขุมกำลังระดับ 200 แรงม้า ยังมีวางในปิกอัพ “เชฟโรเลต โคโลราโด” รวมถึงรุ่นย่อยล่าสุด “ไฮคันทรี” ที่เพิ่งแนะนำสู่ตลาดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับขนาดเครื่องยนต์ Duramax ขนาด 2.8 ลิตร และมีแรงบิดสูงสุด 500 นิวตัน-เมตร ซึ่งมาจากการปรับเปลี่ยนระบบหัวฉีดใหม่ในเครื่องยนต์บล็อกเดิม ทำให้จากเดิมที่มีกำลัง 180 แรงม้า ขยับขึ้นเป็น 200 แรงม้า โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ให้ใหญ่เหมือนฟอร์ดและมาสด้า
แต่ช่วงเวลานี้ปิกอัพที่ถูกจับตามองมากที่สุด เห็นจะเป็น “อีซูซุ ดี-แมคซ์” ใหม่ ซึ่งล่าสุดมีกระแสข่าวแรงขึ้นเรื่อยๆ ว่าภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะมีการไมเนอร์เชนจ์รูปลักษณ์ และวางเครื่องยนต์บล็อกใหม่เล็กลง ขนาด 1900-2000 ซีซี เทอร์โบคู่ เพื่อแนะนำสู่ตลาดไทย หวังท้าชนกับโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่
ทั้งนี้ข่าวอีซูซุเตรียมนำเครื่องยนต์บล็อกเล็ก 1900 ซีซี มาวางในรุ่นดี-แมคซ์ที่วางขายในไทย ตามที่ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รายงานไปเมื่อกว่า 1 ปีที่ผ่านมา จากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ Nikkei ในญี่ปุ่น โดยระบุว่าจะเปิดตัวในปี 2015 ซึ่งขุมพลังใหม่มีกำลังขับเคลื่อนใกล้เคียงกับรุ่น 2.5 ลิตร แต่ช่วยประหยัดน้ำมันมากกว่าเดิม และการแนะนำเครื่องยนต์ใหม่สู่ตลาดอีซูซุมั่นใจจะช่วยเพิ่มยอดขายได้อีก 20%
ส่วนกระแสข่าวเครื่องยนต์ใหม่ อีซูซุ ดีแมคซ์ ที่ค่อนข้างมาแรงช่วงนี้ เพราะในเว็บคลับของอีซูซุเริ่มกลับมารายงานความเคลื่อนไหวดังกล่าวอีกครั้ง รวมถึงนำภาพแอบถ่ายขณะวิ่งทดสอบในภาคอีสาน และภาพเครื่องยนต์ที่ติดตั้งในปิกอัพดีแมคซ์ แต่มีความแตกต่างจากเครื่องยนต์บล็อกปัจจุบัน มาเผยแพร่ทางเว็บบอร์ดและสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากเปิดตัวปิกอัพโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ได้เพียงวันเดียว พร้อมกับระบุเครื่องยนต์ใหม่นี้ จะมาแทนรุ่น 2.5 ลิตร VGS Turbo 116 แรงม้า และยังมีกระแสข่าวอาจจะนำเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร Twin Turbo ที่ทำตลาดในยุโรปมาแทนรุ่นปัจจุบัน 3.0 VGS Turbo 177 แรงม้าด้วย แต่ยังไม่ยืนยันข่าวนี้ชัดเจนนัก
เรียกว่าขยับเป็นแถวกับเครื่องยนต์ Downsizing จากรายแรก “ทาทา ซีนอน” ที่วางเครื่องยนต์บล็อกเล็ก 2.2 ลิตร และมีตามออกมากันเรื่อยๆ ซึ่งหากยักษ์ใหญ่ “อีซูซุ ดี-แมคซ์” ขยับในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คงจะเหลือเพียง “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” แม้โฉมใหม่จะปรับเครื่อง YD เพิ่มกำลังเป็น 190 แรงม้า แต่ยังมีบล็อกใหม่ 2.3 ลิตร 200 แรงม้า เป็นทีเด็ดที่จะถูกส่งมาทำตลาดเมื่อไหร่ก็ได้?!...