“คอมพลีตคาร์นิสโม ไม่ได้ทำมาเพื่อโกยยอดขายเป็นหลัก แต่สิ่งสำคัญคือการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับรถยนต์นิสสันมากกว่า” โชอิชิ มิยาตานิ ประธานของ นิสโม หรือ นิสสัน มอเตอร์สปอร์ต อินเตอร์เนชันเนล กล่าว
...หลังจากผู้เขียนได้เดินสัมผัสงาน Nismo Festival 2014 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ สนามฟูจิ อินเตอร์เนชันเนล สปีดเวย์ ประเทศญี่ปุ่น (คลิกอ่านบทความ Nismo Festival วันชื่นคืนสุข) ถัดมาอีกหนึ่งวันทีมงานนิสสันยังจัดอีเวนต์เล็กๆ ให้บรรดาผู้สื่อข่าวที่เดินทางมาจากทั่วโลกได้ทำความรู้จักแบรนด์ “นิสโม” มากขึ้น ผ่านการพูดคุยกับผู้บริหารและทดลองขับคอมพลีตคาร์“นิสโม” ที่ขายอยู่ในปัจจุบัน5 โมเดล
มาร์ช โน้ต จู๊ค 370Z และ จีที-อาร์ นิสโม ได้ลองครบภายในครึ่งวันเช้าครับ
ผู้เขียนขอมุ่งไปที่ไฮไลต์อย่าง “จีที-อาร์ นิสโม” (R35) รถที่ถือเป็นแบรนด์ไอคอนของนิสสัน ซึ่งสมรรถนะเดิมๆก็แข่งกับพวกซูเปอร์คาร์รุ่นดังจากยุโรป มัสเซิลคาร์จากอเมริกันได้อยู่แล้ว แต่คราวนี้ยังได้รับการโมดิฟายด์สมรรถนะให้โหดขึ้นไปอีกจากฝีมือของ “นิสโม”
สำหรับจีที-อาร์ นิสโม เริ่มขายที่ญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากนั้นครึ่งปีหลังถึงจะเป็นคิวทำตลาดของประเทศในยุโรปและอเมริกา โดยตัวรถถูกปรับปรุงเรื่องหลักอากาศพลศาสตร์ แรงกด และช่วงล่างการทรงตัวให้สอดคล้องกับพละกำลังที่เพิ่มขึ้น
เครื่องยนต์ VR38DETT วี6 3.8 ลิตร เทอร์โบคู่ เน้นพัฒนาเรื่องทางเดินอากาศหรือการหายใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเทอร์โบชาร์จหันมาใช้ลูกใหญ่เหมือนที่ใช้ในตัวแข่ง GT3 พร้อมจูนจังหวะการจุดระเบิดของแต่ละลูกสูบใหม่ และปรับปรุงระบบปั๊มน้ำมันให้ดูดดึงเข้ามาใช้ให้ทันต่อการคลุกเคล้าเผาไหม้
ส่งผลให้ขุมพลังบล็อกนี้มีกำลังสูงสุดเพิ่มเป็น 600 แรงม้า(รุ่นปกติ 550 แรงม้า)ที่ 6,800 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 652 นิวตันเมตร (รุ่นปกติ 632 นิวตันเมตร) ที่ 3,600 - 5,600 รอบต่อนาที ประกบเกียร์ดูอัลคลัทช์ 6 สปีด (ไม่ได้ปรับอัตราทดเกียร์) พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ AWD อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. นิสสันไม่มีการแจ้งไว้อย่างเป็นทางการ แต่น่าจะดีกว่ารุ่นปกติที่ทำได้ 2.7 วินาทีแน่ๆ ส่วนความเร็วสูงสุดยังล็อกไว้ 315 กม./ชม.
