ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่และยังเป็นรถยนต์ที่มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจของมาสด้า ประเทศไทย(และหลายๆประเทศทั่วโลก) เห็นได้จากการตั้งเป้าหมายขายปีนี้ 30,000 คัน จากยอดรวมทุกรุ่นที่หวังจะทำได้ถึง 50,000 คัน
ภาพนี้ยังชัดเจนเมื่องาน“บางกอก มอเตอร์โชว์ 2015” มาสด้า2 เป็นรถยนต์รุ่นที่ขายดีที่สุดภายในงานด้วยยอดจอง 2,750 คัน (ยอดจองทั้งหมดของมาสด้าในงานนี้ทำได้ 4,000 คัน) ถือว่าไม่ธรรมดาครับ ในสภาพตลาดซบซึมขนาดนี้
ในรุ่นใหม่เจเนอเรชันที่สาม การทำตลาดนับว่าน่าสนใจสำหรับประเทศไทยเพราะมีทั้งเครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร และเบนซิน 1.3 ลิตรให้เลือก โดยรุ่นแรกเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมขายไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่วนรุ่นหลังเพิ่งส่งลงตลาดช่วงเดือนมีนาคม ล่าสุดตรวจสอบสัดส่วนการขายระหว่างรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล/เบนซินอยู่ที่ 60/40 เปอร์เซ็นต์
แน่นอนว่ารุ่นดีเซลเปิดตัวก่อน สื่อสารมาก่อนสัดส่วนยอดขายจึงยังมากกว่า แต่หลังจากมีเครื่องยนต์เบนซินเป็นทางเลือก พบว่ากระแสดีขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปสัดส่วนการขายอาจจะขยับมาเท่าๆกันที่ 50/50
…ก็น่าจะขายดีละครับ เพราะราคาเริ่มต้นของรุ่นเครื่องยนต์เบนซินอยู่ที่ 5.5 แสนบาท (ดีเซลเริ่มต้น 6.75 แสนบาท) แต่คุณยังได้เทคโนโลยีสกายแอคทีฟทั้งคัน เครื่อยนต์ เกียร์ ช่วงล่าง ตัวถัง ตลอดจนออปชันสำคัญต่อการใช้งานและความปลอดภัย พร้อมการออกแบบภายนอก/ภายในที่โดนเด่น เหมือนขับรถยุโรปราคาแพงประมาณนั้น
ไล่ดูออปชันในรุ่นเริ่มต้นถือว่าไม่ขี้เหร่ เพราะคุณจะได้ระบบความปลอดภัยมาเต็มพิกัด ทั้ง ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล (TCS) ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (HLA) และระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถ (DSC) และถุงลมนิรภัยคู่หน้า
เช่นดียวกับปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ และระบบ i-stop ดับเครื่องยนต์อัตโนมัติเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง ระบบ i-ELOOP ดึงเอาพลังงานจลน์ที่สูญเสียไปจาการชะลอหยุดและการเบรก เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อจะนำกลับมาใช้รองรับระบบต่างๆของรถ อาทิ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบเครื่องเสียง มาตรวัดแสดงผล ตลอดจน ระบบ Drive Selection (คล้ายๆโหมดสปอร์ต โดยเลือกได้ผ่านสวิตท์แถวๆคันเกียร์) ซึ่งระบบนี้จะมีให้ในรุ่นเครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น
อย่างไรก็ตามหากดูออปชันในรุ่นท็อปของเครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร High Plus ตัวถังแฮทช์แบ็กที่ผู้เขียนได้ลองขับเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยเงินระดับ 6.65 แสนบาทคุณจะได้เพิ่มทั้ง ไฟตัดหมอก กระจกมองข้างพับไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยว ปลายท่อไอเสียโครเมียม ภายในให้เบาะหนังสีดำเดินด้ายตะเข็บแดง แผงคอนโซลหน้า แผงประตูด้านข้างยังแต้มการตกแต่งด้วยวัสดุหนังดูไฮโซ
ช่องต่อ USB มีให้สองช่อง (รุ่นล่างและรุ่นกลางให้มาหนึ่งช่อง) ระบบแอร์อัตโนมัติ หน้าจอ Active Driving Display (จอใสๆแสดงความเร็วเป็นตัวเลขดิจิตอลอยู่หลังพวงมาลัย) และมีหน้าจอสีแบบทัชสกรีนขนาด 7 นิ้วเอาไว้แสดงผลและควบคุมเครื่องเสียง/ความบันเทิง โทรศัพท์ การตั้งค่าระบบต่างๆของรถ (แสดงเป็นภาษาไทยใช้งานง่ายดี) พร้อมระบบ MZD Connect เชื่อมต่อโลกออนไลน์ แถมด้วยปุ่มควบคุม Center Commander บริเวณคอนโซลกลาง
…ไล่ดูออปชันเพลินๆ นึกว่าเขียนถึงรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูนะครับ
ส่วนความรู้สึกการขับขี่ จริงๆแล้วผู้เขียนชอบความลงตัวของตัวถังซีดานมากกว่า ทั้งสัดส่วนการออกแบบ ประสิทธิภาพการทรงตัวและการบังคับควบคุม แต่เอาละครับตัวถังแฮทช์แบ็กก็ไม่ได้ขี้เหร่ แถมจะได้ความอเนกประสงค์เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
ด้วยแนวทางการออกแบบของมาสด้า เน้นความสวยโฉบเฉี่ยวให้ความรู้สึกพุ่งทยานและต้องขับสนุก พร้อมให้ความประหยัดน้ำมัน ดังนั้นตัวถังต้องน้ำหนักเบา (รุ่นเบนซิน ตัวถังแฮทช์แบ็กน้ำหนักรถ 1,024 กก.) ขณะที่มิติตัวถังเหมือนจะเล็ก แต่ถ้าเทียบความยาว(4,060 มม.) มาสด้า2 แฮทช์แบ็กจะอยู่ตรงกลางระหว่าง “ยาริส”(4,115 มม.) กับ “แจ๊ซ” (3,955 มม.) แต่ระยะฐานล้อมากกว่าใครเพื่อนที่ 2,570 มม.
ทว่าการนั่งในตำแหน่งผู้ขับ คนตัวใหญ่ๆอย่างผู้เขียนแทบจะลงล็อกค็อกพิตพอดี ส่วนการนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลังเหมือนหลังคาจะต่ำไปนิดแต่ไม่อึดอัดครับ ท่านั่งพร้อมองศาของพนักพิงหลังไม่ชันจนเกินไป นั่งสบายๆขยับขยายได้ตามสมควร แถมเบาะหลังยังพับได้แบบ 60:40 (รุ่นล่างพับไม่ได้)
ภายในห้องโดยสารเก็บเสียงรบกวนได้ดี เสียงลมปะทะ เสียงเครื่องยนต์ และยางบดพื้นถนน บวกกับเครื่องเสียงคุณภาพดี ซึ่งจุดเด่นพวกนี้ดีกว่ามาสด้า2 รุ่นเก่าเยอะ และถ้าเทียบกับคู่แข่งก็ไม่เป็นรองใครในชั่วโมงนี้
ประเด็นนี้มาสด้าแย้มว่า เกิดจากการควบคุมจังหวะการสั่นสะเทือนของช่วงล่าง และการปรับตำแหน่งการวางเครื่องยนต์ ความยืดหยุ่นของยางรองน้ำหนัก เสริมฉนวนเก็บเสียงมากขึ้น ทั้งหมดทั้งปวงยังทำอยู่บนหลักการของความพยายามควบคุมที่มาของเสียงรบกวนให้เกิดขึ้นอยู่ในเส้นทางเดียวกัน จึงมีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับเสียงโดยรวม
ด้านเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.3 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 93 แรงม้า ที่ 5,800 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 123 นิวตัน-เมตรที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด รองรับแก็สโซฮอล์ E20 ผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนดของอีโคคาร์เฟสสอง ทั้ง อัตราบริโภคน้ำมัน 23.3 กม./ลิตร การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร หรือมาตรฐานไอเสียระดับยูโร5
การลองขับในช่วงตีต้นหรือออกตัว มาสด้า2 เครื่องยนต์เบนซินไม่ได้ตอบสนองแบบจี๊ดจ๊าดมากมาย ประเด็นนี้ชัดเจนว่าเน้นประหยัดและหวังให้ผ่านมาตรฐานไอเสียอันเข้มงวด ยิ่งเห็นอัตราทดเฟืองท้ายในโบรชัวร์ 3.824 ก็ไม่ถือว่าจัดจ้านอะไร ผิดกับอัตราเร่งในย่านความเร็วกลางๆและปลาย ที่ขับสบายไหลได้เพลินๆ