กระจังหน้า กันชน สปอยเลอร์รอบคันออกแบบให้ดูโดดเด่น พร้อมช่วยเรื่องประสิทธิภาพการไหลผ่านของอากาศ ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน Cd ต่ำเพียง 0.26 ด้านสปอยเลอร์หลังทรงใหม่ใหญ่ขึ้น ช่วยให้รถมีแรงกดเมื่อขับความเร็วสูง หรือประสบความสำเร็จเมื่อ จีที-อาร์ นิสโม สามารถเพิ่มแรงกดได้ 100 กิโลกรัม (เทียบกับเวอร์ชันปกติ) บนการขับความเร็ว 300 กม./ชม.
การลอง “จีที-อาร์ นิสโม” ที่สนามฟูจิ อินเตอร์เนชันเนล สปีดเวย์ ที่มีระยะทางต่อรอบ 4.5 กิโลเมตร ผู้สื่อข่าวแต่ละคนจะได้ขับกันคนละเกือบ 2 รอบ (มีโอกาสได้อัดทางตรงแค่รอบเดียว เพราะรอบที่สองต้องเลี้ยวเข้าพิต) ซึ่งจริงๆขับกันสบายๆไม่มีผู้ฝึกสอนมานั่งข้างๆเหมือนการลองขับรถแรงๆหลายรุ่นหลายครั้ง แต่กระนั้นมีข้อแม้เดียวคือต้องวิ่งตามรถนำ หรือ Pace Car แบบรักษาระยะห่างพอประมาณ
ขณะที่บรรยากาศในช่วงเช้า(วันนั้น) มีฝนตกลงมาปรอยๆ ผู้เขียนจึงได้เปิดประสบการณ์กับสปอร์ตคาร์ชื่อดัง บนสนามแข่งระดับโลกแบบ Wet Track ซึ่งการขับต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น แต่ผู้เขียนก็วิ่งติดตามรอยล้อของ Pace Car คันหน้าที่ทิ้งไว้ให้ เรียกว่าได้เรียนรู้เรซซิ่งไลน์กันแบบชัดๆ
ตลอดการขับใช้ความเร็วแถวๆ 100-120 กม./ชม. เว้นทางตรงที่ซัดได้ถึง 160 กม./ชม. (Pace Car ควบคุมเอาไว้) ส่วนการเปลี่ยนเกียร์ทำได้ทั้งบริเวณแพดเดิ้ลชิฟท์หลังพวงมาลัยและคันเกียร์ ซึ่งถ้าปล่อยเป็นโหมดอัตโนมัติก็ไม่ต้องไปยุ่งอะไร รถเขาคิดให้เสร็จสรรพและพยายามคงไว้ที่ตำแหน่งเกียร์สูงๆ เพื่อรักษารอบเครื่องยนต์ให้อยู่แถวๆ 2,000 - 3,000 รอบ หวังถนอมเครื่องยนต์ให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามหากเลือกการเปลี่ยนเกียร์เองจะได้อาการฉุดกระชากเพิ่มขึ้นมา ดึงหน้าหน่วงหลังแบบทันทีทันใด หรือเลือกใช้ก่อนเข้าโค้งยิ่งทำให้สาดใส่ได้มั่นใจมากขึ้น ซึ่งผู้เขียนเลือกใช้แถวๆเกียร์ 3-4 ละครับ เว้นสุดทางตรงที่จัดได้ถึงเกียร์ 6 ส่วนการควบคุมพวงมาลัยไม่ใช่อารมณ์รถบ้านทั่วไปแล้วครับ แม้จะเป็นแบบแรคแอนด์พิเนียน ผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า แต่สัมผัสของการสั่งงานและการควบคุมรถต้องบอกว่า เนียนแน่น เหมาะมือ น้ำหนักถือควงสบาย