มาสด้าย้ำว่าน้องสองเบนซิน เน้นประหยัดจริงๆแต่กระนั้นก็ไม่ประณีประนอมกับอารมณ์การขับขี่ที่สนุกสนาน วิศวกรจึงตั้งใจใส่สวิตช์ Drive Selection มาให้ เผื่อช่วงไหนคนขับอารมณ์เปลี่ยว อยากได้ความเร้าใจ เพียงใช้นิ้วงัดสวิตช์ Drive Selection ขึ้น ระบบจะสั่งงานให้รถรักษารอบสูงขึ้นกว่าปกติ (ใช้เกียร์ต่ำลง) ย่านความเร็วกลางๆ เข็มวัดรอบรออยู่แถวๆ 2,500-3,000 ขณะเดียวกันการเปลี่ยนเกียร์ตามความเร็ว ยังลากรอบให้นานขึ้น หรือไม่ยอมคิกดาวน์ให้ง่ายๆ
สำหรับช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัทพร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นทอร์ชันบีม ประกบล้ออัลลอยขนาด15 นิ้ว ยาง 185/65 R15 ทรงตัวดี เกาะถนนแน่นทั้งทางตรงและโค้งยาว การให้ตัวของช่วงล่าง/ตัวถัง รู้สึกถึงความกลมกลืน และยังเหลือที่ว่างของความนุ่มเอาไว้พอสมควร สังเกตได้จากทางขรุขระ หรือช่วงรอยต่อถนน และคอสะพาน ขับผ่านไปได้แบบสบายตัว
ถ้าจะติก็ติอย่างเดียวที่น้ำหนักของพวงมาลัยผ่อนแรงด้วยไฟฟ้าเบามือไปนิด การบังคับเลี้ยวในความเร็วสูงยังไม่เนียนแน่นตามใจของผู้เขียนนัก
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมัน จากการขับในเมืองใช้ความเร็วตามๆกันไป และวิ่งออกนอกเมืองใช้ ความเร็ว 120 กม./ชม. หลายช่วงมีเข่นแรงเร่งแซงยาวๆ สุดท้ายหลังการขับไปประมาณ 100 กม. หน้าจอยังแสดงตัวเลข 6.2 ลิตรต่อ 100 กม. หรือตก 16 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ…การตอบสนองด้านความแรงของรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร ไม่ดุดันเท่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร และหากเทียบกับพวกอีโคคาร์ เครื่องยนต์ 1.2 ลิตร เกียร์ CVT สมรรถนะรวมๆ มาสด้า2เหนือกว่านิดๆ เช่นเดียวกับออปชันและการเลือกใช้วัสดุภายใน แม้จะต้องจ่ายแพงกว่าเมื่อเทียบระหว่างตัวท็อปกับตัวท็อป แต่ดูแล้วมาสด้า2 เบนซิน ยังเป็นทางเลือกที่คุ้มเกินความคาดหมาย
ภาพนี้ยังชัดเจนเมื่องาน“บางกอก มอเตอร์โชว์ 2015” มาสด้า2 เป็นรถยนต์รุ่นที่ขายดีที่สุดภายในงานด้วยยอดจอง 2,750 คัน (ยอดจองทั้งหมดของมาสด้าในงานนี้ทำได้ 4,000 คัน) ถือว่าไม่ธรรมดาครับ ในสภาพตลาดซบซึมขนาดนี้
ในรุ่นใหม่เจเนอเรชันที่สาม การทำตลาดนับว่าน่าสนใจสำหรับประเทศไทยเพราะมีทั้งเครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร และเบนซิน 1.3 ลิตรให้เลือก โดยรุ่นแรกเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมขายไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่วนรุ่นหลังเพิ่งส่งลงตลาดช่วงเดือนมีนาคม ล่าสุดตรวจสอบสัดส่วนการขายระหว่างรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล/เบนซินอยู่ที่ 60/40 เปอร์เซ็นต์
แน่นอนว่ารุ่นดีเซลเปิดตัวก่อน สื่อสารมาก่อนสัดส่วนยอดขายจึงยังมากกว่า แต่หลังจากมีเครื่องยนต์เบนซินเป็นทางเลือก พบว่ากระแสดีขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปสัดส่วนการขายอาจจะขยับมาเท่าๆกันที่ 50/50