ในภาพรวมของ “จีที-อาร์ นิสโม” เครื่องแรง พลังมาแบบเกรี้ยวกราดดุดัน กดคันเร่งไปนิดเดียวความเร็วทะลุ 120 กม./ชม.อย่างรวดเร็ว แต่กระนั้นการควบคุมละช่วงล่างไม่ถึงกับกระด้างดิบ เรียกว่ายังเหลือที่ว่างของการเป็นโรดคาร์ขับได้ใช้จริงอยู่พอสมควร (แต่รถเตี้ยๆพร้อมล้อขนาด 20 นิ้ว ถ้าขับจริงบนถนนเมืองไทยก็แอบเครียดอยู่เหมือนกัน)
อีกหนึ่งสถิติที่ทีมงานนิสโมภูมิใจคือ การทำเวลาต่อรอบในสนามนูร์เบิร์กริง ประเทศเยอรมนี (สังเวียนวัดความเร็วและฝีมือการทำรถยนต์ของแต่ละค่าย) ได้เพียง 7:08.679 นาที (เจ็ดนาทีแปดวินาทีกว่าๆ) แม้ไม่ใช่เวลาที่ดีที่สุดของประวัติศาสตร์สนาม แต่ถือเป็นสถิติดีอันดับต้นๆของรถโปรดักต์ชันคาร์ (อีกคันที่ทดสอบในช่วงเวลาใกล้ๆกันและทำเวลาได้ดีกว่านิดหน่อยคือ ปอร์เช่ 918 สไปเดอร์) และทุบทุกสถิติของรถตระกูลจีที-อาร์ที่ผ่านๆมา
.... “จีที-อาร์ นิสโม” ราคาขายในญี่ปุ่นตกคันละ 11.7 ล้านเยน หรือกว่า 3ล้านบาท ยังไม่ต้องไปคูณ3 ให้เสียเวลาเพราะนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ยังไม่มีแผนนำเข้ามาทำตลาดในระยะเวลาอันใกล้นี้ ส่วนรุ่นอื่นๆโอกาสยังน้อยเช่นกัน เพราะถ้ามาจริงๆราคาคงโดดเด้งจนยากที่ตลาดจะตอบรับ เว้นแต่นิสสันอยากทำงานเพิ่ม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบนด์ให้แข็งแกร่ง และฉีกเหนือรถญี่ปุ่นค่ายๆอื่นๆขึ้นไปเท่านั้นเอง
...หลังจากผู้เขียนได้เดินสัมผัสงาน Nismo Festival 2014 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ สนามฟูจิ อินเตอร์เนชันเนล สปีดเวย์ ประเทศญี่ปุ่น (คลิกอ่านบทความ Nismo Festival วันชื่นคืนสุข) ถัดมาอีกหนึ่งวันทีมงานนิสสันยังจัดอีเวนต์เล็กๆ ให้บรรดาผู้สื่อข่าวที่เดินทางมาจากทั่วโลกได้ทำความรู้จักแบรนด์ “นิสโม” มากขึ้น ผ่านการพูดคุยกับผู้บริหารและทดลองขับคอมพลีตคาร์“นิสโม” ที่ขายอยู่ในปัจจุบัน5 โมเดล
มาร์ช โน้ต จู๊ค 370Z และ จีที-อาร์ นิสโม ได้ลองครบภายในครึ่งวันเช้าครับ
ผู้เขียนขอมุ่งไปที่ไฮไลต์อย่าง “จีที-อาร์ นิสโม” (R35) รถที่ถือเป็นแบรนด์ไอคอนของนิสสัน ซึ่งสมรรถนะเดิมๆก็แข่งกับพวกซูเปอร์คาร์รุ่นดังจากยุโรป มัสเซิลคาร์จากอเมริกันได้อยู่แล้ว แต่คราวนี้ยังได้รับการโมดิฟายด์สมรรถนะให้โหดขึ้นไปอีกจากฝีมือของ “นิสโม”
สำหรับจีที-อาร์ นิสโม เริ่มขายที่ญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากนั้นครึ่งปีหลังถึงจะเป็นคิวทำตลาดของประเทศในยุโรปและอเมริกา โดยตัวรถถูกปรับปรุงเรื่องหลักอากาศพลศาสตร์ แรงกด และช่วงล่างการทรงตัวให้สอดคล้องกับพละกำลังที่เพิ่มขึ้น