…ก็น่าจะขายดีละครับ เพราะราคาเริ่มต้นของรุ่นเครื่องยนต์เบนซินอยู่ที่ 5.5 แสนบาท (ดีเซลเริ่มต้น 6.75 แสนบาท) แต่คุณยังได้เทคโนโลยีสกายแอคทีฟทั้งคัน เครื่อยนต์ เกียร์ ช่วงล่าง ตัวถัง ตลอดจนออปชันสำคัญต่อการใช้งานและความปลอดภัย พร้อมการออกแบบภายนอก/ภายในที่โดนเด่น เหมือนขับรถยุโรปราคาแพงประมาณนั้น
ไล่ดูออปชันในรุ่นเริ่มต้นถือว่าไม่ขี้เหร่ เพราะคุณจะได้ระบบความปลอดภัยมาเต็มพิกัด ทั้ง ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล (TCS) ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (HLA) และระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถ (DSC) และถุงลมนิรภัยคู่หน้า
เช่นดียวกับปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ และระบบ i-stop ดับเครื่องยนต์อัตโนมัติเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง ระบบ i-ELOOP ดึงเอาพลังงานจลน์ที่สูญเสียไปจาการชะลอหยุดและการเบรก เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อจะนำกลับมาใช้รองรับระบบต่างๆของรถ อาทิ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบเครื่องเสียง มาตรวัดแสดงผล ตลอดจน ระบบ Drive Selection (คล้ายๆโหมดสปอร์ต โดยเลือกได้ผ่านสวิตท์แถวๆคันเกียร์) ซึ่งระบบนี้จะมีให้ในรุ่นเครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น
อย่างไรก็ตามหากดูออปชันในรุ่นท็อปของเครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร High Plus ตัวถังแฮทช์แบ็กที่ผู้เขียนได้ลองขับเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยเงินระดับ 6.65 แสนบาทคุณจะได้เพิ่มทั้ง ไฟตัดหมอก กระจกมองข้างพับไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยว ปลายท่อไอเสียโครเมียม ภายในให้เบาะหนังสีดำเดินด้ายตะเข็บแดง แผงคอนโซลหน้า แผงประตูด้านข้างยังแต้มการตกแต่งด้วยวัสดุหนังดูไฮโซ
ช่องต่อ USB มีให้สองช่อง (รุ่นล่างและรุ่นกลางให้มาหนึ่งช่อง) ระบบแอร์อัตโนมัติ หน้าจอ Active Driving Display (จอใสๆแสดงความเร็วเป็นตัวเลขดิจิตอลอยู่หลังพวงมาลัย) และมีหน้าจอสีแบบทัชสกรีนขนาด 7 นิ้วเอาไว้แสดงผลและควบคุมเครื่องเสียง/ความบันเทิง โทรศัพท์ การตั้งค่าระบบต่างๆของรถ (แสดงเป็นภาษาไทยใช้งานง่ายดี) พร้อมระบบ MZD Connect เชื่อมต่อโลกออนไลน์ แถมด้วยปุ่มควบคุม Center Commander บริเวณคอนโซลกลาง
…ไล่ดูออปชันเพลินๆ นึกว่าเขียนถึงรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูนะครับ
ส่วนความรู้สึกการขับขี่ จริงๆแล้วผู้เขียนชอบความลงตัวของตัวถังซีดานมากกว่า ทั้งสัดส่วนการออกแบบ ประสิทธิภาพการทรงตัวและการบังคับควบคุม แต่เอาละครับตัวถังแฮทช์แบ็กก็ไม่ได้ขี้เหร่ แถมจะได้ความอเนกประสงค์เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
ด้วยแนวทางการออกแบบของมาสด้า เน้นความสวยโฉบเฉี่ยวให้ความรู้สึกพุ่งทยานและต้องขับสนุก พร้อมให้ความประหยัดน้ำมัน ดังนั้นตัวถังต้องน้ำหนักเบา (รุ่นเบนซิน ตัวถังแฮทช์แบ็กน้ำหนักรถ 1,024 กก.) ขณะที่มิติตัวถังเหมือนจะเล็ก แต่ถ้าเทียบความยาว(4,060 มม.) มาสด้า2 แฮทช์แบ็กจะอยู่ตรงกลางระหว่าง “ยาริส”(4,115 มม.) กับ “แจ๊ซ” (3,955 มม.) แต่ระยะฐานล้อมากกว่าใครเพื่อนที่ 2,570 มม.
ทว่าการนั่งในตำแหน่งผู้ขับ คนตัวใหญ่ๆอย่างผู้เขียนแทบจะลงล็อกค็อกพิตพอดี ส่วนการนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลังเหมือนหลังคาจะต่ำไปนิดแต่ไม่อึดอัดครับ ท่านั่งพร้อมองศาของพนักพิงหลังไม่ชันจนเกินไป นั่งสบายๆขยับขยายได้ตามสมควร แถมเบาะหลังยังพับได้แบบ 60:40 (รุ่นล่างพับไม่ได้)
ภายในห้องโดยสารเก็บเสียงรบกวนได้ดี เสียงลมปะทะ เสียงเครื่องยนต์ และยางบดพื้นถนน บวกกับเครื่องเสียงคุณภาพดี ซึ่งจุดเด่นพวกนี้ดีกว่ามาสด้า2 รุ่นเก่าเยอะ และถ้าเทียบกับคู่แข่งก็ไม่เป็นรองใครในชั่วโมงนี้
ประเด็นนี้มาสด้าแย้มว่า เกิดจากการควบคุมจังหวะการสั่นสะเทือนของช่วงล่าง และการปรับตำแหน่งการวางเครื่องยนต์ ความยืดหยุ่นของยางรองน้ำหนัก เสริมฉนวนเก็บเสียงมากขึ้น ทั้งหมดทั้งปวงยังทำอยู่บนหลักการของความพยายามควบคุมที่มาของเสียงรบกวนให้เกิดขึ้นอยู่ในเส้นทางเดียวกัน จึงมีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับเสียงโดยรวม
ด้านเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.3 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 93 แรงม้า ที่ 5,800 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 123 นิวตัน-เมตรที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด รองรับแก็สโซฮอล์ E20 ผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนดของอีโคคาร์เฟสสอง ทั้ง อัตราบริโภคน้ำมัน 23.3 กม./ลิตร การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร หรือมาตรฐานไอเสียระดับยูโร5
การลองขับในช่วงตีต้นหรือออกตัว มาสด้า2 เครื่องยนต์เบนซินไม่ได้ตอบสนองแบบจี๊ดจ๊าดมากมาย ประเด็นนี้ชัดเจนว่าเน้นประหยัดและหวังให้ผ่านมาตรฐานไอเสียอันเข้มงวด ยิ่งเห็นอัตราทดเฟืองท้ายในโบรชัวร์ 3.824 ก็ไม่ถือว่าจัดจ้านอะไร ผิดกับอัตราเร่งในย่านความเร็วกลางๆและปลาย ที่ขับสบายไหลได้เพลินๆ
มาสด้าย้ำว่าน้องสองเบนซิน เน้นประหยัดจริงๆแต่กระนั้นก็ไม่ประณีประนอมกับอารมณ์การขับขี่ที่สนุกสนาน วิศวกรจึงตั้งใจใส่สวิตช์ Drive Selection มาให้ เผื่อช่วงไหนคนขับอารมณ์เปลี่ยว อยากได้ความเร้าใจ เพียงใช้นิ้วงัดสวิตช์ Drive Selection ขึ้น ระบบจะสั่งงานให้รถรักษารอบสูงขึ้นกว่าปกติ (ใช้เกียร์ต่ำลง) ย่านความเร็วกลางๆ เข็มวัดรอบรออยู่แถวๆ 2,500-3,000 ขณะเดียวกันการเปลี่ยนเกียร์ตามความเร็ว ยังลากรอบให้นานขึ้น หรือไม่ยอมคิกดาวน์ให้ง่ายๆ
สำหรับช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัทพร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นทอร์ชันบีม ประกบล้ออัลลอยขนาด15 นิ้ว ยาง 185/65 R15 ทรงตัวดี เกาะถนนแน่นทั้งทางตรงและโค้งยาว การให้ตัวของช่วงล่าง/ตัวถัง รู้สึกถึงความกลมกลืน และยังเหลือที่ว่างของความนุ่มเอาไว้พอสมควร สังเกตได้จากทางขรุขระ หรือช่วงรอยต่อถนน และคอสะพาน ขับผ่านไปได้แบบสบายตัว
ถ้าจะติก็ติอย่างเดียวที่น้ำหนักของพวงมาลัยผ่อนแรงด้วยไฟฟ้าเบามือไปนิด การบังคับเลี้ยวในความเร็วสูงยังไม่เนียนแน่นตามใจของผู้เขียนนัก
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมัน จากการขับในเมืองใช้ความเร็วตามๆกันไป และวิ่งออกนอกเมืองใช้ ความเร็ว 120 กม./ชม. หลายช่วงมีเข่นแรงเร่งแซงยาวๆ สุดท้ายหลังการขับไปประมาณ 100 กม. หน้าจอยังแสดงตัวเลข 6.2 ลิตรต่อ 100 กม. หรือตก 16 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ…การตอบสนองด้านความแรงของรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร ไม่ดุดันเท่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร และหากเทียบกับพวกอีโคคาร์ เครื่องยนต์ 1.2 ลิตร เกียร์ CVT สมรรถนะรวมๆ มาสด้า2เหนือกว่านิดๆ เช่นเดียวกับออปชันและการเลือกใช้วัสดุภายใน แม้จะต้องจ่ายแพงกว่าเมื่อเทียบระหว่างตัวท็อปกับตัวท็อป แต่ดูแล้วมาสด้า2 เบนซิน ยังเป็นทางเลือกที่คุ้มเกินความคาดหมาย