เครื่องยนต์ VR38DETT วี6 3.8 ลิตร เทอร์โบคู่ เน้นพัฒนาเรื่องทางเดินอากาศหรือการหายใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเทอร์โบชาร์จหันมาใช้ลูกใหญ่เหมือนที่ใช้ในตัวแข่ง GT3 พร้อมจูนจังหวะการจุดระเบิดของแต่ละลูกสูบใหม่ และปรับปรุงระบบปั๊มน้ำมันให้ดูดดึงเข้ามาใช้ให้ทันต่อการคลุกเคล้าเผาไหม้
ส่งผลให้ขุมพลังบล็อกนี้มีกำลังสูงสุดเพิ่มเป็น 600 แรงม้า(รุ่นปกติ 550 แรงม้า)ที่ 6,800 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 652 นิวตันเมตร (รุ่นปกติ 632 นิวตันเมตร) ที่ 3,600 - 5,600 รอบต่อนาที ประกบเกียร์ดูอัลคลัทช์ 6 สปีด (ไม่ได้ปรับอัตราทดเกียร์) พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ AWD อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. นิสสันไม่มีการแจ้งไว้อย่างเป็นทางการ แต่น่าจะดีกว่ารุ่นปกติที่ทำได้ 2.7 วินาทีแน่ๆ ส่วนความเร็วสูงสุดยังล็อกไว้ 315 กม./ชม.
กระจังหน้า กันชน สปอยเลอร์รอบคันออกแบบให้ดูโดดเด่น พร้อมช่วยเรื่องประสิทธิภาพการไหลผ่านของอากาศ ขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน Cd ต่ำเพียง 0.26 ด้านสปอยเลอร์หลังทรงใหม่ใหญ่ขึ้น ช่วยให้รถมีแรงกดเมื่อขับความเร็วสูง หรือประสบความสำเร็จเมื่อ จีที-อาร์ นิสโม สามารถเพิ่มแรงกดได้ 100 กิโลกรัม (เทียบกับเวอร์ชันปกติ) บนการขับความเร็ว 300 กม./ชม.
การลอง “จีที-อาร์ นิสโม” ที่สนามฟูจิ อินเตอร์เนชันเนล สปีดเวย์ ที่มีระยะทางต่อรอบ 4.5 กิโลเมตร ผู้สื่อข่าวแต่ละคนจะได้ขับกันคนละเกือบ 2 รอบ (มีโอกาสได้อัดทางตรงแค่รอบเดียว เพราะรอบที่สองต้องเลี้ยวเข้าพิต) ซึ่งจริงๆขับกันสบายๆไม่มีผู้ฝึกสอนมานั่งข้างๆเหมือนการลองขับรถแรงๆหลายรุ่นหลายครั้ง แต่กระนั้นมีข้อแม้เดียวคือต้องวิ่งตามรถนำ หรือ Pace Car แบบรักษาระยะห่างพอประมาณ
ขณะที่บรรยากาศในช่วงเช้า(วันนั้น) มีฝนตกลงมาปรอยๆ ผู้เขียนจึงได้เปิดประสบการณ์กับสปอร์ตคาร์ชื่อดัง บนสนามแข่งระดับโลกแบบ Wet Track ซึ่งการขับต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น แต่ผู้เขียนก็วิ่งติดตามรอยล้อของ Pace Car คันหน้าที่ทิ้งไว้ให้ เรียกว่าได้เรียนรู้เรซซิ่งไลน์กันแบบชัดๆ
ตลอดการขับใช้ความเร็วแถวๆ 100-120 กม./ชม. เว้นทางตรงที่ซัดได้ถึง 160 กม./ชม. (Pace Car ควบคุมเอาไว้) ส่วนการเปลี่ยนเกียร์ทำได้ทั้งบริเวณแพดเดิ้ลชิฟท์หลังพวงมาลัยและคันเกียร์ ซึ่งถ้าปล่อยเป็นโหมดอัตโนมัติก็ไม่ต้องไปยุ่งอะไร รถเขาคิดให้เสร็จสรรพและพยายามคงไว้ที่ตำแหน่งเกียร์สูงๆ เพื่อรักษารอบเครื่องยนต์ให้อยู่แถวๆ 2,000 - 3,000 รอบ หวังถนอมเครื่องยนต์ให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามหากเลือกการเปลี่ยนเกียร์เองจะได้อาการฉุดกระชากเพิ่มขึ้นมา ดึงหน้าหน่วงหลังแบบทันทีทันใด หรือเลือกใช้ก่อนเข้าโค้งยิ่งทำให้สาดใส่ได้มั่นใจมากขึ้น ซึ่งผู้เขียนเลือกใช้แถวๆเกียร์ 3-4 ละครับ เว้นสุดทางตรงที่จัดได้ถึงเกียร์ 6 ส่วนการควบคุมพวงมาลัยไม่ใช่อารมณ์รถบ้านทั่วไปแล้วครับ แม้จะเป็นแบบแรคแอนด์พิเนียน ผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า แต่สัมผัสของการสั่งงานและการควบคุมรถต้องบอกว่า เนียนแน่น เหมาะมือ น้ำหนักถือควงสบาย
ในภาพรวมของ “จีที-อาร์ นิสโม” เครื่องแรง พลังมาแบบเกรี้ยวกราดดุดัน กดคันเร่งไปนิดเดียวความเร็วทะลุ 120 กม./ชม.อย่างรวดเร็ว แต่กระนั้นการควบคุมละช่วงล่างไม่ถึงกับกระด้างดิบ เรียกว่ายังเหลือที่ว่างของการเป็นโรดคาร์ขับได้ใช้จริงอยู่พอสมควร (แต่รถเตี้ยๆพร้อมล้อขนาด 20 นิ้ว ถ้าขับจริงบนถนนเมืองไทยก็แอบเครียดอยู่เหมือนกัน)
อีกหนึ่งสถิติที่ทีมงานนิสโมภูมิใจคือ การทำเวลาต่อรอบในสนามนูร์เบิร์กริง ประเทศเยอรมนี (สังเวียนวัดความเร็วและฝีมือการทำรถยนต์ของแต่ละค่าย) ได้เพียง 7:08.679 นาที (เจ็ดนาทีแปดวินาทีกว่าๆ) แม้ไม่ใช่เวลาที่ดีที่สุดของประวัติศาสตร์สนาม แต่ถือเป็นสถิติดีอันดับต้นๆของรถโปรดักต์ชันคาร์ (อีกคันที่ทดสอบในช่วงเวลาใกล้ๆกันและทำเวลาได้ดีกว่านิดหน่อยคือ ปอร์เช่ 918 สไปเดอร์) และทุบทุกสถิติของรถตระกูลจีที-อาร์ที่ผ่านๆมา
.... “จีที-อาร์ นิสโม” ราคาขายในญี่ปุ่นตกคันละ 11.7 ล้านเยน หรือกว่า 3ล้านบาท ยังไม่ต้องไปคูณ3 ให้เสียเวลาเพราะนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ยังไม่มีแผนนำเข้ามาทำตลาดในระยะเวลาอันใกล้นี้ ส่วนรุ่นอื่นๆโอกาสยังน้อยเช่นกัน เพราะถ้ามาจริงๆราคาคงโดดเด้งจนยากที่ตลาดจะตอบรับ เว้นแต่นิสสันอยากทำงานเพิ่ม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบนด์ให้แข็งแกร่ง และฉีกเหนือรถญี่ปุ่นค่ายๆอื่นๆขึ้นไปเท่านั้นเอง